วันอาทิตย์, มิถุนายน 25, 2560

"ท่ามกลางสภาพปัญหาในการหา ‘ฉันทามติ’....It’s not gonna happen."

นิด้าโพลล่าสุด (๒๕ มิถุนา) คงไม่ต่างจากที่แล้วๆ มา ในแง่ของผลสะท้อนอะไรที่จะนำไปสู่ความเป็นจริงได้ ตราบเท่าที่กระบวนการสำรวจ (ทุกโพลไทย) ยังไม่ชวนให้น่าเชื่อถือ

แต่ก็ยังพอใช้เป็นปรอทวัดอุณหภูมิทางการเมืองได้บ้างเล็กน้อย

ครั้งนี้เป็นคำถามถึงการเลือกตั้งที่คาดว่าอาจจะมีได้ในปลายปี ๒๕๖๑ (หรือล่ากว่านั้น) ในเมื่อกฎหมายลูกต่างๆ ที่ กรธ. สปท. และ สนช. ทำหน้าที่ร่วมกันเข็นให้ข้ออ้าง โร้ดแม็พของ คสช. ดูดี ทำท่าจะขลุกขลักมากกว่าควร

เพราะบรรดานักออกกฎหมายลูกไล่ คสช. ที่มาจากการแต่งตั้งเหล่านั้น อยู่กับอำนาจ พิเศษ และซึมซับกับสิ่งเกื้อกูล หรือ ‘perks’ กันมานานกว่าสองปี จนเริ่มจะแก่วิชากันไปตามๆ แล้ว จึงได้พากันผลิตกฎหมายวิเศษต่างๆ ออกมาโดยมุ่งมาดบังคับใช้หลังจากพวกตนล่วงวัยกันไปแล้ว ดุจดังบัญชาจากสวรรค์

ไม่ว่าจะเป็นร่างกฎหมายของ สปท. ว่าด้วย มาตรฐานกลางทางจริยธรรมของสื่อมวลชนที่ ๓๐ องค์กรวิชาชีพปักหลักค้านกันอยื่ ประกาศว่า “ร่างกฏหมายในการกำกับ ดูแลสื่อ ควรเป็นร่างที่มีหลักการในการคุ้มครองและส่งเสริมการกำกับกันเองในด้านจริยธรรม ที่ไม่ใช่ให้อำนาจตามกฎหมายมาบังคับ”


หรือว่าร่าง พรป.พรรคการเมือง ที่ สนช. เอาไปสอดไส้ใส่บทว่าด้วย ไพรมารี่โหวตแบบมักง่าย จนทำให้สองพรรคการเมืองใหญ่ออกมาค้านกันอย่าง ผสานเสียงพอประมาณ


น้องม้าร์ค พรรค ปชป. ไม่ชอบเพราะห่วงปัญหา “ระบบบัญชีรายชื่อ เพราะเมื่อเราไปทาบทามคนนอกวงการเมือง...เมื่อกำหนดให้สมาชิกพรรคเป็นผู้จัดลำดับ อาจจะไม่รู้จักบางคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเมือง ฉะนั้น จะเป็นอุปสรรค

ด้านพรรคเพื่อไทย ทั้งจาตุรนต์ ฉายแสง และพงศ์เทพ เทพกาญจนา กระทั่งสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ล้วนบอกไม่เอา เพราะสุกเอาเผากินเกินไป หรือเสี่ยตือ (สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล) ชาติไทยพัฒนาบอกว่า นี่เป็นอุบายกำจัดพรรคการเมือง


แม้กระทั่งกูรูใหญ่นิติบริกรอย่างปู่มีชัย ฤชุพันธุ์ ก็ยังฟึดฟัด แย้มว่า เข้มไป


โพลของนิด้าที่สุ่มถามคน ๑,๒๐๐ กว่าระหว่างวันที่ ๒๑ ถึง ๒๓ มิถุนายนนี้ ชี้ว่าตลอดสามปีที่ผ่านมา ข้ออ้างของคณะรัฐประหารเมื่อตอนยึดอำนาจใหม่ๆ ว่าเข้ามาห้ามศึกและสร้างความปรองดองนั้น ถ้าไม่โกหกทั้งเพก็เหลวทั้งยวง

ในเมื่อคำถามสามอย่างให้ผลที่ขัดแย้งกันเองอย่างยุ่งเหยิงพอควร ประเด็นแรกที่ว่าเกือบ ๕๔ เปอร์เซ็นต์เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่สองพรรคใหญ่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล (แข่งกับพรรคทหาร) อันนี้เป็นไปตามกระแสและรูปการณ์ที่เป็นอยู่ค่อนข้างเด่นชัด

ขณะที่พอถามว่า แล้วถ้า (มีคนกลุ่มหนึ่งทำตัวเป็นหน้าม้าจัดตั้งและสนับสนุน) พรรคทหาร (เขาใช้คำว่า “จัดตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน) ล่ะ

ปรากฏว่าคนที่ตอบคำถามกลุ่มเดียวกันนี้แหละจำนวนสูสีกับคำถามแรก ร้อยละกว่า ๕๓ เปอร์เซ็นต์ ดันเห็นด้วย

