และแล้วทั่นผู้นำก็ได้พบกับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ดังหวัง
ท่านเลขาฯ ยกปัญหาละเมิดสิทธิในทางประชาธิปไตยและเสรีภาพของประชาชนในประเทศไทยมาเป็นข้อสนทนาแสดงความห่วงใย
ทั่นผู้นำไม่ได้อ้ำอึ้ง เพราะสามารถขี่ม้าเลียบเมืองตอบเลี่ยงๆ ไปว่า จะจัดเลือกตั้งได้ในกลางปี ๖๐ ประชาชนแค่รอกันต่ออีกสองปี
พร้อมทั้งโอกาสนี้นายกฯ รัฐประหารถือดอกาสรุกขอท่านเลขาฯ ช่วยหนุนไทยเข้าเป็นสมาชิกหมุนเวียน (ไม่ถาวร) ในคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น สำหรับปี ๒๕๖๐-๖๑ หน่อยดิ โดยจะให้อาเซียนเป็นผู้เสนอ
ทว่าทั่วโลกเขาบอกว่า การยืดเวลาครองเมืองโดยคณะยึดอำนาจออกไปยิ่งนาน ยิ่งจะทำให้เศรษฐกิจล่มจม
นักเศรษฐศาสตร์สำนักวิจัยธุรกิจการค้า ‘โนมูระ’ ฟันธงไว้ว่ารัฐบาลทหารจะยังคงเน้นประเด็นการเมืองต่อไปอีก (เช่น ไล่บี้ยึดทรัพย์สินผู้นำหญิงรัฐบาลที่แล้ว ไล่โขกสับพวกนิยมประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐประหาร ผลาญงบประมาณด้วยโครงการแบบประหน้าทาแป้งไร้แก่นสาร)
ปล่อยให้นโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดยักษ์ แห้งเฉา
โดยที่คณะทหารยืดเวลาครองอำนาจออกไปอีกสองปี โดยไม่มีวี่แววว่าประชาชนจะได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา ทำให้ไม่มีการอนุมัติข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-อียู (FTA) ด้วยเช่นกัน
(http://globalriskinsights.com/…/military-junta-in-thailand…/)
การนี้ จูลี่ เกอร์ลิ่ง สมาชิกรัฐสภายูโร เขตตะวันตกเฉียงใต้อังกฤษและกิ๊บรอลต้า ชี้ให้เห็นแจ่มแจ้งแล้ว
เธอเขียนถึงประเทศไทยไว้บนเว็บ ‘นิวยุโรป’ ว่า “เป็นประเทศที่ไม่เหมือนใครและมีความหลากหลาย ที่ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่สหราชอาณาจักรและสมาพันธ์ยุโรป และยังเป็นประตูไปสู่ภูมิภาคทั้งหมด
“หากประเทศไทยมีประชาธิปไตยอันมั่นคงและครบวงจร จะทำให้อยู่ในสถานะที่กุมโอกาสแห่งความสัมพันธ์อันดีในความผูกพันระหว่างอียูกับอาเซียน เป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นปีแล้วปีเล่า และมีบทบาทเต็มในการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และความรุ่งเรื่องทั่วภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค
ไทยจะประสพความสำเร็จได้ต้องมีประชาธิไตยเป็นสรณะสูงสุด ความระส่ำทางการเมืองทำให้ชอกช้ำด้วยความไม่แน่นอน และความไม่แน่นอนทำให้บรรดาธุรกิจไม่กล้าลงทุน เป็นความเสียหายแก่ทั้งเศรษฐกิจของไทย แล้วยังก่อผลร้ายต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ในฐานะที่เราเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ มันเป็นเรื่องของเราที่จะให้มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะประสพความสำเร็จทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เรามีบทบาทต้องแสดงในการช่วยประชาชนคนไทยให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนประชาธิปไตย แต่ว่าการเปลี่ยนผ่านจะต้องลงมือโดยประชาชนไทยเอง
แต่วันนี้ ความมุ่งหวังดังกล่าวดูเหมื่อนจะยังห่างไกลแสนไกล
รัฐบาลทหารของไทยได้ให้คำมั่นไว้ว่าจะปรับกระบวนกลับไปสู่ประชาธิปไตยโดยไม่ชักช้า แต่ก็ไม่สามารถทำได้อย่างที่คุย สหราชอาณาจักรและอียูสามารถช่วยได้ แต่ว่าน้ำอดน้ำทนใกล้จะหมดแล้ว
ในฐานะที่ไทยเป็นหุ้นส่วนหลักของอังกฤษและอียู เราไม่สามารถจะนิ่งเฉยกับการวนเวียนเปลี่ยนรัฐธรรมนูญไม่หยุดหย่อนได้
ประชาคมยุโรปทำถูกแล้วที่ยังไม่ลงนามข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนและร่วมมือ ไทย-อียู จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
ความสัมพันธ์อันเหมาะสมจะได้รับการรื้อฟื้นโดยผ่านทางกระบวนการประชาธิปไตยอันถูกต้อง ได้แก่ จัดทำรัฐธรรมนูญที่เหมาะสม ยั่งยืน เคารพในเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ผ่านทางการเลือกตั้งที่โปร่งใส น่าเชื่อถือ และเปิดให้สำหรับทุกๆ คน”
(http://neurope.eu/article/the-new-manufacturing/)