วันอังคาร, สิงหาคม 09, 2559

รัฐธรรมนูญลายพรางไม่อาจขวางประชาธิปไตย + ชี้ ‘ประชาธิปไตยแบบไทย’ เหมือนพม่า





โดย พรรณิการ์ วานิช
นักข่าวและพิธีกร iASEAN/ Tonight Thailand/ Voice World Wide

Voice TV

หลังประชามติ คนไทยฝ่ายรักประชาธิปไตยจำนวนไม่น้อยเกิดอาการอกหัก นอยด์ ซึมเศร้าไปตามๆกันกับอนาคตที่ตัวเองไม่ได้เลือก หลายคนพูดว่าจากนี้ไป ไทยคงกลายเป็นเมียนมา มีทหารชักใยอยู่เบื้องหลังรัฐบาลประชาธิปไตยตลอดไป แต่ลองมาดูพัฒนาการประชาธิปไตยเมียนมาจริงๆ จะพบว่าอะไรๆไม่ได้สิ้นหวังอย่างที่คิด




รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น แม้ถูกมองว่าบ่อนทำลายประชาธิปไตย สืบทอดอำนาจทหาร ลดทอนศักดิ์ศรีของประชาชน

ที่พูดมาไม่ได้หมายถึงร่างรัฐธรรมนูญไทยที่เพิ่งผ่านประชามติไปหมาดๆ แต่หมายถึงรุ่นพี่อย่างรัฐธรรมนูญเมียนมา ประเทศที่กำลังเปิดตัวในเวทีโลกในฐานะประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ แม้จะยังห่างไกลจากการเป็นประชาธิปไตยเต็มตัว ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับเจ้าปัญหา มรดกตกทอดจากทหาร แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วจนน่าตกใจ หากเทียบกับเมียนมาเมื่อทศวรรษที่แล้ว




คนไทยจำนวนมากมองอย่างสิ้นหวังว่าจากนี้ไปอนาคตประเทศไทยจะไม่ต่างจากเมียนมา มีทหารควบคุมรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แม้พรรครัฐบาลจะชนะเลือกตั้งท่วมท้นก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ตามต้องการ ต้องมาคอยเจรจาเอาเถิดเจ้าล่อกับทหารไปวันๆ ทั้งที่ในความเป็นจริง หากมาไล่เรียงดูไทม์ไลน์ประชาธิปไตยเมียนมา จะพบว่าฝ่ายประชาธิปไตยไม่ได้พ่ายแพ้ แต่ค่อยๆรุกคืบขอคืนพื้นที่จากทหารได้อย่างช้าๆต่างหาก

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญเมียนมามีกลไกอะไรในการสืบทอดอำนาจทหาร และบ่อนทำลายประชาธิปไตย

1. มาตรา 59 การจำกัดไม่ให้ผู้ที่มีบุตรหรือคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมียนมา ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าแก่ตั้งแต่ในยุคนายพลออง ซาน บิดาของนางอองซาน ซูจีเอง เพื่อป้องกันไม่ให้คนจากชาติอาณานิคมเข้ามาแทรกแซงการเมืองพม่ายุคประกาศเอกราช แต่กลับย้อนมาทำร้ายบุตรสาวของนายพลออง ซาน เองจนถึงปัจจุบัน

2. การกำหนดสัดส่วนให้สมาชิกรัฐสภา 25% มาจากการแต่งตั้งโดยกองทัพ และการแก้รัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็ต้องใช้เสียง 75% ขึ้นไป เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้สืบทอดอำนาจทหารแบบถาวรตลอดกาล ไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขใดๆได้ยกเว้นทหารเองจะเป็นฝ่ายยินยอม (ประเด็นนี้จะเห็นว่ากลไกเดียวกับรัฐธรรมนูญคสช. แต่ของไทยหนักกว่า คือกั๊กที่ให้ตัวแทนของทหารถึง 1 ใน 3 ของรัฐสภา แต่เมียนมากั๊กเพียง 1 ใน 4)

3. คือการที่รัฐธรรมนูญกำหนดรูปแบบรัฐเมียนมาเป็นสหภาพ ไม่มีการแบ่งอำนาจการปกครองตนเองให้กลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งที่กลุ่มต่างๆเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเอง หรือแม้แต่เอกราชจากเมียนมามาโดยตลอด






รัฐธรรมนูญเมียนมาผ่านการลงประชามติในปี 2008 ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 92% และมีอัตราผู้มาใช้สิทธิ์ 98% ทั้งที่ในตอนนั้น ประชาชนแทบไม่รู้ว่าการลงประชามติคืออะไร รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสาระอย่างไร เนื่องจากประเทศกำลังเสียหายหนักจากไซโคลนนาร์กีซ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับแสนราย แน่นอนว่าการประชามติไม่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ และแม้แต่ประชาชนในประเทศ และแม้จะนำมาซึ่งการเลือกตั้งในปี 2011 นำมาสู่รัฐบาลพลเรือนชุดแรกในรอบหลายสิบปี แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่ได้รับการยอมรับเช่นเดียวกัน เพราะได้มาโดยการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม





A man sells books and posters showing Aung San Su Kyi during a signing ceremony for the amendment of the 2008 Constitution near the NLD (National League for Democracy) party's head office in Yangon May 27, 2014. The NLD was calling for a 54 day nationwide campaign to collect people's signatures to amend the controversial constitution by the former Military regime. Myanmar's constitution that cannot be changed without participation of 25 percent of military representatives votes in the parliament. AFP PHOTO / Ye Aung Thu (Photo credit should read Ye Aung Thu/AFP/Getty Images)


สถานการณ์ฟังดูเหมือนสิ้นหวัง ฝ่ายประชาธิปไตยไม่มีทางโงหัวขึ้นมาได้อีกต่อไป

แต่กลับปรากฏว่าในปี 2012 รัฐบาลเต็ง เส่ง ประกาศให้มีเลือกตั้งซ่อม ลดแรงกดดันจากนานาชาติและเพิ่มความชอบธรรมให้รัฐบาล ในครั้งนั้นพรรค NLD ได้ที่นั่งถึง 43 จาก 45 ที่นั่งในสภา และซูจีก็ได้ก้าวเข้าสู่สภา ทำหน้าที่พรรคฝ่ายค้านอย่างแข็งขัน โดยมีวาระหลักคือการเสนอแก้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ

ในปี 2013 หลังการขับเคี่ยวเจรจาต่อรองจากพรรค NLD ของนางซูจี ทหารยอมให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้รัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยส.ส. เอ็นจีโอ ภาคประชาชน และตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ มีการยื่นข้อเรียกร้องแก้รัฐธรรมนูญถึงกว่า 320,000 คำร้อง และหลายประเป็นในรัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไข ยกเว้น 3 ประเด็นสำคัญที่สุด

แม้รัฐธรรมนูญลายพรางจะยังอยู่ยงคงกระพัน แต่ทหารก็อ่อนข้อให้ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ในปี 2015มีการเลือกตั้งที่เสรีและเปิดกว้างที่สุดในรอบหลายสิบปี พรรค NLD ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย แม้ซูจีจะยังไม่ได้เป็นประธานาธิบดีเพราะติดมาตรา 59 แต่เธอก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาลอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก โดยมีนายติ่น จ่อ เป็นประธานาธิบดีหุ่นเชิด





สิ่งที่ฝ่ายประชาธิปไตยทำได้ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ปิดตายสำหรับการแก้ไขนี้ ก็คือการพยายามเจรจาต่อรองกับกองทัพ ร่วมกับการขอแรงกดดันจากมหาอำนาจตะวันตก เพื่อบีบให้กองทัพเดินหน้าไปสู้การปฏิรูปประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตย การเจรจาต่อรองนี้เกิดขึ้นและดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน แม้รัฐบาลซูจีจะคุมเสียงข้างมากในสภา แต่ก็ยังไม่สามารถขจัดอิทธิพลของกองทัพได้อย่างเด็ดขาด เพราะรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญๆและ 25%อันมีค่าของสมาชิกรัฐสภายังอยู่ในมือกองทัพทั้งหมด


