https://www.facebook.com/newdemocracymovement/videos/1346778528705854/
ooo
วงเสวนาถก "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" ผิดกฎหมาย หรือกลั่นแกล้ง
Sun, 2017-01-15 20:13
ที่มา ประชาไท
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จัดวงเสวนา “เมื่อสิทธิการประกันตัวหายไป” นักกฎหมาย กรรมการสิทธิฯ ระบุ ความผิดฐานเย้ยหยันอำนาจรัฐ ไม่มีบัญญัติในกฎหมาย ด้านพ่อไผ่ ดาวดินระบุ “ท่านอย่าลืมว่า ไผ่ ถูกกระบวนการยุติธรรมละเมิดสิทธิมาตลอด”
15 ม.ค. 2560 ที่ห้อง 206 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM ได้จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “เมื่อสิทธิการประกันตัวหายไป เสวนาวิชาการ ว่าด้วยสิทธิผู้ต้องหาที่หายไป จากกระบวนการยุติธรรม” สืบเนื่องจากกรณีการจับกุมคุมขัง และเพิกถอนการสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นักศึกษา นักกิจกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จาก เว็บไซต์ BBC Thai และถูกเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2559 โดยการยื่นคำร้องขอเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราวของพนักงานสอบสวนเนื่องจากเห็นว่า ผู้ต้องหา มีพฤติกรรมที่แสดงออกผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะที่ เยาะเย้ยพนักงานสอบสวน โดยศาลพิจารณาแล้วสั่งให้เพิกถอนการสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลเห็นว่าผู้ต้องหาได้แสดงออกในลักษณะที่ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง และมีพฤติกรรมที่เป็นการ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ"
สำหรับการเสวนาวิชาการครั้งนี้มีวิทยากรทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาวิบูลย์ บุญภัทรรักษา ทนายความและบิดาของไผ่ ดาวดิน และ วรวุฒิ บุตรมาตร สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เป็นผู้ดำเนินรายการ
วิบูลย์ บุญภัทรรักษา: อย่าลืมว่าไผ่ ถูกกระบวนการยุติธรรมละเมิดมาโดยตลอด
ทนายอู๊ด หรือ วิบูลย์ บุญภัทรรักษา พ่อของไผ่ ดาวดิน เริ่มต้นด้วยการกล่วถึง การทำกิจกรรมของลูกชายว่า ไผ่ เริ่มต้นทำกิจกรรมทางสังคม การเมือง จากประเด็นปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนในพื้นที่ภาคอีสานมาก่อนที่จะมีการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 แต่หลังจากได้มีการทำรัฐประหาร สถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการเคลื่อนไหวในประเด็นที่ไผ่ ติดตามมาตลอดเริ่มเพิ่มสูงขึ้น จนหลายสิ่งหลายอย่างสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน และทำให้นักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน เห็นชัดว่า รัฐประหารครั้งนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ที่พวกเขาเคยร่วมทำกิจกรรมด้วย
วิบูลย์ เล่าต่อไปว่า ไผ่เริ่มหันมาจับประเด็นปัญหาที่เป็นเรื่องโครงสร้างทางการเมืองนับตั้งแต่ การทำกิจกรรมของชาวบ้านถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไผ่ พร้อมเพื่อนๆ กลุ่มดาวดิน เริ่มทำกิจกรรมทางการเมืองโดยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เริ่มต้นด้วยการออกไปต้อนรับ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการชูสามนิ้ว ต่อมาเมื่อครบรอบ 1 ปีการทำรัฐประหาร ก็ได้ออกไปชูป้ายที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่จังหวัดขอนแก่น จากนั้นก็ทำกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งปัจจุบัน ไผ่ ถูกดำเนินคดีทั้งหมด 5 คดี
