วันจันทร์, กันยายน 22, 2557

ตั้ง อาชีวะ เผยรัฐบาลทหารไทยข้ามเขตแดนไปไล่ล่าผู้คัดค้านถึงในกัมพูชา

https://www.youtube.com/watch?v=7MgfBwAHXO0

(Video Clip) Published on May 24, 2014
...


บทความของ อจ. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ในเจแปนไทม์วันนี้ 'Thai Junta Hounds Opposition Across Borders' (ไทยอีนิวส์ตีพิมพ์ซ้ำโดยเพิ่มคำแปลข้อความบางตอน)

At 4 a.m., still dark, Ekapop Luara, aka Tang Acheewa, hurriedly packed his suitcase and left Sihanoukville, a town in Cambodia. The next destination was unknown. But he knew he had to run to avoid being captured by agents of the Thai military. SinceThailand’s coup of May 22, Ekapob has been hunted by the junta. The charges against him: being anti-coup and committing lèse-majesté.

เวลาตีสี่ขณะที่ยังมืดสนิท เอกภพ เหลือรา หรือที่รู้จักกันว่า ตั้ง อาชีวะ จัดกระเป๋าอย่างรวดเร็วเพื่อเดินทางออกจากสีหนุวิลล์ จังหวัดหนึ่งในกัมพูชา โดยที่ยังไม่รู้จุดหมายปลายทาง เขารู้แต่ว่าจะต้องรีบหนีจากการตามจับตัวโดยสายของกองทัพไทย นับแต่การรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคมเกิดขึ้นเอกภพถูกทหารไล่ล่ามาตลอด ด้วยข้อหาขัดขืนต่อการยึดอำนาจ และดูหมิ่นพระมหากษัตริย์

Ekapop is among a number of Thai fugitives seeking refuge in Thailand’s neighboring countries. By now, it is clear that Ekapop is hiding somewhere in Cambodia. He is under the protection of the Cambodian office of the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR). But that does not necessarily guarantee his safety, particularly after the recent rapprochement between Thailand and Cambodia.

เอกภพเป็นหนึ่งใจจำนวนผู้ที่หนีจากการจับกุมของคณะรัฐประหารไทยไปลี้ภัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน บัดนี้เป็นที่รู้กันแล้วว่าเขาหลบซ่อนอยู่ในพื้นที่แห่งหนึ่งของกัมพูชาภายใต้การคุ้มครองของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติปกป้องผู้ลี้ภัย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจูบปากกันใหม่ระหว่างทางการไทยกับกัมพูชาเมื่อเร็วๆ นี้

On Sept. 1, only a few days after the military Cabinet was formed, the newly appointed deputy prime minister and foreign minister, Gen. Thanasak Patimapakorn, also the current chief of defense forces, visited Cambodia. Thanasak met with Prime Minister Hun Sen. The mood of a celebration was upbeat. After the meeting,Cambodia declared that Thanasak’s visit was meant to improve bilateral relations that had deteriorated following the territorial dispute over the Hindu Temple of Preah Vihear that erupted in 2008.

Meanwhile, Thanasak promised to “look after” Cambodian workers in Thailandfollowing rumors of forced deportation as part of the Thai junta’s crackdown on illegal workers.

More weighty was Thanasak’s real agenda, to demand cooperation from Cambodiain sending home anti-coup Thai fugitives. Cambodia has served as a sanctuary for Thai dissidents in recent years, most notably Jakrapob Penkair, former minister of the Prime Ministerial Office who also faces charges of lèse-majesté. Cozy ties between Hun Sen and former Prime Minister Thaksin Shinawatra had undoubtedly influenced the Cambodian policy toward Thailand.

After Thaksin’s falling out with the Thai establishment, which led to a coup ousting his government in 2006, Hun Sen adopted an inimical attitude toward the Thai elite. For Hun Sen, Thaksin represented Cambodia’s long-term interests because of his popular support. Cambodia was thus willing to serve as a launching pad for Thai dissident groups, from anti-establishment bodies in the past to anti-coup fugitives recently. Cambodia has also been a favored bolt hole for red-shirt activists.

When Thaksin visited Siem Reap in September 2011, shortly after his sister, Yingluck, won a landslide election victory, Hun Sen celebrated the event by organizing a soccer match with the red-shirt team of Thailand. It is known that Thaksin and Yingluck have enjoyed massive support from the red shirts.

But political change has arrived in Cambodia, too. Hun Sen, one of the longest serving leaders in the world, almost lost the majority at the last election. Consequently the situation compelled him to readjust domestic and foreign policies to maintain the legitimacy of his government.

