วันศุกร์, พฤศจิกายน 27, 2563

"An unjust law is no law at all" #ความเงียบอันน่าใจหายของเหล่าคนดี ข้อความบางส่วนมาจาก บทความแปล: จดหมายจากคุกเมืองเบอร์มิงแฮม เขียนโดย ดร.มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์



Jitti Jum
October 16 ·

#ความเงียบอันน่าใจหายของเหล่าคนดี

บทความนี้ยกข้อความบางส่วนมาจาก บทความแปล: จดหมายจากคุกเมืองเบอร์มิงแฮม เขียนโดย ดร.มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ แปลโดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และ ภวัต อัครพิพัฒนา ข้อคิดเห็นของผู้สรุปจะใส่ดอกจันทร์ไว้

บทความจาก https://prachatai.com/journal/2019/01/80658
.
.
หลัง ดร.คิง ถูกคุมขังจากการประท้วงอย่างสันติเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวที่เมืองเบอร์มิงแฮมในปี 1963 ผู้นำทางศาสนาผิวขาวแปดคนในรัฐแอละแบมาทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์สาธารณะ มีเนื้อหาแสดงความห่วงใยและตักเตือน รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่ “คนนอก” อย่าง ดร.คิง มาเป็นผู้นำการประท้วงในพื้นที่ ดร.คิง จึงเขียนจดหมายต่อไปนี้ด้วยลายมือออกมาจากในคุกเพื่อตอบกลับ

*ต่อมาจดหมายฉบับนี้รู้จักกันในนาม จดหมายจากคุกเมืองเบอร์มิงแฮม
.
.
"an unjust law is no law at all."
.
พวกท่านอาจจะถามก็ได้ว่า “ทำไมต้องประท้วง ทำไมต้องนั่งยึดพื้นที่ ทำไมต้องเดินขบวนและอะไรเยี่ยงนี้ด้วยล่ะ เจรจากันไม่ใช่ทางที่ดีกว่าหรือ” [...] นี่ล่ะคือเป้าหมายของการประท้วง การประท้วงด้วยสันติวิธีพยายามสร้างวิกฤติเช่นนี้ขึ้นและก่อให้เกิดความตึงเครียดเชิงสร้างสรรค์จนชุมชนที่ปฏิเสธการเจรจามาโดยตลอดต้องถูกบังคับให้เผชิญหน้ากับปัญหา ยกระดับปัญหาขึ้นให้คนสนใจจนไม่อาจทำเป็นไม่รู้เห็นได้อีก ผมเพิ่งอ้างว่าการสร้างความตึงเครียดเป็นงานส่วนหนึ่งของนักต่อต้านด้วยสันติวิธี
.
*เพื่อต่อต้านข้อกล่าวหาที่ว่าการเดินขบวนอาจผิดกฎหมาย ดร.คิงแย้งว่าการดื้อแพ่งนั้นไม่เพียงแค่เป็นความชอบธรรมเมื่อเผชิญกับกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม แต่ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอีกด้วย
.
คนอาจจะถามก็ได้ว่า “คุณสนับสนุนให้ฝ่าฝืนกฏหมายบางข้อแต่ให้ยอมรับกฏหมายข้ออื่น ๆ ได้อย่างไร” คำตอบก็คือ ตามข้อเท็จจริงแล้วมีกฏหมายอยู่สองประเภท นั่นคือ #กฏหมายที่ยุติธรรมและกฎหมายที่อยุติธรรม ผมเห็นด้วยกับนักบุญออกัสตินที่ว่า #กฏหมายที่อยุติธรรมหาใช่กฏหมายไม่
.
.
ความเงียบอันน่าใจหายของเหล่าคนดี
.
*ท่อนหนึ่งในจดหมายดร.คิงแสดงความผิดหวังอย่างมากต่อคนที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายกลาง” ดร.คิงทราบดีว่าช่วงนั้นมีคนหนุ่มสาวผิวขาวฝ่ายเสรีนิยมเข้าร่วมต่อสู้ด้วย แต่ฝ่ายกลางที่เขาเขียนในที่นี้ คือคนผิวขาวอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นผู้มีอายุและเป็นชนชั้นกลาง ดังเช่นกลุ่มนักบวชผิวขาวแปดคนที่กล่าวว่าการประท้วงนั้น “ไม่ถูกกาลเทศะ”
.
ประการแรกผมต้องสารภาพว่าตลอดหลายปีมาผมรู้สึกผิดหวังอย่างแรงกล้าต่อคนผิวขาวฝ่ายเป็นกลาง ผมเกือบจะได้ข้อสรุปที่น่าเศร้าว่าอุปสรรคสำคัญที่ขวางไม่ให้นิโกรก้าวหน้าไปสู่เสรีภาพได้มิใช่สมาชิกสภาพลเมืองผิวขาวหรือสมาชิกกลุ่มคลูคลักซ์แคลนเลย

#แต่คือคนผิวขาวฝ่ายเป็นกลางผู้ยึดมั่นความสงบเรียบร้อยมากกว่าความยุติธรรม

#ผู้พอใจกับสันติภาพเชิงลบคือการไม่มีความตึงเครียดมากกว่าสันติภาพเชิงบวกคือการมีความยุติธรรม

#ผู้พูดเสมอๆ ว่า “ฉันเห็นด้วยกับคุณเรื่องเป้าหมายที่คุณแสวงหา แต่ฉันไม่อาจเห็นด้วยกับคุณที่ใช้วิธีประท้วง”

