WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
"ทหารจะเป็นทหารได้นั้นต้องสังกัดกับรัฐบาลที่เป็นของประชาชน" – พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม"
29 พฤศจิกายน 2020
บีบีซีไทย
ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" อ่านประกาศราษฎรหน้ากรมทหารราบที่ 11 ชี้ "สถาบันกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว"
เวลาราว 20.35 น.แกนนำกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" อ่านประกาศหน้ากรมทหารราบที่ 11 ให้ยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ ของกรมทหารราบที่ 1 และ 11 ซึ่งถูกโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์เมื่อปี 2562 คืนสู่ต้นสังกัดเดิมของกองทัพ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ ไม่มีส่วนก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของรัฐบาล
นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้อ่านประกาศฉบับนี้บอกว่า นี่เป็นประกาศที่แสดงถึง "ความผิดปกติของ ระบอบศักดินาไทย" หลังอ่านประกาศทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แกนนำและการ์ดบริเวณรอบรถปราศรัยได้ร่วมกันปากระดาษของประกาศขนาดเอสี่ ซึ่งถูบพับเป็นจรวด เข้าไปยังประตูรั้วของกรมทหารราบที่ 11
"ยกเลิกหน่วยราชการในพระองค์ซึ่งไม่มีความจำเป็น เป็นหนึ่งใน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันของเรา" พริษฐ์ กล่าวถึงประกาศฉบับที่เพิ่งอ่านจบ
ก่อนหน้านี้ ขบวนผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เคลื่อนขบวนถึงหน้ากรมทหารราบที่ 11 พร้อมด้วย "เป็ดเหลือง" และ "ไก่โอ๊ก" ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเดินขบวนครั้งนี้ เดินเท้าจากบริเวณหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ และถึงหน้าราบ 11 เมื่อเวลา 18.27 น. ประจันกับแนวลวดหนามและตำรวจควบคุมฝูงชน ที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณหน้าประตูราบ 11 ท่ามกลางความมืดที่มีเพียงไฟจากใต้รางรถไฟฟ้าส่องสว่างไม่กี่จุด โดยด้านหลังแนวประตูมีรถฉีดน้ำแรงดันสูงประจำการอยู่ 2 คัน
ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" อ่านประกาศราษฎรหน้ากรมทหารราบที่ 11 ชี้ "สถาบันกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว"
เวลาราว 20.35 น.แกนนำกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" อ่านประกาศหน้ากรมทหารราบที่ 11 ให้ยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ ของกรมทหารราบที่ 1 และ 11 ซึ่งถูกโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์เมื่อปี 2562 คืนสู่ต้นสังกัดเดิมของกองทัพ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ ไม่มีส่วนก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของรัฐบาล
นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้อ่านประกาศฉบับนี้บอกว่า นี่เป็นประกาศที่แสดงถึง "ความผิดปกติของ ระบอบศักดินาไทย" หลังอ่านประกาศทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แกนนำและการ์ดบริเวณรอบรถปราศรัยได้ร่วมกันปากระดาษของประกาศขนาดเอสี่ ซึ่งถูบพับเป็นจรวด เข้าไปยังประตูรั้วของกรมทหารราบที่ 11
"ยกเลิกหน่วยราชการในพระองค์ซึ่งไม่มีความจำเป็น เป็นหนึ่งใน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันของเรา" พริษฐ์ กล่าวถึงประกาศฉบับที่เพิ่งอ่านจบ
