วันเสาร์, กันยายน 20, 2557

บทความแปล: กกต ของไทย เดินทางไปที่สกอตแลนด์เพื่อ ‘เรียนรู้ว่าควรจะโหวตกันอย่างไร’

จาก Status ส่วนตัวใน Facebook:   บทความแปล: กกต ของไทย เดินทางไปที่สกอตแลนด์เพื่อ ‘เรียนรู้ว่าควรจะโหวตกันอย่างไร




(อ้างอิง: Thailand’s Election Commission travel to Scotland to 'learn how to vote')

---------------------------------------------------

มีรายงานว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่ทางการได้เดินทางไปที่สกอตแลนด์เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์นั้น ประชาชนชาวไทยผู้เสียภาษี เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

---------------------------------------------------


สมาชิกของคณะกรรมการการเลือกตั้งของประเทศไทยซึ่งมีความไม่เต็มใจต่อการจัดตั้งการเลือกตั้งในประเทศของตนเองเมื่อต้นปีนี้ เป็นหนึ่งในผู้สังเกตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องราวอันน่าทึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสกอตแลนด์ (และในประเทศสหราชอาณาจักรด้วย)


ตามแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารจัดการเลือกตั้ง กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทางการกลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปที่สกอตแลนด์เป็นเวลา 7 วัน โดยใช้เงินภาษีของประชาชนชาวไทยเป็นค่าใช้จ่าย ต่อการสังเกตุการณ์เกี่ยวกับการออกเสียงเลือกตั้งจากการลงประชามติ จากรายงานของเวปไซค์หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เมื่อตอนต้นปีนี้ รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้กล่าวหาเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า สมยอมให้กับแรงกดดันของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล หลังจากที่มีการยุบสภาเกิดขึ้น และมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง เกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์

“มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างสันติและอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม เพราะว่า มันมีเรื่องบางประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่คุณกึคงทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว” กล่าวโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสท่านหนึ่งก่อนที่มีการออกเสียงเกิดขึ้น

เมื่อการออกเสียงเลือกตั้งเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือตั้งในคูหาเลือกตั้งหลายแห่งได้ปิดสถานที่ ด้วยการเผชิญหน้ากับเหตุผลที่พวกเขาอ้างกัน นั่นก็คือ ความกดดันจากกลุ่มปฎิปักษ์กับฝ่ายรัฐบาล เมื่อทางศาลได้สั่งให้การเลือกตั้งของวันที่ 2 กุมภาพันธ์กลายเป็นโมฆะไป ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังต่อต้านกับความพยายามของรัฐบาลที่จะให้ดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ในที่สุดแล้ว การเลือกตั้งครั้งที่สองอย่างใหม่เอี่ยม ได้ถูกกำหนดไว้ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเดือนพฤษภาคม ทางกองทัพได้ก่อการรัฐประหาร ประเทศไทยก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกมาถึงทุกวันนี้

“ประชาชนผู้สนับสนุนความเป็นเอกราชของสกอตแลนด์และฝ่ายที่ต่อต้านนั้น มีความเป็นมิตรซึ่งกันและกัน” นายสมชายกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ที่ส่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและในสกอตแลนด์ “แต่ละฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยเหตุผล มันไม่มีเรื่องความรุนแรงเกิดขึ้นแต่อย่างใด”


---------------------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:



ปกติแล้ว จะไม่เขียนหรือแปลบทความเกี่ยวกับเรื่องการเมืองในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่มีท่านผู้อ่าน 3 ท่าน ส่งลิ้งค์มาให้ และขอร้องให้ช่วยทำแปลให้หน่อย (โดยด่วน) เมื่อดูคร่าวๆ แล้ว ก็คิดว่า ควรจะแปลมาให้อ่านกันอีกรอบหนึ่ง เนื่องจากมีการการพาดหัวข่าวว่า ประชาชนชาวไทยผู้เสียภาษีนั้น เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

ข่าวนี้ ได้มาจากลิ้งค์ของ Daily Mail เวปไซค์ ซึ่งแสดงว่า ทางฝั่ง UK ก็คงจะได้อ่านไปเรียบร้อยแล้ว

