วันอังคาร, มิถุนายน 20, 2560

นักวิชาการโต้เสกสรรค์ "สิ่งที่หายไปคือสำนึก" ออกจะเป็น "คำพิพากษาทางจริยธรรม" มากไปหรือเปล่า



ขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับ อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
มเห็นบางคนโควทคำพูดของ อ.เสกสรรค์ข้างล่างนี้มา จั่วหัวว่า "อ.เสกสรรค์ตีแสกหน้านักวิชาการ" ลองอ่านก่อนครับ
" ระบบเฟซบุ๊กก่อให้เกิดสภาพหนึ่งคนเป็นหนึ่งสำนัก และเมื่อเกิดหลายสำนักสิ่งที่หายไปคือสำนึก โดยเฉพาะสำนึกเรื่ององค์รวม หลายท่านให้ความสำคัญกับเสรีภาพส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นมากกว่าการผนึกกำลังเป็นกลุ่มก้อน ขบวนการ บางท่านใช้เวลาในการวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้ง หรือเสียดสี ตรวจสอบคุณสมบัติของปัญญาชนด้วยกัน มากกว่าจะสร้างขบวนทางปัญญาที่มีพลัง
และถ้าจะให้พูดตรงๆ ยกเว้นนักวิชาการอาวุโสที่เป็นผู้นำทางความคิดกับนักศึกษากลุ่มเล็กๆ ในท้องถิ่นแล้ว ผมเห็นว่า ปัญญาชนจำนวนมากเกินไป แทบจะไม่พยายามไปเกี่ยวร้อยกับความทุกข์ร้อนรูปธรรมของประชาชนกลุ่มต่างๆ เลย ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงยังไม่สามารถทำให้ความคิดของตน matter ในสังคมไทย ศักยภาพทางการเมืองของพวกเขายังคงเป็นแค่ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในโลกเสมือนจริงแต่ไม่ใช่พลังในโลกแห่งความจริง "
ผมคิดว่าคำวิจารณ์ของ อ.เสกสรรค์มีเหตุผลที่พึงรับฟัง แต่ที่กล่าวว่า "สิ่งที่หายไปคือสำนึก" ออกจะเป็น "คำพิพากษาทางจริยธรรม" มากไปหรือเปล่า
ถ้าหากอาจารย์มองว่านักวิชาการบางคน "ใช้เวลาในการวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้ง หรือเสียดสี ตรวจสอบคุณสมบัติของปัญญาชนด้วยกัน" สิ่งที่อาจารย์กำลังทำอยู่นี่คืออะไร?
ผมคิดว่า อ.เสกสรรค์อาจไม่ทราบว่า นักวิชาการที่เสนอความเห็นทางเฟซบุ๊กจำนวนไม่น้อย ถ้าไม่เคยถูกเรียกไปปรับทัศนคติในค่ายทหารหลังรัฐประหาร 2557 และถูกขึ้นบัญชีดำ ก็หนีไปต่างประเทศ การแสดงความเห็นทางเฟซฯ ก็ถูกจับตาโดยเจ้าหน้าที่รัฐตลอดเวลา มีหลายคนถูกคุกคามเสรีภาพอย่างต่อเนื่อง บางคนตกเป็นนักโทษทางความคิด
อีกอย่างในโลกจริงนั้น การรวมกลุ่มกันเสนอความคิดเห็น และเคลื่อนไหวในประเด็นทางการเมืองก็มีข้อจำกัดมาก แม้แต่การจัดเวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับประเด็นการเมืองในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบไปตรวจสอบ
ส่วนโลกเสมือนจริงก็ไม่ใช่ว่าเป็นโลกที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจส่วนรวม ในหลายๆ กรณี นักวิชาการ นักกิจกรรมก็ใช้สื่อโซเชียลในการสร้างแนวร่วมในการเสนอประเด็นปัญหา การออกแถลงการณ์ต่างๆ เพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ หรือคัดค้านกฎหมายบางฉบับที่มีปัญหาเป็นต้น
มันจึงไม่จริงว่าในโลกโซเชียลในกลุ่มนักวิชาการที่แสดงความเห็นทางการเมือง มันเกิด "สิ่งที่หายไปคือสำนึก" อะไรแบบนั้น แน่นอนว่าถ้าพูดโดยภาพรวมของนักวิชาการทั้งประเทศ ผมเห็นด้วยว่านักวิชาการส่วนมากละเลยปัญหาทางสังคมการเมืองที่สังคมเราเผชิญร่วมกันกว่าทศวรรษนี้จริง
แต่ก็นั่นแหละ ถ้าพูดตรงไปตรงมา ในวิกฤตทางสังคมและการเมืองกว่าทศวรรษมานี้ อ.เสกสรรค์ในฐานะปัญญาชนที่มีต้นทุนสูงทางสังคมก็แสดงความเห็นต่อสาธารณะเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นเอง
ปาฐกถาครั้งล่าสุดนี้ ผมเห็นว่าอาจารย์แสดงได้ชัดเจนดีมาก มีประโยชน์ทางสติปัญญา แต่ "แกนกลางปัญหา" ที่อาจารย์พูดถึงในปาฐกถานี้ก็เป็นเรื่องที่นักวิชาการตัวเล็กๆ โนเนมทั้งหลายเขาเขียน เขาพูดในเวทีวิชาการต่างๆ แม้กระทั่งในโลกโซเชียลมามากแล้วตลอดเวลากว่าทศวรรษมานี้ หลายคนพูดตรงมากกว่าอาจารย์ด้วยซ้ำ
"...พูดตรงๆ ยกเว้นนักวิชาการอาวุโสที่เป็นผู้นำทางความคิดกับนักศึกษากลุ่มเล็กๆ ในท้องถิ่นแล้ว ผมเห็นว่าปัญญาชนจำนวนมากเกินไปแทบจะไม่พยายามเข้าไปเกี่ยวร้อยกับทุกข์ร้อนรูปธรรมของประชาชนหมู่เหล่าต่างๆ เลย" (เสกสรรค์)
--------------------
ทราบหรือเปล่าครับว่ามี "นักวิชาการอาวุโสที่เป็นผู้นำทางความคิด" กี่คนที่แสดงบทบาทอย่าง อ.เสกสรรค์พูด
จริงๆ หากเทียบกับนักวิชาการเล็กๆโนเนมในบ้านเรา "ประเด็นหลักๆ" ที่ อ.เสกสรรค์พูดในวันนี้ นักวิชาการเล็กๆ โนเนม เขาเขียน เขาพูด ในเวทีต่างๆ กันเยอะมาก พูด เขียนกันมานานแล้ว











ส่วน 
Piyabutr Saengkanokkul
2 hrs
ผมไม่เคยรู้จัก อ. เสกสรรค์ มาก่อน แต่ผมตามอ่านงานของแกสม่ำเสมอ หนังสือที่แกพิมพ์กับพี่เวียง ผมตามอ่านและอินมาก ตอนอายุ 19 20 21 นี่อินมาก เหี้ยเอ๊ย กูแม่งต้องทำอะไรบ้างก่อนที่วิหารจะหายไป และถ้าล่าช้าจนวิหารหายไป อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้ชีวิตวะ
จนผมมาอ่าน สศจ. ในเนชั่น (ต่อมา มารวมใน ปวศ. ที่เพิ่งสร้าง) อ่าน อ. เกษียร อ. นิธิ หน้า 6 มติชน ผมก็รู้สึกว่ามันมีอะไรมากกว่านั้น

สำหรับผม งานวิชาการ ไม่ว่าจะแสดงออกในรูปแบบงานเขียน งานพูด จะต้องมีประเด็นที่ขัดเจน มากกว่าประเด็น คือ จุดยืน
ผู้ฟังที่มีสติปัญญาจะต้องรู้ว่า ผู้พูดสื่อสารอะไร มีจุดยืนใด ไม่ใช่ใครๆ ก็หยิบฉวยวรรคตอนไปใช้ได้หมด

จนวันนี้ ผมยังไม่เคยได้ยิน อ. เสกสรร พูดคำว่า "กษัตริย์" ในขณะที่ "ชาวบ้าน" ที่ อ. เสกสรรบอกว่า นักวิชาการรุ่นใหม่ไม่เข้าหานั้น เขาพูดเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้ว

ผมเห็นด้วยในส่วนมากที่ อ. เสกสรร พูด
แต่ก็นั่นแหละ ถ้าอาจารย์พร้อมจะพูดตั้งแต่ปี 2553 2554 หรือกระทั่ง 2557 ก็คงดี

สำหรับผม ใครที่เราควรนับถือ ไม่ใช่มาจากวีรกรรมในอดีต แต่ต้องมาจากวีรกรรมในอดีต สืบเนื่อง จนปัจจุบัน