รายงานแอมเนสตี้เผยเสรีภาพไทยปี 60 ย่ำแย่
ระบุสิทธิมนุษยชนยังไม่เป็นวาระแห่งชาติอย่างแท้จริง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2560/61 ซึ่งเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน 159 ประเทศทั่วโลกตลอดปี 2560 ที่ผ่านมา โดยพบว่าในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย มีการพยายามคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมุนมอย่างสงบของประชาชนอย่างหนัก
แอมเนสตี้พบว่าในปี 2560 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม นักศึกษา ชาวบ้านที่เรียกร้องสิทธิชุมชน ทนายความ สื่อมวลชน นักวิชาการ ไปจนถึงประชาชนทั่วไปในประเทศไทยต่างถูกภาครัฐและเอกชนละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างต่อเนื่อง โดยข้อกฎหมายที่มักถูกนำมาอ้างใช้บ่อยครั้ง ได้แก่ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 116 ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งต่างมีเนื้อหาหรือการตีความที่ขัดต่อมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม
Sa-nguan Khumrungroj
ooo
รายงานแอมเนสตี้ฯ : รัฐบาลทหารไทยปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างเป็นระบบ
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพประชาชนที่มาร่วมเรียกร้องการหยุดตั้งข้อหาเพื่อ "ปิดปากประชาชน" ที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อ 1 ก.พ.
22 กุมภาพันธ์ 2018
ที่มา BBC Thai
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโลกประจำปี 2560/2561 วันนี้ (22 ก.พ.) พบไทย-กัมพูชาสูสีปมปราบปรามผู้เห็นต่าง พร้อมเสนอให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.-เปิดทางชุมนุมอย่างสงบ-แก้ ม. 112
รายงานฉบับนี้ครอบคลุม 159 ประเทศ ในส่วนของประเทศไทยพบว่ามีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน สะท้อนผ่านการที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อควบคุมโดยพลการต่อการจัดกิจกรรมทางการเมืองอย่างสงบ และการใช้สิทธิมนุษยชนอื่น ๆ พลเรือนหลาย 100 คนต้องเข้ารับการพิจารณาคดีในศาลทหาร เนื่องจากละเมิดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมการเมืองเกิน 5 คน, กระทำความผิดต่อความมั่นคงแห่งชาติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยในปี 2560 ที่ระบุในรายงานของแอมเนสตี้ฯ อาทิ
22 กุมภาพันธ์ 2018
ที่มา BBC Thai
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโลกประจำปี 2560/2561 วันนี้ (22 ก.พ.) พบไทย-กัมพูชาสูสีปมปราบปรามผู้เห็นต่าง พร้อมเสนอให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.-เปิดทางชุมนุมอย่างสงบ-แก้ ม. 112
รายงานฉบับนี้ครอบคลุม 159 ประเทศ ในส่วนของประเทศไทยพบว่ามีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน สะท้อนผ่านการที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อควบคุมโดยพลการต่อการจัดกิจกรรมทางการเมืองอย่างสงบ และการใช้สิทธิมนุษยชนอื่น ๆ พลเรือนหลาย 100 คนต้องเข้ารับการพิจารณาคดีในศาลทหาร เนื่องจากละเมิดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมการเมืองเกิน 5 คน, กระทำความผิดต่อความมั่นคงแห่งชาติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยในปี 2560 ที่ระบุในรายงานของแอมเนสตี้ฯ อาทิ
- มี.ค. นายชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมเยาวชนชาวลาหู่ อายุ 17 ปี ถูกสังหารที่ด่านตรวจของทหารและเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการยิงเพื่อป้องกันตัว จนถึงสิ้นปี การสอบสวนคดีนี้มีความคืบหน้าไม่มากนัก
- มี.ค. ผู้แทนรัฐบาลไทยแจ้งต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาเสนอเรื่องการบังคับบุคคลให้สูญหาย กรณีนายสมชาย นีละไพจิต อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ "บิลลี่" ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการ แต่จนถึงสิ้นปียังไม่มีการดำเนินการใด ๆ
- พ.ค. จับกุมบุคคล 6 คน เนื่องจากการแชร์โพสต์ในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการย้ายหมุดคณะราษฎร จนถึงสิ้นปี บุคคลเหล่านี้ยังคงถูกคุมขังอยู่ โดยถูกดำเนินคดีในหลายกรรมเนื่องจากการละเมิดมาตรา 112
- พ.ค. ทางการไทยส่งตัวนายมูฮัมเหม็ด ฟุรกาน เซิกเม็น สัญชาติตุรกีกลับไปตุรกี ระหว่างการเดินทางจากเมียนมาผ่านกรุงเทพฯ แม้สหประชาชาติจะแจ้งเตือนว่ามีความเสี่ยงที่เขาจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหากถูกส่งกลับไปตุรกี
- มิ.ย. ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาลงโทษจำคุกชายวัย 35 ปี โดยลดจากโทษจำคุก 70 ปีเนื่องจากการรับสารภาพ นับเป็นโทษที่หนักเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการโพสต์ข้อความหลายครั้งเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
- ส.ค. นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ดาวดิน นักศึกษาและนักกิจกรรม ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง จากการแชร์บทความพระราชประวัติของบีบีซีบนเฟซบุ๊ก
