วันพุธ, กุมภาพันธ์ 28, 2561
(โง่แล้วอยากนอนเตียง) มีความเห็นสอดคล้องกันมากขึ้นว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ามาบริหารประเทศกว่า 3 ปีแล้ว ประชาชนเห็นความ "บ่มิไก๊" มากยิ่งขึ้น
ในประเทศ : วิกฤตศรัทธา
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2561
เผยแพร่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
มีความเห็นสอดคล้องกันมากขึ้นว่า หลังรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ามาบริหารประเทศผ่านมาแล้ว 3 ปีกว่า และเหลือเวลาตามโรดแม็ปอีกประมาณ 1 ปี
เผชิญ “วิกฤตศรัทธา” มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ สามารถอ้างอิงจากโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลงานรัฐบาล ของ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,016 คน ระหว่างวันที่ 12-17 กุมภาพันธ์ 2561
ปรากฏว่าประชาชนให้คะแนนภาพรวมของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ผ่านอย่างเฉียดฉิว
โดยคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.35 คะแนน
ทั้งนี้ ผลงานด้านสังคม
โดยภาพรวมประชาชนให้ 5.39 คะแนน
แยกเป็น
1. การดูแลช่วยเหลือประชาชน/ปราบปรามอาชญากรรม 5.76
2. การจัดระเบียบสังคม/สร้างมาตรฐานคุณธรรม ค่านิยม 12 ประการ 5.71
3. การปราบปรามยาเสพติด 5.69
4. การปราบปรามการทุจริต 4.85
5. การดูแลรักษาสุขภาพประชาชน 5.34
6. การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม 4.75
7. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ไทยแลนด์ 4.0 5.56
8. การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์/แรงงานต่างด้าว 5.69
9. การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.27
10. การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 5.84
11. การจัดการศึกษา/การปฏิรูปการศึกษา 5.19
12. พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครู 5.00
ในประเด็นด้านสังคม แม้ส่วนใหญ่ รัฐบาลสอบผ่าน
แต่กระนั้น น่าสังเกตว่า สอบตกใน 2 เรื่อง คือ
การปราบปรามการทุจริต ได้ 4.85
และการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม 4.75
ถือเป็น 2 เรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการปราบปรามการทุจริตนั้น ประเด็นนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่จบ
และเป็นหัวเชื้อให้เรื่องนี้ลามไปยังประเด็นอื่นๆ อย่างกว้างขวาง นอกจากการแฉกันเองผ่านปากของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ จนสร้างความอึมครึมในคณะรัฐมนตรีแล้ว
ล่าสุด นายต่อตระกูล ยมนาค ประธานอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติด้านการป้องกันการทุจริต ในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน ได้ทำหนังสือถึงประธาน คตช. แสดงความกังวลต่อบทบาทของ คตช. ในสถานการณ์ดังกล่าว
และเรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร ลาออก เพื่อลดความไม่พอใจของสังคม
ซึ่งสะท้อนผ่านผลสำรวจดัชนีสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ชี้ปี 2560 สถานการณ์คอร์รัปชั่นเริ่มกลับมา และในปี 2561 นี้จะรุนแรงมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือน พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่ขานรับนายต่อตระกูล อย่างสิ้นเชิง
โดยอ้างว่า ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการตรวจสอบอยู่แล้ว อย่าทำให้วุ่นวาย หรือให้มีปัญหา
ส่วนมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ อ้างว่า ได้เรียกมหาวิทยาลัยหอการค้ามาพบ ซึ่งได้รับแจ้งว่าเป็นการชี้แจงทางหลักการวิชาการซึ่งไม่ได้มีหลักฐานชัดเจน เพียงแต่ว่าเป็นการประมาณการ
ท่าทีปกป้อง “พี่ใหญ่” พล.อ.ประวิตร และไม่เห็นด้วยกับผลสำรวจการคอร์รัปชั่นของผู้นำรัฐบาลและ คสช. นี้
