November 24 at 12:22 PM ·
จาก องค์กรเร้นรัฐ มาถึง พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ
จนมาถึงปัจจุบัน .......
..............
ก่อนปี 2549 องค์ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แทบจะไม่มีในสังคมไทย ถ้าจะมีก็เป็นการศึกษา "พระคลังข้างที่" ซึ่งเป็นองค์กรก่อนการปฏิวัติสยาม 2475
ได้แก่ งานของทวีศิลป์ สืบวัฒนะ เรื่อง “บทบาทของกรมพระคลังข้างที่ต่อการลงทุนทางเศรษฐกิจในอดีต (พ.ศ. 2433-2475)” ซึ่งตีพิมพ์ใน วารสารธรรมศาสตร์ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2528) และวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2529 ของชลลดา วัฒนศิริ เรื่อง “พระคลังข้างที่กับการลงทุนธุรกิจในประเทศ พ.ศ. 2433-2475” ซึ่งภายหลังชลลดาได้เขียนบทความชื่อ “พระคลังข้างที่กับการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย พ.ศ. 2433-2475” ตีพิมพ์ใน วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2531) หลังจากนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีงาน ศึกษาเกี่ยวกับพระคลังข้างที่ที่ดีกว่าผลงานของชลลดา วัฒนศิริ
ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” นั้น งานชิ้นแรกที่ควรกล่าวถึง แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยตรง คืองานของ สุพจน์ แจ้งเร็ว เรื่อง “คดียึดพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ” ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 23 ฉบับที่ 8 (มิถุนายน 2545) งานชิ้นนี้ได้ให้ภาพของปัญหาว่าด้วยพระราชทรัพย์ในช่วงรอยต่อทางการเมืองหลังการปฏิวัติ 2475 ใหม่ ๆ และกล่าวได้ว่างานชิ้นนี้เป็นงานบุกเบิกที่กระตุ้นให้หลายคนหันมาสนใจค้นคว้า เรื่องทรัพย์สินพระมหากษัตริย์หลัง 2475 เพิ่มเติม
จนกระทั่ง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลก็ได้ส่ง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?” มาตีพิมพ์ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2549) บทความชิ้นนี้เป็นงานที่เริ่มต้นศึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยตรง (หากไม่นับรวมงานเขียน “ใต้ดิน” ของซ้ายไทยในทศวรรษ 2520)
สมศักดิ์ได้ค้นคว้าเอกสารจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตอบปัญหาเกี่ยวกับสถานะที่แท้จริงของสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งจะโยงไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ สถานะของสถาบันกษัตริย์และการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ปฏิวัติ
https://sameskybooks.net/index.php/product/journal-004-01/
ในปีเดียวกัน มีการเผยแพร่ผลงานในชุดโครงการวิจัยเรื่อง “โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ” ซึ่งมี ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. เป็นหัวหน้าโครงการ โดยรวมเล่มตีพิมพ์ในชื่อ การต่อสู้ของทุนไทย : การเมือง วัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอด (มติชน, 2549) จำนวน 2 เล่ม งานวิจัยหนึ่งในนั้นคือ งานของพอพันธ์ อุยยานนท์ เรื่อง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ” ซึ่งเป็นงานวิชาการชิ้นแรก (และชิ้นเดียวจนถึงวันนี้) ที่ศึกษาบทบาทของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในเศรษฐกิจไทยได้อย่างครอบคลุม ทั้งในแง่มิติทางประวัติศาสตร์และในแง่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ
ต่อมา ปราการ กลิ่นฟุ้งได้เขียนเรื่อง “เก็บภาษีมรดกในประเทศสยาม: ความเป็นมาของการตราพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476” ตีพิมพ์ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2550) งานของปราการ ให้ภาพในรายละเอียดเพิ่มขึ้นว่า หลัง 2475 กระบวนการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของคณะราษฎรนั้น เริ่มต้นตรงที่จุดไหน อย่างไร และปฏิกิริยาจากราชสำนักเป็นเช่นไร
https://sameskybooks.net/index.php/product/journal-005-01/
ปีถัดมา (2551) เราได้เห็นผลงานของภารุต เพ็ญพายัพ เรื่อง “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร? : พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ในบริบททางประวัติศาสตร์” ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2551) ที่ต่อยอดจากผลงานของสุพจน์ สมศักดิ์ และปราการ ไปถึงกระบวนการและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อันนำไปสู่การตรากฎหมายจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 กระทั่งความพลิกผันทางการเมืองทำให้กฎหมายฉบับนี้ถูกแก้ไขจนมี “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” อย่างที่เรา (ไม่) รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน
https://sameskybooks.net/index.php/product/journal-006-03/
นอกจากนี้แล้ว ในทางนิติศาสตร์ยังมีวิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องอีก 2 ชิ้น ได้แก่ “การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” (2543) โดยสกุณา เทวะรัตน์มณีกุล และ “ความเป็นมาและปัญหาสถานะทางกฎหมายของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” (2552) โดยกิตติศักดิ์ อุไรวงศ์
ในปี 2557 ทางฟ้าเดียวกันได้ตีพิมพ์ พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ : เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลัง 2475เล่มนี้ เป็นหนังสือชุด “กษัตริย์ศึกษา” ลำดับที่ 2 ของ สำนักพิมพ์ “ฟ้าเดียวกัน”
หนังสือเล่มนี้เป็นการนำเอางานที่กล่าวถึงข้างต้นส่วนหนึ่ง ได้แก่
1 งานของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล,
2. พอพันธ์ อุยยานนท์,
3. ปราการ กลิ่นฟัง,
และ 4 ภารุต เพ็ญพายัพ ซึ่งผ่านการแก้ไขและ/หรือปรับปรุงใหม่ มาตีพิมพ์รวมกัน
และเพิ่มเติม 5. งานของพรเพ็ญ ฮั่นตระกูล เรื่อง “การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468)” เข้ามาอีกชิ้นหนึ่ง
บทความของพรเพ็ญนั้น มาจากวิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2517 ซึ่งแม้จะไม่ได้เกี่ยวกับพระคลังข้างที่หรือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่ก็มีความสำคัญเพื่อทำความเข้าใจภาพรอยต่อระหว่างยุคปฏิรูปการคลังในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นจุดกำเนิดของกรมพระคลังข้างที่ กับยุคสมัยที่เป็นบั้นปลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันเองยังได้เขียน “บทนำ” อีกชิ้นหนึ่ง เพื่อหวังจะปูพื้นความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นว่าด้วยพระราชทรัพย์ก่อนและหลัง 2475 รวมทั้งได้รวบรวมเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา และคำพิพากษาศาลฎีกา ไว้เป็นภาคผนวกท้ายเล่มด้วยเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า
https://sameskybooks.net/index.php/product/9786167667287/
นับจากปี 2557 จนถึง 2560 องค์ความรู้เกี่ยวกัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กลายเป็น "ประวัติศาสตร์" ไปทั้งหมดเมื่อมีกฎหมาย พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และต่อมาได้แก้ไขเป็น พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 บังคับใช้
เพราะกฎหมา่ยดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนหลักการสำคัญของ "พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์(ฉะบับที่ 3) พุทธศักราช 2491"ที่เป็นฐานะวิเคราะของบทความ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?" ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ" ของ พอพันธ์ อุยยานนท์
ในปี 2560 จึงมีบทความว่าด้วยพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 คือ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : พระราชทรัพย์ยามผลัดแผ่นดินและรัฐประหารสองครั้ง" ชัยธวัช ตุลาธน
https://sameskybooks.net/index.php/product/journal-015-02/
แน่นอนว่าสำหรับคนทำสื่อ ปรากฎการณ์ 25 พฤศจิกายน 2563 ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งหมดคือปรากฎการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่ง
ฟ้าเดียวกัน
November 24 at 8:05 PM ·
บันได 4 ขั้น แปลงทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นสมบัติของ ในหลวง ร. 10
กรณีศึกษา
SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=scb
SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)
https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=scc
6 เมษายน 2560 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560
28 เมษายน 2560 ประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560
14 กรกฎาคม 2561 ยกเลิกกฎหมายฉบับเดิม เปลี่ยนเป็น พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561
16 มิถุนายน 2561 โอนหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) เป็นสมบัติของ ในหลวง ร. 10