วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 01, 2560

"เมื่อมีปัญหา...ให้มองหาอูฐ”





++++“เมื่อมีปัญหา...ให้มองหาอูฐ”++++

“สำหรับช่างไม้ที่มีแต่ค้อน ทุกปัญหาดูเหมือนตะปู”

“To a carpenter with a hammer, every problem looks like a nail.”

____
..
.

ประมาณ 5 ปีที่แล้ว
ผมมีโอกาสเรียนปริญญาโทชื่อว่า Conflict and Dispute Resolution หรือ การบริหารจัดการความขัดแย้ง
ที่ Law School ประเทศออสเตรเลีย

ข้อดีคือเพื่อนร่วมชั้นกว่า 20 คนของผม มาจากหลายประเทศ
ทำให้อุดมไปด้วยวัฒธรรมและวิธีคิดที่หลากหลาย

บ้างคล้าย...บ้างต่าง

ซึ่งความหลากหลายเหล่านี้
แสดงให้เห็นถึงข้อดีของมันอย่างเด่นชัด
ในวิชาที่ชื่อว่า Cross cultural conflict management
( ถ้าผมจำชื่อไม่ผิด )

.

ในตอนเริ่มเรียนวิชานี้นั้น
อาจารย์บอกให้ทุกๆคนไปหานิทานพื้นบ้าน ตำนาน หรือ นิยาย อะไรก็ได้ของประเทศของตัวเอง

โดยเป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดให้เห็น
ปัญหา ความขัดแย้ง หรือ สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองต่อปัญหา ทัศนะคติในการรับมือกับปัญหาของคนในแต่ละประเทศ

มาเล่าสู่กันฟัง

..
.

ผมและทุกๆคนในชั้นจึงได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ
ปัญหาและความขัดแย้ง กว่า 20 เรื่อง
จากเพื่อนๆ ประเทศต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น

เจ้าบ้านออสเตรเลีย
ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่าง อเมริกา และ แคนาดา

เรื่องเล่าจาก ลูกครึ่งอังกฤษ - อิตาลี / ลูกครึ่งฝั่งเศส - กัมพูชา

อินโดนิเซีย ฟิจิ ปาปัวนิวกีนี เยอรมัน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ไนจีเรีย ซูดาน ญี่ปุ่น และ ไทย

.

ทำให้หลังจากคลาสนั้น
พวกเราทุกคนเข้าใจทันที โดยไม่ต้องสอนว่า

ในแต่ละประเทศ แต่ละวัฒนธรรมนั้น
มีความคล้าย และ ความต่าง
ของลักษณะปัญหาความขัดแย้ง และวิธีการรับมือกับมัน

บางเรื่อง..เปิดมิติที่เราไม่เคยคิดมาก่อน
เป็นประสบการณ์ที่มีความหมายกับผมมากๆ

.

โดยในบรรดาเรื่องราวทั้งหมดนั้น
ไม่มีเรื่องไหนที่ผมจำได้แม่นเท่ากับ
เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดโดยนักเรียนหนุ่มชาวไนจีเรีย

“โยซิอุฟ” ที่เราเรียกเขาว่า “โจเซฟ”


..
.

นักศึกษาหนุ่มชาวไนจีเรียออกตัวว่า
เขาก็ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้เป็นนิทานพื้นบ้านของไนจีเรีย
หรือเขาได้ยินมาจากไหน

....แต่เป็นเรื่องที่เขาไม่เคยลืม

..
.

“โจเซฟ” เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า
ในสมัยก่อนนั้น “อูฐ” ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่า
และขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่ดำรงค์ชีพอยู่ในทะเลทราย
เพราะใช้ในการเดินทาง ขนของ แถมน้ำนมของอูฐก็กินได้

ใครมีอูฐเยอะเท่าไหร่
ยิ่งแสดงถึงความมั่งคั่งของผู้นั้น

เพราะบางครอบครัว หรือกระทั่งบางเผ่า
อาจมีอูฐรวมกันแค่ตัวเดียว หรือไม่มีเลยด้วยซ้ำ

..

ทำให้ชีคที่มั่งคั่งองค์หนึ่ง
ต้องร่างพินัยกรรมเอาไว้ล่วงหน้า
ว่าจะแบ่งอูฐที่เขามีให้ลูกชายทั้ง 3 ของเขาเขาอย่างไร

เป็นไปได้ว่าชีคมีอูฐมากเกินไป
หรือด่วนจากไปอย่างกระทันหัน

จึงไม่ได้มีโอกาสอัพเดตพินัยกรรมของเขา
ให้เหมาะสมกับจำนวนอูฐที่เขามีเพิ่มเรื่อยๆจนมากถึง

"17 ตัว"

..

ในพินัยกรรมนั้นระบุว่า

ให้ลูกชายคนโต ได้รับอูฐ ½ จากอูฐทั้งหมด
ให้ลูกชายคนกลาง ได้รับอูฐ 1/3 จากของอูฐทั้งหมด
ให้ลูกชายคนสุดท้อง ได้รับอูฐ 1/9 จากของอูฐทั้งหมด

..