ก่อนหน้านี้ ขบวนผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เคลื่อนขบวนถึงหน้ากรมทหารราบที่ 11 พร้อมด้วย "เป็ดเหลือง" และ "ไก่โอ๊ก" ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเดินขบวนครั้งนี้ เดินเท้าจากบริเวณหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ และถึงหน้าราบ 11 เมื่อเวลา 18.27 น. ประจันกับแนวลวดหนามและตำรวจควบคุมฝูงชน ที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณหน้าประตูราบ 11 ท่ามกลางความมืดที่มีเพียงไฟจากใต้รางรถไฟฟ้าส่องสว่างไม่กี่จุด โดยด้านหลังแนวประตูมีรถฉีดน้ำแรงดันสูงประจำการอยู่ 2 คัน
ในประกาศฉบับนี้ กลุ่ม "ราษฎร" ระบุว่า ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย การบังคับบัญชาหน่วยทหารเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ของสถาบันกษัตริย์ โดยการให้มีกองกำลังส่วนพระองค์นับเป็นการ "ก้าวก่าย" การทำงานของรัฐบาล และ "แทรกแซง" อำนาจสูงสุดที่เป็นของประชาชน
ประกาศยังระบุอีกว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ไม่มีสถาบันกษัตริย์ประชาธิปไตยใดจะมีกองกำลังส่วนตัว มีเพียงสถาบันกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้นที่จะทำการเช่นนี้ การโอนถ่ายกำลังทหารไปขึ้นตรงกับสถาบันกษัตริย์นั้นนอกจากจะบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์เอง"
ประกาศดังกล่าวปิดท้ายด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ "เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ไทยไม่มีส่วนก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของรัฐบาลราษฎร และสามารถดำรงตนอย่างสง่างามภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย"
จากข้อมูลโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ย้อนไปก่อนที่จะมีการลงมติรับ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ นั้น พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นผู้เสนอ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว บอกว่า การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการถวายอารักขาและถวายพระเกียรติและการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวจำเป็นต้องมีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดอัตรากำลังพลที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว และเกิดความปลอดภัยสูงสุด
อานนท์ นำภา ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และแกนนำกลุ่ม "ราษฎร" เปิดปราศรัยช่วงหนึ่งว่า ขณะนี้ ประเทศไทย "กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของระบอบกษัตริย์ ซึ่งกำลังขยายพระราชอำนาจ ออกไปเรื่อย ๆ" อันเป็นเหตุให้ ประชาชนต้องมารวมตัวชุมนุมในที่นี้
ที่ด้านหน้ากรมทหารราบที่ 11 เขาชี้ว่าการโอนกำลังพล 2 หน่วย ไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ "เป็นอีกแผลของระบอบประชาธิปไตย" และระบุว่าในประเทศประชาธิปไตย "กองกำลังติดอาวุธต้องขึ้นตรงต่อรัฐบาลเท่านั้น"
อานนท์ ยังขอให้ผู้ชุมนุมติดตามในเร็ว ๆ นี้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวไปชุมนุมในสถานที่แห่งหนึ่งในสัปดาห์ที่จะถึงเพื่อ "เปิดแผล" การปฏิรูปสถาบันฯ ในประเด็นที่เป็น 1 ใน ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ของ "แนวร่วมธรรมศาสตร์ และการชุมนุม"
โปรดเกล้าฯ พ.ร.ก. โอนกำลังพล-งบประมาณบางส่วนของกรมทหารราบที่ 1-ราบ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
สภามีมติ 374 เสียง อนุมัติ พ.ร.ก. เป็น พ.ร.บ. โอนกรมทหารราบ 1-ราบ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
10 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง : สำรวจชีวิต "ตัวละครเอก" ของ ศอฉ. และ นปช.