พ่อของไผ่ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงคดีความล่าสุดของไผ่ จากการแชร์บทความจากเว็บไซต์ BBC Thai ว่าเหตุใดบทความดังกล่าวซึ่งมีคนแชร์ไปทั่วโลก จึงมีเพียงลูกชายตนเองถูกดำเนินคดีอยู่เพียงรายเดียว อีกทั้งต้นทางของบทความก็ยังไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแต่อย่างใด พร้อมกันยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยว่า เหตุผลที่ศาลระบุว่า ไผ่ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" ไม่น่าจะเป็นเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวที่อยู่ใน ป.วิอาญา ซึ่งเขามองว่าหากกรณีนี้ศาลมองว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐจริง ก็ควรที่จะตั้งข้อกล่าวแยกออกมาอีกคดี ไม่ใช่การเอาเป็นเหตุผลสำหรับเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
วิบูลย์ เล่าต่อไปถึงวันพิจารณาคำร้องเพิกถอนการประกันตัวว่า วันนี้ได้มีการซักถามพนักงานสอบสวนว่า การกระทำใดที่เป็นการเยาะเย้ยพนักงานสอบสวนตามที่ได้มีการระบุเป็นเหตุผลไว้ในคำร้องขอเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว และการถ่ายรูปทำท่าทางคล้าย “หน้ากากแอคชั่น" ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ระบุว่า การเยาะเย้ย ไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงท่าทางอะไร แค่นั่งเฉยๆ และยิ้ม ก็ถึงว่าเป็นการเยาะเย้ยได้ โดยวิบูลย์มองว่า เหตุผลของพนักงานสอบสวนอ่อนมาก แต่ที่สุดแล้วศาลเห็นตามเหตุผลของพนักงานสอบสวน สำหรับประเด็นเรื่องการไม่ลบโพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กซึ่งเป็นการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai ซึ่งถูกหยิบมาเป็นหนึ่งในเหตุผลสำหรับการเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว วิบูลย์ เห็นว่า หลังจากที่ไผ่ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งแรก จากการยื่นหลักทรัพย์ทั้งหมด 4 แสนบาท ศาลได้สั่งห้ามไม่ให้เข้ายุ่งเหยิงกับพยานและหลักฐาน การที่ไม่ลบโพสต์ดังกล่าวจึงเป็นการทำตามเงือนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ตามที่ศาลได้กำหนดมา
วิบูลย์ ระบุด้วยว่า หลังจากที่ศาลสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ทางครอบครัวและทนายความได้ยื่นขอปล่อยตัวชัวคราวไผ่ ไปทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ยังไม่ได้รับการอนุญาตจากศาล โดยศาลระบุว่ายังไม่มีเหตุผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อีกทั้งยังมีกรณีการสั่งฝากขังผัดที่ 3 ซึ่งวิบูลย์มองว่า มิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลไม่ได้อ่านคำร้องให้ผู้ต้องขังฟังและผู้ต้องขังไม่ได้ลงรายมือชื่อในเอกสาร แต่ศาลกลับระบุว่าผู้ต้องขังไม่ค้านการฝากขัง (อ่านข่าวที่เกียวข้อง)
สำหรับสภาพจิตใจ และสภาพร่างกายของไผ่ วิบูลย์ระบุว่า "ทุกครั้งที่ถูกจับเขาจะยิ้มตลอด เป็นคนยิ้มง่าย ถูกจับก็ยิ้มอดทนเอา มาถึงตอนนี้ร่างกายจิตใจยังดีอยู่ แต่บางครั้งมันมีช่วงที่ดูเหงาๆ ผมก็ถามเป็นอะไรลูก เขาบอกว่า เริ่มหมดหวังกับกระบวนการยุติธรรมแล้ว เพราะที่ผ่านมามันแสดงชัดเจนแล้วว่าเกิดอะไรกับเขาบ้าง...จะแพ้ จะชนะ เราไม่ว่าอะไร แต่โปรดทำตามกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นธรรม"
ท้ายสุดวิบูลย์ กล่าวกับผู้ฟังว่า “ท่านอย่าลืมนะว่า ไผ่ และครอบครัวผม ถูกกระบวนการยุติธรรม และศาลละเมิดมาโดยตลอด”
อังคณา นีละไพจิตร ข้อหาเย้ยหยันอำนาจรัฐ ไม่มีระบุไว้ในกฎหมาย
