6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ที่มา แนวหน้า
ซากสัตว์ป่าหายากที่ถูกคณะนายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหารอิตาเลี่ยนไทยบริษัทมหาชน เข้าไปตั้งแคมป์ไล่ล่าในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมได้เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ในจำนวนสัตว์ป่าที่ถูกล่าและถูกถลกหนังอย่างน่าเวทนาก็คือ "เสือดำ" นอกจากนี้ยังมี "ไก่ฟ้าหลังเทา" ซึ่งเป็นสัตว์หายากในป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้วย
ไปดูกันว่า "เสือดำ" กับ "ไก่ฟ้าหลังเทา" เป็นอย่างไร
"เสือดำ" เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของสัตว์กินเนื้อประเภทเสือและแมว ที่มีลักษณะลำตัวรวมถึงลวดลายเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเสือหลายชนิด
จากการเป็นเสือดำ เกิดจากความผิดปกติในเม็ดสีที่เรียกว่าเมลานิซึม ส่งผลให้เสือที่เกิดมานั้นเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว โดยที่ยังมีลายหรือลายจุดคงอยู่ แต่จะสังเกตเห็นได้ยาก จะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในแสงแดด
เสือดำในเสือดาว มักพบได้มากในป่าดิบชื้นในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, เนปาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเบงกอลหรือชวา ใต้ท้องของเสือดำมีสีจางเล็กน้อย ผิวสีดำของเสือดำไม่ได้มีสีดำสนิท และยังคงมีลายแบบเสือดาวอยู่ด้วยซึ่งจะเห็นชัดเวลาต้องแสงแดง ซึ่งในภาษาลาวเรียกว่า "เสือแมลงภู่" หรือ "เสือลายจ้ำหลอด" เสือดำในประเทศไทยพบได้ในป่าภาคใต้ และจากประสบการณ์ของผู้ที่เลี้ยงดูแลเสือในสวนสัตว์มีความเห็นว่า เสือดำนั้นมีความดุร้ายกว่าเสือดาว
เรื่องราวของเสือดำในประเทศไทยเคยเป็นข่าวฮือฮาเมื่อราว พ.ศ. 2521 เมื่อปรากฏข่าวว่า มีเสือดำตัวหนึ่งเพ่นพ่านอยู่แถวมักกะสัน ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร จนเป็นที่หวาดกลัวของผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น จนได้ชื่อว่า "เสือดำมักกะสัน" แต่อีก 2 ปีต่อมาก็ปรากฏว่า เป็นเสือดำที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ซื้อมาในราคา 3,000 บาท และนำมาปล่อยไว้เอง เพื่อผลทางจิตวิทยา ก่อนจะจับไปปล่อยไว้ในป่าห้วยขาแข้ง
ในเสือจากัวร์ ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ก็มีเสือดำเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการเกิดเช่นเดียวกับเสือดำ
นอกจากนั้น เสือดำยังมีพบในเสือหรือแมวประเภทอื่นๆ เช่น เสือพูม่า ในทวีปอเมริกาเหนือ เสือไฟ ซึ่งเป็นเสือขนาดเล็กในทวีปเอเชีย เซอร์วัล ซึ่งเป็นแมวป่าที่พบในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะที่อาศัยในเทือกเขาอาร์เบอร์แดร์ ของเคนยา เชื่อว่าอาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมบนที่สูงมีคู่แข่งในการแย่งชิงอาหารน้อย ทำให้ไม่ต้องมีลายจุดช่วยในการพรางตัวเหมือนที่ราบ และสีดำยังช่วยดูดซับความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอุณหภูมิบนภูเขาสูงหนาวเย็นกว่าที่ราบ รวมถึงเสือโคร่งด้วย ที่มีการบันทึกรวมถึงเสียงเล่าลือจากอินเดีย ที่มีการพบเห็นเป็นระยะ ๆ แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน
"ไก่ฟ้าหลังเทา" เป็นไก่ฟ้าที่พบในป่าทึบโดยเฉพาะในตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัย จากแม่น้ำสินธุไปทางตะวันตกจนถึงไทย มันถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวาย แต่ค่อนข้างหายาก ที่นั่นมันจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กินและแพร่กระจายพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตัวผู้มีขนหลากหลายขึ้นกับชนิดย่อย แต่อย่างน้อยก็มีสีขนดำออกฟ้า ขณะที่เพศเมียเป็นสีน้ำตาลทั้งตัว ทั้งสองเพศมีหนังสีแดงที่หน้า ขาออกเทา ชนิดย่อยทางตะวันออก 3 ชนิด ซึง่กำลังถูกคุกคาม ซึ่งไม่ทราบสถานะแน่ชัด
โดยตัวผู้ยาว 63-74 ซม. ตัวเมียยาว 50-60 ซม. ลำตัวกลม ชนิดย่อยแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก พบทางตะวันตกและตอนกลางของพิสัยการกระจายพันธุ์ กลุ่มที่สอง พบทางตะวันออก ในตัวผู้กลุ่มแรก มีขนสีดำ-น้ำเงินเหลือบ ตะโพกขาวหรือส่วนล่างขาว ชนิดกระหม่อมขาว ชนิดอื่นสีดำ-น้ำเงิน ในกลุ่มที่สองส่วนล่างและกระหม่อมสีดำ-น้ำเงินเหลือบ หางและส่วนบนสีขาว หรือสีเทาจางๆ ปนกับขนแน่นเป็นคลื่นสีดำ ตัวเมียสีออกน้ำตาล ส่วนล่างมีแต้มขาวสลับดำ ส่วนอื่นๆขนคล้ายเป็นเกล็ด
ขอบคุณข้อมูล wikipedia
ooo