มองในทางหนึ่ง ฝ่ายประชาธิปไตยดูเหมือนตกเป็นรองอยู่ตลอด ต้องเดินตามแผนปฏิรูปประเทศที่ทหารวางไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และการชนะเลือกตั้งก็ไม่มีความหมายใดๆ ในเมื่อรัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยไม่เกรงใจทหาร แต่เมื่อมองในฐานะกระบวนการ การรอมชอมทางการเมืองระหว่าง NLD และกองทัพ ก็ถือเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านปฏิรูปประเทศที่มีประสิทธิภาพ แม้จะค่อยๆคลานไป แต่ก็ดีกว่าการอยู่กับที่หรือก้าวถอยหลัง เพราะตราบใดที่ยังมีการพยายามเจรจาต่อรอง การปฏิรูป ก็เท่ากับฝ่ายประชาธิปไตยยังมีโอกาสรุกคืบและได้รับชัยชนะในระยะยาว

บทเรียนจากเมียนมาสอนให้เรารู้ว่าแม้แต่รัฐทหารที่เข้มแข็งที่สุด ก็ไม่สามารถฝืนกระแสโลกได้ ต้องยอมเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยเพื่อให้ตนเองมีความชอบธรรมทั้งในบ้านและในเวทีโลก ในทำนองเดียวกัน การที่ไทยมีรัฐธรรมนูญลายพรางที่สืบทอดอำนาจทหารไปอีกอย่างน้อย 20 ปี ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ใช่ว่าจะเป็นจุดจบของประชาธิปไตยไทย ตราบใดที่ยังมีการเลือกตั้ง การเจรจาต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและทหารยังคงมีอยู่ และจงอย่ารังเกียจการเจรจาต่อรองเหล่านี้ เพราะนี่คือส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย ระบอบการปกครองที่ขับเคลื่อนด้วยการประสานประโยชน์และแบ่งสรรทรัพยากรระหว่างกลุ่มต่างๆ




Prime Minister Prayuth Chan-Ocha arrives at Government House before a cabinet meeting in Bangkok on August 9, 2016. A referendum victory for Thailand's ruling generals over a new constitution is a 'backwards' step for the country, toppled ex-premier Yingluck Shinawatra said August 8 as the democracy movement reels from its first poll defeat in a decade. / AFP / LILLIAN SUWANRUMPHA (Photo credit should read LILLIAN SUWANRUMPHA/AFP/Getty Images)


เมียนมาใช้เวลาเกือบ 10 ปีนับจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญลายพราง กว่าได้รัฐบาลพลเรือนที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก และอาจจะใช้เวลาอีกสัก 5 ปี 10 ปี กว่าจะได้รัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ ลดบทบาทกองทัพให้อยู่ใต้รัฐบาลอย่างแท้จริง สำหรับไทยที่เพิ่งได้รัฐธรรมนูญลายพรางมาหมาดๆก็เท่ากับว่าเกมใหม่เพิ่งจะเริ่ม เกมต่อรองอำนาจระหว่างพรรคการเมืองที่มีประชาชนหนุนหลัง กับกลุ่มอำนาจเก่าที่มีตุลาการ ระบบข้าราชการ และปืนหนุนหลัง


สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร

ooo


ชี้ ‘ประชาธิปไตยแบบไทย’ เหมือนพม่า





by Sathit M.9 สิงหาคม 2559
Voice TV

นักวิชาการอังกฤษมองระบอบปกครองไทยเหมือนของเมียนมา คาดลาว- เวียดนามใช้พิมพ์เขียวแบบเดียวกันในอนาคต ขณะวอลสตรีทเจอร์นัลชี้รัฐธรรมนูญฉบับประชามติเปิดทาง ‘รัฐประหารถูกกฎหมาย’

เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ตีพิมพ์บทความของนักวิชาการชาวอังกฤษ ไนเจล โกลด์-เดวีส์ ชี้ให้เห็นผลสืบเนื่องของรัฐธรรมนูญฉบับที่เพิ่งผ่านประชามติของไทย พร้อมคาดการณ์ผลสะเทือนที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้

อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นี้ บอกว่า ประเทศไทยยังไม่บรรลุฉันทามติเกี่ยวกับกฎกติกาของระบอบปกครองแบบประชาธิปไตย พลังสังคมใหม่ๆท้าทายระบอบเก่า ชนชั้นกลาง โดยเฉพาะคนชนบทซึ่งเป็นเสียงข้างมาก เรียกร้องที่จะมีสิทธิ์มีเสียงและเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ แต่กลุ่มผลประโยชน์เก่าและสถาบันดั้งเดิมขัดขวาง

