จริงๆ พวกเขาไม่ได้ต่อต้านการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพราะ 3 ปีมานี้ก็มีการปฏิรูปมาโดยตลอด
— บัส เทวฤทธิ์ (@Bus_Te) November 15, 2020
ตั้งแต่
- เพิ่มพระราชอำนาจตั้งสมเด็จพระสังฆราช
- ออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ใหม่
- โอนกรมทหารราบที่ 1, ราบ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ฯลฯ
Pipat Jeeraprasert
6h ·
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2560 นั้น มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- ให้ส่วนราชการในพระองค์ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย และไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด และให้คณะรัฐมนตรีดําเนินการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดสรรงบให้ดังต่อไปนี้
งบปี61 4,196ล้านบาท
งบปี62 6,800ล้านบาท
งบปี63 7,685ล้านบาท
งบปี64 8,980ล้านบาท
4 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 27,661ล้านบาท
- ให้โอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และงบประมาณของ ๕ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง กรมราชองครักษ์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และสำนักงานตำรวจราชสำนักประจำ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์
- รายได้ของส่วนราชการในพระองค์ไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
- การจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
- ให้ส่วนราชการในพระองค์มีอํานาจปกครอง ดูแล บํารุงรักษา ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
- ทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์มิได้
#ทวงคืนสมบัติชาติ
ประชาชนไม่ได้ต้องการให้ท่านปรับตัวโดยการลงมาทำกิจกรรมร่วมกับประชาชน แต่เราต้องการให้ท่านมาอยู่ "ใต้รัฐธรรมนูญ" ตีโจทย์อะไรผิดรึเปล่า ?? #ให้มันจบที่รุ่นเรา #ม็อบ15พฤศจิกา pic.twitter.com/vJp7J6mWYM
— มัมหมีอีฮยอนอู (@Whatmamasayz) November 15, 2020