ราบ 11 - ศอฉ. - ความเจ็บปวดของคนเสื้อแดง
ผู้ชุมนุมได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เทสีแดง ลงที่พื้นและลวดหนามหน้าแนวกั้นของตำรวจ
หนึ่งในเหตุที่ผู้ชุมนุม "ราษฎร" ใช้กรมทหารราบที่ 11 เป็นเป้าหมายในวันนี้ เพราะ "หน่วยดังกล่าวนี้คือหน่วยหลักที่ก่อการปราบปรามประชาชนในปี 2553 และยังเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร" ในอดีต
การปราศรัยของผู้ขึ้นเวทีหลายคน เกาะเกี่ยวประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553 ซึ่งถูกสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ภายใต้ปฏิบัติการชื่อ "กระชับพื้นที่" ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
น.ส.ณัฏฐธิดา มีวังปลา พยาบาลอาสา พยานในเหตุการณ์ 6 ศพวัดปทุมในการสลายชุมนุมปี 2553 ปราศรัยช่วงหนึ่งว่า มาที่กรมทหารราบ 11 เพื่อทวงถามความเป็นธรรมให้ 6 ศพ ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร และคนเสื้อแดงที่เสียชีวิต 99 ศพ
เธอบรรยายเหตุการณ์ภายในวัดปทุมฯ ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน ถึงนาทีที่หลายคนต้องสิ้นชีวิต บางคนพยายามตะเกียกตะกายเพื่อขอความช่วยเหลือในเต็นท์พยาบาล มีการพยายามกู้ชีพบางคนนานกว่า 2 ชม. แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้
"เราเพียงร้องขอให้รถหน่วยแพทย์ฝ่าดงกระสุนปืนเอาคนเจ็บออกไปได้ไหม แต่สิ่งที่ทหารทำคือการสาดกระสุนลงมาตอนสองทุ่ม" พยาบาลอาสากล่าว และบอกว่า "ศพทั้ง 99 ศพ ไม่มีศพไหนถูกยิงต่ำกว่าหัวเข่า"
"คนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องหีบบัตรเลือกตั้ง แต่กลับได้หีบศพ 99 ใบ"
หลังจากนั้น ผู้ชุมนุมได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เทสีแดง ลงที่พื้นและลวดหนามหน้าแนวกั้นของตำรวจ
สำหรับเหตุการณ์ในปี 2553 รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 92 ราย บาดเจ็บกว่า 1,500 ราย ในช่วง 69 วันของการชุมนุม นปช.
ทว่ารายงานอีกฉบับจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ชี้ว่ามีผู้สังเวยชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น 94 ราย ในจำนวนนี้มีชายไทยอายุราว 20 ปีที่ยังไม่อาจระบุชื่อ-สกุลได้
ขณะที่ผลการไต่สวนการตายในชั้นศาลพบอย่างน้อย 18 รายเสียชีวิตด้วย "กระสุนจากฝั่งเจ้าหน้าที่/ทหาร"
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ถูกจัดตั้งขึ้นภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ถ.พหลโยธิน ใช้เป็นกองบัญชาการของฝ่ายรัฐบาล มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็น ผอ. ร่วมด้วยกรรมการอีก 27 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้บริหารส่วนราชการทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และเป็นที่ทำการรัฐบาลชั่วคราวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น
การชุมนุมจบลงในเวลา 22.01 น. โดย พริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้นัดหมายชุมนุมอีกครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 14.00 น. ซึ่งจะมีการวินิจฉัยสถานะความเป็นนายกฯ ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา คดีบ้านพักหลวง
"มหาดเล็กรักษาราษฎร"
ก่อนหน้านี้ ผู้ชุมนุม "ราษฎร" ขึ้นป้ายตั้งชื่อราบ 11 ใหม่ เป็น "กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาราษฎร" โดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ได้ประกาศยึดหน่วยทหารย่านบางเขนแห่งนี้ คืนมาเป็นของประชาชน ก่อนประกาศเปลี่ยนชื่อกรมทหารราบที่ 11 ใหม่ และชี้ว่าการชุมนุมวันนี้ ประชาชนที่จ่ายภาษีให้ทหารในค่าย มาทวงคืนสมบัติชาติและทหารของประชาชนคืน
ที่สะพานลอยด้านหน้าประตูราบ 11 มีการแขวนป้ายไวนิลสีดำข้อความที่ระบุว่า "กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาราษฎร"
"ต่อไปนี้ข้าพเจ้าขอประกาศว่า ข้าพเจ้าขอเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารราบที่ 11 รักษาประชาธิปไตยในมวลมหาราษฎร" นายพริษฐ์ประกาศ ก่อนโยนคำถามไปยังกำลังทหารภายในกรมทหารราบที่ 11 ถึงการทำหนเาที่ทหารรับใช้ประชาชน
"ท่านต้องเป็นทหารของชาติ และชาติคือประชาชน ท่านต้องเลือกว่าอยากเป็นทหารของชาติ หรือทหารของคน ๆ เดียว"
การชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วันนี้ (29 พ.ย.) เป็นไปตามการนัดหมายของกลุ่ม "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" พันธมิตรหลักของกลุ่ม "ราษฎร" เพื่อ "ปลดอาวุธศักดินาไทย"
