ที่มา เวป Ispace Thailand
BY BOURNE
SEPTEMBER 25, 2015
จากการที่ฮิวแมนไรท์วอช(Human Rights Watch) หรือองค์กรสิทธิมนุษชนสากล ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ประเทศสหประชาชาติกดดันพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิด และให้เร่งคืนประชาธิปไตยโดยทันที ล่าสุดก็มีการตอบโต้จากฝากฝั่งของรัฐบาล คสช. นำโดย พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยพล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า “เจตนารัฐบาลชุดนี้ คือการฟื้นฟูและวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในอนาคต ไม่ต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบฉาบฉวย หรือกล่าวอ้างการเลือกตั้ง เป็นทางออกอย่างเดียวในการแก้ปัญหาของประเทศ แต่ต้องการใช้โอกาสนี้ ปฏิรูปทุกภาคส่วน ทุกมิติ ให้เดินคู่ขนานไป เพื่อทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง”
จากการที่ฮิวแมนไรท์วอช(Human Rights Watch) หรือองค์กรสิทธิมนุษชนสากล ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ประเทศสหประชาชาติกดดันพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิด และให้เร่งคืนประชาธิปไตยโดยทันที ล่าสุดก็มีการตอบโต้จากฝากฝั่งของรัฐบาล คสช. นำโดย พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยพล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า “เจตนารัฐบาลชุดนี้ คือการฟื้นฟูและวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในอนาคต ไม่ต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบฉาบฉวย หรือกล่าวอ้างการเลือกตั้ง เป็นทางออกอย่างเดียวในการแก้ปัญหาของประเทศ แต่ต้องการใช้โอกาสนี้ ปฏิรูปทุกภาคส่วน ทุกมิติ ให้เดินคู่ขนานไป เพื่อทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง”
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวต่อไปถึงกรณีที่ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ อ้างว่ารัฐบาลใช้มาตรา 44 ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือทำลายคนเห็นต่างนั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้มาตรา 44 ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อปฏิรูปและขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนในเวลาที่จำกัด
ขณะที่การเชิญให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ไปปรับทัศนคตินั้น ส่วนใหญ่มีความเห็นทางการเมืองที่ค่อนข้างรุนแรง อาจนำไปสู่ความแตกแยกของคนในชาติ หรือกลับไปสู่วังวนเดิม ซ้ำเติมประเทศไม่จบไม่สิ้น และสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างเต็มที่ ไม่ได้มีคำสั่งห้าม ปิดกั้น หรือไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์
หากคิดแบบ “โลกสวย” ก็ต้องยอมรับว่า พล.ต.สรรเสริญ ออกมาตอบโต้ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้หากมองในแง่มุมของความเป็นจริงแล้ว การอ้างว่ารัฐบาล คสช. นั้นมีเจตนาเพื่อฟื้นฟู วางรากฐานระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นสิ่งที่ย้อนแย้งกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการรัฐประหาร ยึดอำนาจของคณะ คสช. จัดตั้งรัฐบาลทหารนั้น คือ การใช้อำนาจเผด็จการ จัดตั้งรัฐบาลเผด็จการมาบริหารประเทศ แล้วอ้างว่าเผด็จการนั้นจะเป็นผู้ฟื้นฟูวางรากฐานประชาธิปไตย ฟังยังไงก็เป็นไปไม่ได้
นอกจากนี้การระบุว่าไม่ต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบฉาบฉวย หรือกล่าวอ้างการเลือกตั้ง เป็นทางออกอย่างเดียวในการแก้ปัญหาของประเทศ แสดงให้เห็นว่า พล.ต.สรรเสริญ เองไม่ได้มีความศรัทธาในมติเสียงส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ ซึ่งแนวคิดเช่นนี้ก็เป็นแนวคิดเดียวกับกลุ่ม กปปส. ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ต้องการปฏิรูปประเทศ
อันที่จริงแล้วการเลือกตั้งนับตั้งแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็ถือเป็นการเลือกตั้งภายใต้กฎกติกาตามรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ร่างทั้งสิ้น ดังนั้นกติกาดังกล่าวคงไม่ใช่ปัญหาที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นเพราะเมื่อมีการเลือกตั้ง คนกลุ่มหนึ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับการเลือกตั้งมาเป็นอันดับหนึ่ง กลับไม่เคยชนะการเลือกตั้ง ทำให้จำเป็นต้องล้มกติกา และอ้างว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาประเทศ
จึงน่าสนใจว่าเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาล คสช. คือ การฟื้นฟูวางรากฐานประชาธิปไตย หรือ เข้ามาเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง แล้วสร้างกติกาใหม่ที่ฝ่ายตนเองจะได้เปรียบในการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง???
ในส่วนของการใช้ ม.44 ที่ พล.ต.สรรเสริญ อ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ในเชิงสร้างสรรค์เพื่อปฏิรูปและขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนในเวลาที่จำกัด ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าม.44 ถือเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่หัวหน้า คสช. กรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เช่น ใช้อำนาจ ม.44 เปิดช่องให้รัฐบาล สามารถดึงเงินจากกองสลากฯ และกองทุนประกันสังคม มาใช้สนองนโยบายภาครัฐ การงัดม.44 มาใช้ในการถอดยศ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และการใช้อำนาจ ม.44 เข้าตรวจสอบจับกุม เรียกผู้มีความเห็นต่างไปปรับทัศนคติ
สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการใช้ม.44 อย่างสร้างสรรค์ เพราะ การใช้อำนาจเปิดช่องให้รัฐสามารถนำเงินจากกองทุนและหน่วยงานอื่นมาใช้เพื่อโครงการภาครัฐนั้น ถามว่าใครจะตรวจสอบความโปร่งใส ใครจะรับผิดชอบหากเงินที่นำไปใช้นั้นขาดทุน??? กรณีการถอดยศ และการปรับทัศนคติก็เป็นการจัดการกับศัตรูทางการเมืองอย่างชัดเจน เพราะกฎหมายปกติก็มีและสามารถทำได้ อีกทั้งการปรับทัศนคติผู้มีความเห็นต่างก็เป็นการละเมิดจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ต่างจากที่โฆษกประจำสำนักนายกฯอ้างว่าไม่ได้มีคำสั่งห้าม ปิดกั้น หรือไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ โดยสิ้นเชิง!!!