แต่ในกัมพูชาก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยเหมือนกัน ฮุนเซ็น ผู้นำทางการเมืองที่อยู่ในอำนาจยืนยาวคนหนึ่งของโลกเกือบจะเสียเสียงข้างมากของตนไปในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา สถานการณ์บีบบังคับให้ฮุนเซ็นต้องปรับนโยบายทั้งภายในและภายนอกของตนเพื่อรักษาความชอบธรรมแห่งอำนาจเอาไว้

Now that the military is in control of Thai politics, Hun Sen finds it necessary to reconcile with the Thai establishment, for the sake of a safe environment along their common border. More importantly Hun Sen wants to sidestep criticism from the opposition who rally against his persistent interference in Thailand’s politics. The shift in Cambodia’s policy has benefited the junta in rounding up anti-coup activists inCambodia.

โดยที่ทหารได้เข้ากำกับควบคุมทางการเมืองในประเทศไทย ฮุนเซ็นมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องคืนดีกับผู้กุมอำนาจเพื่อให้บรรยากาศตามชายแดนติดต่อกันของสองประเทศไม่สุ่มเสี่ยงเหมือนก่อน สำคัญกว่านั้นเขาต้องการเลี่ยงคำครหาซึ่งฝ่ายค้านโจมตีว่าเขาดึงดันต่อการเข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในประเทศไทย การเปลี่ยนนโยบายของฝ่ายกัมพูชาเป็นประโยชน์ต่อคณะรัฐประหารในการไล่ล่าจับตัวพวกต่อต้านที่อยู่ในกัมพูชา

Ekapop revealed to the UNHCR that the Thai military sent officers to monitor his movement in Cambodia, even to rent a room next door while he was hiding in Sihanoukville. Earlier the Thai Army arrested a Cambodian friend of Ekapop who crossed the border into Thailand to conduct business. He was interrogated and forced to disclose the whereabouts of Ekapop. Now the Thai Army has received a “green light” from the Cambodian authorities to abduct Ekapop and take him home, even if it infringes Cambodian sovereignty.

เอกภพเปิดเผยกับสำนักข้าหลวงใหญ่ฯ ว่าคณะทหารไทยส่งคนไปเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของเขาถึงในกัมพูชา แม้กระทั่งเช่าห้องอยู่ติดกับเขาระหว่างที่เขาหลบซ่อนตัวในสีหนุวิลล์ ก่อนหน้านั้นไม่นานกองทัพบกไทยได้จับกุมเพื่อนชาวเขมรของเอกภพคนหนึ่งที่เดินทางเข้าไปในประเทศไทยเพื่อทำธุรกิจ เขาถูกสอบสวนและบังคับให้บอกที่ซ่อนของเอกภพ บัดนี้กองทัพบกไทยได้รับไฟเขียวจากทางการกัมพูชา ยอมให้ดำเนินการลักพาตัวเอกภพแล้วนำกลับไปดำเนินคดีในไทยได้ แม้ว่าจะเป็นการละเมิดอธิปไตยของกัมพูชาก็ตามที

Ekapop is not the only target. Other fugitives have complained about similar harassment from the Thai military with the consent of the Cambodian government. Their lives are in danger. The lack of humanitarian elements in Cambodia will only worsen the situation of those unfortunate fugitives.

เอกภพไม่ใช่คนเดียวที่เป็นเหยื่อการล่วงล้ำคุกคามเช่นนี้จากกองทัพไทย มีรายงานจากผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ ว่าถูกไล่ล่าแบบเดียวกันโดยที่ทางการกัมพูชาไม่ขัดขวาง ชีวิตของคนเหล่านี้ต้องตกอยู่ในอันตราย สภาพที่สิทธิมนุษยชนยังขาดตกบกพร่องในกัมพูชาจะยิ่งทำให้สภาวะการณ์เลวร้ายลงไปสำหรับผู้ลี้ภัยที่โชคร้ายเหล่านั้น

The plot to abduct anti-coup activists reaffirms reports of the junta’s continued persecution of dissidents. In May, Kritsuda Kunasen, a red shirt working as a volunteer for political prisoners in Bangkok, was taken away and held almost a month by the junta.

Once freed, she escaped to Europe and unveiled her traumatic ordeal under detention. She had been punched in the face, stripped naked, suffocated and almost killed. She is now in the care of the United Nations.

Last week a student activist from Mahasarakham province, Worawut Thuagchaiphum, managed to escape from Thailand after being summoned twice and having his life threatened by the military. Now a free man, Worawut gave an interview to NHK, unfolding his trauma under the detention:
“The army officers told me he could just vanish without a trace, that they are now in control of the country, and that if they wanted to kill him, they could do so despite the law.” Thai media has reported that Worawut could have been seeking refuge inJapan.

Meanwhile, more international organizations, like Amnesty International, have recently expressed serious concerns about the gross human rights violations inThailand.

And on Sept. 10, a group of red-shirt Thais in Japan gathered in front of the United Nations University in Tokyo to protest against the coup. Representatives of the group also submitted a letter to Japan’s Foreign Ministry to request stronger action from Prime Minister Shinzo Abe in pressuring the Thai junta to return power to the people and abolish the martial law.

Ironically, today, the Thai junta still claims to promote democracy despite overthrowing the previous elected government. More ironically, such claim is made while it hounds anti-coup groups in the region around Thailand.