ด้านอังคณา นีละไพจิตร ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งขาติ ได้ระบุว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ประสานไปทาง รองผบ.ตร. ในกรณีการสอบวิชาสุดท้ายของไผ่ วันที่ 17-18 ม.ค. 2560 โดยรองผบ.ตร. รับว่าจะประสานกับทางมหาวิทยาลัย และเรือนจำให้ไผ่ได้สอบตามปกติ และหวังว่าทางเรือนจำ มหาวิทยาลัย และตำรวจจะให้ความคุ้มครองในสิทธิดังกล่าว เพราะโดยหลักการแล้ว บุคคลใดที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาต้องมีสิทธิพิสูจน์ตนเอง และถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา อังคณากล่าวด้วว่า ศาลควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบ้างซึ่งจะช่วยให้เกิดวิธีการปรับปรุงการทำงานของศาลให้ดีมากขึ้น
อังคณา กล่าวต่อปถึงเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการตรวจร่างกายทางทวารหนัก ซึ่งในข้อกำหนดแมนเดลาของสหประชาชาติ โดยกระทรวงยุติธรรมของไทยได้รับมาปฏิบัติ ข้อ 52 ว่าด้วยการค้นตัวที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว รวมทั้งถอดเสื้อผ้า ค้นตามซอกหลืบของร่างกายให้กระทำได้ในกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น เช่นในกรณีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่ในกรณีของไผ่ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ฉะนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่เรือนจำ จึงเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และทางเรือนจำต้องพิจารณาตัวเอง ทั้งนี้สำหรับกรณีดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิกำลังเตรียมที่จะออกรายงานต่อไป
สำหรับกรณีการเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว ไผ่ อังคณามองว่า บางครั้งการใช้ดุลยพินิจของศาล อาจจะทำให้ประชาชนตั้งข้อสังเกต และมีความสงสัยในกระบวนการยุติธรรม เนื่องเริ่มมีข้อกล่าวหาแปลกเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างเช่นข้อหาเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งไม่เคยมีกฎหมายข้อใดระบุไว้ว่าเป็นความผิด ฉะนั้นสถานการณ์เช่นนี้จึงเป็นสถานการณ์ที่มีการสร้างความหวาดกลัวให้กับสังคม และไม่ได้ส่งผลดีต่อใครเลย
เมื่อมีผู้ถามว่า กรณีของไผ่นั้น ทางคณะกรรมการสิทธิฯ จะมีการทำรายงานให้แล้วเมื่อใด อังคณาระบุว่า อาจจะไม่เสร็จทันภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากโดยกระบวนการของคณะกรรมการสิทธิเมื่อมีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนมา จะต้องมีการคัดกรองเรื่อง และนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ซึ่งอาจจะใช้เวลาพอสมควร
สาวตรี สุขศรี : หากประชาชนเย้ยหยันอำนาจรัฐ ก็เท่ากับเย้ยหยันอำนาจของตัวเอง จะเป็นความผิดได้อย่างไร
สาวตรี สุขศรี กล่าวถึงกรณีการแชร์บทความ BBC Thai ว่า สามารถถกเถียงกันได้ว่าผิดหรือไม่ผิด โดยกรณีนี้สาวตรีมองว่าไม่น่าจะผิด และยังพูดถึงกรณีเกี่ยวกับการกดไลก์ ว่า กระกระทำความผิดนั้นจะต้องมีเจตนาที่จะประสงค์ให้เกิดการกระทำความผิด ฉะนั้นเมื่อมีการพิจาณาต้องดูว่าการไลก์เจตนาในการเผยแพร่ต่อหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ แต่หากเป็นการแชร์นั้นอาจเข้าข่ายใน พ.ร.บ.คอมมาตรา14 (5) ได้
สาวตรีระบุด้วยว่า กรณีที่ไผ่แชร์บทความจากเว็บไซต์ BBC Thai แล้วถูกดำเนินคดี มีลักษณะที่เลือกปฏิบัติ คือมีบุคคลทำพฤติกรรมเหมือนกันหลายคน แต่มีการเลือกปฏิบัติที่จะเจาะจงเพียงคนเดียวเท่านั้น ฉะนั้นที่พูดกันว่า บุคคลมีความเท่าเทียมต่อหน้ากฎหมาย สำหรับกรณีไผ่ จึงเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ และต้องตั้งคำถามว่า อย่างนี้เป็นการกลั่นแกล้งกันหรือไม่ ซึ่งเมื่อเป็นการกลั่นแกล้งการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต่อไปถึงกรณีสิทธิของผู้ต้องหาว่า ตามหลักการบุคคลต้องได้รับการสันนิฐานว่า ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ยังไม่มีการพิพากษา เมื่อมีหลักการแบบนี้เกิดขึ้นเวลาเจ้าพนักงานจะปฏิบัติหน้าที่กับใครสักคนจะปฏิบัติเสมือนว่าเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ ต้องสันนิฐานว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่ ฉะนั้น การไม่ปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการ ดั้งนั้นการปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เว้นแต่เข้ากรณีข้อยกเว้น ซึ่งจะต้องตีความโดยเคร่งครัด และต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนในรายละเอียด ตามข้อหาและต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ไผ่ ถูกดำเนินคดีมาแล้ว 4 คดี แต่ไม่เคยมีปัญหาหรือพฤติการณ์จะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ต่อให้คดีจะร้ายแรงแค่ไหนก็ไม่มีพฤติการณ์ดังกล่าว
สาวตรี ระบุต่อไปว่า กรณีการปล่อตัวชั่วคราวนั้น มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1.การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข 2.การปล่อยตัวโดยมีประกัน 3.การปล่อยตัวโดยมีประกัน และหลักประกัน ทั้งนี้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีเงื่อนไข ได้ถ้าพฤติการณ์ไม่มีปัญหา แต่ที่ผ่านมาจากสถิติจะพบได้ว่า ศาลจะเรียกหลักประกันเกือบทั้งหมด ซึ่งลักษณะนี้มีปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นในต่างประเทศจีงกำหนดวิธีการปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไขขึ้นมา คือปล่อยโดยไม่มีหลักประกันแต่มีเงื่อนไขให้ แต่ประเทศไทยไม่เป็นเช่นนั้น สำหรับกรณีของไผ่ เมื่อครั้งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวครั้งแรกเขาได้ ยื่นหลักประกัน แต่ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถามว่า ไผ่ ได้ทำผิดเงือนไขที่ศาลระบุไว้ตอนต้นหรือไม่ สาวตรี ระบุว่า ไม่ผิดเงื่อนไข
สาวตรี กล่าวต่อไปถึงกรณีที่ศาลใช่ดุลพินิจในการวิเคราะห์ว่าไผ่เย้ยหยันอำนาจรัฐนั้น คำถามคือ หากไผ่ ได้มีเจตนาเย้ยหยันอำนาจรัฐจริงๆ การเย้ยหยันอำนาจรัฐนั้นถือว่าเป็นความผิดหรือไม่ สาวตรีระบุว่า หากถามนักกฎหมายจะตอบได้ว่าไม่เป็นความผิด
โดยสาวตรี กล่าวต่อไปถึง องค์ประกอบของรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย ประชาชน ดินแดนที่แน่นอน อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นเพียงตัวแทนของประชาชน ฉะนั้นการเยาะเย้ย หรือเย้ยหยันอำนาจรัฐ ก็เท่าว่าประชาชนกระทำต่ออำนาจของตัวเอง
“ถ้าเราบอกว่าประเทศนี้ยังเป็นประชาธิปไตยอยู่ อำนาจรัฐเป็นของประชาชน คำถามคือประชาชนจะเยาะเย้ยอำนาจตัวเอง จะผิดตรงไหน” สาวตรี กล่าว
สาวตรี ทิ้งท้ายว่า เมื่อศาลมีดุลยพินิจ การใช้ดุลพินิจจะต้องมีขอบเขต การใช้ดุลพินิจโดยไม่มีกรอบกฎหมายกำกับไม่สามารถทำได้ ซึ่งในกรณีของไผ่ อาจไม่อยู่ในข้อกฎหมาย จึงมีการตั้งคำถามเกิดขึ้นตามมา และสุดท้ายจะนำไปสู่การตรวจสอบกระบวนการยุติธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังจากวงเสวนาสิ้นสุด จ่านิว หรือ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ได้ชวนผู้เข้าร่วมฟังเสวนาทำกิจกรรม เชิงสัญลักษณ์ โดยการนำข้าวหลาม เป็นเซ่นไหว้กับศาลพระภูมิ เป็นทดแทนกับอิสระ และเสรีภาพของ ไผ่ ดาวดิน จากนั้น วิบูลย์ บุญภัทรรักษา ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วม ร้องเพลง “บทเพลงแห่งสามัญชน” เป็นกิจกรรมสุดท้ายของงานเสวนา