อาจจะเป็นคำตอบที่สำคัญหนึ่งว่า ทำไมชาวบ้านจึงให้รัฐบาลสอบตกในเรื่องดังกล่าว
มาถึงผลงานด้านเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลหวังว่า หากดึงเวลาการทำงานออกไปจะเรียกค่านิยมจากชาวบ้านได้ เพราะผลงานจากการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบ จะเริ่มปรากฏผล
แต่จากโพล “สวนดุสิต” ถึงผลงานด้านนี้ ปรากฏว่า ในภาพรวม
รัฐบาล “สอบตก” ได้คะแนนเพียง 4.94
โดยแยกในรายละเอียดคือ
1. ชีวิตความเป็นอยู่ด้านการทำมาหากิน/แก้ปัญหาจ้างงาน 4.56
2. ค่าครองชีพ รายได้ รายจ่าย หนี้สิน 4.45
3. ราคาพืชผลทางการเกษตร 4.26
4. การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 4.65
5. ส่งเสริมการลงทุน/พัฒนาอุตสาหกรรม 5.11
6. ราคาเชื้อเพลิง/พลังงาน 5.04
7. การกระตุ้นการท่องเที่ยว 5.87
8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน/ระบบขนส่ง 5.59
จะเห็นว่า ใน 8 หัวข้อ “ผ่าน” เพียง 4 ประเด็นเท่านั้น
ยิ่งหากไปฟังคนในวงการเศรษฐกิจ อย่าง นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ให้ข้อมูลแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง
ประเด็นแรกคือ ค่าเงินบาทที่สูงเกินไป โดยคาดว่าในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนนี้ ค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากที่สุด
โดยมีโอกาสที่จะลงไปทดสอบระดับต่ำกว่า 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 30.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ปลายปี 2556
และคงจะกระทบภาคส่งออกอย่างมาก
นอกจากนี้ ที่ผิดความคาดหมาย นั่นก็คือ อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2560 ขยายตัวเพียง 3.9%
ถือว่าต่ำกว่าประเทศในภูมิภาค
และเป็นการต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะขยายตัวได้ถึง 5%
สาเหตุเพราะยังขาดการลงทุน ยังไม่เห็นการลงทุนเครื่องจักรและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ที่สำคัญคือ การปฏิรูปกฎหมายและการจัดการเลือกตั้งยังไม่คืบหน้าและไม่แน่นอน ทำให้นักลงทุนโดยเฉพาะต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน
ทำให้รัฐบาลเผชิญ “วิกฤตศรัทธา” ในด้านสำคัญอีกด้านหนึ่ง
หันไปพิจารณาผลงานด้านความมั่นคง สวนดุสิตโพลชี้ว่า ภาพรวม สอบผ่าน 5.83
โดยแยกเป็น
1. ความมั่นคงเข้มแข็งของประเทศ 5.77
2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 5.51
3. การมุ่งรักษาความมั่นคงเทิดทูนสถาบัน 6.95
4. การควบคุมการก่อการร้าย/การควบคุมการประท้วง 6.08
5. การแก้ปัญหาชายแดนใต้ 4.89
6. การแก้ปัญหาอาชญากรข้ามชาติ 5.35
7. การพัฒนาและเสริมสร้างกำลังกองทัพ 6.25
แม้รัฐบาลจะสอบผ่านในเรื่องความมั่นคง และถือเป็นจุดแข็งของรัฐบาลชุดนี้
แต่กระนั้น กลับสอบตกในประเด็นสำคัญคือ การแก้ปัญหาชายแดนใต้ ที่ได้คะแนนเพียง 4.89
เป็นวิกฤตศรัทธาที่ดำรงอยู่มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง
มาถึงประเด็นสำคัญ คือผลงานด้านการเมือง
สวนดุสิตโพลชี้เปรี้ยงว่า โดยภาพรวม รัฐบาลสอบตก
คือได้เพียง 4.64
และยังสอบตกทุกประเด็นย่อย ดังนี้
1. การดำเนินการแก้ไขปัญหาทางการเมืองในภาพรวม 4.89
2. การสร้างความปรองดองจากความขัดแย้งทางการเมือง 4.78
3. การเตรียมการเลือกตั้งตามโรดแม็ป 4.30
4. การออกกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 4.38
5. การส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านการเมืองในภาพรวม 4.62
6. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล 4.85
ซึ่งผลสำรวจนี้ ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก
เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลและ คสช. ถูกโจมตีและถูกตั้งคำถามอย่างหนักถึงการเตะถ่วงการเลือกตั้ง
