http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext33/33209_0001.PDF
Credit Thailand News Wire
ooo
Wed, 2014-09-10 19:20
ประชาไท
นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภาฯ12 ก.ย. นี้ ยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์” เช่น วางITจัดการผู้คะนองปากหรือประสงค์ร้ายสถาบันฯ แก้กม. ล้าสมัยไม่เป็นธรรม ฯลฯ เตรียมลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมหลังแถลงฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล คือรัฐบาลยังคงยึดมั่นตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระยะที่ 2 คือมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และที่จะตามมาคือ การจัดตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อออกแบบวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะส่งผ่านไปสู่ระยะที่ 3 คือการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เงื่อนไขดังกล่าวเป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคงยึดมั่นและดำเนินการต่อไป โดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์”
“การที่รัฐบาลนี้ไม่ได้จัดตั้งขึ้นจากพรรคการเมือง จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่ใช้หาเสียงหรือหวังคะแนนประชานิยมมาเป็นฐานทางการเมือง ทุกคนจึงไม่ต้องวิตกว่าจะมีการนำประเทศเข้าไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง หรือเกิดภาระอนาคต และด้วยความที่มีเอกภาพทางนโยบาย จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงานในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้อง หรือพายเรือคนละที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอำนาจหรือเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาสั้นได้ราบรื่น และจะไม่ให้การทำงานของรัฐบาลกลายเป็นภาระของประเทศเป็นอันขาด”
มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหน้าที่ทั้งสามประการในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลจำแนกเป็น 11 ด้าน โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วยการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักสำคัญ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง มาแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความต้องการของประชาชน ซึ่งแสดงออกมาตลอดและน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาการออกแบบการปฏิรูปประเทศเป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย
นโยบายทุกด้านต้องสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรการปกครองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงประเทศ มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลาง ที่จะทำต่อไปหรือต้องรอการใช้บังคับกฎหมาย และระยะยาว ที่จะต้องวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามาพิจารณารับช่วงได้ต่อเนื่อง และประการสำคัญต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน จะมีอะไรเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตอันใกล้เพื่อเตรียมตัวได้ถูกต้อง
1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาลถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งยวดที่จะเชิดชูสถาบันไว้ด้วยความจงรักภักดี โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจ หรือประสงค์ร้าย
2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติทางทหารร่วมกันของอาเซียน เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมการพูดคุยสันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ
3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ระยะเฉพาะหน้าจะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ และระยะต่อไปเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การจัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและธรรมภิบาลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไปโดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามนโยบาย คสช.
4 การศึกษา และเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รัฐบาลจะนำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะวางรากฐานพัฒนาและเสริมความเข้มแข็งให้แก่การให้บริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนโดยเน้นความทั่วถึง ความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยวางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วน โดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ บูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็น 3 ระยะ คือระยะเร่งด่วน ระยะต่อไปที่ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่และระยะยาว ที่ต้องวางรากฐานเพื่อความเจริญเติบโตอย่างเนื่อง ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามที่คสช.จัดทำไว้ กระตุ้นการลงทุนด้วยการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสม ลดอุปสรรคการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยพิจารณามาตรการลดผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ที่มีต่อการท่องเที่ยวในโอกาสแรกที่จะทำได้
ระยะต่อไป ประสานนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของราคาอย่างเหมาะสม ในระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและคมนาคม ด้านคมนาคมทางบกโดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และรถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพฯ กับเมืองบริวาร พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้านเกษตรกรรม จะปรับปรุงโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการ และสนับสนุนให้สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผลจนถึงการแปรรูป และการส่งออกได้ เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง
7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายในอนุภูมิภาค และภูมิภาคอาเซียน
8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการวิจัย การพัฒนาต่อยอดและการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย
9 การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ระยะเฉพาะหน้าเร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐ ในระยะต่อไปพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ บริหารจัดการน้ำให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐทุกระดับ และกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากรภาครัฐ ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ
11 การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ระยะเฉพาะหน้าจะเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักของประเทศและกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ในระยะต่อไปจะจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐ นำมาตรการทางการเงิน ภาษี และการป้องกันการฟอกเงินมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ แรงงานทาส การก่อการร้ายสากล ยาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ
ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม หลังแถลงนโยบายต่อ สนช.
