วันศุกร์, มีนาคม 18, 2559

เจ๊งยับ!!! สื่อญี่ปุ่นเผยต่างชาติลงทุนในไทยลดลง 90% ในปี 2558 + อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.58 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน - ภาวะปกติ?!?




BY BOURNE
ON MARCH 17, 2016
ISpace Thailand 

ตอกย้ำกันอีกรอบกับความย่ำแย่ของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการลงทุนจากต่างชาติ สื่อยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น Asian Nikkei Review ได้เปิดรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย โดยระบุว่าภาคการลงทุนจากต่างชาติของไทยกำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่อย่างมากในปี 2558 อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ด้านการลงทุนจากต่างชาติ ที่เริ่มใช้ในเดือนมกราคมปี 2558

สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย ที่ระบุว่ามูลค่าการลงทุนจากต่างชาติในเดือนธันวาคม 25588 ลดลงกว่า 98% หรือลดลงกว่า 12,700 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2557 ซึ่งถือว่ามีมูลค่าต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน




ทั้งนี้การลดลงของมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติดังกล่าวนั้น เป็นผลมาจากการถอนทุนจากการลงทุนในระยะสั้นในช่วงปลายปี 2557 ก่อนที่จะมีการใช้กฎเกณฑ์ใหม่ในปี 2558 ทำให้การลงทุนในปี 2558 ลดลงถึง 90% หรือมูลค่ากว่า 106,000 ล้านบาท





ผลจากการเปลี่ยนกฎเกณฑ์การลงทุน และลดจำนวนภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการยกเว้นภาษีถึง 20% โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมแรงงาน เช่น สิ่งทอ ท่ามกลางค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น และภาวะขาดแคลนแรงงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ไปลดผลประโยชน์ในการลงทุนด้านอื่นๆด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าทำให้บริษัทจากต่างชาติได้รับผลประโยชน์ด้านภาษีและด้านอื่นๆภายใต้ระบบเดิมในปี 2557 มากกว่า

หากพิจารณาเป็นรายประเทศ ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนในไทยมากที่สุดในปี 2558 โดยมีสัดส่วนถึง 30% ของการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด ตามติดมาด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และจีน




อย่างไรก็ตามภาวะตกต่ำด้านการลงทุนจากต่างชาติ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาของประเทศไทย

ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ ที่เข้ามารับตำแหน่งในเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ได้ออกนโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะภาคการลงทุนจากต่างชาติ ที่มีการออกนโยบายให้บริษัทต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุน หากลงทุนจริงเกินกว่า 70% ของมูลค่าการลงทุนที่แจ้งไว้ ในด้านการก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนสิ้นเดือนมิถุนายนปีนี้ รัฐบาลจะลดหย่อนภาษีนิติบุคคลให้ 4 ปี ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวน และมูลค่าการลงทุน





แต่ว่านั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ยากมาก เพราะในความเป็นจริงจำนวนการลงทุนรายเดือนยังคงวนเวียนอยู่ที่ 50 โครงการต่อเดือน ซึ่งลดลง 30% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า แม้รัฐบาลจะประกาศมาตรการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวออกมาแล้วก็ตาม จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่ามาตรการดังกล่าวนั้นสามารถเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศได้จริงหรือไม่

อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยยังคงตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนการลงทุนจากต่างประเทศขึ้น 320% จากปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นมูลค่า 450,000 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทต่างชาติจำนวนมากก็ยังคงเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




ด้านนาย Akira Murakoshi ประธาน Japanese trading house Mitsubishi (Thailand) ในฐานะหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดเผยว่าผลการสำรวจบริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในประเทศไทย พบว่ามีถึง 36% ที่ตั้งเป้าลดการลงทุน 25% อาจจะเพิ่มการลงทุน และอีก 31% จะไม่เพิ่มหรือลดการลงทุนในประเทศไทย

ท่ามกลางกระแสผลกระทบจากกฎเกณฑ์การลงทุนใหม่ของไทย รวมถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในอนาคต บริษัทญี่ปุ่น และต่างชาติรายอื่นดูจะยังไม่มีความกระตือรือร้นที่จะมีการลงทุนใหม่ๆในประเทศไทย อย่างน้อยก็ในเวลาอีกระยะหนึ่งทีเดียว!!!

Reference

http://asia.nikkei.com/Politics-Economy/Economy/Foreign-investment-into-Thailand-plummets-90-in-2015?page=2





ที่มา มติชนออนไลน์
16 มี.ค. 59

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์และแนวโน้มด้านแรงงาน เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ว่า แนวโน้มการจ้างงาน ว่างงาน และการเลิกงาน ในภาพรวมนั้น อยู่ในภาวะปกติ จากการเฝ้าระวังสถานการณ์จากระบบเตือนภัยด้านแรงงาน โดยใช้ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจในรูปแบบดัชนีผสม 13 ตัว ส่งสัญญาณชี้นำตลาดแรงงานด้านการจ้างงานในสภาพปกติ ทั้งนี้หากไม่เกิน 5 ตัวจะแสดงภาวะปกติ ซึ่งมีเพียงดัชนี 1 ตัว คือ มูลค่าการส่งออก ที่ชะลอตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานจากระบบเตือนภัยด้านแรงงาน ซึ่งอาศัยข้อมูลการว่างงานผู้มีงานทำภาคเอกชนของสำนักงานสถิติแห่งชาติและการเลิกจ้าง จากระบบเตือนภัยด้านแรงงาน แสดงสถานะปกติ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ให้หน่วยงานในสังกัดในทุกพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างใกล้ชิดและให้รายงานสถานการณ์ทุกเดือน โดยให้ทำทะเบียนกลุ่มอุตสาหกรรมเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหา และเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือแก้ไขได้ทันท่วงที

ม.ล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า ส่วนภาวการณ์จ้างงานในเดือนกุมภาพันธ์ นั้นมีแรงงานในระบบประกันสังคมจำนวน 10,348,753 คน มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 แต่ยังชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.10 ส่วนสถานการณ์ว่างงานมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม จำนวน 123,087 คน มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.58 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 7.83 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 114,150 คน อยู่ที่ร้อยละ 19.02 ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ว่างงานนี้เป็นผู้ถูกเลิกจ้างจำนวน 7,915 คน พบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 26.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่ถือว่ามีอัตราลดลงร้อยละ -14.14 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 9,218 คน อยู่ที่ร้อยละ 18.03