สรุป ‘ก้าวไกล’ เสนอ ‘คณะอนุกรรมการฯ ประชามติ รัฐบาล’ 3 ข้อ คือ
1. เสนอ ทำประชามติ 3 ครั้ง
2. เสนอออกแบบคำถามในการจัดทำประชามติครั้งแรก “1 คำถามหลัก พ่วง 2 คำถาม”
3. เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประชามติฯ ยกเลิกเงื่อนไขการใช้เสียงส่วนใหญ่ 2 ชั้น
.
คำถามหลักที่พรรคก้าวไกลเสนอ คือ
"เห็นชอบหรือไม่ที่ว่าควรจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย สสร."
.
คำถามพ่วง 2 คำถาม คือ
1. เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคงหมวด 1 หมวด 2
2. เห็นชอบหรือไม่ที่จะให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด
.
นายชัยธวัช กล่าวตอนหนึ่งว่า ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอของพรรคก้าวไกล ในการตั้งคำถามในการจัดทำประชามติในครั้งแรก เพื่อให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บรรลุผล และมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
ที่มา Today
.....
เปิดโรดแมปก้าวไกล เสนอรัฐบาล ทำประชามติ 3 ครั้ง ให้ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
— Matichon Online (@MatichonOnline) November 14, 2023
.#มติชนออนไลน์ #ก้าวไกล #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #ประชามติ pic.twitter.com/etNtjVuXUX
พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
6h·
[ ข้อเสนอก้าวไกลต่อการจัดทำประชามติ เพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ชอบธรรมทางประชาธิปไตย โอบรับจุดยืนที่หลากหลาย และสำเร็จได้จริง ]
.
พรรคก้าวไกลยืนยันจุดยืนมาตลอด ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด แม้พรรคไม่เข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำประชามติฯ ในฐานะกรรมการ แต่ยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอ
.
โดยวันนี้ พรรคก้าวไกล นำโดย ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรค ร่วมประชุมหารือกับคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 นำโดย นิกร จำนง ประธานอนุกรรมการฯ ตามที่ได้มีการนัดหมายไว้ก่อนหน้า
.
ภายใต้ความเห็นที่แตกต่าง พรรคก้าวไกลได้ยื่น 3 ข้อเสนอหลักเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ ที่เชื่อว่าจะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โอบรับจุดยืนที่แตกต่างของทุกฝ่าย มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จริง
.
.
[ ข้อเสนอ 1: ควรมีการจัดประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง ]
.
พรรคก้าวไกลเสนอว่าควรมีการทำประชามติ 3 ครั้ง (ประชามติ A & B & C)
.
ประชามติ 2 ครั้งหลัง (ประชามติ B & C) เป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องทำตามกฎหมาย
ประชามติ B ต้องทำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256( หลังจากร่างแก้ไข รธน. เรื่อง สสร. (หมวด 15/1) ผ่าน 3 วาระของรัฐสภา
ประชามติ C ต้องทำตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ที่กำหนดว่าต้องทำประชามติ 1 ครั้งหลังจากจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว
.
พรรคก้าวไกลเสนอให้มีการจัดทำประชามติอีกครั้งหนึ่ง (ประชามติ A) ก่อนที่จะมีการเสนอร่างแก้ไข รธน. เรื่อง สสร. เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพราะแม้พรรคก้าวไกลมองว่าประชามติ A ไม่ได้มีความจำเป็นทางกฎหมาย แต่การจัดประชามติ A จะเป็นกลไกสำคัญทางการเมืองใน 3 มิติ
.