---------------------------------------------------

การดูงานในสกอตแลนด์เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์นั้น ท่านผู้อ่านก็คิดกันเองว่า สมควรหรือไม่ และทำไม ถึงต้องไปดูงานในเวลานี้ ทั้งๆ ที่ไม่มีการเลือกตั้งใดๆ เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างน้อยอีก 2-3 ปี และจริงๆ แล้ว ทางสกอตแลนด์เขาก็มีระบบการนับคะแนนไม่แตกต่างจากระบบทั่วๆ ไป ก็คือ ขาน อ่าน แล้วทวนข้อมูลจากบัตรเลือกตั้ง เขาไม่ได้นับกันเองในที่ลับ และคูหาการลงคะแนนเสียง ก็ไม่มีการบล๊อกเพื่อไม่ให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทำการลงคะแนนแต่อย่างใด

และการเดินทางที่ใช้เวลากันหนึ่งสัปดาห์นั้น อยากทราบจริงๆ ว่า ได้อะไรกลับมา มีรายงานออกมาสู่สาธารณะหรือไม่ว่า ไปปฎิบัติหน้าที่อย่างไรบ้าง? (เพราะเห็นมีแต่การโพสต์รูปในสถานที่อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการออกเสียงทำประชามติเลยแม้แต่นิดเดียว - คอมเม้นท์ที่สามของ Status นี้)

นี่คือปัญหาของระบบการดูงานของไทย คือ ทำการอนุมัติกันให้เดินทางออกไปต่างประเทศได้ จากนั้น ก็ดูเอาเองว่า ไปปฎิบัติภารกิจอะไรกันบ้าง จริงๆ แล้ว มันอาจจะเกี่ยวข้องกันกับจุดประสงค์เพียงหนึ่งวัน (การเลือกตั้ง) แต่อีก 6 วันกลายเป็นเรื่องท่องเที่ยว เรื่องส่วนตัวแทบทั้งสิ้น และอยากทราบจริงๆ ว่า จะต้องเขียนรายงานอะไรที่ประชาชนเขาสามารถเห็นได้ว่า ตนเองไปทำอะไรบ้าง? นี่คือ การตรวจสอบความโปร่งใส ที่ประชาชนชาวไทยผู้เสียภาษี ควรจะมีสิทธิ์ในการถามเรื่องเหล่านี้ เพราะภาษีของประชาชน นำไปใช้ไปผลาญกันอย่างนี้หรือ และมันคุ้มต่อการลงทุนในระยะยาวหรือเปล่าด้วย?

---------------------------------------------------

ส่วนการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นั้น ท่านก็ทราบกันเป็นอย่างดีจริงๆ ว่า กกต ของไทย ใช้ความพยายามในระดับไหนบ้าง เพื่อที่จะถ่วงเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งออกไปทั้งๆ ที่มีพระราชกฤษฎีกาลงมาเรียบร้อยแล้ว แถมยังมีการอ้างเรื่องกฎหมายต่างๆ นานา ว่าสามารถทำได้ ซึ่งก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ไปงัดเรื่องนี้มาจากไหน

ท่านก็คงจะเห็นภาษีของประชาชนชาวไทย ถูกเผาผลาญไปแบบนี้ตามระบบอย่างแน่นอนอีกนับครั้งไม่ถ้วน... น่าจะมีการปฎิรูปเรื่องนี้กันเสียทีนะคะ เกี่ยวกับเรื่องการดูงานต่างประเทศ (ผนวกกับการช้อปปิ้งและท่องเที่ยวอีกด้วย)


ถ้าเกิดขึ้นใน US Department of Interior ที่ดิฉันทำงานอยู่ เขาก็มีมาตรการให้เขียนรายงานเป็นหน้าๆ ว่า ไปทำอะไรมาบ้างแต่ละวัน รวมถึงต้องสรุปรายงานเพื่อเสนอต่อไป หรือ ว่า ควรจะทำต่อไปหรือไม่อีกด้วย (Recommendation / Feasibility Study) น่าจะเอาตัวอย่างจากที่นี่ไปใช้ เพื่อความโปร่งใสในการเดินทางดูงาน ซึ่งประชาชนผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด...




Doungchampa Spencer Isenberg