โกลด์-เดวีส์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านประชามติของไทยคืนการเลือกตั้งให้ประชาชน แต่มัดมือมัดเท้ารัฐบาลประชาธิปไตยในอนาคต โดยใช้สถาบันที่มาจากการแต่งตั้ง เช่น วุฒิสภา นายกรัฐมนตรีคนนอก รวมทั้งองค์กรต่างๆที่เต็มไปด้วย “คนดี” สถาบันเหล่านี้มีอำนาจล้มล้างการตัดสินใจของรัฐบาล

นักวิจัยของสถาบันกิจการระหว่างประเทศของอังกฤษ (Chatham House) ผู้นี้ บอกว่า การสร้างประชาธิปไตยมีกลยุทธ์ให้เลือกใช้ 3 ตัวแบบ คือ แบบค่อยเป็นค่อยไป แบบผู้นำเผด็จการลงเลือกตั้งโดยใช้กลไกรัฐช่วยให้ชนะ และแบบมีเลือกตั้งโดยเสรี แต่รัฐบาลถูกมัดมือมัดเท้า

เขาบอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2559 บ่งบอกว่า ชนชั้นนำไทยเลือกใช้ตัวแบบที่สาม ยอมให้มีเลือกตั้ง พร้อมกับปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง แนวทางเช่นนี้เหมือนกับของเมียนมา ซึ่งรัฐบาลของอองซาน ซูจีต้องบริหารประเทศอยู่ในกรอบที่กองทัพกำหนด ตัวแบบดังกล่าวอาจปรากฏในที่อื่นๆอีก เช่น ลาว เวียดนาม หรือกระทั่งจีน

วันเดียวกัน หนังสือพิมพ์ วอลสตรีทเจอร์นัล ระบุในบทวิเคราะห์ เรื่อง “รัฐธรรมนูญฉบับมีตำหนิของไทย” ว่า รัฐบาลทหารเปิดไฟเขียวให้ตนเองสามารถยึดอำนาจได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

วอลสตรีทเจอร์นัล อธิบายกระบวนการทางการเมืองหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติเมื่อวันอาทิตย์ ว่า ในขั้นต่อไป พวกนายพลจะแต่งตั้งวุฒิสมาชิก เพื่อเลือกตัวนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรจากการแต่งตั้งอื่นๆสามารถล้มรัฐบาลได้ รัฐบาลพลเรือนต้องทำตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของระบอบทหาร

นอกจากนี้ บทบัญญัติข้อหนึ่งยังเปิดทางให้กองทัพโค่นรัฐบาลได้ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่รับรองความชอบด้วยกฎหมายของการทำรัฐประหารในอนาคต.

ooo


Thailand’s Flawed Constitution



A Thai man votes during Thailand's constitutional referendum in Bangkok on Aug. 7. PHOTO: BLOOMBERG NEWS

The junta gives itself the green light to stage the country’s next coup.

Source: Wall Street Journal
Aug. 8, 2016

Thais voted for a new constitution on Sunday by a margin of 61%, which will allow it to return to civilian government following an election next year. If that sounds like a belated return to democracy after two years of military rule, consider that the current ruling junta outlawed criticism of their charter and arrested 115 dissidents ahead of the vote.

The goal of the new charter is to limit the possibility of the political return of billionaire businessman and deposed former Prime Minister Thaksin Shinawatra or his sister Yingluck, who also served in the office before being arrested by the military in May 2014. The Thaksin forces, or red shirts, are supported by the poorer and more rural north of the country, while Thais in Bangkok and the south tend to be more pro-military and skeptical of democracy.

To that end, the generals will appoint the 250-member Senate, which along with the Lower House will choose the Prime Minister. The Constitutional Court and other appointed institutions can also overrule the government. A new provision obliges civilian governments to carry out a junta-devised 20-year development plan, while another allows the military to remove the government at any time. That’s long been the reality in Thailand, where the generals have staged a coup on average every 4.5 years since the country first became a democracy in 1932. But this is the first constitution to authorize the next coup.

The junta says the new constitution is needed to eliminate corruption from politics, and the word “corruption” appears 46 times in the document. But corruption flourished under past military governments, and a lack of democratic accountability won’t help.

None of this is likely to settle Thai politics for long, as the country remains effectively under martial law and many Thaksin supporters have opted to bide their time. But a repressive constitution will not silence them forever, and only a return to genuine democracy can fix the faulty foundations of Thailand’s divided house.