“โจเซฟ” เพิ่มเติมว่า
ความซับซ้อนของเรื่องนี้อยู่ที่
ในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการทำอะไรที่ผิดจากความปารถนาสุดท้ายของบิดานั้น
เป็นบาปที่มหันต์ และจะทำให้ผู้ฝ่าฝืนตกนรกชั่วกัปชั่วกัลป์

แต่ถ้าจะแบ่งตามประสงค์ของชีคเป๊ะๆ
ให้พยายามแค่ไหน มันก็ไม่ลงตัว

และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น

½ ของอูฐ 17 ตัว = 8.5 ตัว
1/3 ของอูฐ 17 ตัว = 5.66 ตัว
1/9 ของอูฐ 17 ตัว = 1.88 ตัว

!!!!..ไม่ลงตัว..!!!

นั่นหมายความว่า
ถ้าจะแบ่งให้ได้ตามพ่อต้องการ เพื่อไม่ให้ตกนรก
ก็ต้องฆ่าอูฐ ที่เป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล

แต่ถ้าจะไม่ฆ่าอูฐ
ก็ไม่สามารถทำตามความปารถนาพ่อ ต้องตกนรก

กล่าวคือ
ไม่ว่าจะเลือกทางไหน ผลเสียมหาศาลล้วนรอพวกเขาอยู่

..
.

แต่พอลูกชายทั้ง 3 มาทบทวนดูแล้วว่า
พวกเขามีอูฐมากมาย ยอมเชือดอูฐเพื่อแบ่งให้ตรงตามพินัยกรรม
เพื่อไม่ตกนรก...น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

พวกเขาจึงจัดแจงเตรียมลงมือ..เชือดอูฐ

..

แต่ขณะทีทั้งสามกำลังจะลงมือนั้น
นักปราชญ์รายหนึ่งจูงอูฐเดินผ่านมาพอดี
จึงร้องห้ามด้วยความตกใจ และสอบถามด้วยความสงสัยว่า
พวกเขาจะฆ่าอูฐที่มีค่ามหาศาลไปทำไมกัน

พี่น้องทั้งสามจึงเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ได้ฟัง

หลังจากปราชญ์ฟังจบ
ก็พยักหน้าและบอกกับทั้งสามว่า

“เอาอย่างนี้ไหม ข้าขอมอบอูฐตัวนี้ของข้าให้พวกท่าน”

สามพี่น้องแย้งด้วยความงุนงงว่า
เราไม่ได้ต้องการอูฐ
เรามีอูฐมากมายอยู่แล้วตั้ง 17 ตัว
เราเพียงต้องการแบ่งมันให้ได้อย่างที่พ่อเราต้องการเท่านั้น

นักปราชญ์ยังคงยืนยันให้รับอูฐของเขาไป
แล้วลองแบ่งมันใหม่อีกครั้ง

.

เมื่อถูกนักปราชญ์ยืนกรานเช่นนั้น
ทั้งสามจึงจำใจรับอูฐมา
แล้วลองพยายามแบ่งมันใหม่อีกครั้ง
โดยในตอนนี้พวกเขามีอูฐ

"18 ตัว"


..
.

½ ของอูฐ 18 ตัว = 9 ตัว
1/3 ของอูฐ 18 ตัว = 6 ตัว
1/9 ของอูฐ 18 ตัว = 2 ตัว

!!! …ลงตัวเป๊ะ... !!!

พวกเขาสามารถแบ่งมันได้ลงตัวตามความต้องการของบิดา
แต่ที่มากกว่านั้น เมื่อพวกเขานับมันอีกครั้ง

9+6+2 = 17

พวกเขายังเหลือ 1 ตัว
คืนให้นักปราชญ์ด้วยซ้ำ

.

“โจเซฟ” บอกกว่าจริงๆแล้ว
พวกเขาไม่ต้องการอูฐของนักปราชญ์เลย

แต่ถ้าไม่ใส่อูฐตัวที่ 18 เข้าไปซะแล้ว
ปัญหาก็อาจจะไม่ถูกแก้ไขอย่างสวยงามเช่นนี้

.
..

ซึ่งนำมาสู่บทสรุปของ “โจเซฟ” ที่ว่า

บางครั้ง....เมื่อคุณพบกับปัญหา
แทนที่จะด่วนฆ่าอูฐ

คุณอาจต้องมองหาอูฐอีกตัวหนึ่งแทน

“อุฐ....ตัวที่ 18”

.
..
___

“เราไม่สามารถ #แก้ปัญหา
ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกับที่เราใช้ #ก่อปัญหา

อัลเบิร์ต ไอสไตน์

.

"We cannot solve our problems with the same thinking we used when+ we created them."

Albert Einstein

____

เกิน 8 บรรทัด

____

คุณอ่านจบแล้วคุณคิดอะไรได้จากเรื่องนี้
หรืออูฐตัวที่ 18 ของคุณคืออะไร

อย่าลืมพิมบอกแบ่งปันให้ผม และเพื่อนๆ คนอื่นรู้

แล้วผมจะมาเล่าให้ฟังในคอมเมนท์ว่าในห้องเรียนวันนั้น
เราแชร์เรื่องนี้กันว่าอย่างไรบ้าง
( ขออนุญาติยังไม่เล่าเลย เดี๋ยวจะชี้นำ )

ปล.

เรื่องที่ผมเล่าคือ
“ตาอินกับตานา” ครับ


ที่มา

เกิน 8 บรรทัด

อย่าลืมไปอ่านคอมเม้นท์ (ไทยอีนิวส์)