พอมี ‘ภาคประชาชน’ เสนอแก้รัฐธรรมนูญบ้าง เสียงต้านจากพลังประชารัฐก็ชักจะเงียบไป คล้ายว่าหยุดตั้งหลักแต่ไม่ใช่
เมื่อมีสาย ‘ภิวัฒน์’ ออกมาลุยแทนในนาม
‘ทีดีอาร์ไอ’ ทำว่า ‘กันทักษิณ’ แต่แท้จริงน่าจะหมายช่วงชิงให้มั่นใจว่ารัฐธรรมนูญใหม่ถ้าจะมีอีก
ต้องไม่ ‘เช็คบิลย้อนหลัง’
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ คนโตใน ‘ทีดีอาร์ไอ’ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ
ไปพูดในการเสวนา “จินตนาการใหม่ ข้อตกลงใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่” ที่มี ธนาธร
จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ร่วมอภิปราย
เขาออกตัวปกป้องรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ แต่แรกเลยเชียว
บอกว่าถึงอย่างไรรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ผ่านประชามติมาแล้ว “แม้จะมีคำถามว่าทำอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่
แต่ก็มีความชอบธรรมในระดับหนึ่ง” ฉะนั้นถ้าจะแก้กันละก็
“ต้องเลือกแก้เฉพาะเรื่องที่สำคัญจริงๆ
เป็นเรื่องที่คนมีความเห็นพ้องต้องกันสูง เพื่อหาวิธีประสานความแตกต่าง และอย่าเลือกประเด็นที่มีความอ่อนไหว
โดยเฉพาะการเช็คบิลย้อนหลัง” นี่เท่ากับตีกันไว้เลยว่าจะไม่เอา “การลบล้างผลพวงรัฐประหาร”
ที่ธนาธรและ อนค.เสนอไว้แต่อ้อนแต่ออก
ประธานทีดีอาร์ไอไพล่ไปวิจารณ์แนวคิดของธนาธรที่ตีความได้ว่า
อยากให้ลบล้างความไม่ยุติธรรมที่มวลชนเสื้อแดงถูกกระทำ เลยไปถึงสิ่งที่อดีตนายกฯ ถูกกล่าวหาและเล่นงานไว้ก่อน
แล้วมาปรากฏภายหลังว่าหลายอย่างเขาบริสุทธิ์
“ผมไม่ค่อยสบายใจเวลาคุณธนาธรพูดว่าจะไปรื้อฟื้นคดีคุณทักษิณ
ชินวัตร” ทั้งที่ยอมรับว่า “กระบวนการเล่นงานคุณทักษิณนั้นมีปัญหา”
ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เขาเอ่ยตอนหนึ่ง “แน่นอนว่ามันถกเถียงกันได้”
แต่สมเกียรติต้องการให้ปล่อยไป
เขาตีกันไว้เลยว่าถ้ามีประเด็นเช่นนั้น “จะมีคนเกือบครึ่งหนึ่งคัดค้าน
ทำให้มันตกตั้งแต่แรก” เขาแนะให้เลือกประเด็นที่จะแก้ ‘ดีๆ’ “ต้องเป็นประเด็นที่ประสานคน ไม่ใช่แบ่งแยกคน” การประสานของเขาก็คือยอมรับท่าที
กปปส.
