นึกแล้วเชียวคดีธรรมนัสไม่จบง่าย เมื่อ วิษณุ
เครืองาม เติมไฟตะแบงต่อถึงข้อตราหน้าวุฒิด็อกเต้อของ รมช.เกษตรฯ ที่อาจจะปลอม ว่าไม่สำคัญในเมื่อธรรมนัสจบ
จปร.ก็เท่าปริญญาตรีพอแล้วสำหรับคุณสมบัติรัฐมนตรี
มิใย เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
ประธานกรรมาธิการปราบปรามการประพฤติมิชอบ
ประกาศจะตรวจสอบคุณสมบัติของธรรมนัสต่อไปจนถึงที่สุด ในช่องทางรัฐสภาโดยไม่หวังพึ่งศาลรัฐธรรมนูญอีกแล้ว
ก็คงจะเป็นกระบวนการที่ยืดยาวต่อไป ยังมองไม่เห็นบทสรุป
ขณะที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ที่รับแต่ชอบเสมอมาและเสมอไปไม่เคยรับผิดอะไร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เลี่ยงไปเล่นบทเยี่ยมเยือน สุเทพ เทือกสุบรรณ ถึงบ้าน รำลึกบรรยากาศเก่าๆ
ที่พี่เค้าก่อกวนสร้างความวุ่นวายให้คณะทหารเข้ายึดอำนาจ
ครองบ้านครองเมืองมากระทั่งบัดนี้
สภาพกดดันทางการเมืองด้วยอำนาจรัฐประหารของ
คสช. และสืบทอดต่อมาห้าหกปี
ไม่เพียงทำให้เศรษฐกิจในระดับพื้นฐานรากหญ้าตกต่ำข้าวยากหมากแพง
หากินฝืดเคืองมาอย่างต่อเนื่อง ยังทำให้สภาพสังคมตกอยู่ในภาวะวายร้าย
เพียงการอ้างความรัก ‘ชาติ ศาสน์ กษัตริย์’ ก็สามารถแสดงอาการเขื่องเหนือผู้คนที่คิดเห็นไม่ตรงกับตนได้
ประเด็นต้นและท้ายในสามสิ่งวิเศษนั้นได้เห็นกันมามากมายจนล้น ตรงกลางคือศาสนากำลังเป็นปัญหาหนักหน่วงยิ่งขึ้นทุกวัน
ทั้งๆ
ที่ประเทศไทยยึดหลักเสรีในการนับถือศาสนามาตั้งแต่เริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก
อีกทั้งศาสนาพุทธที่ได้รับยกย่องว่าเป็นศาสนาประจำชาติและมีคนนับถือมากที่สุด มีความเป็นเสรีนิยมมากที่สุดในธรรมชาติของหลักธรรมคำสอน
แต่ปรากฏว่ามีความพยายามผลักดันให้กลายเป็นพิธีกรรมนิยมและวัตถุบูชาเสียยิ่งกว่าลัทธิพราหมณ์
แม้นว่าสังคมได้ซึมซับรับเอาแนวความคิดก้าวหน้าของอารยธรรมตะวันตกเข้าไว้มากแล้ว
การขัดแย้งกระทบกระทั่งระหว่าง ‘ใหม่’ กับ ‘เก่า’ จึงเกิดให้เห็นมากยิ่งๆ
ขึ้น
การที่ทางการบังคับให้นักศึกษาหญิงคนหนึ่งต้องทำพิธีการกราบขอขมาต่อเจ้าคณะภาคและข้าราชการเกี่ยวข้อง
เนื่องจากผลงานภาพเขียนสีน้ำมันของเธอมีเนื้อหาประยุกษ์เอาพลังสร้างสรรแนวใหม่ ‘อุลตร้าแมน’ สวมใส่ด้วยเศียรพระพุทธรูป
นับเป็นการกดขี่บังคับจากผู้ยึดถือพิธีกรรมและวัตถุบูชาที่ล้วนอยู่ในแวดวงแห่งพลังอำนาจ
‘authority’ ทั้งที่มีเสียงต่อต้านผ่านทางสื่อสังคมอย่างหนาแน่น
ประดุจว่าแนวคิดเสรีนิยมทางศาสนาจะแผ่สร้านไปยิ่งกว่าความคร่ำครึของพิธีกรรมโบราณ
