วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 01, 2560

ท่านสงสารเด็กของท่านหรือไม่เมื่อ... โรงเรียนเอาทหารมาฝึกวินัยเด็กขั้นประถม... + วัฒนธรรมทหาร ไม่ใช่สิ่งที่น่ายกย่องในสังคมไทย





เขาว่าโรงเรียนสาธิตฯ เป็นตัวแทนความก้าวหน้าด้านการศึกษาไม่ใช่หรือ? หรือมันเป็น “มายาคติ” การเอาทหารมาฝึกวินัยเด็กประถม มันเป็นโมเดลโรงเรียนแบบ “forced schooling” ซึ่งเก่าแก่ย้อนไปถึงตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อกองทัพของราชอาณาจักรปรัสเซีย ซึ่งเป็นชาติที่ขายทหารรับจ้างให้ชาติอื่น กลับพ่ายแพ้ให้กับทหารมือสมัครเล่นของนโปเลียน เป็นเหตุให้เกิดกระแสสร้าง “โรงเรียน” เพื่อฝึกวินัยให้กับคนในชาติ จับเด็กมาเข้าโรงเรียน พรากเด็กจากอ้อมอกของแม่พ่อ เป็นที่มาของ “Kindergarten” หรือ “garden for children” คือปฏิบัติกับเด็กเหมือนกับ“ผัก” ที่อยู่ในสวน

เด็กในราชอาณาจักรปรัสเซียสมัยนั้น ไม่จำเป็นต้อง “คิดเอง” เป็น รอให้ครูบอก รอให้ครูสั่ง คุณสมบัติสำคัญเด็กนักเรียนคือ รับคำสั่งให้เป็น เมื่อโตขึ้นเป็นทหารก็จะต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เมื่อโตขึ้นเป็นคนงานเหมืองก็เชื่อฟังเจ้านาย เป็นข้าราชการก็ต้องเชื่อฟังรัฐบาล เป็นพลเมืองก็คิดเหมือนกันหมด แบบสินค้าที่ผลิตจากสายพานในโรงงาน เด็กในระบบนี้ที่อาจพูดจาดูชาญฉลาดหน่อย ก็ไม่ได้เป็นผลมาจากการคิดเอง แต่เป็นเพราะความสามารถในการ “ท่องจำ” เอาขี้ปากของคนที่เป็นนักคิดคุยต่ออีกทอดหนึ่ง

“forced schooling” เริ่มในราชอาณาจักรปรัสเซีย สมัยปี 1819 ทำให้พลเมืองของประเทศปกครองง่าย เชื่อฟังคำสั่ง เน้นความเชื่อฟังและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (ตามคำสั่ง) และเป็นที่มาของการสร้างมหาอาณาจักรปรัสเซีย “Greater Prussia” และมหาสงครามโลกที่เลวร้ายสุดถึงสองครั้ง

ไม่น่าเชื่อว่าโรงเรียนที่ถือว่าตัวเองก้าวหน้าในไทย กลับย้อนกลับไปใช้ระบบการศึกษา ซึ่งปัจจุบันถูกทดแทนด้วยการศึกษาทางเลือกมากมายในเยอรมนี การศึกษาแบบที่ทำให้เด็กคิดไม่เป็น รับแต่คำสั่งอย่างเดียว เชื่อได้เลยว่า พ่อแม่ชั้นกลางที่ส่งลูกเข้าโรงเรียนแบบนี้ ก็อาจจะคิดไม่ต่างจากคนในสมัยราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อ 200 ปีก่อนสักเท่าไร

ควรอ่านงานของ John Taylor Gatto เช่นhttps://www.tysknews.com/Depts/Educate/public_school_nightmare.htm

ภาพล่างจาก https://www.facebook.com/Satitprathomschool/posts/1320486188001367
(ลบแล้ว)

ภาพบน เด็กในโรงเรียน (หรือโรงงาน) สมัยราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อ 200 ปีที่แล้ว http://hackeducation.com/2015/04/25/factory-model



Pipob Udomittipong

ooo

ครูสอนวินัย ไม่เท่ากับทหารสอนวินัย
พูดอย่างนี้ยุบโรงเรียนสาธิตไปเลยดีกว่า
......................

ฟังคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว รศ.ดร. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ แล้วตลกดีที่ออกมาแก้ตัวอย่างนี้

ถ้ามั่นใจในตัวเองขนาดนั้น ทำไมต้องลบเพจไม่ทราบ

สาธิต มศว เผยภาพทหารร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียน ป.3 - ป.4
http://prachatai.org/journal/2017/05/71717

คณบดีศึกษาศาสตร์ชี้ทหารฝึกวินัยเด็กเรื่องดี เผยยุคนี้โรงเรียนไหนก็ทำ
http://shows.voicetv.co.th/overview/494749.html





ที่มา FB

Thanapol Eawsakul

...







วัฒนธรรมทหาร ไม่ใช่สิ่งที่น่ายกย่องในสังคมไทย

..............

หลายคนบอกว่าหลังจากนี้วัฒนธรรมทหาร จะกลายเป็นค่านิยมหลักของสังคมไทย ผ่านการปลูกผังอย่างหนักหน่วงภายหลังรัฐประหาร 2557 และมีแนวโน้มจะฝังรากลึกลงไปในอนาคต

ผมไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น คนไทยอาจจะเชื่อในวัฒนธรรมอำนาจนิยม แต่ก็ไม่รักทหารขนาดนั้น

การเรียกร้องให้ทหารมารัฐประหาร นั้่นเพราะเกลียดทักษิณ -ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้รักทหารแต่อย่างใด

ไม่อย่างนั้นเรตติง คืนวันศุกร์ คงไม่ต่ำเตี้ยติดดินขนาดนั้น

"รายการคืนความสุขให้คนในชาติ" เปลี่ยนรูปแบบ แต่เรทติ้งยังตก
http://news.sanook.com/1777942/

ผมคิดวามี 2 ข่าวที่น่าสนใจ ที่คนมาปฏิเสธวัฒนธรรมทหาร โดยเฉพาะที่เกียวกับชนชั้นกลาง

1. การอบรมข้าราชการสาธารณสุุขที่ไปฝึกในค่ายทหาร น่าสนใจว่าการฝึกทหาร= การดูหมิ่นศักดิ์ศรี

เปิด 'อบรมข้าราชการที่ดี' สาธารณสุขเขต 5 หมอใหม่โวย ถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรี-เหมือนฝึกทหาร
https://www.prachatai.com/journal/2017/05/71650

2. การที่ ฟซบุ๊กแฟนเพจ 'โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร ฝ่ายประถม' รวมทั้งเว็บไซต์ของโรงเรียนโพสต์ภาพบรรยากาศ ปฐมนิเทศนักเรียน ระดับชั้น ป.3 - ป.4 ประจำปีการศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยภาพดังกล่าวเป็นภาพทหารเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนดังกล่าวด้วย ปรากฎว่ามีเสียงด่ากันตรึม จนต้องลบทิ้งไป

สาธิต มศว เผยภาพทหารร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียน ป.3 - ป.4

http://prachatai.org/journal/2017/05/71717

วัฒนธรรมทหาร ไม่ใช่สิ่งที่น่ายกย่องในสังคมไทย และหวังว่าอีกไม่นาน อาจจะมีการรังเกียจด้วยซ้ำ บทเรียนพฤษภา 2535 ก็มีให้เห็นกันอยู่

Thanapol Eawsakul