- ต.ค. เจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทเอกชนฟ้องหมิ่นประมาทนักกิจกรรม ผู้สื่อข่าว และคนงาน กรณีเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ ข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่
- ต.ค. ทางการแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับนักวิชาการคนสำคัญ จากการแสดงความเห็นเกี่ยวกับสงครามยุทธหัตถีของกษัตริย์ไทยที่เกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16
- พ.ย. การดำเนินคดีอาญากับผู้ประท้วงที่พยายามยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.สงขลา
- อื่น ๆ การตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นกับนักการเมืองฝ่ายค้าน 3 คน และผู้สื่อข่าว 1 คน จากกรณีวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
- อื่น ๆ ทางการกดดันเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล และยูทูป ให้ลบเนื้อหาทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังขู่จะดำเนินคดีกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ไม่ลบเนื้อหา รวมทั้งบุคคลที่สื่อสารหรือแชร์ข้อความที่โพสต์โดยผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่อยู่ระหว่างการลี้ภัย
- อื่น ๆ ทางการเสนอร่างกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์และมาตรการอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มอำนาจในการสอดแนมทางอินเตอร์เน็ตและการเซ็นเซอร์ โดยไม่จำเป็นต้องขอหมายศาล
เสนอเลิกคำสั่ง คสช.-แก้ ม. 112
แอมเนสตี้ฯ มีข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลไทยใน 7 ประเด็น ครอบคลุมเรื่องการขัดแย้งกันด้วยอาวุธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, การทรมาน/การปฏิบัติที่โหดร้ายและการบังคับบุคคลให้สูญหาย, การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ, นักปกป้องสิทธิมนุษยชน, ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย, โทษประหารชีวิต และกฎหมายจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพการตั้งข้อหาคดี 112 กับ ส. ศิวรักษ์ จากกรณีหมิ่นพระนเรศวร เป็นหนึ่งในกรณีที่แอมเนสตี้ฯ ให้ความสนใจบันทึกลงรายงานประจำปี อย่างไรก็ตามคดีนี้ยุติลงเมื่อ 17 ม.ค. หลังอัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้อง โดย ส.ศิวรักษ์ให้เหตุผลว่า "เพราะพระบารมีปกเกล้าฯ"
เฉพาะประเด็นการปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ เสนอให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง 5 คน, ยุติการจับกุมหรือการควบคุมตัวโดยพลการ พร้อมรับรองว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวทุกคนจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนจากคณะตุลาการที่เป็นอิสระโดยทันที, ยุติการใช้ศาลทหารเพื่อไต่สวนคดีของพลเรือน, อนุญาตให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ และไม่ลงโทษผู้ที่ใช้สิทธิดังกล่าวอย่างชอบธรรม รวมถึงการกดไลค์และการแชร์ข้อมูลออนไลน์ด้วย
ส่วนประเด็นกฎหมายจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น เสนอให้ฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบโดยทันที, แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยยกเลิกข้อบัญญัติที่อนุญาตให้บุคคลใด ๆ สามารถฟ้องร้องบุคคลอื่นในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ ตลอดจนกำหนดอัตราโทษให้ได้สัดส่วนต่อฐานความผิด โดยในระหว่างที่รอการแก้ไข ให้ชะลอการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้เมื่อ 12 ก.พ. 2561 รัฐบาล คสช. เพิ่งประกาศ "วาระแห่งชาติ: สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลไทยมีเจตนารมณ์และมุ่งมั่นในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับนานาประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประเทศเกิดความสงบสุข ทุกคนมีความรักและสามัคคี รู้สิทธิหน้าที่ รู้กฎหมาย เคารพสิทธิซึ่งกันและกันโดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น พร้อมย้ำว่า "รัฐบาลปัจจุบันไม่เคยละเลยการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐธรรมนูญก็มีการกล่าวไว้อย่างชัดเจน"
ไทย-กัมพูชา: รัฐจ้องปราบปรามผู้เห็นต่าง
รายงานของแอมเนสตี้ฯ ได้บรรยายภาพรวมสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของรัฐบาล แต่ในทางตรงข้ามก็ได้เห็นการเติบโตขึ้นอย่างน่าประทับใจของขบวนการนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรม ทั้งนี้แอมเนสตี้ฯ ได้แสดงความกังวลใจต่อ "การปราบปรามผู้ที่เห็นต่างอย่างกว้างขวางในกัมพูชาและไทย" โดยใช้คำว่า "รัฐบาลทหารไทยยังคงปราบปรามอย่างเป็นระบบต่อผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ขัดขวางไม่ให้ประชาชนแสดงความเห็น หรือชุมนุมอย่างสงบ และเอาผิดทางอาญา..."
...
อ่านรายงานข่าวเต็มจากบีบีซีได้ที่...
http://www.bbc.com/thai/international-43151195