เพราะต้องการเห็นทางออกใหม่ ๆ ที่ช่วยลดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมือง และหากเข้ามาอย่างถูกต้องประชาชนก็ไม่ได้ติดขัดประการใด


นี่แหละคือความ ‘irony’ หรือตลกร้ายในหมู่ชาวไทยผู้สนใจการเมือง (จึงยอมตอบคำถามโพล) “ซ้ำมากกว่า” เมื่อมาถึงคำถามว่าต้องการเห็นพรรคประชาธิปัตย์จับมือกับพรรคเพื่อไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลไหม ถ้าได้ลงเลือกตั้งกัน

คนกลุ่มเดิมนั้นละเกินกว่า ๖๓ เปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยอีก โห คนอะไรหลายความเห็นย้อนแย้งไปมา โลเลสิ้นดี แต่ก็นะ เอกลักษณ์ไทย ไตแลนเดีย

เรื่องที่พวกวิชาการถกกันมากเมื่อเกือบอาทิตย์มาแล้วถึง ฉันทามติแบบที่ Nithiwat Wannasiri โพสต์ไว้ว่า “เสกสรรค์-เกษียร-สมศักดิ์-ธงชัย มีฉันทามติร่วมกันว่าอำนาจรัฐนี้มันเหลื่อมล้ำอยุติธรรม”

หรืออย่างที่ Thanapol Eawsakul ให้รายละเอียด “เราต้องขอบคุณคณะรัฐประหารที่ช่วยสร้าง ฉันทามติ ให้สังคมไทย

- ทหารก็เป็นเช่นเดียวกับอาชีพอื่นที่มีคอรัปชั่นเช่นเดียวกัน แต่ที่หนักกว่าคือตรวจสอบไม่ได้
- การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งไม่มีจริง เป็นแค่โวหารเพื่อรัฐประหาร
- รัฐประหารเป็นปฏิปักษ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
- ระบบราชการไทยไม่มีวิสัยทัศน์และประสิทธิภาพ การเอามาแทนระบบเลือกตั้งนั้นคือตัวถ่วงประเทศ
- เผด็จการรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีจริง มีแต่สภาตรายาง ที่เป็นเผด็จการ ๑๐๐% ฯลฯ”

รวมทั้งที่ Piyabutr Saengkanokkul เสนอว่านิด้าโพลล่าสุด (๒๕ มิถุนา) คงไม่ต่างจากที่แล้วๆ มา ในแง่ของผลสะท้อนอะไรที่จะนำไปสู่ความเป็นจริงได้ ตราบเท่าที่กระบวนการสำรวจ (ทุกโพลไทย) ยังไม่ชวนให้น่าเชื่อถือ

แต่ก็ยังพอใช้เป็นปรอทวัดอุณหภูมิทางการเมืองได้บ้างเล็กน้อย

ครั้งนี้เป็นคำถามถึงการเลือกตั้งที่คาดว่าอาจจะมีได้ในปลายปี ๒๕๖๑ (หรือล่ากว่านั้น) ในเมื่อกฎหมายลูกต่างๆ ที่ กรธ. สปท. และ สนช. ทำหน้าที่ร่วมกันเข็นให้ข้ออ้าง โร้ดแม็พของ คสช. ดูดี ทำท่าจะขลุกขลักมากกว่าควร

เพราะบรรดานักออกกฎหมายลูกไล่ คสช. ที่มาจากการแต่งตั้งเหล่านั้น อยู่กับอำนาจ พิเศษ และซึมซับกับสิ่งเกื้อกูล หรือ ‘perks’ กันมานานกว่าสองปี จนเริ่มจะแก่วิชากันไปตามๆ แล้ว จึงได้พากันผลิตกฎหมายวิเศษต่างๆ ออกมาโดยมุ่งมาดบังคับใช้หลังจากพวกตนล่วงวัยกันไปแล้ว ดุจดังบัญชาจากสวรรค์

ไม่ว่าจะเป็นร่างกฎหมายของ สปท. ว่าด้วย มาตรฐานกลางทางจริยธรรมของสื่อมวลชนที่ ๓๐ องค์กรวิชาชีพปักหลักค้านกันอยื่ ประกาศว่า “ร่างกฏหมายในการกำกับ ดูแลสื่อ ควรเป็นร่างที่มีหลักการในการคุ้มครองและส่งเสริมการกำกับกันเองในด้านจริยธรรม ที่ไม่ใช่ให้อำนาจตามกฎหมายมาบังคับ”


หรือว่าร่าง พรป.พรรคการเมือง ที่ สนช. เอาไปสอดไส้ใส่บทว่าด้วย ไพรมารี่โหวตแบบมักง่าย จนทำให้สองพรรคการเมืองใหญ่ออกมาค้านกันอย่าง ผสานเสียงพอประมาณ

น้องม้าร์ค พรรค ปชป. ไม่ชอบเพราะห่วงปัญหา “ระบบบัญชีรายชื่อ เพราะเมื่อเราไปทาบทามคนนอกวงการเมือง...เมื่อกำหนดให้สมาชิกพรรคเป็นผู้จัดลำดับ อาจจะไม่รู้จักบางคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเมือง ฉะนั้น จะเป็นอุปสรรค