#ผู้รู้สึกว่าตนเป็นคุณพ่อผู้ประเสริฐที่สามารถวางกำหนดการได้ว่าจะให้เสรีภาพแก่มนุษย์ผู้อื่นได้เมื่อใด

#ผู้ดำเนินชีวิตตามมายาคติเรื่องกาลเทศะ

#ผู้แนะนำนิโกรเสมอ ๆ ให้รอจนกว่าจะถึง “เวลาที่เหมาะสมกว่านี้”
.
ผมหวังว่าคนผิวขาวฝ่ายเป็นกลางจะเข้าใจว่ากฎหมายและระเบียบมีไว้เพื่อสร้างความยุติธรรม หากล้มเหลวในหน้าที่นี้แล้ว #กฎหมายและระเบียบก็จะกลายเป็นเหมือนกับเขื่อน ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างลวก ๆ #เพื่อขัดขวางกระแสธารแห่งความก้าวหน้าของสังคม
.
ผมหวังว่าคนผิวขาวฝ่ายเป็นกลางจะเข้าใจว่าความตึงเครียดที่ปรากฎอยู่ทางตอนใต้ขณะนี้เป็นขั้นตอนที่จำเป็นของการเปลี่ยนผ่านจากสันติภาพเชิงลบอันน่ารังเกียจที่นิโกรต้องทนรับ #สภาพอันอยุติธรรมอย่างเชื่องๆ สู่สันติภาพที่แท้จริงคือ #สันติภาพเชิงบวกซึ่งมนุษย์ทุกคนจะเคารพศักดิ์ศรีและเห็นคุณค่าของสภาพบุคคลของเพื่อนมนุษย์
.
ที่จริงแล้วเราผู้ที่ประท้วงอย่างสันติไม่ใช่ผู้ที่สร้างความตึงเครียด เราเพียงแค่เปิดเผยความตึงเครียดที่มีซ่อนอยู่ออกมาให้เห็นเท่านั้น เราเปิดเผยความตึงเครียดนี้เพื่อให้คนเห็นและจัดการได้ เช่นเดียวกับฝีที่ไม่อาจรักษาได้ตราบใดที่ยังถูกปกปิดอยู่ จำต้องเปิดให้เห็นความน่าเกลียดทั้งปวงต่อสิ่งบำบัดตามธรรมชาติคืออากาศและแสงเพื่อให้หาย ความอยุติธรรมก็จำต้องถูกเปิดโปงไปพร้อมกับความตึงเครียดทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นตามมา เพื่อให้รับแสงแห่งมโนธรรมของมนุษย์และอากาศแห่งมติของชาติก่อนจะรักษาได้
.
.
ความเห็นอกเห็นใจตื้นๆจากผู้มีเจตนาดีนั้น น่าผิดหวังเสียยิ่งกว่าความไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิงจากผู้มีเจตนาร้าย การยอมรับอย่างเฉยชานั้นน่าสับสนเสียกว่าการปฏิเสธอย่างไม่อ้อมค้อม
.
.
“ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม”
.
ผมยังหวังด้วยว่าคนผิวขาวฝ่ายเป็นกลางจะปฏิเสธมายาคติเรื่องกาลเทศะในด้านที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ [ว่าตอนนี้ยังไม่ถึงเวลารีบเกินไปที่จะต่อสู้] ทัศนะเช่นนี้เกิดจากความเข้าใจผิดที่น่าเศร้าในเรื่องเวลา [...] ที่จริงแล้วเวลาถือว่าเป็นกลาง สามารถใช้เพื่อสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้
ผมเริ่มรู้สึกว่าที่ผ่านมา #ผู้มีเจตนาร้ายได้ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้มีเจตนาดี
.
เราจะต้องสำนึกผิดภายในชั่วอายุนี้ ไม่ใช่แค่กับคำพูดและการกระทำอันน่ารังเกียจของเหล่าคนเลวเท่านั้น #แต่กับความเงียบอันน่าใจหายของเหล่าคนดีด้วย
.
เวลาเองเสียอีกที่จะกลายเป็นพันธมิตรของกลุ่มพลังที่ต้องการแช่แข็งสังคม เราต้องใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์โดยตระหนักว่า #การทำสิ่งที่ถูกต้องนั้นย่อมถูกกาลเทศะเสมอ บัดนี้ได้เวลาแล้วที่จะทำให้สัญญาเรื่องประชาธิปไตยเป็นจริง และเปลี่ยนเพลงโศกแห่งชาติที่กำลังร้องอยู่ขณะนี้ให้กลายเป็นเพลงสวดสร้างสรรค์สดุดีภราดรภาพ
.
.
*บางที ดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอยตัวเองเสมอ จดหมายฉบับนี้เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2506 แต่อ่านแล้วเหมือนดร.คิงกำลังพูดกับเราอยู่ในปี 2563 ทั้งในประเทศไทย ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา
.
*************************************************
แปลและสรุปใจความโดย จิตติพร 17/10/2020
.
อ้างอิง:
บทความแปล
https://prachatai.com/journal/2019/01/80658

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
https://www.africa.upenn.edu/Artic.../Letter_Birmingham.html

บทความเสริม
https://www.seattletimes.com/.../mlk-and-the-silence-of.../

ภาพ
https://images.app.goo.gl/KmBSrEXXZkwBxsKXA
See Less

(https://www.facebook.com/photo?fbid=10157180157242041&set=a.10150435079542041)