วันพุธ, พฤศจิกายน 25, 2563

ยังจำกันได้นะ... การเข้าแจ้งความดำเนินคดีตามมาตรา 112 กับราษฎร ถือว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชดำรัสของในหลวง ร. 9 และในหลวง ร. 10

สนง.อัยการสูงสุด ออกแนวปฏิบัติใหม่ รวบคดี 112 ให้ อสส.พิจารณา

AFP/GETTY IMAGES
ปชช.จำนวนหนึ่งออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อปี 2555 จากกรณีคดีอากง หรือนายอำพล ทองนพกุล วัย 61 ปี ถูกกล่าวหาส่งข้อความหมิ่นพระมหากษัตริย์ 4 ข้อความ ซึ่งศาลตัดสินจำคุก 20 ปี นายอำพลเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งระหว่างจำคุก

27 กุมภาพันธ์ 2018
บีบีซีไทย

สำนักงานอัยการสูงสุดออกแนวปฏิบัติทำความเห็น-คำสั่งคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ให้อัยการสูงสุดพิจารณาเพียงผู้เดียว

สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า นายพรศักดิ์ ศรีณรงค์ รองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด ทำหนังสือถึงให้รับทราบถึงแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ให้อัยการสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้พิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ พนักงานอัยการระดับทั่วไปไม่อาจทำความเห็นได้

ย้อนคดีหมิ่นฯโทษหนัก ผลักยูเอ็นเรียกร้องไทยแก้
ส.ศิวรักษ์: ร. 10 คือ "พระมหากษัตริย์ผู้ทรงปิดทองหลังพระ"
ศาลตัดสินจำคุกไผ่ ดาวดิน 5 ปี แต่ลดโทษกึ่งหนึ่ง

แนวทางปฏิบัตินี้ ระบุว่าให้สำนักงานอัยการที่ได้รับสำนวนคดี 112 ส่งสำเนาการสอบสวนของพนักงานสอบสวน "ให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที โดยยังไม่ต้องทำความเห็น"

พร้อมกับสำเนาความเห็นคณะกรรมการพิจารณาคดีพระบรมเดชานุภาพของตำรวจ (ถ้ามี) สำเนาคำให้การผู้ต้องหา และเอกสารสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สำเนาคำให้การผู้ต้องหา สำเนาประวัติอาชญากร และตำหนิรูปพรรณผู้กระทำผิด



รายงานข่าวของสำนักข่าวอิศราที่เผยแพร่ในวันที่ 27 ก.พ.2561 เปิดเผยบางส่วนของหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุด

การวางแนวปฏิบัติให้ส่งคดี 112 ไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด โดยอัยการระดับอื่นไม่ต้องทำความเห็นในคดี ยังรวมถึงขั้นตอนที่ หากพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดี แต่พนักงานอัยการที่ได้รับสำนวนเห็นว่าควรดำเนินคดีในความผิดมาตรา 112 ด้วย ก็ให้ทำความเห็นแยกส่งต่อสำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากนี้ยังรวมถึงขั้นตอนที่มีการดำเนินคดี 112 ในขั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ด้วย

หนังสือเลขที่ อส 0007(อก)/ว 54 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ส่งถึง ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุดทุกระดับชั้น อาทิ รองอัยการสูงสุด ผู้ตรวจอัยการ อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่าย เลขานุการอัยการสูงสุด อัยการจังหวัด ผอ.สำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริ โดย หนังสือฉบับดังกล่าวระบุด้วยว่า การดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 เป็นคดีสำคัญที่ต้องป้องกันและปราบปรามเป็นพิเศษ เพื่อให้การดำเนินคดีตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นไปด้วยความรอบคอบและรัดกุม

"สำนักงานอัยการสูงสุดจึงวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความเห็นและคำสั่งในคดีประเภทดังกล่าว และให้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน"

นายวันชาติ สันติกุญชร อธิบดีอัยการสำนักงานคณะกรรมการอัยการ ในฐานะโฆษก อสส. ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า หนังสือฉบับดังกล่าว เป็นหนังสือเวียนที่สำนักงานอัยการสูงสุดส่งให้อัยการส่วนต่างๆ และชี้แจงแนวปฏิบัติต่อการดำเนินคดี 112 ตามหนังสือเวียนฉบับนี้ว่า "ให้อัยการทำบันทึกเข้ามาเบื้องต้นส่งต่อสำนักงานอัยการสูงสุด โดยไม่ต้องทำสำนวนว่าฟ้องหรือไม่ฟ้อง"

โฆษก อสส. บอกกับบีบีซีไทยอีกว่า เขาไม่ทราบว่าภายในสำนักงานอัยการสูงสุดมีการริเริ่มการออกแนวปฏิบัติชุดนี้เมื่อใด ส่วนที่ผ่านมาเคยมีการออกแนวปฏิบัติเช่นนี้ในคดีสำคัญอื่น ๆ หรือไม่นั้น ให้สอบถามไปยังแผนกคดี


BBC THAI
นายวันชาติ สันติกุญชร (ที่สองจากขวามือ) อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ ในฐานะโฆษก อสส.

ส่วนรายละเอียดขั้นที่ว่าการดำเนินคดี 112 อยู่ในชั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้พนักงานอัยการนำสำเนาคำพิพากษา หรือย่อคำพิพากษาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา โฆษก อสส. บอกกับบีบีซีไทยว่า "เป็นเรื่องปกติที่มีระเบียบปฏิบัติอยู่"

อย่างไรก็ตาม โฆษก อสส. ระบุว่า ตามปกติคดีประเภทต่างๆ ทางฝ่ายคดีจะมีหนังสือเวียนออกให้อัยการแต่ละลำดับอยู่แล้วเพื่อให้การดำเนินคดีเป็นเอกภาพทั้งองค์กร โดยเฉพาะในคดีสำคัญ

ข้อมูลจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ระบุว่า นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี 2557 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยความผิดอาญา มาตรา 112 อย่างน้อย 94 ราย จำนวนนี้ 43 ราย ถูกพิพากษาจำคุกนับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจของ คสช. เมื่อปี 2557 ส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี

BBC THAI

หลังการรัฐประหารปี 2557 คสช.ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้คดีที่พลเรือนถูกฟ้องในคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการ ตั้งแต่มาตรา 107-112 อยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร

ก่อนใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 55/2559 ยกเลิกนำพลเรือนขึ้นศาลทหารในคดีความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และคดีความมั่นคง แล้วย้ายไปอยู่ในศาลยุติธรรมปกติ โดยบังคับใช้กับคดีที่เกิดขึ้นหลังออกคำสั่งนี้ในเดือน ก.ย.2559

ก่อนหน้านี้ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม ซึ่งอัยการศาลทหารได้มีคำสั่งไม่ฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระนเรศวร เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทย เสนอให้ปฏิรูปประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วยการแก้ไขทบทวนอัตราโทษจำคุกที่อยู่ระหว่าง 3-15 ปี โดยยกเลิกอัตราโทษขั้นต่ำ และมีคณะกรรมการกลั่นกรองความผิดในคดี 112 ก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม