‘เสียงข้างมาก’ ประชามติไทยๆ? / โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
August 15, 2016
คอลัมน์ : ทรรศนะแสงสว่าง
ผู้เขียน : สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา โลกวันนี้
ทันทีที่ผลการลงประชามติไทยๆออกมาว่า เสียงข้างมากรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. หลายฝ่ายก็ออกมาประกาศยอมรับการตัดสินใจของเสียงข้างมาก แต่ถามว่าความหมายของเสียงข้างมากสะท้อนอะไร?
อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตั้งข้อสังเกตว่า เสียงข้างมากคงจะถูกนำไปอ้างรับรองความชอบธรรมการเมืองไทยๆได้ แต่ในสายตาของชาวโลกคงไม่ยอมรับ เพราะไม่ใช่การลงประชามติภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรมตามหลักสากล ในหลักสากลถือว่า “การยอมรับเสียงข้างมาก” เป็นหลักการที่เกิดจากการลงประชามติภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
หากดูจากภูมิศาสตร์ของผลประชามติจะเห็นว่า ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนล่างไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสะท้อนถึง “บาดแผล” ในอดีตที่เสียงข้างมากในการเลือกตั้งของพวกเขาเคยถูกปฏิเสธ ด้วยข้ออ้างที่ว่าถูกซื้อบ้าง เลือกนักการเมืองและพรรคการเมืองที่โกงชาติบ้าง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงการลงคะแนนเลือกตั้งเป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรม ทุกฝ่ายมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ มีการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆได้อย่างเสรี
ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะมีความผิดพลาด มีปัญหาในการดำเนินนโยบายบางอย่าง แต่ไม่ได้ใช้อำนาจปิดสื่อ ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง จับกุมคุมขังฝ่ายที่มีความเห็นต่างจำนวนมากเหมือนรัฐบาล คสช. ที่เสียงข้างมากในการลงประชามติครั้งนี้ยอมรับ
ฉะนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า คนเหนือ คนอีสานไม่รู้ประชาธิปไตย เป็น “เสียงที่ไม่มีคุณภาพ” จึงเป็นข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จ เพราะในระบอบประชาธิปไตยมาตรฐานที่ใช้วัดว่าเสียงแบบไหนมีคุณภาพหรือไม่ต้องดูจากเสียงที่ยืนยัน “ความชอบธรรม” ตามวิถีทางประชาธิปไตยหรือไม่
เมื่ออำนาจ คสช. ไม่ชอบธรรม และการลงประชามติก็ไม่เป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรม เสียงที่ไม่รับจึงเป็นเสียงที่อธิบายได้ว่าสะท้อนการยืนยันความชอบธรรมตามวิถีทางประชาธิปไตยมากกว่า
ขณะที่ฝ่ายที่ดูถูกว่าคนอื่นไม่รู้ประชาธิปไตยกลับยอมรับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยมากกว่า นี่คือปัญหาที่ซับซ้อนของสังคมประชาธิปไตยไทยๆ
อะไรคือความหมายที่แท้จริงของเสียงข้างมากในการลงประชามติไทยๆ เราต้องดูความเป็นจริงของการลงประชามติภายใต้อำนาจการกำหนด “ความหมาย” ของเสียงข้างมากโดย คสช. ที่กำหนดไว้ว่า ถ้าเสียงข้างมากโหวตรับหมายถึงรับร่างรัฐธรรมนูญและยอมรับความชอบธรรมในการสืบทอดอำนาจผ่านกลไกรัฐธรรมนูญและการกำหนดอนาคตประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ถ้าเสียงข้างมากโหวตไม่รับมีความหมายเพียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่มีสิทธิบังคับให้ คสช. รับผิดชอบด้วยการลาออก คืนอำนาจให้ประชาชน หรือให้เลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดๆมาใช้แทน คสช. ยังอยู่ต่อและมีอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อกำหนดอนาคตของประเทศต่อไป
แปลว่าความหมายที่แท้จริงของเสียงข้างมากที่รับร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เสียงที่สะท้อนสิทธิ อำนาจของประชาชนในการกำหนดอนาคตของตัวเองได้ (เหมือนเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย) แต่เป็นเพียงเสียงข้างมากที่จะถูกนำไปอ้างรับรองความชอบธรรมของ คสช. ในการสืบทอดอำนาจและกำหนดอนาคตของประเทศต่อไปภายใต้กติกา (รัฐธรรมนูญ) ที่ไม่เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย
ถ้าสมมุติว่าเสียงข้างมากโหวตไม่รับก็ยิ่งไม่ใช่เสียงข้างมากที่สะท้อนสิทธิ อำนาจของประชาชนในการกำหนดอนาคตของตัวเองได้ เพราะไม่มีสิทธิบังคับให้ คสช. รับผิดชอบใดๆในทางการเมืองได้ คสช. ยังมีอำนาจอยู่ต่อไปอีกเหมือนเดิม
พูดง่ายๆคือ การลงประชามติไทยๆภายใต้กติกาของ คสช. ตีกรอบไว้ชัดเจนตั้งแต่แรกว่า ไม่ว่าผลประชามติจะออกมาเช่นไร คสช. ก็ยังมีอำนาจกำหนดอนาคตของประเทศต่อไป ไม่ใช่การลงประชามติในความหมายสากล เพราะไม่เป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตย จึงส่งผลให้ “เสียงข้างมาก” (ทั้งที่โหวตรับและแม้จะโหวตไม่รับ) ไม่ได้มีความหมายเป็นการสะท้อนสิทธิในการกำหนดอนาคตของตัวเองของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่เป็นเสียงข้างมากที่ถูกนำมาใช้อ้างรับรองความชอบธรรมของอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ฉะนั้นเวลาที่เราพูดว่าต้องเคารพเสียงข้างมาก ยอมรับเสียงข้างมาก ก็ต้องตระหนักด้วยว่าเป็นเสียงข้างมากที่เกิดจากการลงมติภายใต้กติกาที่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และเป็นเสียงข้างมากที่สะท้อนสิทธิ อำนาจในการกำหนดอนาคตของตัวเองของประชาชนได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเสียงข้างมากตามกฎเผด็จการเพื่อรับรองความชอบธรรมของเผด็จการเท่านั้น
ถ้าเป็นอย่างหลัง ฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็มีสิทธิจะปฏิเสธความชอบธรรมของเผด็จการที่อ้างเสียงข้างมากมารับรอง และกำหนดทิศทางในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป เพื่อใช้เหตุผลโน้มน้าวให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความไม่ชอบธรรมของอำนาจเผด็จการ และมองเห็นอนาคตที่ไม่เป็นประชาธิปไตยภายใต้การกำหนดของเผด็จการ แล้วหันมายอมรับแนวทางของฝ่ายประชาธิปไตยที่ต่อสู้เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ อำนาจในการกำหนดอนาคตของตนเองอย่างแท้จริง
ทันทีที่ผลการลงประชามติไทยๆออกมาว่า เสียงข้างมากรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. หลายฝ่ายก็ออกมาประกาศยอมรับการตัดสินใจของเสียงข้างมาก แต่ถามว่าความหมายของเสียงข้างมากสะท้อนอะไร?
อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตั้งข้อสังเกตว่า เสียงข้างมากคงจะถูกนำไปอ้างรับรองความชอบธรรมการเมืองไทยๆได้ แต่ในสายตาของชาวโลกคงไม่ยอมรับ เพราะไม่ใช่การลงประชามติภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรมตามหลักสากล ในหลักสากลถือว่า “การยอมรับเสียงข้างมาก” เป็นหลักการที่เกิดจากการลงประชามติภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
หากดูจากภูมิศาสตร์ของผลประชามติจะเห็นว่า ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนล่างไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสะท้อนถึง “บาดแผล” ในอดีตที่เสียงข้างมากในการเลือกตั้งของพวกเขาเคยถูกปฏิเสธ ด้วยข้ออ้างที่ว่าถูกซื้อบ้าง เลือกนักการเมืองและพรรคการเมืองที่โกงชาติบ้าง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงการลงคะแนนเลือกตั้งเป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรม ทุกฝ่ายมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ มีการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆได้อย่างเสรี
ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะมีความผิดพลาด มีปัญหาในการดำเนินนโยบายบางอย่าง แต่ไม่ได้ใช้อำนาจปิดสื่อ ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง จับกุมคุมขังฝ่ายที่มีความเห็นต่างจำนวนมากเหมือนรัฐบาล คสช. ที่เสียงข้างมากในการลงประชามติครั้งนี้ยอมรับ
ฉะนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า คนเหนือ คนอีสานไม่รู้ประชาธิปไตย เป็น “เสียงที่ไม่มีคุณภาพ” จึงเป็นข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จ เพราะในระบอบประชาธิปไตยมาตรฐานที่ใช้วัดว่าเสียงแบบไหนมีคุณภาพหรือไม่ต้องดูจากเสียงที่ยืนยัน “ความชอบธรรม” ตามวิถีทางประชาธิปไตยหรือไม่
เมื่ออำนาจ คสช. ไม่ชอบธรรม และการลงประชามติก็ไม่เป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรม เสียงที่ไม่รับจึงเป็นเสียงที่อธิบายได้ว่าสะท้อนการยืนยันความชอบธรรมตามวิถีทางประชาธิปไตยมากกว่า
ขณะที่ฝ่ายที่ดูถูกว่าคนอื่นไม่รู้ประชาธิปไตยกลับยอมรับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยมากกว่า นี่คือปัญหาที่ซับซ้อนของสังคมประชาธิปไตยไทยๆ
อะไรคือความหมายที่แท้จริงของเสียงข้างมากในการลงประชามติไทยๆ เราต้องดูความเป็นจริงของการลงประชามติภายใต้อำนาจการกำหนด “ความหมาย” ของเสียงข้างมากโดย คสช. ที่กำหนดไว้ว่า ถ้าเสียงข้างมากโหวตรับหมายถึงรับร่างรัฐธรรมนูญและยอมรับความชอบธรรมในการสืบทอดอำนาจผ่านกลไกรัฐธรรมนูญและการกำหนดอนาคตประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ถ้าเสียงข้างมากโหวตไม่รับมีความหมายเพียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่มีสิทธิบังคับให้ คสช. รับผิดชอบด้วยการลาออก คืนอำนาจให้ประชาชน หรือให้เลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดๆมาใช้แทน คสช. ยังอยู่ต่อและมีอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อกำหนดอนาคตของประเทศต่อไป
แปลว่าความหมายที่แท้จริงของเสียงข้างมากที่รับร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เสียงที่สะท้อนสิทธิ อำนาจของประชาชนในการกำหนดอนาคตของตัวเองได้ (เหมือนเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย) แต่เป็นเพียงเสียงข้างมากที่จะถูกนำไปอ้างรับรองความชอบธรรมของ คสช. ในการสืบทอดอำนาจและกำหนดอนาคตของประเทศต่อไปภายใต้กติกา (รัฐธรรมนูญ) ที่ไม่เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย
ถ้าสมมุติว่าเสียงข้างมากโหวตไม่รับก็ยิ่งไม่ใช่เสียงข้างมากที่สะท้อนสิทธิ อำนาจของประชาชนในการกำหนดอนาคตของตัวเองได้ เพราะไม่มีสิทธิบังคับให้ คสช. รับผิดชอบใดๆในทางการเมืองได้ คสช. ยังมีอำนาจอยู่ต่อไปอีกเหมือนเดิม
พูดง่ายๆคือ การลงประชามติไทยๆภายใต้กติกาของ คสช. ตีกรอบไว้ชัดเจนตั้งแต่แรกว่า ไม่ว่าผลประชามติจะออกมาเช่นไร คสช. ก็ยังมีอำนาจกำหนดอนาคตของประเทศต่อไป ไม่ใช่การลงประชามติในความหมายสากล เพราะไม่เป็นไปตามกติกาที่เสรีและเป็นธรรมตามระบอบประชาธิปไตย จึงส่งผลให้ “เสียงข้างมาก” (ทั้งที่โหวตรับและแม้จะโหวตไม่รับ) ไม่ได้มีความหมายเป็นการสะท้อนสิทธิในการกำหนดอนาคตของตัวเองของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่เป็นเสียงข้างมากที่ถูกนำมาใช้อ้างรับรองความชอบธรรมของอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ฉะนั้นเวลาที่เราพูดว่าต้องเคารพเสียงข้างมาก ยอมรับเสียงข้างมาก ก็ต้องตระหนักด้วยว่าเป็นเสียงข้างมากที่เกิดจากการลงมติภายใต้กติกาที่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และเป็นเสียงข้างมากที่สะท้อนสิทธิ อำนาจในการกำหนดอนาคตของตัวเองของประชาชนได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเสียงข้างมากตามกฎเผด็จการเพื่อรับรองความชอบธรรมของเผด็จการเท่านั้น
ถ้าเป็นอย่างหลัง ฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็มีสิทธิจะปฏิเสธความชอบธรรมของเผด็จการที่อ้างเสียงข้างมากมารับรอง และกำหนดทิศทางในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป เพื่อใช้เหตุผลโน้มน้าวให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความไม่ชอบธรรมของอำนาจเผด็จการ และมองเห็นอนาคตที่ไม่เป็นประชาธิปไตยภายใต้การกำหนดของเผด็จการ แล้วหันมายอมรับแนวทางของฝ่ายประชาธิปไตยที่ต่อสู้เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ อำนาจในการกำหนดอนาคตของตนเองอย่างแท้จริง