วันศุกร์, กันยายน 04, 2558

ลิเกเรื่องนี้มีชื่อว่า นิรันทร์อ่านร่องแร่งเกือบ ‘ขาด’ สมชัยบิดเบี้ยว ‘เขี้ยวๆ’ ตามเคย ส่วนวิษณุ (คนเขียน) เอาข้างแถ




ลิเกเรื่องนี้มีชื่อว่า นิรันทร์อ่านร่องแร่งเกือบ ‘ขาด’ สมชัยบิดเบี้ยว ‘เขี้ยวๆ’ ตามเคย ส่วนวิษณุ (คนเขียน) เอาข้างแถ

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ‘เกินลงกา’ (หนึ่งในหลายสมญาที่อันนี้ ชำนาญ จันทร์เรือง ตั้งให้) ทำท่าจะล่องลิ่วแล้วเชียว

มาติดกึกตรงที่กลุ่ม สปช. พวกที่แค่ไม่พอใจร่างฯ อยาก ‘ยืด’ กระบวนการ ‘ยก’ ยาวอีกหน่อย ออกมายืนจังก้ากัน (หลายคำวิจารณ์ชี้ว่าเพียง) เป็นกระสาย

เบิกโรงโดยบุญเลิศ คชายุทธเดช กับ นิมิต สิทธิไตรย์ สอง สปช. กอดคอกันยืนกรานไม่รับร่างฯ อ้างว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาของร่างฯ นี้ดีพอ ดันผ่านไปจะ ‘ยุ่ง’ ตายห่

ตามด้วย สปช. นิรันทร์ พันทรกิจ ลงลึกรายละเอียดว่า

“มองว่าหากลงมติรับร่างจนเข้าสู่กระบวนการทำประชามติแล้ว จะทำให้สูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการดำเนินการ แต่ร่างรัฐธรรมนูญจะยังไม่สามารถผ่านความเห็นชอบจากประชาชนได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติต้องผ่านเสียงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งหากนับแล้วคือต้องมากกว่า ๒๓.๕ ล้านคน จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ ๔๗ ล้านคน”

นิรันทร์โยนลูกไปให้ สนช. จัดการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ เสียก่อน ให้เปลี่ยนมาตรา ๓๗ วรรค ๗ เป็นกำหนดว่า ประชามติผ่านได้ด้วยเพียงเสียงข้างมากของผู้ไปใช้สิทธิ ไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด




ถึงที สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. รุ่น obsoleted ส่งเสียงออกสื่อให้ความเห็นหลายง่ามว่า

“หนึ่ง ตามหลักสากลการออกเสียงประชามติของประเทศต่างๆ จะใช้หลักเกณฑ์เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง และสอง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๙ ได้มีการกำหนดไว้สองกรณี”

สองกรณีที่ว่าคือ อันแรกประชามติเพื่อหาข้อยุติ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง แล้วนับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิ์จึงถือว่าผ่าน

ถ้าเป็นประชามติเพื่อให้คำปรึกษาโดยไม่มีผลผูกพัน จะวัดผลอย่างใดก็ได้ (ไม่ต้องตามสากล)

แต่ กกต. สมชัยก็มีไอเดียเจ๋งเพิ่มเติมว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ ให้นำหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติ ปี ๒๕๕๒ มาใช้เฉพาะบทลงโทษเท่านั้น ดังนั้นกรณีที่ถกเถียงกันว่าจะนับคะแนนอย่างไร จากเสียงข้างมากผู้ไปใช้สิทธิ์ หรือจากผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด ประเด็นนี้สมชัยอธิบายอย่างนี้

“รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๗/๑ เขียนไว้ชัดเจนว่าคำถามพ่วงนั้นใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ แต่กรณีของคำถามหลักมีประโยคในรัฐธรรมนูญที่แปลความหมายสับสน คือ มาตรา ๓๗ วรรค ๗ ที่ระบุว่า ในการออกเสียงประชามติ ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับและภายใต้บังคับมาตรา ๓๗/๑”

(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441285724)

ตรงนี้เองที่สมชัยเหมาเอาว่า จะตีความย้อนเกล็ดกลับไปหมายความว่า นับคะแนนตามแบบคำถามพ่วงให้ใช้เสียงข้างมากผู้ไปออกเสียงก็ได้

ก็เลยเจอ สศจ. Somsak Jeamteerasakul กระซวกเอาว่า

“อันนี้มั่วแบบไม่เอาไหนเลย คือ มาตรา ๓๗/๑ กำหนดเรื่องเสียงข้างมากของคนมาลงจริง แต่เป็นการกำหนดสำหรับ ‘ประเด็นเพิ่มเติม’ เท่านั้นชัดเจน ในขณะที่มาตรา 37 ที่ให้ ‘โดยเสียงข้างมาก’ ก็บอกไว้ชัดเจนเช่นกันว่า (ของ) ‘ผู้มีสิทธิออกเสียง’ จะเอาอันนึงไปขึ้นต่ออีกอันนึงในประเด็นนี้ไม่ได้เลย ‪#‎เพราะแต่ละอันกำหนดไว้ชัดเจนสำหรับกรณีของตัวแล้ว‬

