วันพฤหัสบดี, กันยายน 17, 2558

ความเก่า เล่าใหม่ : ห้าเหตุผลที่นายกฯยิ่งลักษณ์ควรไล่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากการเป็นผบ.ทบ. เพื่อประโยชน์ดีของสังคมไทยในอนาคต โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ (และแล้วทุกอย่างก็สายไป...อนิจจา)


ภาพจาก hot.muslimthaipost.com

ปี 2554 หลังเลือกตั้ง แล้ว ยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกใหม่ๆ
อจ. ปวิน เคยเขียนแนะนำให้ยิ่งลักษณ์ ปลด ประยุทธ์
เพราะนอกจากมีส่วนร่วมกับ การสังหารประชาชนแล้ว ยังมีพฤติกรรมต่อต้านทักษิณชัดเจนช่วงก่อนเลือกตั้ง

Sumpunta Nadee


...

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ห้าเหตุผลที่ยิ่งลักษณ์ควรกำจัดประยุทธ์ จันทร์โอชา

ที่มาเรื่อง ประชาไท
Thu, 2011-08-18

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ชี้เหตุผลทำไมนายกฯ ยิ่งลักษณ์จึงสมควรไล่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากการเป็นผบ.ทบ. เพื่อประโยชน์ดีของสังคมไทยในอนาคต

ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เขียนบทความ “It’s Time the Army Learned to Stay out of Politics for Good” (ถึงเวลาแล้วที่กองทัพจะต้องเรียนรู้เพื่ออยู่นอกเกมการเมืองตลอดไป) ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา 

โดยปวินอภิปรายเหตุผลห้าประการว่า เหตุใดยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงจำเป็นต้องกำจัดพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกไปจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก... 

ปวิน ระบุว่า เป็นความจริงที่ยิ่งลักษณ์พยายามอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพ เมื่อพี่ชายของเธอ ผู้ซึ่งพยายามจะเข้าไปแทรกแซงทหาร ถูกทำการโค่นล้ม อย่างไรก็ตาม ปวินมองว่า ในขณะนี้ สถานการณ์ทางการเมืองได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังจะเห็นจากความสนับสนุนจากประชาชนอย่างมหาศาลที่มีต่อยิ่งลักษณ์ช่วงหลังการรัฐประหารที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงความไม่พอใจของสาธารณชนต่อการแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ 

ยิ่งลักษณ์ จึงจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ ที่รัฐบาลพลเรือนมีอำนาจควบคุมเหนือกองทัพ ในการทำเช่นนั้น ยิ่งลักษณ์คงต้องเจอกับคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อกับเธออย่างแน่นอน เนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ใช่เพียงทหารที่จงรักภักดีทั่วไป และต่อต้านทักษิณ ชินวัตรอย่างเปิดเผยเท่านั้น แต่เขายังมีบทบาทในการแทรกแซงทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง 

ยิ่งลักษณ์อาจจะพบว่า ในการทำงานร่วมมือกับคนเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็นพอสมควร คำถามจึงมีอยู่ว่า ถ้าเช่นนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมควรไล่ประยุทธ์ออกในฐานะผู้บัญชาการกองทัพบกหรือไม่ 

ปวินเห็นว่า มีเหตุผลห้าประการที่ยิ่งลักษณ์ควรทำเช่นนั้น 

ประการแรก พลเอกประยุทธ์ ไม่เป็นกลางทางการเมือง ทั้งๆ ที่ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก เขาไม่ควรจะเลือกข้าง เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะยิ่งทำให้สังคมไทยแบ่งขั้วมากขึ้นไปอีก ดังจะเห็นที่จากที่ พล.อ. ประยุทธ์ ออกมาประกาศทางโทรทัศน์ต่อประชาชนไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ก่อนการเลือกตั้งว่า ให้เลือก”คนดี” เข้ามาทำงาน การประกาศดังกล่าว ทำให้ทางพรรคเพื่อไทยมองว่าเป็นการโจมตีความนิยมของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งปวินมองว่า ในความเป็นจริงแล้ว พล.อ. ประยุทธ์ไม่ควรจะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใดๆ ออกมาเลยเสียด้วยซ้ำ 