จนทำให้เกิดกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ออกมาเคลื่อนไหวแม้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา “หน้าเดิม” ประมาณ 6-7 คน แต่ในตอนนี้ อาจจะแตกต่างจากที่ผ่านมา
นั่นคือ กิจกรรมที่ทำขึ้น มีการขานรับจาก “มวลชน” และ “สังคม” มากขึ้น
นำไปสู่ความกังวลของรัฐบาลและ คสช. ว่า ม็อบอาจจุดติด จึงสั่งให้มีการติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ยอมรับว่า “คนส่วนใหญ่” ต้องการ “การเลือกตั้ง”
“เพียงแต่คนส่วนใหญ่เข้าใจเหตุผลและขั้นตอน จึงยอมให้ใช้เวลาสักระยะหนึ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง ดีกว่าออกมาเผชิญหน้ากันทำให้สถานการณ์ย้อนกลับมาสู่ที่เดิม”
จึงให้คำมั่นกลายๆ ว่า “หากคำนวณขั้นตอนตามกฎหมาย ก็จะมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562”
ถือเป็นความพยายามที่จะบอกว้ารัฐบาลและ คสช. ไม่ได้ต้องการเตะถ่วง
แถมยังบอกในเชิงยอมรับข้อเท้จจริงว่า “ในเรื่องอยากเลือกตั้ง หรือไม่อยากเลือกตั้งนั้น ฟังเสียงดูจากธรรมชาติของคน พออยู่นานรู้สึกเบื่อ อยากหาสิ่งที่ดีกว่า แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ดีกว่าคืออะไร”
การจับอุณหภูมิ “เบื่อ” ได้นี้เอง จึงทำให้ผู้บัญชาการต้องออกมาย้ำถึงเรื่องการเลือกตั้งว่าจะมีขึ้นแน่
ซึ่งหากทำให้คนในสังคมเชื่อกันมากๆ ว่าการเลือกตั้งอาจจะล่าช้าหรือไม่มีขึ้น แรงกดดันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลและ คสช. แน่นอน
เพราะว่าไปตอนนี้ “วิกฤตศรัทธา” ที่หนักสุดก็คงเป็นประเด็นเลือกตั้งนั่นเอง
ซึ่งก็สอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิต ที่ชี้ความต้องการ “5 อันดับ” งานที่ประชาชนอยากให้รัฐบาล “เร่งดำเนินการ” ในระยะเวลา 1 ปีก่อนการเลือกตั้ง
อันดับ 1 แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ราคาพืชผลการเกษตร การค้าระหว่างประเทศ 46.68%
อันดับ 2 เร่งกฎหมายเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง 34.73%
อันดับ 3 ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การดำเนินคดีทางการเมือง 32.30%
อันดับ 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ การดูแลรักษาสุขภาพประชาชน สวัสดิการผู้สูงอายุ 26.77%
อันดับ 5 การดำเนินงานของรัฐบาล การบริหารประเทศ การปฏิรูประบบราชการ 24.12%
จะเห็นว่า สิ่งที่ชาวบ้านต้องการ คือสิ่งที่รัฐบาล “สอบตก” และล้วนนำไปสู่ “วิกฤตศรัทธา” ทั้งสิ้น
นี่กระมังที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ พยายามลดแรงกดดันอีกแรงหนึ่ง
โดยพยายามสยบเสียงวิพากษ์วิจารณ์อาจมีคว่ำ 2 กฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งในชั้นกรรมาธิการ เพื่อเลื่อนโรดแม็ปการเลือกตั้งออกไปอีกว่า
“จะไม่มีการล้มกฎหมายลูกโดยเด็ดขาด”
ถือเป็นการพยายามกู้ศรัทธากลับมา
ขณะเดียวกัน ก็หวังว่า การคิกออฟ โดยให้ทหาร กระทรวงมหาดไทยและหน่วยราชการต่างๆ ลงไปพูดคุยกับประชาชนทั่วประเทศ ตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้
จะดึงชาวบ้านกลับมาอยู่รัฐบาลและ คสช.
และคลายวิกฤตศรัทธาลง
อย่างไรก็ตาม จะเป็นอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตหรือไม่
คือต้องรอดูเมื่อลงพื้นที่จริง โดยมีการนำวิทยากรไปพบประชาชนว่าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน
รวมถึงการใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาทที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องชี้แจงได้ว่านำงบฯ ไปดำเนินการอะไร
มีผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร
จะมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปูทางให้พรรคทหารหรือไม่
หากเป็นอย่างที่ว่า ความหวังที่จะกู้ “วิกฤตศรัทธา” ก็คงไม่ใช่
ooo
เปิดเส้นทาง พรรคมวลมหาประชาชนปฏิรูปประเทศฯ ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ หนุน คสช.