(1) ทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความชอบธรรมทางการเมืองมากที่สุด
(2) ทำให้ความเห็นต่างว่าประชามติ A มีความจำเป็นทางกฎหมายหรือไม่ ไม่กลายเป็นอุปสรรค - เนื่องจากเมื่อจัดประชามติ A แล้ว ฝ่ายที่มองว่าประชามติ A มีความจำเป็นทางกฎหมาย จะพร้อมสนับสนุนร่างแก้ไข รธน. เรื่อง สสร. (หมวด 15/1) ในรัฐสภา
(3) ทำให้ความเห็นต่างทางการเมืองในประเด็นสำคัญ มีข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ - เนื่องจากไม่ว่าประชาชนลงมติในประชามติ A อย่างไร ทุกฝ่ายจะพร้อมเดินหน้าสนับสนุนร่างแก้ไข รธน. เรื่อง สสร. ในรัฐสภา ที่สอดคล้องกับผลของประชามติ
.
.
[ ข้อเสนอ 2: ประชามติครั้งแรก (ประชามติ A) ควรมี 1 คำถามหลัก + 2 คำถามพ่วง ]
.
พรรคก้าวไกลเสนอว่าประชามติ A ควรมีคำถามที่แบ่งออกเป็นคำถามหลัก และ คำถามพ่วง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน:
.
คำถามหลัก ควรเป็นคำถามที่เปิดกว้างที่สุดและสามารถสร้างความเห็นร่วมได้มากที่สุด โดยไม่มีรายละเอียดหรือเงื่อนไขปลีกย่อยที่ทำให้ใครเห็นด้วยกับบางส่วนของคำถามแต่ไม่เห็นด้วยกับบางส่วนของคำถาม หรือทำให้ใครรู้สึกถูกกีดกันออกจากกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตั้งแต่ต้น
คำถามพ่วง ควรเป็นคำถามที่เจาะจงไปที่ประเด็นที่หลายฝ่าย (เช่น รัฐบาล ฝ่ายค้าน วุฒิสภา) ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดข้อสรุปเองผ่านการออกเสียงในประชามติ
.
สำหรับประชามติ A พรรคก้าวไกลจึงเสนอ 1 คำถามหลัก + 2 คำถามพ่วงดังนี้ (ข้อความสามารถปรับเปลี่ยนได้)
.
คำถามหลัก: “เห็นชอบหรือไม่ว่า ควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย สสร.”
.
คำถามพ่วง 1: “เห็นชอบหรือไม่ว่า ควรล็อกเนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้เหมือนกับเนื้อหาในหมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ 2560 โดยที่ สสร. ไม่มีอำนาจพิจารณาแก้ไข”
.
คำถามพ่วง ข้อที่ 2: “เห็นชอบหรือไม่ว่า สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งหมด”
.
.
[ ข้อเสนอ 3: ควรแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ โดยเร็ว เรื่องกติกา “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” ]
.
ปัจจุบัน หลายฝ่าย (รวมถึงฝ่ายรัฐบาล) เริ่มมีความกังวลว่ากติกา “เสียงข้างมากสองชั้น” (Double Majority) ใน มาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ประชามติ อาจสร้างความไม่เป็นธรรมในการจัดทำประชามติ เนื่องจากเปิดช่องให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ถูกถามในประชามติ (แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย) สามารถใช้วิธี “นอนอยู่บ้าน” หรือไม่ออกมาใช้สิทธิ แทนที่จะไปใช้สิทธิลงคะแนน “ไม่เห็นด้วย” เพื่อคว่ำประชามติได้
.
ดังนั้น พรรคก้าวไกลจึงเสนอว่า หากมีความกังวล ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านควรมีการร่วมมือกันแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ เพื่อยกเลิกหรือปรับปรุงวิธีการเขียนกติกา “เสียงข้างมากสองชั้น” (Double Majority) โดยเร็วที่สุด ผ่านการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประชามติ เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ทันทีที่สภาฯ เปิดในเดือนหน้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อกรอบเวลาในการจัดทำประชามติ
.
.
พรรคก้าวไกลเชื่อว่าทั้ง 3 ข้อเสนอนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการสร้างกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่โอบรับจุดยืนที่แตกต่างของทุกฝ่าย มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จริง
.
#ก้าวไกล #รัฐธรรมนูญใหม่