วันอังคาร, มิถุนายน 13, 2560

งงทั้งประเทศ!!! กลาโหมงบทะลุ 2.2 แสนล้าน ไม่พอจ่ายหนี้ค่าน้ำ-ไฟ 6,000+ ล้าน!!! (หนี้กว่าสิบปี)





งบปี 2561 กองทัพได้เกิน 2.2 แสนล้านบาท แต่กลับติดหนี้ค่าน้ำค่าไฟนับสิบปี เป็นเงินกว่า 6,000 ล้านบาท

ในเวลา 12 ปีงบของกองทัพเพิ่มขึ้นถึง 137,000 ล้านบาท มีโครงการจัดซื้ออาวุธมากมายหลายโครงการ

เช่น เครื่องบินรบ Jas-39 รถถัง T-84 Oplot รถถัง VT-4 เรือดำน้ำจีน ฯลฯ มูลค่านับแสนล้านบาท

วันนี้พอมีข่าวว่าเป็นหนี้ค่าน้ำค่าไฟ 6,000 ล้าน บอกว่างบประมาณไม่พอ??? ถ้าลดการซื้ออาวุธไปจ่ายหนี้น้ำไฟก็น่าจะพอกระมัง!!!

http://www.ispacethailand.org/%E0%B8%81%E0%B8%B2…/12498.html
JUNE 12, 2017
Ispace Thailand


ทำเอาประชาชนไทยทั้งประเทศถึงกับงงกันเลยทีเดียว หลังจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกมายอมรับกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีมีข่าวเรื่องหน่วยทหารเป็นหน่วยงานราชการที่ครองตำแหน่งค้างชำระค่าสาธารณูปโภคทั้งค่าน้ำ และค่าไฟจำนวนหลายพันล้านบาท ทั้งที่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเพิ่งจะมีการประชุมพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2561 ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้งบสูงกว่า 2.2 แสนล้านบาท

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ปัญหาที่หน่วยทหารมีการค้างชำระค่าสาธารณูปโภคทั้งค่าน้ำ และค่าไฟนี้มีมานานแล้ว โดยหน่วยงานเหล่านั้นขอให้สามารถนำงบประมาณไปจ่ายได้ การค้างค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคของหน่วยงานรัฐและกองทัพมีมานานเป็น 10 ปี แล้ว เพราะที่ผ่านมาตั้งงบประมาณไม่พอจึงต้องหาวิธีว่าจะเอางบประมาณอะไรไปจ่าย ซึ่งต้องตั้งงบประมาณเพื่อไปจ่ายของเดิม





ทั้งนี้ พล.อ.อนุพงษ์ ระบุว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้ต้องมีการเรียกเก็บย้อนหลังแน่นอน โดยมีมูลค่าทั้งหมดประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)ประมาณ 4,000 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)เกือบ 2,000 ล้านบาท และของการประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)ทั้ง 2 แห่ง รวมเป็น 100 ล้านบาท






ผมยืนยันว่าหนี้นี้ติดมานานแล้ว ติดมาตั้งแต่ตนยังเป็นเด็กๆจนกระทั่งเกษียณก็ติดมาตลอด เพราะงบประมาณที่ได้ไปแต่ละปีไม่เพียงพอ ก็ติดกันอยู่อย่างนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่ออนุมัติหลักการในการพิจารณานำงบประมาณมาใช้หนี้ดังกล่าวถามว่าหนี้จะหมดหรือไม่ ก็คงยังไม่หมดหรอก แต่ก็ถือว่ายังเป็นการเปิดช่องให้นำงบประมาณมาใช้หนี้ได้บ้าง” พล.อ.อนุพงษ์ทิ้งท้าย








เฉพาะปี 2549 จนถึงปี 2552 งบประมาณที่กองทัพได้รับก็เพิ่มมากขึ้นถึง 85,157 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ในเวลาเพียง 3 ปี แต่วันนี้ก็ชัดเจนว่ากองทัพไม่ได้นำงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวไปจัดการชำระหนี้จากการใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาเลย คำถามคืองบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง???





นอกจากนี้เมื่อมองไปที่โครงการจัดซื้ออาวุธของกองทัพ จะเห็นได้ว่าในรอบสิบปีมานี้ กองทัพไทยมีการจัดซื้ออาวุธชนิดใหม่เข้ามาประจำการหลายโครงการ เช่น การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Jas-39 C/D จากสวีเดน การจัดซื้อรถถัง T-84 Oplot จากยูเครน การจัดซื้อรถถัง VT-4 จากประเทศจีน การจัดซื้อรถเกราะจากประเทศยูเครน การจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น Yuan Class S26T จากประเทศจีน และอีกหลายโครงการ รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท แต่กลับไม่ยอมนำงบประมาณที่ได้รับไปจัดการชำระค่าน้ำค่าไฟ ปล่อยให้เป็นหนี้ยาวนานนับสิบปี





ย้อนกลับไปในปี 2559 ก็เคยมีการรายงานจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่า ปัจจุบันหน่วยงานทหารเป็นหน่วยงานที่ติดหนี้ค่าไฟมากที่สุดในบรรดาหน่วยราชการทั้งหมด











คำถามก็คือ แม้ว่าในระยะเวลาสิบปีมานี้งบของกองทัพจะเพิ่มขึ้นกว่า 1.3 แสนล้านบาท มีการจัดซื้ออาวุธมูลค่านับแสนล้านบาท แต่ก็ยังไม่เคยมีการจัดสรรงบประมาณไปชำระหนี้ค่าน้ำค่าไฟ เพราะอะไร??? งบที่ได้ไปนับแสนล้านบาทหายไปไหนหมด??? ในปี 2561 กองทัพได้งบประมาณกว่า 2.2 แสนล้านบาท น่าสนใจว่าจะมีการชำระหนี้ค่าน้ำค่าไฟจำนวน 6,000 ล้านบาทนี้หรือไม่???


Reference

http://www.komchadluek.net/news/politic/281680

https://www.matichon.co.th/news/345884

https://www.matichon.co.th/news/577303

http://news.thaipbs.or.th/content/252635

http://www.posttoday.com/analysis/report/438807