วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 26, 2563

13 องค์กรสิทธิระหว่างประเทศ จี้ ทางการไทยให้การคุ้มครองสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ + อามัล คลูนีย์ ภรรยาจอร์จ คลูนีย์ ซึ่งเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ระบุว่า “ไม่สมควรที่จะมีใครต้องถูกจับขัง เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐหรือระบบของรัฐบาล”



@joe_black317
·8h
อามัล คลูนีย์ ภรรยาจอร์จ คลูนีย์ ซึ่งเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ระบุว่า “ไม่สมควรที่จะมีใครต้องถูกจับขัง เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐหรือระบบของรัฐบาล” “รัฐบาลไทยไม่ควรตอบโต้การประท้วงโดยสงบด้วยการใช้การดำเนินคดีปิดปากกวาดล้างผู้ชุมนุมประท้วง” #ม็อบ25พฤศจิกา
...
BANGKOK (Reuters) - Thailand faced criticism from international rights groups on Wednesday for bringing charges of insulting the monarchy against protest leaders who have challenged King Maha Vajiralongkorn as well as the government.

A police source said a total of 15 protest leaders had been summoned to acknowledge lese majeste charges over comments made at protests in September and October, when they spoke about the king's behaviour, lifestyle and spending.

"No one should be arrested or imprisoned merely for criticizing public officials or a system of government," said human rights lawyer Amal Clooney in a statement from the Clooney Foundation for Justice.

The Paris-based International Federation for Human Rights said "lese-majeste must not be used to criminalize pro-democracy protest leaders and participants".

Responding to the criticism, government spokeswoman Rachada Dhnadirek said: "The government has been open-minded to rights and freedoms despite many imprudent expressions which offend the majority. The government must used its authorised powers."

The royal insult laws have not been used since 2018 and Prime Minister Prayuth Chan-ocha said in June that they were not being used at the request of the king.

Since July, protesters have been calling for the removal of Prayuth, a former junta leader. They also demand a new constitution and curbs on the king's powers.

Summonses for protest leaders came ahead of a demonstration planned on Wednesday to call on the king to give up the personal control he took over a palace fortune valued in the tens of billions of dollars.

Protesters shifted the venue at the last minute from the Crown Property Bureau, which manages the royal assets. Police blocked roads there with shipping containers and razor wire - adding to the traffic chaos in Bangkok's rush hour.

Source: 
...



25 พฤศจิกายน 2563
มติชนออนไลน?

องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศออกแถลงการณ์ร่วมถึงทางการไทยเกี่ยวกับการชุมนุมของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในวันที่ 17 และ 25 พฤศจิกายนนี้ ส่งข้อเสนอแนะ 4 ข้อ เพื่อเรียกร้องรัฐบาลไทยให้เคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ เพื่อให้สอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยที่มีต่อกติกา ICCPR และกฎหมายระหว่างประเทศ และเน้นย้ำว่า ให้ทางการไทยดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถใช้สิทธิการเข้าถึงการเยียวยาอย่างได้มีประสิทธิภาพ

13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศดังรายนามต่อไปนี้ Amnesty International, Article 19, ASEAN Parliamentarians for Human Rights, Asia Democracy Network, Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA), Asian Network for Free Elections (ANFREL), CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation, Civil Rights Defenders, FIDH – International Federation for Human Rights, Fortify Rights, Human Rights Watch, International Commission of Jurists และ Manushaya Foundation ออกแถลงการณ์ร่วมประณามการใช้กำลังของตำรวจไทยที่ขาดหลักความจำเป็นและเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมโดยสงบที่เดินขบวนไปรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และแสดงความกังวลว่าทางการไทยอาจใช้มาตรการแบบเดียวกันเมื่อผู้ชุมนุมประกาศว่า จะมีการชุมนุมอีกครั้งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักงานใหญ่ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้

ในแถลงการณ์ตอนหนึ่งระบุว่า ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้ทำการภาคยานุวัติในปี พ.ศ. 2539 คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (มาตรา 19) และการชุมนุมโดยสงบ (มาตรา 21) แต่ทางการไทยมักปิดกั้นการแสดงออกและจำกัดการชุมนุม ประชุม หรือเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปทางการเมือง และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคม

โดยอ้างถึงความเห็นทั่วไปที่ 37 ซึ่งระบุเนื้อหาเกี่ยวกับพันธกรณีของประเทศไทยในการประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ การใช้ความรุนแรงของบุคคลเพียงบางส่วนไม่อาจถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่น ของผู้จัด หรือของการชุมนุมดังกล่าวได้ และแม้ว่าสิทธิในการชุมนุมโดยสงบอาจถูกจำกัดได้ในบางกรณี แต่รัฐมีหน้าที่ในการให้เหตุผลสนับสนุนการจำกัดสิทธิเช่นว่า ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมาย หลักความชอบธรรม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วน

นอกจากนั้นยังระบุว่า เนื่องจากมีเด็กเข้าร่วมการชุมนุมเหล่านี้ด้วย ซึ่งคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติซึ่งได้เน้นย้ำความเห็นต่อร่างความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37 ว่ารัฐ “มีหน้าที่เชิงบวกในการปกป้องสิทธิเด็กและจะต้องดำเนินการโดยตระหนักว่าอาจมีเด็กอยู่ในพื้นที่ชุมนุมและปกป้องพวกเขาจากอันตรายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงอันตรายที่เกิดจากผู้เข้าร่วมการชุมนุมคนอื่น ๆ”

ดังนั้นทั้ง 13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศจึงมีข้อเสนอแนะต่อทางการไทย 4 ข้อ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในการทำการชุมนุมโดยสงบ ตามพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทยภายใต้ ICCPR และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทยควร

1. อนุญาตให้คณะราษฎรเดินขบวนในวันที่ 25 พฤศจิกายน และอนุญาตให้ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก สามารถชุมนุมโดยสงบที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักงานใหญ่

2. คุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมโดยสงบ รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก โดยสอดคล้องตามความเห็นทั่วไปที่ 37 ว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

3. สนับสนุนการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบ และหลีกเลี่ยงจากการสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ รวมทั้งการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำต่อผู้ชุมนุม โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และแนวปฏิบัติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำทั้งขององค์การสหประชาชาติและอื่น ๆ

4. คุ้มครองผู้ชุมนุม รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก จากความรุนแรงและการแทรกแซงของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมกับคุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมต่อต้าน ดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถเข้าถึงสิทธิในการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ตามที่ได้รับการประกันไว้ในมาตรา 2(3) ของ ICCPR

สุดท้ายเน้นย้ำว่า ให้ทางการไทยดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถใช้สิทธิการเข้าถึงการเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