แต่กระนั้นยังไม่วายฝักฝ่ายของผู้ยึดมั่นงมงายใช้ชื่อว่า
“ชาวพุทธพลังแผ่นดิน” พากันไปแจ้งความต่อตำรวจกองปราบให้ดำเนินคดีต่อนักศึกษาหญิงผู้เขียนภาพ
พร้อมด้วยอาจารย์ผู้สอนและผู้จัดสถานที่แสดงภาพเหล่านั้น
ทั้งยังควบรวมผู้ถูกฟ้องอีกสองคนคือ
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินคนดังด้านจิตรกรรม กับ เดชา กิติวิทยานันท์
ทนายความผู้โด่งดังทางสื่อ
เนื่องจากบุคคลทั้งสองให้ความเห็นทางสาธารณะสนับสนุนผลงานนักศึกษาราชภัฏนครราชสีมานี้
จรูญ วรรณกสิณานนท์ และพงศ์นรินทร์
อมรรัตนา อ้างว่าภาพวาด ‘พุทธอุลตร้าแมน’
“ทำลายมรดกของชาติ ทำร้ายย่ำยีจิตใจของชาวพุทธทั้งประเทศ” แล้วยัง “เป็นการทำลายรูปแบบศิลปะ”
โดยยกเหตุว่างานศิลปะต้องได้รับการแซ่ซร้องสรรเสริญ แต่ “ภาพนี้มีแต่คนตำหนิทั่วประเทศ”
ทั้งหมดของข้อกล่าวหาใช่ว่าเป็นการมุสาอย่างสิ้นเชิงแล้วยังเป็นมโนคติล้วนๆ
ของคนกลุ่มนี้ ที่อ้างนักท่องเที่ยวไปไทยเพราะพุทธศาสนาก็น้อยมาก
ส่วนใหญ่เพราะลัทธิบูชาผีสาง (พระพรหมเอราวัณ) แล้วยังศิลปะสลัม ‘ghetto’
เกลื่อนจตุจักร พัทยา
เหล่าผู้ชื่นชมในผลงานศิลปะแท้จริงจึงได้ทำการตอบโต้
‘อย่างสร้างสรร’ เริ่มโดยผู้ที่ซื้อภาพเขียนชุดพุทธอุลตร้าแมนของนักศึกษาหญิงไว้ชิ้นหนึ่ง
ทราบว่ามีความพยายามจะเรียกคืนภาพเหล่านั้นเอากลับไปโคราชเพื่อทำลายทิ้ง
ปกรณ์ พรชีวางกูร จึงได้เปิดประมูลภาพชิ้นหนึ่งที่เขาครอบครองอยู่
โดยแจ้งวัตถุประสงค์ว่ารายได้จะหักส่วนหนึ่งให้เด็กที่เขียนภาพไว้ใช้ในการศึกษา
นอกนั้นจะใช้ “ซื้อเตียง ICU เด็ก บริจาคให้โรงพยาบาลที่โคราช
แล้วใส่ชื่อผู้บริจาคเป็นเด็กคนที่วาดภาพนี้แต่เพียงผู้เดียว”
ภายในกำหนดเวลา ๒๔
ชั่วโมงของการประมูลซึ่งปิดเมื่อค่ำวันที่ ๑๒ กันยายน ปรากฏว่ามีผู้แข่งขันประมูลกันจนราคาสุดท้ายที่
๖ แสนบาท เสร็จสรรพกลับมีเจ้าของภาพอีกราย อันเป็นภาพพระพุทธรูปปางสมาธิชินราช
ขอร่วมเปิดให้ประมูลด้วย
บ่ายวันที่ ๑๓ กันยา
ภาพดังกล่าวมีผู้ยื่นประมูลไว้แล้วถึงราคา ๑ ล้านบาท
ปกรณ์ซึ่งเป็นผู้จัดการประมูลแจ้งว่า “รายได้ทั้งหมดที่ได้จากการประมูลจะหัก
๑๐% เป็นทุนการศึกษาให้น้องคนวาด
ส่วนที่เหลือพี่เค้าจะเอาไปบริจาคให้เด็กตาบอดและโรงพยาบาลสงฆ์ในพื้นที่ห่างไกล”
ในภาวะที่ดูเหมือนว่าสังคมกำลังค่อยๆ
ถอยลงไปสู่ความล่มสลายทางจิตสำนึกแห่งมนุษยธรรม เพื่อนอบน้อมสยบยอมต่ออสุรกาย
อันมาในรูปแบบของสิ่งวิเศษต่างๆ ผ่านทางพลังอาวุธ ชาติเชื้อ และภูติผี