วันอังคาร, กันยายน 29, 2558

หือ ตัดคอเลยเหรอ รอกิโยตินหน่อยนะ




...


กิโยตีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ลักษณะ

คือเครื่องมือที่ใช้ในการลงโทษโดยการตัดคอ กิโยตีนประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก. ใบมีดจะถูกแขวนไว้ในส่วนบนสุด ภายใต้ใบมีดจะเป็นส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ เมื่อเชือกได้ถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงไม้ในระยะทางประมาณ 2.3 เมตร และตัดศีรษะผู้ถูกประหาร (ความสูงและน้ำหนักตามมาตรฐานกิโยตีนฝรั่งเศส)

ถึงแม้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยตีน นีกอลา ฌัก แปลตีเย (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้นสัญจรถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนเป็นคนแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16สหราชอาณาจักร มีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ จิบบิต (gibbet) และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันในประเทศอิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์

ผู้คิดค้น

อ็องตวน หลุยส์ (Antoine Louis) สมาชิกของกลุ่ม Académie Chirurgical เป็นบุคคลที่คิดค้นการทำงานของเครื่องกิโยตีน โดยเครื่องกิโยตีนตอนแรกได้ใช้ชื่อว่า ลูยซง (Louison) หรือลูยแซ็ต (Louisette) แต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิโยตีน" ตามชื่อของ ดร.โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง(Joseph-Ignace Guillotin) แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เสนอแนะการประหารชีวิตโดยการตัดคอ ภายหลัง ดร.กิโยตีน ได้เปลี่ยนนามสกุล เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลเป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต การใช้เครื่องกิโยตีนแทนการประหารชีวิตแบบเก่า โดยเหตุผลว่าเป็นการประหารชีวิตของมนุษย์ ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงจะถูกตัดคอโดยดาบหรือขวาน ในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่าง ๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผาหรือมัดกับล้อไม้) ในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต การใช้กิโยตีนจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนอย่างน้อย 20,000 คน โดยการประหารด้วยกิโยตีนถือเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปเช่นกัน

กิโยตีนถือเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2424 บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนคือ ยูจีน เว็ดมันน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร 5 ศพ โดยถูกตัดศีรษะ