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า “หลังแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติเเห่งชาติ (สนช.) เสร็จสิ้นในวันที่ 12 กันยายนนี้ ผมจะเดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ยืนยันพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ และจะเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า”
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ยังขอให้รัฐบาลช่วยดูแลเรื่องการปลูกป่า ซึ่งได้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมไปจัดทำแผนดำเนินการแล้ว และให้สานต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อให้คนไทยมีคุณธรรมและศีลธรรม
รอแบ่งงานเป็นทางการ 12 ก.ย.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สนช. ในวันที่ 12 ก.ย. นี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แถลงนโยบายและตอบข้อซักถามด้วยตนเอง แต่บางเรื่องอาจให้รัฐมนตรีเป็นผู้ตอบ ร่างนโยบายมี 23 หน้า ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการปฏิรูปและการปกครองรวมทั้งการสร้างความปรองดอง โดยจะถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ใช้เวลาประชุม 1 วัน
ส่วนการยื่นบัญชีทรัพย์สินยืนยันว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไม่มีปัญหา ทุกคนทราบวิธีปฏิบัติดีอยู่แล้ว
เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล คือรัฐบาลยังคงยึดมั่นตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระยะที่ 2 คือมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และที่จะตามมาคือ การจัดตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อออกแบบวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะส่งผ่านไปสู่ระยะที่ 3 คือการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เงื่อนไขดังกล่าวเป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคงยึดมั่นและดำเนินการต่อไป โดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์”
“การที่รัฐบาลนี้ไม่ได้จัดตั้งขึ้นจากพรรคการเมือง จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่ใช้หาเสียงหรือหวังคะแนนประชานิยมมาเป็นฐานทางการเมือง ทุกคนจึงไม่ต้องวิตกว่าจะมีการนำประเทศเข้าไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง หรือเกิดภาระอนาคต และด้วยความที่มีเอกภาพทางนโยบาย จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงานในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้อง หรือพายเรือคนละที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอำนาจหรือเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาสั้นได้ราบรื่น และจะไม่ให้การทำงานของรัฐบาลกลายเป็นภาระของประเทศเป็นอันขาด”
มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหน้าที่ทั้งสามประการในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลจำแนกเป็น 11 ด้าน โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วยการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักสำคัญ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง มาแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความต้องการของประชาชน ซึ่งแสดงออกมาตลอดและน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาการออกแบบการปฏิรูปประเทศเป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย
นโยบายทุกด้านต้องสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรการปกครองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงประเทศ มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลาง ที่จะทำต่อไปหรือต้องรอการใช้บังคับกฎหมาย และระยะยาว ที่จะต้องวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามาพิจารณารับช่วงได้ต่อเนื่อง และประการสำคัญต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน จะมีอะไรเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตอันใกล้เพื่อเตรียมตัวได้ถูกต้อง
1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาลถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งยวดที่จะเชิดชูสถาบันไว้ด้วยความจงรักภักดี โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจ หรือประสงค์ร้าย
2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติทางทหารร่วมกันของอาเซียน เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมการพูดคุยสันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ
3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ระยะเฉพาะหน้าจะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ และระยะต่อไปเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การจัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและธรรมภิบาลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไปโดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามนโยบาย คสช.
4 การศึกษา และเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รัฐบาลจะนำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะวางรากฐานพัฒนาและเสริมความเข้มแข็งให้แก่การให้บริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนโดยเน้นความทั่วถึง ความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยวางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วน โดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ บูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็น 3 ระยะ คือระยะเร่งด่วน ระยะต่อไปที่ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่และระยะยาว ที่ต้องวางรากฐานเพื่อความเจริญเติบโตอย่างเนื่อง ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามที่คสช.จัดทำไว้ กระตุ้นการลงทุนด้วยการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสม ลดอุปสรรคการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยพิจารณามาตรการลดผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ที่มีต่อการท่องเที่ยวในโอกาสแรกที่จะทำได้
ระยะต่อไป ประสานนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของราคาอย่างเหมาะสม ในระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและคมนาคม ด้านคมนาคมทางบกโดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และรถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพฯ กับเมืองบริวาร พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้านเกษตรกรรม จะปรับปรุงโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการ และสนับสนุนให้สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผลจนถึงการแปรรูป และการส่งออกได้ เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง
7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายในอนุภูมิภาค และภูมิภาคอาเซียน
8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการวิจัย การพัฒนาต่อยอดและการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย
9 การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ระยะเฉพาะหน้าเร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐ ในระยะต่อไปพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ บริหารจัดการน้ำให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐทุกระดับ และกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากรภาครัฐ ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ
11 การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ระยะเฉพาะหน้าจะเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักของประเทศและกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ในระยะต่อไปจะจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐ นำมาตรการทางการเงิน ภาษี และการป้องกันการฟอกเงินมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ แรงงานทาส การก่อการร้ายสากล ยาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ
ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม หลังแถลงนโยบายต่อ สนช.
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า “หลังแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติเเห่งชาติ (สนช.) เสร็จสิ้นในวันที่ 12 กันยายนนี้ ผมจะเดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ยืนยันพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ และจะเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า”
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ยังขอให้รัฐบาลช่วยดูแลเรื่องการปลูกป่า ซึ่งได้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมไปจัดทำแผนดำเนินการแล้ว และให้สานต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อให้คนไทยมีคุณธรรมและศีลธรรม
รอแบ่งงานเป็นทางการ 12 ก.ย.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สนช. ในวันที่ 12 ก.ย. นี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แถลงนโยบายและตอบข้อซักถามด้วยตนเอง แต่บางเรื่องอาจให้รัฐมนตรีเป็นผู้ตอบ ร่างนโยบายมี 23 หน้า ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการปฏิรูปและการปกครองรวมทั้งการสร้างความปรองดอง โดยจะถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ใช้เวลาประชุม 1 วัน
ส่วนการยื่นบัญชีทรัพย์สินยืนยันว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไม่มีปัญหา ทุกคนทราบวิธีปฏิบัติดีอยู่แล้ว
เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย