ดูรายละเอียดราชกิจจาฯ “มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง
ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา” แล้ว
อดคล้อยตามคอมเม้นต์บนสื่อโซเชียลไม่ได้ว่า คสช.
เอาอธิปไตยไทยไปมอบให้บริษัทก่อสร้างจีนเสียงั้น
การที่ไทยยินยอมให้คนประเทศอื่นมาทำกิจกรรมใดๆในประเทศไทย
โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฏหมายของไทยที่มีอยู่แต่เดิม
ย่อมหมายถึงไทยได้สูญเสียอธิปไตยให้กับประเทศนั้นไปแล้วครับ
ขอแสดงความเสียใจต่อวิศวกรไทย สถาปนิกไทย
และคนไทยทั้งประเทศด้วยครับ”
มาตรการที่ว่านั้นคือ คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ ๓๐/๒๕๖๐
ให้นำมาตรา ๔๔ มาใช้บังคับให้โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช เพื่อให้ได้ขยับเคลื่อนตัวไปข้างหน้าบ้างเสียที
โดยเฉพาะในข้อ ๓ ที่ระบุว่า “ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังต่อไปนี้”
อันมี กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัศดุ ระเบียบการรถไฟว่าด้วยการจัดจ้าง ฯลฯ
นั่นเท่ากับไม่มีตัวบทกฎหมายและระเบียบใดๆ
สามารถใช้กำกับควบคุมการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นนี้
ปล่อยฟรีสุดแท้แต่วินิจฉัย (อำเภอใจ) ของผู้ดำเนินงาน
ไม่ว่าจะเป็นด้านออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ปรึกษาควบคุมงาน
หรือเกี่ยวกับระบบราง ระบบฟ้าและเครื่องกล รวมถึงการจัดหาขบวนรถและฝึกอบรมบุคคลากร
ร้อนถึงสมาคมวิศวกรรมต้องออกมาท้วงติง ๓ ข้อ
มีประเด็นสำคัญอยู่ว่า “วิศวกรจีนจะต้องขึ้นทะเบียน หรือต้องผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็นภาคีวิศวกรพิเศษจากสภาวิศวกร”
นายเธนศ วีระศิริ ว่า
อีกทั้งขอให้มีการถ่ายโอนเทคโนโลยี่ระหว่างวิศวกรไทยและจีนด้วย
ซึ่งน่าจะเป็นไปไม่ได้ในเมื่อ คสช. ใช้อำนาจ ม.๔๔ เป็นเกณฑ์กำกับ
และก็ไม่มีการยอมลดราวาศอก เหตุเพราะมันมีเบื้องหลังอยู่นิด
ดังที่นายกสภาสถาปนิก Jed Phromyothi กล่าวไว้บนเฟชบุ๊ค “สภาสถาปนิกและสภาวิศวกรได้พยายามทำเต็มที่แล้วที่จะรักษากฎหมายวิชาชีพไว้
แต่รัฐบาลไม่ฟังครับ
เพราะจีนบอกว่าถ้าวิศวกรและสถาปนิกจีนต้องสอบเพื่อจะรับใบอนุญาตระดับภาคีพิเศษ
จีนก็จะไม่ทำโครงการนี้ รัฐบาลกลัวว่าจีนจะไม่ทำ ก็เลยต้องยอมจีนทุกอย่าง...
จีนมองว่าการที่สถาปนิกและวิศวกรต้องสอบใบอนุญาตไทยเป็นการเสียศักดิ์ศรี
เพราะจีนออกแบบและสร้างรถไฟความเร็วสูงมาแล้วมากกว่า ๒๐,๐๐๐ กม.
ไทยยังไม่คยสร้างเลยแม้แต่ ๑ กม. จะมีอะไรไปสอบเขา
(เรา) ทั้งสองสภาฯ
บอกจีนว่าเราไม่ต้องการสอบความรู้ด้านเทคโนโลยี่
เพราะรู้ว่าเขาเก่งเรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่เราต้องการทดสอบว่าเขามีความรู้เกี่ยวกับ
local
condition กฎหมายและวัฒนธรรมไทย
เพียงพอที่จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยหรือไม่ แต่เขาก็ยังยืนกรานที่จะไม่สอบ”
ถึงกระนั้น ทางด้านสมาคมวิศวกรรมก็มีคำเตือนในเชิงธุรกิจฝากไว้น่าฟังว่า
“ระยะเวลาเดินทางของรถไฟความเร็วสูงในระยะทางไกล
อาจแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำไม่ได้...
เพราะในปัจจุบันค่าโดยสารเครื่องบินต้นทุนต่ำมีราคาค่าตั๋วถูกมาก
บินไกลสุดในประเทศไม่เกิน ๑
ชั่วโมง ๒๐ นาที และใช้ระยะเวลาเดินทางรวมรอการเดินทางโดยเครื่องบินจะไม่เกิน ๔ ชั่วโมง”
ความที่ คสช. ต้องการสร้างผลงานให้ได้สักอย่าง หรือว่า ‘ดีลจีน’
มันหวานเสียจนปล่อยไปไม่ได้ คิดอะไรไม่ออกก็ใช้ ม.๔๔ ดีไปอย่าง
มีแก้วสารพัดนึกอยู่ในกำมือ ลงเอยแล้วดีลนี้โดนด่าขรมทุกภาคส่วน
ผู้ประกอบการเหล็กไทย ๗ สมาคมไม่มีใครเห็นชอบกับการใช้ ม.๔๔
ในการดำเนินงานรถไฟเร็วสูง ดังเช่น นายเภา บุญเยี่ยม
เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเหล็กครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ตั้งแง่ว่า
“จะเปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้ผู้ผลิตเหล็กนำเข้ามาใช้ในโครงการ...โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีนำเข้า
รวมทั้งคุณภาพมาตรฐานเหล็กจีน”
นายนาวา
จันทนสุรคน นายกสมาคมแผ่นรีดร้อนไทย แสดงความกังวลว่า “หากรัฐบาลกำหนดเงื่อนไขให้จีนนำเหล็กเข้าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง
ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมาทั้งหมด จะกระทบกับผู้ผลิตเหล็กในประเทศอย่างหนัก”
เนื่องจากมีเหล็กหลายอย่างที่ผลิตได้ในไทยสามารถรองรับครงการนี้ได้
นายนาวา
จันทนสุรคน นายกสมาคมแผ่นรีดร้อนไทย
ให้ข้อมูลว่า
“การสร้างสถานีรถไฟในการทำหลังคา
ที่ต้องใช้เหล็กแผ่น เหล็กท่อ ส่วนโครงสร้างคอนกรีตผนังอาคาร ใช้เหล็กเส้นและเหล็กแผ่นรีดร้อน” ที่มีอยู่แล้วในไทยได้
ส่วน “เหล็กที่ใช้ทำรางรถไฟความเร็วสูงต้องเป็นเหล็กพิเศษที่ไทยยังผลิตไม่ได้จะต้องนำเข้าจากจีน ซึ่งผู้ประกอบการไทยยอมรับได้”
ถึงอย่างนั้น ผู้ประกอบการไทยไม่ว่าจะด้านไหน
พูดไปก็ไล้ฟ์บอย ถ้าจีนดึงดันจะเอาอย่างใจต้องการทุกอย่าง
แล้วที่ผ่านมาทางไทยให้ได้ไม่หมด โครงการนี้ถึงได้ยืดยาดล่าช้ามาขนาดนี้
นี่นับว่าเป็นประวัติการณ์เลยเชียว ผ่านมาสามปี คสช.
ไม่เคยฟังใคร เอ็งเก่งเอ็งแน่ไปเสียทุกอย่าง แต่ครั้งนี้อยากได้รถไฟเร็วสูงไว้ต่ออายุอีกสัก
๕ ปี ก็เลยต้องยอมจีน ลื้อจะเอาอะไร อั๊วให้ทั้งนั้น ฮ่อ