อย่าให้พวกนั้นเกิดการ ‘หมั่นไส้’ “ต้องใช้วิธีการสื่อสารที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
ยกตัวอย่างการ “ใช้คำพูดที่ดูถูกซึ่งกันและกัน เช่น ฝั่งหนึ่งเรียกอีกฝั่งว่า ‘สลิ่ม’ หรือ ‘ควายแดง’ “ต้องหลีกเลี่ยงการใช้วาจาเช่นนี้ ต้องมีมธุรสวาจา”
Atukkit Sawangsuk
มองว่าการเสนอต้องโน่นต้องนี่อย่างนี้ “ก็กลายเป็นลูบหน้าปะจมูก เป็นเครื่องมือกลบเกลื่อน
ก้าวข้ามอดีตก้าวข้ามความไม่ยุติธรรม ความเลวร้ายของรัฐประหารตุลาการภิัวัตน์
แล้วบอกว่ามาเริ่มต้นกันใหม่
มองไปข้างหน้าดีกว่า บลาๆๆ สุดท้ายก็เป็นประชาธิปไตยจอมปลอมอยู่ดี”
อธึกกิตชี้อีกว่า “ความไม่เป็นประชาธิปไตยแบบกลัวทักษิณชนะ จนเขียนรัฐธรรมนูญมาให้เป็นรัฐบาลผสมรัฐบาลอ่อนแอ
ให้ตู่ตั้ง ๒๕๐ ส.ว.โหวตตัวเอง ให้มีกรรมการยุทธศาสตร์ชาติคุมประเทศไปอีก ๒๐ ปี”
เหล่านั้นมันไม่ใช่แค่กีดกันทักษิณ
แต่เป็นการทำร้ายประชาชน ทำความเสียหายต่อประเทศด้วย
ถ้าไม่แก้สิ่งเหล่านั้นแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม ข้อนี้คงเดาได้ว่าเป็นการ ‘แย่งซีน’ หากประชาชนที่สมเกียรติต้องการให้เป็นผู้เสนอแก้รัฐธรรมนูญ
เป็นเช่น อุเชนทร์ เชียงเสน ว่าไว้
“เห็นพวกภาคประชาชนออกมาขยับเรื่องแก้ รธน.
นี่ แน่นอนเขามีสิทธิ์เหมือนเราทุกคน แต่บอกเลยว่าพวกเขาน่ากลัวกว่าที่หลายคนคิด
ไม่เพียงเขาจำนวนมากคือ กปปส. แต่เอาเข้าจริงพวกเขาไม่ได้มีหลักการอะไรเลย”
‘ภาคประชาชน’ ดังกล่าวนี่คือ ‘ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย’ ซึ่งมี อนุสรณ์ ธรรมใจ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และ โคทม อารียา เป็นหัวเรือใหญ่
เคลื่อนไหวเสนอแก้รัฐธรรมนูญกันมาพักหนึ่งแล้ว ลงเอยประกาศเมื่อ ๗ กันยายนนี้
“สนับสนุนการตั้งกรรมาธิการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา”
โดยร่วมกระบวนการกับพรรคประชาธิปัตย์ ชักชวนให้ ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลช่วยกัน “เห็นด้วยกับการเริ่มต้นแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน”
นั่นเป็นแนวทางที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล
เสนอไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม
และพรรคเพื่อไทยเห็นพ้องดำเนินการหลังรวมตัวกับพรรคอื่นอีก ๖ พรรค
ร่วมกันเป็นฝ่ายค้าน ซึ่งข้อเสนอของภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญฯ รับเอาวิธีการ ‘เลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ’ ไปใช้
ดูคำชี้แจงของภาคีฯ เสนอตัว “เป็นเวทีกลางหลอมรวมพลังเพื่อผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”
พร้อมข้อเสนอ ๖ ข้อ ได้ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2496484203733170&set=a.229248520456761&type=3&theater
การก่อหวอดโดยประธานทีดีอาร์ไอเปิดประเด็นว่าแก้รัฐธรรมนูญได้
แต่ต้องไม่เป็นประโยชน์แก่ทักษิณนี้ “ทักษิณอาจชินชาไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรแล้วกับคดีความ
ถ้าทำใจเสียว่ายังไงก็ไม่ได้กลับบ้าน อยู่ดูไบสบายๆ บินไปไหนก็ได้ทั่วโลก
แถมสถานการณ์ต่อไป ทักษิณก็ไม่ได้เป็นเป้า
ธนาธรสิเป็นเป้ามากกว่า” ดังอธึกกิตว่า ความเสียหายจากการทำลายประชาธิปไตย ทำร้ายประชาชนโดย
คสช. ที่ผ่านมาก็จะยังคงไม่มีการเยียวยา
‘รัฐตุลาการเป็นใหญ่’
ที่มาพร้อมกับ ‘คู่แฝดมหาภัย’ รัฐทหาร จะยังคงเป็นดั่งมาเฟียกดขี่ประชาชนต่อไปอีกนาน