ที่มา เพจ
Sarinee Achavanuntakul shared Thai Netizen Network'sphoto.
คสช. กสทช. รมว.ไอซีที ดริฟต์วิ่งซิ่งหนีกระแสการคัดค้าน Single Gateway อย่างรวดเร็ว ล่าสุดด้วยการอ้างว่า "ยังเป็นแค่แนวคิด" (แต่ดันมีข้อสั่งการของนายกฯ ออกมารัวๆ หลายฉบับ ดังที่เว็บ blognone นำมาเผยแพร่)
อยากให้สื่อมวลชนและทุกคนตามประเด็นเหล่านี้ต่อค่ะ:
1. ย้อนไปเดือน ก.ค. 2557 กระทรวงไอซีทีมีคำสั่งแต่งตั้ง "คณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์" (ดูภาพประกอบด้านล่าง) หนึ่งในหน้าที่คือ "ทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์" -- พูดง่ายๆ คือ จะดักข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กอย่างลับๆ พยายามแฮ็ก SSL เพื่อให้ดูยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดได้
อยากถามว่า ปัจจุบันไอซีทีติดตั้งระบบนี้เสร็จแล้วใช่หรือไม่ กำลังพยายามดักข้อมูลผู้ใช้เน็ตใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ไอซีทีใช้อำนาจตามกฎหมายอะไร เพราะการแฮ็กแบบนี้เท่ากับกระทรวงไอซีทีกำลังละเมิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เสียเอง (ลองค้นคำสั่ง/ประกาศ/การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ คสช. ดูคร่าวๆ ยังไม่พบว่ามีเรื่องนี้เลย)
2. ต่อให้การจัดตั้ง Single Gateway เป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลานาน ก็มีโอกาสที่มันจะเปิดช่องให้เกิดการทุจริตมหาศาล เนื่องจากมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมากมาย แค่ทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ก็อาจต้องใช้เงินงบประมาณกว่า 100 ล้าน ซึ่งไร้สาระมากสำหรับโครงการที่ "แค่คิดก็ผิดแล้ว" ยังไม่นับการสั่งซื้ออุปกรณ์มาทดสอบ ฯลฯ พูดง่ายๆ คือ ต่อให้ทำไม่สำเร็จ กว่าจะรู้ว่าทำไม่ได้ เงินภาษีประชาชนก็อาจถูกผลาญไปมากมาย
คสช. และผู้นำเผด็จการในฐานะนายกฯ ที่ "สั่งการ" เร่งรัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดกระแสต่อต้านจากสังคม จะรับผิดชอบต่อกรณีนี้อย่างไร ที่จริงแนวคิดนี้มาจากไหนกันแน่
3. เมื่อไหร่ประเทศจะได้คนกุมอำนาจเกี่ยวกับไอซีที ที่รู้เรื่องไอซีทีจริงๆ (อันนี้ถามไปในสายลม)
Thai Netizen Network with Nbtc Rights
กระทรวงไอซีทีทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ แก้ปัญหาอุปสรรคจากการเข้ารหัส SSL ซึ่งทำให้ตรวจสอบเนื้อหาและปิดกั้นเว็บไซต์ไม่ได้
----
คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ 163/2557
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์
ตามที่ คณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ ได้มีคำสั่งที่ 3/2557 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 แต่งตั้งคณะทำงานด้านสื่อออนไลน์ เพื่อติดตาม กลั่นกรอง ตรวจสอบ รวบรวม วิเคราะห์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสื่อออนไลน์ทุกประเภท และให้พิจารณาในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติมาตรการป้องกันและยับยั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาวให้เกิดความชัดเจนและมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน ซึ่งการปฏิบัติงานภายใต้อำนาจหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว พบว่ามีอุปสรรคในการตรวจสอบและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) จึงเห็นควรให้มีการจัดหาและทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านสื่อออนไลน์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงแต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ โดยให้มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ
...
อำนาจหน้าที่
1. ควบคุมการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer) และประเมินผล เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสมในการใช้งานสำหรับประเทศไทย
2. ประสานทางเทคนิคกับผู้ประกอบการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศและที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศโดยตรง (International Internet Gateway) ในการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์
3. ประสานหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์
4. เสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค แนวทางการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2557
(ลายมือชื่อ)
----
อ่านข่าวประกอบ
"วันเดียวกัน มีรายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้มีการขอความร่วมมือไปยังโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในการเอาอุปกรณ์ไปติดตั้งที่ดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 15 ก.พ. 2558 เพื่อดักจับแทรฟฟิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก ผลคือจะทำให้ดูยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดได้ โดยล่าสุดมีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายราย พบเหตุการณ์ที่หน้าจอปรากฏขึ้นมาให้ระบุตัวตนอีกครั้ง และมีการแจ้งจากทางเฟซบุ๊กว่ามีการเข้าใช้งานจากแหล่งที่มาไม่ปลอดภัย เป็นลักษณะของผู้ใช้ที่ถูกเข้าถึงข้อมูลในเฟซบุ๊ก"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421922012