วันอาทิตย์, มิถุนายน 18, 2560

จนตรอกกับการฟื้นเศรษฐกิจ ใช้วิธีแก้กฎหมายให้สิทธิต่างด้าวเปิดกิจการธนาคารในไทย

นางอภิรดี ตันตราภรณ์
คสช. เห็นท่าจะจนตรอกกับการฟื้นเศรษฐกิจ ใช้วิธีแก้กฎหมายให้สิทธิต่างด้าวเข้ามาเปิดกิจการธนาคารในไทยเพื่อกระตุ้น

กระทรวงพาณิชย์รับงานปลดล็อกธุรกิจ ๑๙ อย่าง ในบัญชีรายชื่อห้อยท้าย พรบ. ประกอบธุรกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่จำกัดสำหรับคนต่างด้าว ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกิจการธนาคาร

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ แจงรายการธุรกิจที่ยกเลิกข้อจำกัด ว่าเป็นพวกบริการสถาบันการเงิน จัดการอสังหาริมทรัพย์ บริหารสินทรัพย์ และตัวแทนนิติบุคคล อันจะทำให้ง่ายต่อการขออนุญาต ร่นเวลา ลดภาระค่าใช้จ่าย ก่อเกิดความรวดเร็วสำหรับธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

แม้นว่า รมว. พาณิชย์จะอ้างเป้าหมายอันฝันเฟื่องในระยะยาวว่า “จะเกิดโอกาสสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนจากผู้ประกอบการต่างชาติ ให้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย...เสริมให้ไทยก้าวไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียน” ก็ตาม


เห็นชัดว่า คสช. หมดหนทางอื่นนอกจากขายผ้าเอาหน้ารอด ด้วยการแก้กฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยต่อธุรกิจต่างชาติ แม้กระทั่งในด้านการธนาคาร ซึ่งแต่ไหนแต่ไรเป็นกิจการที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ไม่ให้การเงินการคลังตกอยู่ภายใต้การควบคุมของต่างชาติ

ในทำนองเดียวกับที่ คสช. ใช้มาตรา ๔๔ อำนวยให้จีนเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ความจริงแค่เร็วปานกลาง) โดยไม่คำนึงว่าเป็นการเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อันเป็น taboo หรือ ของต้องห้าม อีกอย่างหนึ่ง ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ
นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการบีโอไอ
ขณะที่ทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนก็มีมติจัดตั้ง ศูนย์บุคคลากรทักษะสูงดึงดูดชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสังกัด สำหรับจับคู่ทักษะ หรือ ‘talent matching’ ให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)

นอกนั้น ‘STC’ ศูนย์ทักษะดังกล่าว ยังจะเป็นตัวกลางจัดส่งผู้ชำนาญทางด้านเทคโนโลยี่ไปสอนให้กับคนงานไทยในบริษัทต่างชาติที่มาเปิดกิจการในไทยด้วย

หลักสำคัญของโครงการนี้ ที่จะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้เป็นต้นไปอยู่ที่ “บุคลากรที่มาขึ้นทะเบียนกับ STC โดยเฉพาะชาวต่างชาติ จะได้รับการพิจารณาพิเศษในขั้นตอนการต่ออายุวีซ่า

จากเดิมเมื่อวีซ่าหมดอายุใช้เวลา - วันถึงได้รับการพิจารณาต่อวีซ่าใหม่ ต่อไปจะลดเหลือเพียง ชม. หรือภายในวันเดียว


ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ปกติมีเวลา ปีนั้น ทางบีโอไอเตรียมการพิจารณาเพิ่มระยะเวลาอายุของสิทธิประโยชน์ขึ้นให้มากขึ้นไปกว่านั้นอีก

มาตรการเหล่านั้นพ้องกับข้อเสนอแนะของนักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ให้ไว้ในการสัมภาษณ์ของสื่อวิชาการ ไทยพับลิก้า’ (http://thaipublica.org/2017/04/worldbankseries_video1/)
ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา กล่าวไว้ในการแสดงความเห็นสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยเมื่อปลายเมษายน ๒๕๖๐ ตอนหนึ่งว่า

สิ่งที่เราพบสำหรับประเทศไทยก็คือเรื่องไม่สามารถหาแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งอุปสรรคนี้เรายังไม่ค่อยเห็นอย่างชัดเจนในประเทศเพื่อนบ้าน

เพราะฉะนั้น แรงงานที่มีทักษะ เป็นประเด็นที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับประเทศไทย ซึ่งสะท้อน อย่าง คือ ) ระบบการศึกษา ไม่ได้เตรียมเด็กเพื่อจะรับงานในเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่ได้ให้ทักษะที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน  

) สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้เป็นเศรษฐกิจที่อยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง แล้วก็การที่เราจะพ้นกับดักคือต้องมีทักษะ เพื่อก้าวไปสู่งานที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

แต่สิ่งที่บีโอไอทำนี้มีลักษณะของการ โตแล้วเรียนลัดเสียมากกว่า เนื่องจากการสร้างแรงงานทักษะมารองรับการพัฒนาการผลิตและบริการ มักต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษ

ซึ่ง ค่านิยม ๑๒ ประการ ที่ คสช. นำมายัดใส่หัวเด็กไทยตลอดสามปีที่ผ่านมานั้นไม่ได้สร้างทักษะให้แก่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลเลยแม้แต่นิด


ซ้ำร้ายมันคือตัวเหนี่ยวรั้งไม่ให้สติปัญญาของเด็กไทย (รวมถึงประชาชนทั้งมวลในประเทศ) เบ่งบานก้าวหน้า เพราะค่านิยมจาก คสช. มีแต่กดดันให้สมองฝ่อ ตีกรอบทักษะให้อยู่ในวงล้อมของการเป็น ไอ้เณร พลทหารลูกไล่ของหัวหมู่และเจ้านาย