เรื่องของ ‘ฮอ’ (Up or Down) ‘แบล็คฮ้อว์ค’ ๔ ลำ ๓ พันล้านนี่ไม่เหมือน ‘เอดับเบิ้บยู ๑๓๙’ นะ ไม่ติดคดีสินบน ไม่ต้องรอชิ้นส่วนซ่อมบำรุง
คราวนี้ ผบ.ทบ.แจงเอง
อันนี้เรื่องเก่าติดค้างกันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลโอบาม่าโน่นแน่ะ ตอนนั้นประยุทธ์และพวกยึดอำนาจยิ่งลักษณ์
รัฐบาลสหรัฐก็เลยระงับโครงการจัดซื้อแบล็คฮอร์คหนึ่งฝูง ๑๖ ลำเอาไว้ก่อน อันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงจุดยืนประชาธิปไตย
ไม่คบเผด็จการ
ตอนนั้นส่งมอบกันแล้ว ๑๒ ลำ ยังขาดอีกสี่ที่ค้างเติ่งมาจนถึงสมัยทรั้มพ์
ซึ่งเดินนโยบายต่างประเทศนอกลู่ ไม่สนเรื่องสิทธิมนุษยชน
(ห้ามผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ) ไม่สนทางปฏิบัติของกระทรวงต่างประเทศ
ตั้งตาลบล้างผลงานของรัฐบาลที่แล้วท่าเดียว การโทรศัพท์ถึงประยุทธ์ชวนไปเที่ยวกรุงวอชิงตันก็เลยติดปลายนวมมาด้วย
รายการช้อปปิ้งอาวุธอเมริกาที่พูดถึงกันตอนนี้จึงเป็นเพียง ‘jester’ ของรัฐบาลทรั้มพ์แบะท่าว่าเดี๋ยวนี้โอบไหล่ คสช.ได้ไม่แคร์ว่าเป็นเผด็จการ
จึง “ได้อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว
๔ เครื่อง”
ในขอบข่ายของโครงการ ‘ขายอาวุธให้แก่ต่างประเทศ’ (Foreign Military Sales) ธรรมดา
ไม่ใช่ “การช่วยเหลือทางทหาร” เป็นพิเศษอะไรอย่างที่ คสช.
อยากให้คนไทยเข้าใจ จะพิเศษก็คงตอนจ่ายเงิน เนื่องจาก “ทยอยซื้อตามการจัดสรรงบประมาณปี ๖๐-๖๒” ผูกพันสามปี
ปีละพันล้านขนหน้าแข้งไม่ร่วง
มันต่างกับโครงการจัดซื้อเฮลิค้อปเตอร์ผลิตในอิตาลี
ที่เป็นข่าวหลุดออกมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่าซื้อมาจอดไว้เฉยๆ สองลำ
ซึ่งความจริงส่วนใหญ่ถูกเปิดโดยสำนักข่าวอิศราว่า
โครงการนี้แท้จริงเป็นการจัดซื้อ
‘ฮอ’ ทั้งหมด ๑๒ ลำ ด้วยวิธีการ ‘พิเศษ’ ที่เจ้ากรมขนส่งทหารบกมีหนังสือถึงบริษัท Augusta Westland ของอิตาลีให้ได้โปรดมาเสนอราคาให้ทัพบกไทยพิจารณาหน่อย
การซื้อขายสองลำแรกรุ่น
AW 139 สองลำ ราคา ๑,๓๕๐
ล้านบาท เมื่อต้นปี ๕๗ เกิดปัญหาเล็กน้อย ไม่ใช่ว่าวงเงินสูงกว่าควร ๑๒๐ ล้านบาทนะ
แต่เป็นเรื่อง “ส่งของล่าช้ากว่ากำหนดในสัญญา ๕ ครั้ง ๖-๒๕๕ วัน” ตามด้วยปัญหา “ข้อขัดข้องในการเคลมชิ้นส่วน" อีกในปี ๕๘
นั่นเรื่องจิ๊บจ้อย
เพราะทุกวันนี้ทัพบกมีฮอสัญชาติอิตาลีของบริษัทออกัสต้าประจำการครบแล้ว ๑๒ ลำ โดยเป็นรุ่น
เอดับเบิ้ลยู ๑๓๙ สิบลำ รุ่น เอดับเบิ้ลยู ๑๔๙ อีก ๒ ลำ
สิบลำหลังนี่ซื้อในระหว่างปี
๕๙-๖๐ ผ่านมาราบรื่นดี ถ้าไม่เกิดเสียงนินทาว่า ไรวะ ฮอใหม่จอดไว้เฉยๆ บินไม่ได้
ซ้ำร้ายที่บินไม่ได้น่ะ ไม่ใช่แค่สองลำตามที่มี ‘ข่าวหลุด’
ปรากฏว่าทั้งสิ้น ‘บินไม่ได้’ ๕ ลำ ล้วนแต่เป็นรุ่น AW 139 ซึ่งสามในห้าลำนั้น
‘รอชิ้นส่วน’ เลยไม่ได้บิน อีกสองลำได้บินแล้วแต่เข้าโรงซ่อม
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วสำนักข่าวอิศราถามโฆษกทัพบกว่า
“สรุปแล้วมีการจัดซื้อ
เฮลิคอปเตอร์ AW 139 ทั้งหมดกี่ลำ
ใช้งานได้กี่ลำ และมีกระแสข่าวว่ากำลังจะจัดซื้อเพิ่มอีก ๔ ลำ
ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร”
พ.อ.วินธัย
สุวารี ตอบไม่เต็มคำ “ปัจจุบันมีทั้งหมด ๔ ลำ เป็นของกองทัพบก ๒ ลำ และเป็นของสำนักนายกรัฐมนตรีอีก ๒ ลำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพบกด้วย” ทั่นโฆฯ คงไม่นับที่จอดคาโรงเก็บและที่รอซ่อมมั้ง
“ส่วนกระแสข่าวว่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มอีก ๔ ลำ นั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด”
วิญญูชนย่อมกังขา
เอ๋ บริษัทผลิตยุทโธปกรณ์อิตาลีนี่เกรดไหน ยูเครนหรือจีน
ก็ได้สำนักข่าวอิศราอีกน่ะแหละที่ทำข่าวสืบสวน ไปขุดคุ้ยหาว่าบริษัทออกัสต้า เวสต์แลนด์
น่ะรุ่นไหน
พบว่าเคยเป็นบริษัทร่วมหุ้นอิตาลี-อังกฤษ
ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๓ มาเป็นของอิตาลีล้วนในปี ๒๕๔๗
แล้วยังไปร่วมหุ้นกับบริษัทเบลและนอร์ทรอปกรัมแมนของอเมริกา
พลาดได้สัญญาผลิตเฮลิค้อปเตอร์ ‘มารีนวัน’ สำหรับประธานาธิบดีอเมริกันเมื่อปี ๕๖ เพราะเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น
อิศราอ้างข่าวรอยเตอร์ว่า
“นายบรูโน่ สปานยอลินี่
ประธานกรรมการบริหารของ Agusta Westland ถูกเจ้าหน้าที่อิตาเลียนจับกุมพร้อมด้วยนายจูเซปเป้
ออร์ซี่ ประธานบริษัทแม่ ด้วยข้อหาคอร์รัปชันกรณีทำสัญญาซื้อขายเฮลิคอปเตอร์รุ่น AW101 จำนวน ๑๒ ลำ กับกองทัพอากาศอินเดีย”
“โดยมีการกล่าวหาว่ามีการติดสินบนเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนเกือบ ๓,๖๐๐ ล้านรูปี” (แต่รอยเตอร์ว่าแค่
๔๐ ล้านรูปี ส่วน India today บอก ๑๖ ล้านยูโร)
เรื่องนี้ลงเอยว่า “ศาลอิตาลีตัดสินจำคุกนายออร์ชี่และนายสปานยอลินี่เป็นเวลาสองปี
เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๐๑๖ (๒๕๕๙)”
ส่วน “นายทยากี ผู้ดำรงตำแหน่งบัญชาการกองทัพอากาศ (อินเดีย) ณ
ขณะนั้น เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นนี้” ถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนกลางของอินเดีย (ซีบีไอ) เข้าจับกุมเมื่อปลายปี
๒๕๕๙ เช่นกัน
นั่นเป็นเบื้องหลังใต้ผิวของบริษัทผลิตเฮลิค้อปเตอร์อิตาลี
ที่ทัพบกไทยอุตส่าห์ส่งจดหมายเชิญมาร่วมเสนอขายฮอหนึ่งฝูง ที่ซื้อมาแล้วใช้การไม่ได้ครึ่งหนึ่ง
ทัพบกไทยซะอย่าง เรื่องแบบนี้ทั่นโฆฯ
บอกได้ทันใด “ไม่ทราบรายละเอียด”