วันจันทร์, กันยายน 09, 2562

มนุษย์พระกะมนุษย์นักศึกษาที่นั่งกราบอยู่นั่นมีอะไรมาการันตีว่าใครจะมีบาปติดตัวมากกว่ากัน หากนักศึกษาหรือใครทำผิดต่อพระพุทธรูป ให้เป็นเรื่องที่เขาจะขอขมาต่อพระพุทธรูปเองดีไหม





การปฏิรูปคริสต์ศาสนาในยุโรป ศตวรรษที่ 16 มาร์ติน ลูเธอร์บอกว่า "มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่อภัยบาปได้ สันตะปาปาหรือศาสนจักรอภัยบาปไม่ได้" ไอเดียนี้ส่งผลต่อมาให้เลิก #กฎหมายหมิ่นศาสนา ในยุคสมัยใหม่ด้วยเหตุผลว่า "เรื่องดูหมิ่นพระเจ้าและการลงโทษ เป็นเรื่องระหว่างพระเจ้ากับปัจเจกบุคคลเท่านั้น คนอื่น, สังคม, อำนาจรัฐหรือศาสนจักรไม่เกี่ยว"

ถึงไม่มีข้อหาหมิ่นศาสนาแล้ว ศาสนาคริสต์ก็ยังเป็นศาสนาที่คนนับถือมากที่สุดในโลกอยู่ดี แปลว่ากฎหมายหมิ่นศาสนาไม่ได้ช่วยอะไร

นี่ศตวรรษที่ 21 แล้ว หากนักศึกษาหรือใครทำผิดต่อพระพุทธรูป ให้เป็นเรื่องที่เขาจะขอขมาต่อพระพุทธรูปเองดีไหม เพราะผู้กระทำและพระพุทธรูปเท่านั้นที่จะรู้ได้อย่างแท้จริงว่าแบบไหนคือทำด้วยใจบริสุทธิ์แบบไหนลบหลู่ดูหมิ่น


สุรพศ ทวีศักดิ์
.
อร่าม สีกะกุล มนุษย์พระกะมนุษย์นักศึกษาที่นั่งกราบอยู่นั่นมีอะไรมาการันตีว่าใครจะมีบาปติดตัวมากกว่ากัน


...

เอาจริงๆกรณีพระพุทธรูปอุลตร้าแมน นี่ไม่ใช่ประเด็นเรื่องศาสนาเสียทีเดียวหรอก

มันเป็นประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ในวัฒนธรรมไทยๆนี่มากกว่า

ลองคิดว่าถ้าคนวาดรูปไม่ใช่ “เด็ก” สิ แต่เป็นศิลปินใหญ่สักคน หรือ ( ... ) เราอาจจะได้รับฟังคำสรรเสริญถึงความลุ่มลึกเชิงพุทธศิลป์แทน

ลึกๆแล้วมันคือเรื่อง Authority ในการทำอะไรนอกกรอบ

ถ้าคุณมีอำนาจ มี authority ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง คุณนอกกรอบได้ ไม่ผิด (กำแพงวัดเยอะแยะที่เขียนภาพนอกกรอบ อันนี้ทำได้ไม่ผิด วัดใกล้ๆกรุงเทพแห่งนึงมีพระพุทธรูปใส่แว่นกันแดดให้กราบไหว้ นี่ก็ไม่เป็นไร แหม่)

แต่ถ้าเป็นเด็ก ไม่เดินตาม เสือกไปนอกกรอบ เสือกขบถ อันนี้เรื่องใหญ่ทันทีจ้ะ
รุจน์ ธนรักษ์
...