ทางกลุ่มยังระบุเหตุที่เลือกชุมนุมที่ราบ 11 เนื่องจาก "หน่วยดังกล่าวนี้คือหน่วยหลักที่ก่อการปราบปรามประชาชนในปี 2553 และยังเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร" ในอดีต
ผู้ชุมนุมได้นัดหมายรวมตัวที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสวัดพระศรีมหาธาตุก่อนเคลื่อนขบวนมายังหน้าราบ 11 ในเวลา 18.00 น. หลังเคารพธงชาติ โดยกลุ่มการ์ดของผู้ชุมนุมได้เดินทางล่วงหน้ามาช่วยกันรื้อแนวกั้นและดันรถเมล์ที่ถูกนำมาตั้งขวาง
ก่อนหน้านี้ พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ประกาศแก่มวลชนว่า "ทหารจะเป็นทหารได้นั้นต้องสังกัดกับรัฐบาลที่เป็นของประชาชน"
ก่อนหน้านี้ พริษฐ์ ยังได้ให้สัมภาษณ์กับThe Reporters ว่าเคลื่อนขบวนมาที่นี่เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยที่พระมหากษัตริย์มีกองกำลังส่วนพระองค์ ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์จะทรงไม่มีหน้าที่บังคับบัญชาโดยตรง แต่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งเข้าไปที่จะจัดตั้งหน่วยรักษาความปลอดภัยถวาย
นายพริษฐ์ย้ำว่า ผู้ชุมนุมจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่ถ้ารัฐเลือกใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมหน้าค่ายทหารที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บังคับบัญชา พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นผู้รับผิดชอบ
กรมทหารราบที่ 1 และ 11 มีนัยสำคัญในการเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของผู้ชุมนุมตรงที่ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ ปี 2562 (พระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพล และงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562) เป็นการโอนกำลังพลและงบประมาณของทั้งกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์
ส่วนนายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ กล่าวว่า "ราบ 11 จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นของประชาชน"
กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ได้ประกาศเปลี่ยนจากสถานที่เดิม คือ กรมทหารราบที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิตมาเป็นกรมทหารราบที่ 11 ในช่วงสายของวันนี้ ภายหลังจากตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากและลวดหนาม ถูกนำมาติดตั้งบริเวณหน้าหน่วยทหารตั้งแต่ช่วงกลางดึกคืนที่ผ่านมา การเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมดังกล่าว ทำให้กรมทหารราบที่ 11 ได้มีการนำรถบัสตำรวจคันเก่าจำนวน 2 คัน มาขวางกั้นหน้าประตูทางเข้าของกรมทหาร ซ้อนด้วยลวดหนามหีบเพลงอีกหนึ่งชั้น และตำรวจหน่วยควบคุมฝูงชนอีกจำนวนหนึ่ง
ย้อนที่มากรมทหารราบที่ 1-ราบ 11 ก่อนโอนย้ายไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์" โดย พ.ร.ก.ฉบับนี้ ถูกประกาศใช้หลังมีการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือน ก.ย.ปี 2562 ภายหลังสภา มีมติ 374 เสียง อนุมัติ พ.ร.ก. ดังกล่าว ไม่เห็นด้วย 70 งดออกเสียง 2 จากองค์ประชุม 446 เสียง
การออก พ.ร.ก. โดยอำนาจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งต้องให้สภาให้ความเห็นชอบ ก่อนวุฒิสภาให้ความเห็นชอบประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติ
ในการผ่าน พ.ร.ก. ฉบับนี้ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้ลงมติไม่เห็นชอบ 70 เสียง ส่วนการอภิปราย มี ส.ส. ที่ลุกขึ้นอภิปรายมีเพียง 2 คน เป็นการอภิปรายคัดค้าน 1 คน และอภิปรายสนับสนุน 1 คน
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้อภิปรายตั้งคำถามว่า การใช้อำนาจออก พ.ร.ก. ดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" จริงหรือไม่
"....ที่สำคัญที่สุด นี่คือการปกป้องรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พ.ร.ก. ฉบับนี้ตราขึ้นโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ไม่เป็นเรื่องจำเป็นฉุกเฉินรีบด่วน และส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมในฐานะ ส.ส. เป็นผู้แทนของราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ผมไม่สามารถลงมติอนุมัติ พ.ร.ก. ฉบับนี้ได้ครับ" นายปิยบุตร