อ่า ทว่าความเห็นใครคงไม่เทียบทั่นรอง วิษณุ เครืองาม แม้จะยอมรับว่า มาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวใช้คำว่า “ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจะต้องเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก”

ทั่นรองก็ยังย้ำหัวตะปูอย่างเดิมว่า “เราไม่สามารถจะพูดได้ว่าคนที่มีสิทธิ แต่ไม่มาใช้สิทธิได้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ...พูดแบบนั้นไม่ได้เพราะเขาไม่ใช้สิทธิ ไม่ได้แปลว่าเขาไม่เห็นชอบ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาเห็นชอบ”

อย่างที่ สศจ. ตอกอีกน่ะแหละ “วิษณุน่ะไม่ได้กำลัง ‘แถ’ หรอกหรือ”

“ไม่เกียวเลยว่า คนไม่มาใช้สิทธิจะมีความเห็นอย่างไร จะ ‘บอกได้’ หรือ ‘บอกไม่ได้’ ว่าเขาคิดอย่างไรจึงไม่มาใช้สิทธิ ‪#‎มันก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพูดนี้‬ ‪#‎คือข้อกำหนดตามตัวบทที่เขียนไว้‬ ตัวบทเขียนไว้เองว่า จะผ่านต้อง ‘โดยเสียงข้างมาก’ (ของ) ‘ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ’”

ถึงตอนท้าย เมื่อ (นักข่าว) “ถามว่าทำไมกฎหมายถึงไม่เขียนให้ชัดเจนว่า ผู้มีสิทธิกับผู้มาใช้สิทธิให้ระบุให้ชัดๆ นายวิษณุ กล่าวว่า เทคนิคมีหลายวิธี ซึ่งตอนเขียนก็นึกว่าชัดเจนแล้ว”

(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441268783)

อ้าว นี่สีข้างชัดๆ นะทั่น เขียนกับมือแล้วมาบอก ‘นึกว่า’ จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้ไง

ถึงกระนั้นบรรดาบริกรบริการทั้งหลายของ คสช. ก็คงช่วยกันดันให้นับคะแนนผ่านไม่ผ่านจากจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ์ออกเสียงจนได้ มีข้ออ้างให้แถอีกแยะเยอะ

แม้กระทั่งอ้างเจตนา คสช. ก็ได้ เพราะในตัวร่าง รธน. ๒๕๕๘ นี่เองระบุไว้ในมาตรา ๒๗๑ เรื่องการออกเสียงประชามติใช้คำว่า ‘ประชาชนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมาก’ จะตีความให้ตรงตามร่าง รธน. ฉบับที่นำมาให้ออกเสียงคงไม่ยาก หากใช้ตรรกะแบบ ‘ตู่ๆ’




ดูแต่กรณีถอนพาสปอร์ตของ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตนักการเมืองพรรคไทยรักไทยสิ

ทั่นหัวหน้ารัฐบาลตะหานจีบปากจีบคอพูดไม่ยั้ง “เป็นเรื่องที่ผิดซ้ำซาก ผิดมาหลายเรื่อง คดีความก็เยอะ เรียกมาเป็นสิบ ๆ ครั้งแล้ว...

มันเป็นเรื่องที่ผมจะพิจารณาเอง ไม่ต้องมาตั้งกฎเกณฑ์ มาตีกติกาให้ผม ถ้าจะทำ ผมก็จะทำให้เป็นธรรมมากที่สุด อย่ามารบกับผมแบบนี้”

เอ๊า เขาถูกกระทำแล้วหาว่าเขามารบด้วยเรอะ พูดเซี้ยวๆ ถ้าตะเองโดนมั่งหยั่งงี้จะว่างัย

กระทรวงต่างประเทศอ้างว่าได้รับการเรียกร้องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าตัวเขาก็บอกแล้วว่า

“ตั้งแต่ต้นตนก็ไม่ได้หลบหนี แต่ถูก คสช.ควบคุมตัวโดยสมัครใจ ขณะนี้อยู่ระหว่างได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลทหาร ได้ประกันตัวด้วยเงื่อนไขว่าห้ามออกนอกประเทศยกเว้นได้รับอนุญาต ขั้นตอนเวลานี้เป็นอำนาจของศาลที่จะอนุญาต หากหลบหนีก็ต้องถูกจับกุมและเข้าคุก

ขั้นตอนขณะนี้เลยความรับผิดชอบของ สตช.มาแล้ว เป็นเรื่องของศาล จึงไม่ใช่หน้าที่ของ สตช.ที่จะมาขอให้กระทรวงเพิกถอนหนังสือเดินทางของตนเพราะเกรงหลบหนีไปต่างประเทศ”

อีกทั้งต่อกรณี สตท. อ้างเหตุเรียกร้องให้ถอนหนังสือเดินทางนายจาตุรนต์ว่า “วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่นายจาตุรนต์เป็นผู้ต้องหาคดีขัดคำสั่ง คสช.ที่ไม่เข้ารายงานตัว ในการกระทำการยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบหรือละเมิดกฎหมายแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖ กรณีการร่วมปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ”

