หนี้เสียของไทยจะขึ้นสูงสุดปลายปีนี้ รายงานฟิทช์เรทติ้งคาดหมาย
“ภาคส่วนสถาบันการเงินไทยทำให้ภาพลักษณ์ตลาดหุ้นอ่อนปวกเปียก”
“และนั่นอาจทำให้นักลงทุนในตลาดหุ้นที่ผลประกอบการห่วยที่สุดในเอเซียปีนี้
ต้องหาน้ำใสเย็นมาไว้ชะโลมอารมณ์” การวิเคราะห์ของฟอร์บเสริมด้วยว่า “การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยยังคงอับเฉาต่อไป
แค่ทรงอัตรา ๓ เปอร์เซ็นต์เอาไว้” ยังดีที่ไม่ทรุด
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสถาบันการเงินของฟิทช์ในกรุงเทพฯ
พาร์สัน ซิงห์ กล่าวว่าในอีกหลายเดือนต่อไปนี้ หนี้เสียจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ไปจนถึงขีดสุดตอนปลายปี
“ในขณะที่ดูเหมือนว่าภาวะแวดล้อมทางธุรกิจยังไม่ถึงขั้นย่ำแย่โดยพื้นฐาน
แต่พวกธนาคารก็พากันกระชับมาตรฐานการให้กู้ยืมอย่างเหนียวแน่น”
บทความโดย สุพรรณบูล สุวรรณกิจ แห่งนิตยสารฟอร์บแจงว่า
ปริมาณการกู้ยืมที่ไม่ออกผลตามธนาคารพาณิช์ต่างๆ ไต่ระดับขึ้นไปถึงร้อยละ ๒.๙๔ ของจำนวนการกู้ทั้งหมดในไตรมาสแรก
ซึ่งสูงที่สุดนับแต่ปี ๒๕๕๔
“ทำให้ยากแก่การปล่อยกู้ในสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้
และยังผลักให้หนี้สินในครัวเรือนถีบตัวสูงขึ้นไปด้วย” นายพาร์สันชี้ “ขณะนี้ฟิทช์ยังคงให้ภาพลักษณ์ต่อภาคส่วนสถาบันการเงินไทยในทางติดลบต่อไป”
กิจการธนาคารในไทยซึ่งมีมูลค่าในตลาดราว ๒๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
หรือ ๑๔% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด
จะได้รับผลกระทบจากการที่หนี้เสียพอกหางหมูขึ้นไปเรื่อยๆ จนทำให้แม้แต่การออกมาตรการกำกับระบบบัญชีใหม่ในปี
๒๕๖๒ ธนาคารก็ยังไม่กล้าที่จะปล่อยกู้อยู่ดี
บทความฟอร์บเปรียบเทียบอัตราหนี้เสียรวมของไทยที่ ๖.๖% ว่าแย่กว่าของจีนซึ่งอยู่ที่
๑.๗๔% ผสมกับความหมดหวังในการเติบโตทางเศรษฐกิจแค่ ๓%
ถึงได้เป็นรองนานาชาติเพื่อนบ้าน อย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย
ตลอดสามปีที่ผ่านมาหลังจากการรัฐประหารในปี ๒๕๕๗