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จัดวงเสวนา “เมื่อสิทธิการประกันตัวหายไป” นักกฎหมาย กรรมการสิทธิฯ ระบุ ความผิดฐานเย้ยหยันอำนาจรัฐ ไม่มีบัญญัติในกฎหมาย ด้านพ่อไผ่ ดาวดินระบุ “ท่านอย่าลืมว่า ไผ่ ถูกกระบวนการยุติธรรมละเมิดสิทธิมาตลอด”
15 ม.ค. 2560 ที่ห้อง 206 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM ได้จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “เมื่อสิทธิการประกันตัวหายไป เสวนาวิชาการ ว่าด้วยสิทธิผู้ต้องหาที่หายไป จากกระบวนการยุติธรรม” สืบเนื่องจากกรณีการจับกุมคุมขัง และเพิกถอนการสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นักศึกษา นักกิจกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จาก เว็บไซต์ BBC Thai และถูกเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2559 โดยการยื่นคำร้องขอเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราวของพนักงานสอบสวนเนื่องจากเห็นว่า ผู้ต้องหา มีพฤติกรรมที่แสดงออกผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะที่ เยาะเย้ยพนักงานสอบสวน โดยศาลพิจารณาแล้วสั่งให้เพิกถอนการสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลเห็นว่าผู้ต้องหาได้แสดงออกในลักษณะที่ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง และมีพฤติกรรมที่เป็นการ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ"
สำหรับการเสวนาวิชาการครั้งนี้มีวิทยากรทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาวิบูลย์ บุญภัทรรักษา ทนายความและบิดาของไผ่ ดาวดิน และ วรวุฒิ บุตรมาตร สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เป็นผู้ดำเนินรายการ
วิบูลย์ บุญภัทรรักษา: อย่าลืมว่าไผ่ ถูกกระบวนการยุติธรรมละเมิดมาโดยตลอด
ทนายอู๊ด หรือ วิบูลย์ บุญภัทรรักษา พ่อของไผ่ ดาวดิน เริ่มต้นด้วยการกล่วถึง การทำกิจกรรมของลูกชายว่า ไผ่ เริ่มต้นทำกิจกรรมทางสังคม การเมือง จากประเด็นปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนในพื้นที่ภาคอีสานมาก่อนที่จะมีการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 แต่หลังจากได้มีการทำรัฐประหาร สถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการเคลื่อนไหวในประเด็นที่ไผ่ ติดตามมาตลอดเริ่มเพิ่มสูงขึ้น จนหลายสิ่งหลายอย่างสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน และทำให้นักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน เห็นชัดว่า รัฐประหารครั้งนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ที่พวกเขาเคยร่วมทำกิจกรรมด้วย
วิบูลย์ เล่าต่อไปว่า ไผ่เริ่มหันมาจับประเด็นปัญหาที่เป็นเรื่องโครงสร้างทางการเมืองนับตั้งแต่ การทำกิจกรรมของชาวบ้านถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไผ่ พร้อมเพื่อนๆ กลุ่มดาวดิน เริ่มทำกิจกรรมทางการเมืองโดยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เริ่มต้นด้วยการออกไปต้อนรับ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการชูสามนิ้ว ต่อมาเมื่อครบรอบ 1 ปีการทำรัฐประหาร ก็ได้ออกไปชูป้ายที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่จังหวัดขอนแก่น จากนั้นก็ทำกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งปัจจุบัน ไผ่ ถูกดำเนินคดีทั้งหมด 5 คดี
พ่อของไผ่ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงคดีความล่าสุดของไผ่ จากการแชร์บทความจากเว็บไซต์ BBC Thai ว่าเหตุใดบทความดังกล่าวซึ่งมีคนแชร์ไปทั่วโลก จึงมีเพียงลูกชายตนเองถูกดำเนินคดีอยู่เพียงรายเดียว อีกทั้งต้นทางของบทความก็ยังไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแต่อย่างใด พร้อมกันยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยว่า เหตุผลที่ศาลระบุว่า ไผ่ "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" ไม่น่าจะเป็นเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวที่อยู่ใน ป.วิอาญา ซึ่งเขามองว่าหากกรณีนี้ศาลมองว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐจริง ก็ควรที่จะตั้งข้อกล่าวแยกออกมาอีกคดี ไม่ใช่การเอาเป็นเหตุผลสำหรับเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
วิบูลย์ เล่าต่อไปถึงวันพิจารณาคำร้องเพิกถอนการประกันตัวว่า วันนี้ได้มีการซักถามพนักงานสอบสวนว่า การกระทำใดที่เป็นการเยาะเย้ยพนักงานสอบสวนตามที่ได้มีการระบุเป็นเหตุผลไว้ในคำร้องขอเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว และการถ่ายรูปทำท่าทางคล้าย “หน้ากากแอคชั่น" ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ระบุว่า การเยาะเย้ย ไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงท่าทางอะไร แค่นั่งเฉยๆ และยิ้ม ก็ถึงว่าเป็นการเยาะเย้ยได้ โดยวิบูลย์มองว่า เหตุผลของพนักงานสอบสวนอ่อนมาก แต่ที่สุดแล้วศาลเห็นตามเหตุผลของพนักงานสอบสวน สำหรับประเด็นเรื่องการไม่ลบโพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กซึ่งเป็นการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai ซึ่งถูกหยิบมาเป็นหนึ่งในเหตุผลสำหรับการเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว วิบูลย์ เห็นว่า หลังจากที่ไผ่ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งแรก จากการยื่นหลักทรัพย์ทั้งหมด 4 แสนบาท ศาลได้สั่งห้ามไม่ให้เข้ายุ่งเหยิงกับพยานและหลักฐาน การที่ไม่ลบโพสต์ดังกล่าวจึงเป็นการทำตามเงือนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ตามที่ศาลได้กำหนดมา
วิบูลย์ ระบุด้วยว่า หลังจากที่ศาลสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ทางครอบครัวและทนายความได้ยื่นขอปล่อยตัวชัวคราวไผ่ ไปทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ยังไม่ได้รับการอนุญาตจากศาล โดยศาลระบุว่ายังไม่มีเหตุผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อีกทั้งยังมีกรณีการสั่งฝากขังผัดที่ 3 ซึ่งวิบูลย์มองว่า มิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลไม่ได้อ่านคำร้องให้ผู้ต้องขังฟังและผู้ต้องขังไม่ได้ลงรายมือชื่อในเอกสาร แต่ศาลกลับระบุว่าผู้ต้องขังไม่ค้านการฝากขัง (อ่านข่าวที่เกียวข้อง)
สำหรับสภาพจิตใจ และสภาพร่างกายของไผ่ วิบูลย์ระบุว่า "ทุกครั้งที่ถูกจับเขาจะยิ้มตลอด เป็นคนยิ้มง่าย ถูกจับก็ยิ้มอดทนเอา มาถึงตอนนี้ร่างกายจิตใจยังดีอยู่ แต่บางครั้งมันมีช่วงที่ดูเหงาๆ ผมก็ถามเป็นอะไรลูก เขาบอกว่า เริ่มหมดหวังกับกระบวนการยุติธรรมแล้ว เพราะที่ผ่านมามันแสดงชัดเจนแล้วว่าเกิดอะไรกับเขาบ้าง...จะแพ้ จะชนะ เราไม่ว่าอะไร แต่โปรดทำตามกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นธรรม"
ท้ายสุดวิบูลย์ กล่าวกับผู้ฟังว่า “ท่านอย่าลืมนะว่า ไผ่ และครอบครัวผม ถูกกระบวนการยุติธรรม และศาลละเมิดมาโดยตลอด”
อังคณา นีละไพจิตร ข้อหาเย้ยหยันอำนาจรัฐ ไม่มีระบุไว้ในกฎหมาย
ด้านอังคณา นีละไพจิตร ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งขาติ ได้ระบุว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ประสานไปทาง รองผบ.ตร. ในกรณีการสอบวิชาสุดท้ายของไผ่ วันที่ 17-18 ม.ค. 2560 โดยรองผบ.ตร. รับว่าจะประสานกับทางมหาวิทยาลัย และเรือนจำให้ไผ่ได้สอบตามปกติ และหวังว่าทางเรือนจำ มหาวิทยาลัย และตำรวจจะให้ความคุ้มครองในสิทธิดังกล่าว เพราะโดยหลักการแล้ว บุคคลใดที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาต้องมีสิทธิพิสูจน์ตนเอง และถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา อังคณากล่าวด้วว่า ศาลควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบ้างซึ่งจะช่วยให้เกิดวิธีการปรับปรุงการทำงานของศาลให้ดีมากขึ้น
อังคณา กล่าวต่อปถึงเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการตรวจร่างกายทางทวารหนัก ซึ่งในข้อกำหนดแมนเดลาของสหประชาชาติ โดยกระทรวงยุติธรรมของไทยได้รับมาปฏิบัติ ข้อ 52 ว่าด้วยการค้นตัวที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว รวมทั้งถอดเสื้อผ้า ค้นตามซอกหลืบของร่างกายให้กระทำได้ในกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น เช่นในกรณีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่ในกรณีของไผ่ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ฉะนั้นการกระทำของเจ้าหน้าที่เรือนจำ จึงเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และทางเรือนจำต้องพิจารณาตัวเอง ทั้งนี้สำหรับกรณีดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิกำลังเตรียมที่จะออกรายงานต่อไป
สำหรับกรณีการเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว ไผ่ อังคณามองว่า บางครั้งการใช้ดุลยพินิจของศาล อาจจะทำให้ประชาชนตั้งข้อสังเกต และมีความสงสัยในกระบวนการยุติธรรม เนื่องเริ่มมีข้อกล่าวหาแปลกเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างเช่นข้อหาเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งไม่เคยมีกฎหมายข้อใดระบุไว้ว่าเป็นความผิด ฉะนั้นสถานการณ์เช่นนี้จึงเป็นสถานการณ์ที่มีการสร้างความหวาดกลัวให้กับสังคม และไม่ได้ส่งผลดีต่อใครเลย
เมื่อมีผู้ถามว่า กรณีของไผ่นั้น ทางคณะกรรมการสิทธิฯ จะมีการทำรายงานให้แล้วเมื่อใด อังคณาระบุว่า อาจจะไม่เสร็จทันภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากโดยกระบวนการของคณะกรรมการสิทธิเมื่อมีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนมา จะต้องมีการคัดกรองเรื่อง และนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ซึ่งอาจจะใช้เวลาพอสมควร
สาวตรี สุขศรี : หากประชาชนเย้ยหยันอำนาจรัฐ ก็เท่ากับเย้ยหยันอำนาจของตัวเอง จะเป็นความผิดได้อย่างไร
สาวตรี สุขศรี กล่าวถึงกรณีการแชร์บทความ BBC Thai ว่า สามารถถกเถียงกันได้ว่าผิดหรือไม่ผิด โดยกรณีนี้สาวตรีมองว่าไม่น่าจะผิด และยังพูดถึงกรณีเกี่ยวกับการกดไลก์ ว่า กระกระทำความผิดนั้นจะต้องมีเจตนาที่จะประสงค์ให้เกิดการกระทำความผิด ฉะนั้นเมื่อมีการพิจาณาต้องดูว่าการไลก์เจตนาในการเผยแพร่ต่อหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ แต่หากเป็นการแชร์นั้นอาจเข้าข่ายใน พ.ร.บ.คอมมาตรา14 (5) ได้
สาวตรีระบุด้วยว่า กรณีที่ไผ่แชร์บทความจากเว็บไซต์ BBC Thai แล้วถูกดำเนินคดี มีลักษณะที่เลือกปฏิบัติ คือมีบุคคลทำพฤติกรรมเหมือนกันหลายคน แต่มีการเลือกปฏิบัติที่จะเจาะจงเพียงคนเดียวเท่านั้น ฉะนั้นที่พูดกันว่า บุคคลมีความเท่าเทียมต่อหน้ากฎหมาย สำหรับกรณีไผ่ จึงเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ และต้องตั้งคำถามว่า อย่างนี้เป็นการกลั่นแกล้งกันหรือไม่ ซึ่งเมื่อเป็นการกลั่นแกล้งการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต่อไปถึงกรณีสิทธิของผู้ต้องหาว่า ตามหลักการบุคคลต้องได้รับการสันนิฐานว่า ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ยังไม่มีการพิพากษา เมื่อมีหลักการแบบนี้เกิดขึ้นเวลาเจ้าพนักงานจะปฏิบัติหน้าที่กับใครสักคนจะปฏิบัติเสมือนว่าเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ ต้องสันนิฐานว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่ ฉะนั้น การไม่ปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการ ดั้งนั้นการปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เว้นแต่เข้ากรณีข้อยกเว้น ซึ่งจะต้องตีความโดยเคร่งครัด และต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนในรายละเอียด ตามข้อหาและต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ไผ่ ถูกดำเนินคดีมาแล้ว 4 คดี แต่ไม่เคยมีปัญหาหรือพฤติการณ์จะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ต่อให้คดีจะร้ายแรงแค่ไหนก็ไม่มีพฤติการณ์ดังกล่าว
สาวตรี ระบุต่อไปว่า กรณีการปล่อตัวชั่วคราวนั้น มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1.การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข 2.การปล่อยตัวโดยมีประกัน 3.การปล่อยตัวโดยมีประกัน และหลักประกัน ทั้งนี้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีเงื่อนไข ได้ถ้าพฤติการณ์ไม่มีปัญหา แต่ที่ผ่านมาจากสถิติจะพบได้ว่า ศาลจะเรียกหลักประกันเกือบทั้งหมด ซึ่งลักษณะนี้มีปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นในต่างประเทศจีงกำหนดวิธีการปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไขขึ้นมา คือปล่อยโดยไม่มีหลักประกันแต่มีเงื่อนไขให้ แต่ประเทศไทยไม่เป็นเช่นนั้น สำหรับกรณีของไผ่ เมื่อครั้งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวครั้งแรกเขาได้ ยื่นหลักประกัน แต่ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถามว่า ไผ่ ได้ทำผิดเงือนไขที่ศาลระบุไว้ตอนต้นหรือไม่ สาวตรี ระบุว่า ไม่ผิดเงื่อนไข
สาวตรี กล่าวต่อไปถึงกรณีที่ศาลใช่ดุลพินิจในการวิเคราะห์ว่าไผ่เย้ยหยันอำนาจรัฐนั้น คำถามคือ หากไผ่ ได้มีเจตนาเย้ยหยันอำนาจรัฐจริงๆ การเย้ยหยันอำนาจรัฐนั้นถือว่าเป็นความผิดหรือไม่ สาวตรีระบุว่า หากถามนักกฎหมายจะตอบได้ว่าไม่เป็นความผิด
โดยสาวตรี กล่าวต่อไปถึง องค์ประกอบของรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย ประชาชน ดินแดนที่แน่นอน อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลเป็นเพียงตัวแทนของประชาชน ฉะนั้นการเยาะเย้ย หรือเย้ยหยันอำนาจรัฐ ก็เท่าว่าประชาชนกระทำต่ออำนาจของตัวเอง
“ถ้าเราบอกว่าประเทศนี้ยังเป็นประชาธิปไตยอยู่ อำนาจรัฐเป็นของประชาชน คำถามคือประชาชนจะเยาะเย้ยอำนาจตัวเอง จะผิดตรงไหน” สาวตรี กล่าว
สาวตรี ทิ้งท้ายว่า เมื่อศาลมีดุลยพินิจ การใช้ดุลพินิจจะต้องมีขอบเขต การใช้ดุลพินิจโดยไม่มีกรอบกฎหมายกำกับไม่สามารถทำได้ ซึ่งในกรณีของไผ่ อาจไม่อยู่ในข้อกฎหมาย จึงมีการตั้งคำถามเกิดขึ้นตามมา และสุดท้ายจะนำไปสู่การตรวจสอบกระบวนการยุติธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังจากวงเสวนาสิ้นสุด จ่านิว หรือ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ได้ชวนผู้เข้าร่วมฟังเสวนาทำกิจกรรม เชิงสัญลักษณ์ โดยการนำข้าวหลาม เป็นเซ่นไหว้กับศาลพระภูมิ เป็นทดแทนกับอิสระ และเสรีภาพของ ไผ่ ดาวดิน จากนั้น วิบูลย์ บุญภัทรรักษา ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วม ร้องเพลง “บทเพลงแห่งสามัญชน” เป็นกิจกรรมสุดท้ายของงานเสวนา
ooo
#FreePai - Pai Jatupat's detention would prevent him from sitting for final exams. Thai authorities must release him NOW! cc: @PravitR pic.twitter.com/Q4lsqEEtVe— THRC UK (@thaihrc) January 15, 2017