ด้านพรรคเพื่อไทย ทั้งจาตุรนต์ ฉายแสง และพงศ์เทพ เทพกาญจนา กระทั่งสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ล้วนบอกไม่เอา เพราะสุกเอาเผากินเกินไป หรือเสี่ยตือ (สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล) ชาติไทยพัฒนาบอกว่า นี่เป็นอุบายกำจัดพรรคการเมือง


แม้กระทั่งกูรูใหญ่นิติบริกรอย่างปู่มีชัย ฤชุพันธุ์ ก็ยังฟึดฟัด แย้มว่า เข้มไป


โพลของนิด้าที่สุ่มถามคน ๑,๒๐๐ กว่าระหว่างวันที่ ๒๑ ถึง ๒๓ มิถุนายนนี้ ชี้ว่าตลอดสามปีที่ผ่านมา ข้ออ้างของคณะรัฐประหารเมื่อตอนยึดอำนาจใหม่ๆ ว่าเข้ามาห้ามศึกและสร้างความปรองดองนั้น ถ้าไม่โกหกทั้งเพก็เหลวทั้งยวง

ในเมื่อคำถามสามอย่างให้ผลที่ขัดแย้งกันเองอย่างยุ่งเหยิงพอควร ประเด็นแรกที่ว่าเกือบ ๕๔ เปอร์เซ็นต์เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่สองพรรคใหญ่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล (แข่งกับพรรคทหาร) อันนี้เป็นไปตามกระแสและรูปการณ์ที่เป็นอยู่ค่อนข้างเด่นชัด

ขณะที่พอถามว่า แล้วถ้า (มีคนกลุ่มหนึ่งทำตัวเป็นหน้าม้าจัดตั้งและสนับสนุน) พรรคทหาร (เขาใช้คำว่า “จัดตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน) ล่ะ

ปรากฏว่าคนที่ตอบคำถามกลุ่มเดียวกันนี้แหละจำนวนสูสีกับคำถามแรก ร้อยละกว่า ๕๓ เปอร์เซ็นต์ ดันเห็นด้วย

เพราะต้องการเห็นทางออกใหม่ ๆ ที่ช่วยลดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมือง และหากเข้ามาอย่างถูกต้องประชาชนก็ไม่ได้ติดขัดประการใด



นี่แหละคือความ ‘irony’ หรือตลกร้ายในหมู่ชาวไทยผู้สนใจการเมือง (จึงยอมตอบคำถามโพล) “ซ้ำมากกว่า”เมื่อมาถึงคำถามว่าต้องการเห็นพรรคประชาธิปัตย์จับมือกับพรรคเพื่อไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลไหม ถ้าได้ลงเลือกตั้งกัน

คนกลุ่มเดิมนั้นละเกินกว่า ๖๓ เปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยอีก โห คนอะไรหลายความเห็นย้อนแย้งไปมา โลเลสิ้นดี แต่ก็นะ เอกลักษณ์ไทย ไตแลนเดีย

เรื่องที่พวกวิชาการถกกันมากเมื่อเกือบอาทิตย์มาแล้วถึง ฉันทามติแบบที่ Nithiwat Wannasiri โพสต์ไว้ว่า “เสกสรรค์-เกษียร-สมศักดิ์-ธงชัย มีฉันทามติร่วมกันว่าอำนาจรัฐนี้มันเหลื่อมล้ำอยุติธรรม”

หรืออย่างที่ Thanapol Eawsakul ให้รายละเอียด “เราต้องขอบคุณคณะรัฐประหารที่ช่วยสร้าง ฉันทามติ ให้สังคมไทย

- ทหารก็เป็นเช่นเดียวกับอาชีพอื่นที่มีคอรัปชั่นเช่นเดียวกัน แต่ที่หนักกว่าคือตรวจสอบไม่ได้
- การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งไม่มีจริง เป็นแค่โวหารเพื่อรัฐประหาร
- รัฐประหารเป็นปฏิปักษ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
- ระบบราชการไทยไม่มีวิสัยทัศน์และประสิทธิภาพ การเอามาแทนระบบเลือกตั้งนั้นคือตัวถ่วงประเทศ
- เผด็จการรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีจริง มีแต่สภาตรายาง ที่เป็นเผด็จการ ๑๐๐% ฯลฯ”

รวมทั้งที่ Piyabutr Saengkanokkul เสนอว่า ท่ามกลางสภาพปัญหาในการหา ฉันทามติ (ตั้งแต่ ฉันทามติ คืออะไร อะไรจะนำไปสู่การหา ฉันทามติ) ผมขอทดลองเสนอว่า...

รณรงค์ยกเลิกอำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา ๔๔ ดีมั้ย? จะพอเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยได้หรือไม่”

คงต้องตอบแบบ Trumpian ว่า “It’s not gonna happen.” ไม่มีทางที่จะเกิด

เพราะอะไรน่ะหรือ ต้องย้อนไปดูเรื่อง เอกลักษณ์ไทย ไตแลนเดียถอยกลับไปสี่ห้าย่อหน้า