ประการที่สอง พล.อ. ประยุทธ์ ยังคงดึงสถาบันฯ ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาเองจะเป็นผู้ออกมาเตือนนักการเมืองว่าไม่ให้ทำเช่นนั้น พล.อ.ประยุทธ์อ้างว่า มีความพยายามรณรงค์เรื่องการต่อต้านสถาบันฯ อยู่ในกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ และยังอ้างด้วยว่า หน่วยงานด้านความมั่นคง ได้พบหลักฐานที่หมิ่นสถาบันฯ อยู่จำนวนมาก ปวินมองว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาโดยตลอด เช่นเดียวกับกองทัพ ที่ใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปกป้องรักษาจุดยืนทางการเมืองของตนเอง และการที่พล.อ. ประยุทธ์ อ้างถึงกฎหมายดังกล่าวอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นนี้ จะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการสร้างความปรองดองของรัฐบาล 

ประการที่สาม ปวินมองว่า ตัว พล.อ. ประยุทธ์นั้นเล่นการเมืองมากเกินไป ทำให้เราไม่สามารถหาความสม่ำเสมอในการกระทำและคำพูดของเขาได้มากเท่าใดนัก ซึ่งในฐานะทหารผู้ที่ออกมาประกาศศัตรูอย่างชัดเจนในทางสาธารณะนั้น เขาสมควรจะต้องรักษาคำพูด โดยในขณะที่เขาออกมาเตือนคนไทยก่อนการเลือกตั้งว่า ไม่ให้เลือกพรรคเพื่อไทย แต่ทันใดที่ผลการเลือกตั้งออกมา พล.อ. ประยุทธ์ก็รีบไปแสดงความยินดีกับยิ่งลักษณ์ทันที เพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังหีบเลือกตั้งปิดลง นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พล.อ. ประยุทธ์ยังกล่าวว่า “สิ่งเดียวทีเราขอร้อง คือให้ทุกฝ่ายอย่าหมิ่นสถาบัน หรือดึงสถาบันลงมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง” แต่ดังที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ในบทความว่า พล.อ. ประยุทธ์ต่างหากที่เป็นผู้ดึงสถาบันฯ ลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง และกล่าวหาสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางส่วนว่า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน 

ประการที่สี่คือ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทในการปราบปรามประชาชนในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยมีรายงานว่า เขาอาจเป็นผู้หนึ่งที่อยู่เบื้องหลังคำสั่งการดังกล่าว และจนปัจจุบัน ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารคนใดที่ต้องออกมารับผิดชอบกับอาชญากรรมที่กระทำต่อผู้ชุมนุมมือเปล่า และสารคดีของสำนักข่าวบีบีซีโดยเฟอร์กัล คีน ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ ก็ยังชี้ว่า ทหารเป็นผู้ที่มีส่วนรับรับผิดชอบกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างแน่นอน 

อย่างไรก็ตาม กองทัพภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ กลับมองว่า เรื่องที่ต้องทำมากที่สุด คือการกำจัดศัตรูภายในประเทศ หากแต่การสมานแผลในสังคมไทยจะไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าหากว่าเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงยังคงไม่ได้รับความยุติธรรม และวิธีคิดดังกล่าวของกองทัพ จะไม่ช่วยทำให้สภาพการณ์ของสังคมไทยที่ปราะบางอยู่แล้วดีขึนแม้แต่น้อย 

ประการสุดท้าย ปวินชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์ ขาดความคิดที่เหมาะสมทางด้านการทูต จะเห็นจากการที่เขา “ประกาศสงคราม” กับกัมพูชา และนำนโยบายต่างประเทศที่ยึดความมั่นคงเป็นศูนย์กลาง และล้าหลังกลับมาใช้ นอกจากนี้ ทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อกัมพูชาของพล.อ. ประยุทธ์ ที่มีส่วนมาจากประเด็นทางการเมืองของกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร จะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามของรัฐบาลใหม่ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีต่อรัฐบาลกัมพูชา และสร้างสันติภาพและความสงบสุขของประชาชนทั้งสองประเทศที่อยู่บริเวณชายแดน \ถึงเวลาแล้วที่นายกฯ สตรีผู้นี้ จะปฏิบัติตนเฉกเช่นนักรบที่กล้าหาญ และไล่ผู้ที่ทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของชาติผู้นี้ออกไป\" นักวิชาการด้านการระหว่างประเทศระบุในท้ายบทความ"

ooo


GUEST COLUMN

It's time the Army learned to stay out of politics for good

Pavin Chachavalpongpun August 17, 2011 12:00 am
Source: The Nation

Thailand has a new prime minister, Yingluck Shinawatra.

Her government is now in full operation. For now, Yingluck will need to deliver on her election promises, ranging from implementing an effective economic policy and mending the country's ties with Cambodia. There is, however, one top priority that Yingluck has not made her position clear on - removing the anti-Pheu Thai Army chief, General Prayuth Chan-ocha.

True, Yingluck desperately seeks to build a working relationship with the military. When her brother, former prime minister Thaksin Shinawatra, wanted to weaken the military by interfering in its internal affairs, he was toppled in a coup. But the situation has changed and Yingluck is now playing a different political game. Her overwhelming popular support in this post-coup period signifies the public discontent with the military's political intervention. Yingluck is therefore urged to invent a new culture under which elected civilians control the military.

Yingluck will certainly meet her match. General Prayuth is not just a typical royalist soldier. A self-proclaimed anti-Thaksin figure, he blatantly interferes in politics. Yingluck may find it almost impossible to work with a man who openly disapproves of her own brother, the Pheu Thai political platform and the red-shirt movement.

Thus, a question emerges: Should Yingluck sack Prayuth from his current post as the Army chief? There are five reasons for the new prime minister to do so.

First, General Prayuth is not politically neutral. As the Army chief, he must not take sides because to do so would further polarise Thai politics. In fact, he should be barred from making political statements. Prior to the election, General Prayuth frequently appeared on national television, urging Thais not to vote for the Pheu ThaiParty. His action was inappropriate. He betrayed the professionalism of the Thai military.

On June 14, Prayuth said, "Voters should use their good judgement to choose the best candidates to run the country efficiently. If you allow the election [result] to be the same as before, you will not get anything new and you will not see any improvement from this election. Voters must not allow themselves to be blinded by the personalities involved and must not vote for politicians who violate morals or laws.

"Why vote for them? I want to ask you to vote for good people who are determined to work for the good of the country", General Prayuth stressed.

His TV appearance was seen by Pheu Thai as a move to stem the apparent rising popularity of Yingluck, its top party list candidate.

Second, General Prayuth continues to drag the monarchy into the political fray even when he earlier warned Thai politicians not to do so. He claimed that there was an anti-monarchist undertone in certain campaigns, especially by groups of Thais living overseas, and that security organisations have found evidence of "rampant" lese-majeste in some instances.

The lese-majeste law has been used as a weapon by different factions to undermine their opponents. The military has also exploited the lese-majeste law to defend its position in politics. General Prayuth's repeated reference to the draconian law will obstruct the government's renewed reconciliation effort.

Third, General Prayuth himself has become "too politicised". It is difficult to find any consistency in his actions and statements. As a soldier who dared to publicly identify his political enemies, he must stick to his words. While he previously discouraged Thais from voting for Pheu Thai, he rushed to congratulate Yingluck on her election success, less than 24 hours after the ballot boxes were closed.

On April 23, Prayuth said, "The only thing we want to ask is for all parties not to violate the monarchy or bring the monarchy into their conflicts."

As mentioned above, it was General Prayuth who pulled the monarchy into the political ring and kept making allegations against some Pheu Thai members for their supposed disloyalty to the much-revered institution.

Fourth, General Prayuth was one of the chief operators behind the brutal crackdowns in April and May last year. While he was the second man in the Army at the time, it was reported that he could have been behind the order to go ahead with the crackdowns. So far, no Army officers have been brought to justice for the alleged crimes they committed against unarmed demonstrators. A recent report by the BBC's Fergal Keane alleged that the military was indeed responsible for the killings of red-shirt protesters.

Clearly, the Army under the leadership of General Prayuth perceives the elimination of internal enemies as its top agenda. The healing process in Thai society will not be achieved if justice is not given to the victims of state violence. Such a perception of the Army could only worsen the already fragile situation.

Fifth, General Prayuth lacks a sense of diplomacy. He "declared war" against Cambodia and brought back an obsolete, security-centric foreign policy. His hostile attitude toward Cambodia, which is partly derived from the incessant politicisation of the (disputed) Preah Vihear Temple issue, spearheaded by the People's Alliance for Democracy (PAD), will complicate the work of the current government in its attempt to renew ties with Cambodia for the sake of peace and prosperity for the people in the border area.

It is time for Madame Prime Minister to act like a true soldier - fire the one who has caused great damage to Thai interests.