ที่มา FB
Executive Summary
เรียนท่านผู้บริหาร “จับตากระแสญี่ปุ่นยกโรงงานกลับบ้าน (Reshoring)”
สิ่งที่น่าจับตามองจากวันนี้ไปอีก 5-10 ปี คือ ความเปลี่ยนแปลงจากการที่ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นเริ่มยกโรงงานกลับประเทศของตัวเอง อันเกิดจากความได้เปรียบเรื่องค่าแรงนอกประเทศที่มีราคาถูก เกิดมีการนำ Robot เข้ามาใช้ การที่แรงงานต่างแดนมีความต้องการสูงแต่มีวินัยต่ำ ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคำว่า “Made in Japan” มีสูง
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นน่าจะได้รับการพิจารณาประเมินเพื่อมองสถานการณ์ทางการตลาดในเวลาอันไม่ไกลนี้ แม้กระแสยังไม่เกิดความชัดเจนว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นจะเดินตามแนวทางนี้ทั้งหมดหรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่น่าพิจารณา
#ต้นเหตุ
ในราวปี 1985-1986 ญี่ปุ่นเศรษฐกิจรุ่งเรืองสุดขีดส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพไปทั่วโลกได้เปรียบดุลย์การค้าจากมหาอำนาจของโลก จนเกิดมาตรการกดดันให้ค่าเงินเยนต้องแข็งขึ้นตามความเจริญทางเศรษฐกิจและเป็นการลดความสามารถในการส่งออกแย่งตลาดอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆอีกด้วย
สิ่งนี้สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เพราะ ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้สินค้าขายได้ยาก ทางออกจึงต้องเป็นการออกไปตั้งโรงงานผลิตที่นอกประเทศญี่ปุ่น (Offshoring) เพื่อหาทางลดต้นทุนสินค้าด้วยการใช้แรงงานที่มีค่าแรงถูก
สินค้าต่างๆที่ออกมาผลิตนอกประเทศญี่ปุ่นแม้จะเป็นแบรนด์ของญี่ปุ่นเอง ก็ต้องใส่คำว่า Made in China, Made in Malaysia, Made in Thailand, Made in Vietnam ซึ่งผู้บริโภคทั่วโลกมองว่า หากเป็นสินค้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรงคือ Made in Japan น่าจะมีคุณภาพมากกว่า จากการที่ญี่ปุ่นต้องออกไปผลิตสินค้านอกประเทศ ทำให้พวกเค้าเองก็ต้องซื้อสินค้าของตัวเองกลับมาใช้ในประเทศด้วยเช่นกัน
#ความเปลี่ยนแปลงหลัก
- Abenomics เริ่มส่งผล (นโยบายของนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ที่กำหนดแนวทางหลักไว้ ได้ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ต้องการคือ กระตุ้นเงินเฟ้อ และ ลดค่าเงินเยนลงให้ได้) [3]
- การขึ้นค่าแรงคนงานในประเทศกำลังพัฒนา
- Robot เข้ามาทดแทนคนงานได้ดีขึ้น [5][7]
- ความแข็งแกร่งของคำว่า “Made in Japan” [4]
ทั้ง 4 ข้อที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความลงตัวในการย้านฐานการผลิตกลับสู่ประเทศญี่ปุ่น เพราะ ไม่ต้องพึ่งแรงงานราคาถูกจากการใช้ Robot ยิ่งคนงานในต่างแดนเรื่องมากแค่ไหนก็ยิ่งทำให้ญี่ปุ่นอยากกลับเร็วขึ้น ประกอบกับค่าเงินเยนที่ถูกได้กำจัดความจำเป็นในการตั้งโรงงานนอกประเทศ อีกทั้งเมื่อมีคำว่า Made in Japan อยู่บนสินค้ายิ่งทำให้ผู้ซื้อพึงพอใจมากขึ้น
Panasonic Sharp Canon Pioneer Honda Nissan TDK Daikin ในประเทศต่างๆเช่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ก็เริ่มทะยอยย้ายฐานการผลิตกลับประเทศแล้ว [1] แต่ Toyota ยังมองเรื่องนี้แตกต่างออกไป เพราะ Toyota มองว่าความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ได้เกิดจากค่าแรงที่ถูกอย่างเดียว แต่การผสมผสานแหล่งผลิตของส่วนประกอบรถยนต์ตลอดจน Logistics และ Supply Chain มีความหมายมากกว่าค่าแรงที่ถูก [2]
ดังนั้นกระแส Reshoring นี้ แม้ยังไม่มีการฟันธงว่าจะเกิดในระดับกว้างเพียงใด แต่ ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรมองข้าม
#ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ญี่ปุ่นมาลงทุนด้วยมากที่สุด แต่ โรงงานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นได้มาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยยาวนานและเป็นส่วนของการสร้างรายได้ให้ประเทศมากมาย หากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ผู้บริหารในภาครัฐที่มีหน้าที่ ควรจะได้จับตามอง ผู้บริหารในภาคเอกชนที่เคยมีลูกค้าเป็นโรงงานของญี่ปุ่น หรือ ผู้บริหารที่มีสินค้าขายให้กับกลุ่มเป้าหมายโรงงานต้องพิจารณา ตลอดจนมหาวิทยาลัยและ โรงเรียนสอนภาษาควรพิจารณาผลกระทบในเรื่องนี้
ผลกระทบในระดับภูมิภาคที่น่าจะกระทบใหญ่คือ ประเทศจีน เพราะกระแสการขึ้นค่าแรงของคนจีนได้ทวีความรุนแรงจนญี่ปุ่นเริ่มทยอยออกจากประเทศจีนมากหลายปีแล้ว [8]
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นการกดดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องกดค่าเงินให้ต่ำ ซึ่งคงจะถูกใจนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ชื่นชอบประเทศญี่ปุ่นที่จะได้ใช้เงินที่น้อยลงในการไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วย
ศึกษาเพิ่มเติม
1 https://www.nippon.com/en/genre/economy/l00100/
2 https://www.japantimes.co.jp/…/toyota-delivers-blow-abes-r…/
3 https://www.ft.com/con…/baaddb20-0bcb-11e6-b0f1-61f222853ff3
4 http://journal.jp.fujitsu.com/en/2013/11/29/01/
5https://asia.nikkei.com/Business/Trends/Robots-persuade-Japanese-manufacturers-to-bring-production-home
6 http://www.dir.co.jp/…/…/report/analysis/20150424_009674.pdf
7 https://asia.nikkei.com/…/Robots-persuade-Japanese-manufact…
8 https://www.theaustralian.com.au/…/f9163d97d92e4ad00a86ea4e…
เรียนท่านผู้บริหาร “จับตากระแสญี่ปุ่นยกโรงงานกลับบ้าน (Reshoring)”
สิ่งที่น่าจับตามองจากวันนี้ไปอีก 5-10 ปี คือ ความเปลี่ยนแปลงจากการที่ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นเริ่มยกโรงงานกลับประเทศของตัวเอง อันเกิดจากความได้เปรียบเรื่องค่าแรงนอกประเทศที่มีราคาถูก เกิดมีการนำ Robot เข้ามาใช้ การที่แรงงานต่างแดนมีความต้องการสูงแต่มีวินัยต่ำ ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อคำว่า “Made in Japan” มีสูง
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นน่าจะได้รับการพิจารณาประเมินเพื่อมองสถานการณ์ทางการตลาดในเวลาอันไม่ไกลนี้ แม้กระแสยังไม่เกิดความชัดเจนว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นจะเดินตามแนวทางนี้ทั้งหมดหรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่น่าพิจารณา
#ต้นเหตุ
ในราวปี 1985-1986 ญี่ปุ่นเศรษฐกิจรุ่งเรืองสุดขีดส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพไปทั่วโลกได้เปรียบดุลย์การค้าจากมหาอำนาจของโลก จนเกิดมาตรการกดดันให้ค่าเงินเยนต้องแข็งขึ้นตามความเจริญทางเศรษฐกิจและเป็นการลดความสามารถในการส่งออกแย่งตลาดอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆอีกด้วย
สิ่งนี้สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เพราะ ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้สินค้าขายได้ยาก ทางออกจึงต้องเป็นการออกไปตั้งโรงงานผลิตที่นอกประเทศญี่ปุ่น (Offshoring) เพื่อหาทางลดต้นทุนสินค้าด้วยการใช้แรงงานที่มีค่าแรงถูก