นั่นคุณอ๋อยแกก็สนองไว้แจ่มแจ้ง “ยังจะใช้สิทธิการเป็นพลเมืองในการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองต่อไปเช่นกัน

ซึ่งก็รวมถึงเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่นายจาตุรนต์ชี้ว่า เป็นฉบับที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา พร้อมกับบอกว่าประชาชนสามารถปฏิเสธได้ด้วยการลงประชามติไม่รับซึ่งสิ่งที่ตนพูด

ไม่ได้เป็นการปลุกปั่นยุยงแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่พูดได้”

(https://www.facebook.com/BBCThai/photos/a.1527194487501586.1073741828.1526071940947174/1693162930904740/?type=1&fref=nf)

(แถมเต็มๆ คำของจาตุรนต์ “ร่างรัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นร่างเพื่อการสืบทอดอำนาจของคสช. ที่จะปกครองประเทศแบบเผด็จการต่อไปอย่างไม่มีกำหนด และเมื่อใช้บังคับแล้วจะไม่มีใครแก้ได้

หากสปช.ผ่านด้วยขาดจิตสำนึกผิดชอบชั่วดี ประชาชนก็ต้องร่วมมือกันคว่ำในขั้นลงประชามติ ไม่ต้องห่วงว่าคว่ำแล้วเขาจะอยู่ยาว ไม่คว่ำจะยาวกว่า”https://twitter.com/chaturon)




ดังนั้นการที่นาย สปช. สิระ เจนจาคะ บอกว่าใตรเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้แย่มาก ให้ย้ายไปอยู่ประเทศอื่นน่ะ สงสัยคนพูดไม่ได้แค่ ‘กบอยู่ในกะลา’ นะ ตอนนี้เป็น ‘คางคกขึ้นวอ’ แล้ว

ไม่รู้จักดูตัวอย่างที่เขาไม่ ugly, not too shabby เสียบ้าง ดังเช่น




“1. พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญพร้อมลงมติคว่ำชั้นประชามติ 2. เปรียบนักกีฬาปฏิเสธกติกาเถื่อน 3. นักกีฬามีสิทธิไม่ลงแข่งขัน หากกติกาไม่ชอบมาพากล

4. รัฐธรรมนูญจะสร้างความวุ่นวายเสียหายแก่ระบบการเมืองและประชาธิปไตยในอนาคต 5. สังคมประชาธิปไตยสากลทั่วโลกกำลังจับตาดูแลและพร้อมจะต่อต้านรัฐบาลไทยที่มาจากการรัฐประหาร
และ 6. หากยังดันทุรังอยู่เช่นนี้ ประเทศชาติมีแต่จะยิ่งเสียหายและทีมเทวดาที่ไหนก็จะมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยไม่ได้”

พร้อมทั้ง “ให้ทหารเป็นทหารมืออาชีพที่มีเกียรติศักด์ เพื่อความอบอุ่นใจของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่อยากให้ทำหน้าที่สับสนกันจนทำให้ประชาธิปไตยมีปัญหาตลอดมา...

ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านประชามติ ผมยืนยันมีความเห็นส่วนตัว ไม่รับ รธน.ฉบับนี้”

(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=919502938116915&set=a.502640723136474.1073741828.100001716528180&type=1&theater)

ส่วนที่พิเชษฐเอ่ยถึงคนในพรรคของตนที่ไปเป็นหัวหน้า กปปส. ซึ่ง Atukkit Sawangsuk บอกว่าเดี๋ยวนี้ บารมีของทิดสุเทพนั้นบดบังคนอื่นในพรรคไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอภิสิทธิ์หรือนายชวน หลีกภัย

หลังจากทิดเทือกออกมาดันลุ่นๆ รธน. คสช. นี้แต่ไก่โห่ พิเชษฐชี้ว่า “ประชาธิปัตย์กลายเป็น กปปส. แต่คน กปปส.จำนวนหนึ่งจำเป็นต้องเป็นประชาธิปัตย์เพราะเขาอยู่ กทม.และภาคใต้ แต่แท้จริงเขาไม่ใช่ประชาธิปัตย์แล้ว” นี่ต้องบันทึกไว้




ส่วนแกนนำ นปช. จะเอาเงินสองล้านไปมอบให้ตำหวดแห่งชาติเป็นรางวัลที่จับ ‘แกะ’ พิมพ์เดียวกับที่เสก็ตไว้ ก็ดี

รวมทั้งที่ขออนุญาตเปิดแถลงแสดงจุดยืนต่อร่าง รธน. “สถานที่เดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชน (กปปส.) เคยจัดแถลงข่าวมาก่อนหน้านี้” บ้าง ก็ดีอีก

จะได้ไม่ตกขบวนรถไฟ (ความเร็วปานกลาง) ไปตองยี

อิ อิ หยอกนิ เพราะรัก จุ๊บ จุ๊บ