สินค้าต่างๆที่ออกมาผลิตนอกประเทศญี่ปุ่นแม้จะเป็นแบรนด์ของญี่ปุ่นเอง ก็ต้องใส่คำว่า Made in China, Made in Malaysia, Made in Thailand, Made in Vietnam ซึ่งผู้บริโภคทั่วโลกมองว่า หากเป็นสินค้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรงคือ Made in Japan น่าจะมีคุณภาพมากกว่า จากการที่ญี่ปุ่นต้องออกไปผลิตสินค้านอกประเทศ ทำให้พวกเค้าเองก็ต้องซื้อสินค้าของตัวเองกลับมาใช้ในประเทศด้วยเช่นกัน
#ความเปลี่ยนแปลงหลัก
- Abenomics เริ่มส่งผล (นโยบายของนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ที่กำหนดแนวทางหลักไว้ ได้ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ต้องการคือ กระตุ้นเงินเฟ้อ และ ลดค่าเงินเยนลงให้ได้) [3]
- การขึ้นค่าแรงคนงานในประเทศกำลังพัฒนา
- Robot เข้ามาทดแทนคนงานได้ดีขึ้น [5][7]
- ความแข็งแกร่งของคำว่า “Made in Japan” [4]
ทั้ง 4 ข้อที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความลงตัวในการย้านฐานการผลิตกลับสู่ประเทศญี่ปุ่น เพราะ ไม่ต้องพึ่งแรงงานราคาถูกจากการใช้ Robot ยิ่งคนงานในต่างแดนเรื่องมากแค่ไหนก็ยิ่งทำให้ญี่ปุ่นอยากกลับเร็วขึ้น ประกอบกับค่าเงินเยนที่ถูกได้กำจัดความจำเป็นในการตั้งโรงงานนอกประเทศ อีกทั้งเมื่อมีคำว่า Made in Japan อยู่บนสินค้ายิ่งทำให้ผู้ซื้อพึงพอใจมากขึ้น
Panasonic Sharp Canon Pioneer Honda Nissan TDK Daikin ในประเทศต่างๆเช่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ก็เริ่มทะยอยย้ายฐานการผลิตกลับประเทศแล้ว [1] แต่ Toyota ยังมองเรื่องนี้แตกต่างออกไป เพราะ Toyota มองว่าความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ได้เกิดจากค่าแรงที่ถูกอย่างเดียว แต่การผสมผสานแหล่งผลิตของส่วนประกอบรถยนต์ตลอดจน Logistics และ Supply Chain มีความหมายมากกว่าค่าแรงที่ถูก [2]
ดังนั้นกระแส Reshoring นี้ แม้ยังไม่มีการฟันธงว่าจะเกิดในระดับกว้างเพียงใด แต่ ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรมองข้าม
#ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ญี่ปุ่นมาลงทุนด้วยมากที่สุด แต่ โรงงานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นได้มาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยยาวนานและเป็นส่วนของการสร้างรายได้ให้ประเทศมากมาย หากเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ผู้บริหารในภาครัฐที่มีหน้าที่ ควรจะได้จับตามอง ผู้บริหารในภาคเอกชนที่เคยมีลูกค้าเป็นโรงงานของญี่ปุ่น หรือ ผู้บริหารที่มีสินค้าขายให้กับกลุ่มเป้าหมายโรงงานต้องพิจารณา ตลอดจนมหาวิทยาลัยและ โรงเรียนสอนภาษาควรพิจารณาผลกระทบในเรื่องนี้
ผลกระทบในระดับภูมิภาคที่น่าจะกระทบใหญ่คือ ประเทศจีน เพราะกระแสการขึ้นค่าแรงของคนจีนได้ทวีความรุนแรงจนญี่ปุ่นเริ่มทยอยออกจากประเทศจีนมากหลายปีแล้ว [8]
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นการกดดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องกดค่าเงินให้ต่ำ ซึ่งคงจะถูกใจนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ชื่นชอบประเทศญี่ปุ่นที่จะได้ใช้เงินที่น้อยลงในการไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วย
ศึกษาเพิ่มเติม
1 https://www.nippon.com/en/genre/economy/l00100/
2 https://www.japantimes.co.jp/…/toyota-delivers-blow-abes-r…/
3 https://www.ft.com/con…/baaddb20-0bcb-11e6-b0f1-61f222853ff3
4 http://journal.jp.fujitsu.com/en/2013/11/29/01/
5https://asia.nikkei.com/Business/Trends/Robots-persuade-Japanese-manufacturers-to-bring-production-home
6 http://www.dir.co.jp/…/…/report/analysis/20150424_009674.pdf
7 https://asia.nikkei.com/…/Robots-persuade-Japanese-manufact…
8 https://www.theaustralian.com.au/…/f9163d97d92e4ad00a86ea4e…