Pavin Chachavalpongpun is an associate professor at Kyoto University’s Center for Southeast Asian Studies.
ooo

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ไทยคืนดีกัมพูชา และชะตากรรมของผู้ลี้ภัย

ที่มา ประชาไท

Mon, 2014-09-22 11:19
ดร ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
รองศาสตราจารย์ ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนล่าสุด ได้เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำกัมพูชา ในโอกาสนี้ พลเอกธนะศักดิ์ได้มีโอกาสหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และพลเอกเตียบันห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา บรรยากาศของการเฉลิมฉลองการปรับความสัมพันธ์ครั้งใหม่นี้น่าอภิรมย์อย่างยิ่ง

ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น กัมพูชายังคงเป็นประเทศที่ไทยเป็นห่วงกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรณีข้อพิพาทเหนือปราสาทเขาพระวิหาร หรือความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปัญหาคลางแคลงใจเหล่านี้ได้สร้างความกระอักกระอ่วนใจในสายตาของผู้นำไทยอย่างมาก จนถึงจุดที่ว่า การทำสงครามกับกัมพูชานั้นกลายมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ดังที่เราได้เห็นในปี 2554

หลังจากการหารือทวิภาคีระหว่างสองฝ่าย พลเอกเตียบันห์ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า กัมพูชาและไทยตกลงที่จะร่วมมือกันยกระดับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ต่างให้คำมั่นสัญญาว่า จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนของสองประเทศ และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอาชญกรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือการที่ทางกัมพูชาได้ขอร้องให้ฝ่ายไทย “ดูแล” แรงงานกัมพูชาในไทย ซึ่งเรื่องนี้ พลเอกธนะศักดิ์ได้ตอบกลับว่าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และสัญญาว่า จะพิจารณาแก้ไขและปรับปรุงกฏระเบียบในการปกป้องสิทธิของแรงงานต่างชาติในไทย

แต่ขณะเดียวกัน ทั้งไทยและกัมพูชาก็ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ได้รับการร้องขอจากกัมพูชา หลังจากัมพูชาเห็นว่า ปัญหายังคงยืดเยื้อและฝ่ายไทยยังไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ในการตีความใหม่รอบนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยืนยันว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นสมบัติที่ถูกต้องตามกฏหมายของกัมพูชา และเรียกร้องให้กองทัพของทั้งสองประเทศถอนทหารออกจากเขตพื้นที่ทับซ้อนที่มีขนาด 4.6 ตารางกิโลเมตร เกี่ยวกับเรื่องนี้ พลเอกเตียบันห์ให้ความเห็นว่า กัมพูชาเชื่อว่า ปัญหาเหนือพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณประสาทเขาพระวิหารนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอีกต่อไป

ในการเดินทางเยือนกัมพูชาในครั้งนี้ ได้มีคณะติดตามพลเอกธนะศักดิ์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหม พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงอีกจำนวนหนึ่ง โดยคณะทั้งหมดได้มีโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เพื่อหาหนทางในการกระชับความสัมพันธ์ในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

แต่คำถามที่สำคัญก็คือ เพราะเหตุใด พลเอกธนะศักดิ์จึงต้องเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างรีบเร่ง เพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในระหว่างที่เดินทางไปเยือนกัมพูชานั้น ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว นับตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา สถานการณ์ได้บังคับให้ไทยต้องหามิตรเพิ่มเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความชอบธรรมให้กับ คสช. พันธมิตรดั้งเดิมของไทยในโลกตะวันตกล้วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหาร และได้ประกาศใช้นโยบายคว่ำบาตรต่อ คสช ด้วย

ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาได้ยุติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทัพไทย ซึ่งเป็นข้อกฏหมายที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ในกรณีที่พันธมิตรของสหรัฐฯ ได้มีการทำรัฐประหาร จึงจำเป็นต้องมีการตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นที่ไม่ชัดเจนว่า สหรัฐฯ จะยังจัดให้มีการฝึกซ้อมรบทางทหารร่วมกับไทยในกรอบ “คอบร้าโกล์ด” ด้วยหรือไม่ปีนี้ ไม่แน่ชัดว่าจะมีการย้ายสถานที่ฝึกซ้อมรบไปยังออสเตรเลียหรือไม่ และไทยจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้หรือไม่ ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปก็ได้ประกาศยุติความร่วมมือในระดับทวิภาคีกับไทย โดยเฉพาะการยุติการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างสองฝ่าย ทั้งสหภาพยุโรปและออสเตรเลียยังได้ประกาศห้ามผู้นำระดับสูงของ คสช เดินทางเข้าไปยังยุโรปและออสเตรเลีย เพื่อตอบโต้ต่อการทำรัฐประหารของกองทัพไทย

ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ การสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จีนเป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การสนับสนุน คสช ในความเป็นจริง จีนได้ใช้โอกาสที่ไทยเผชิญปัญหาทางการเมือง ในการกระชับความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารของไทย เพื่อที่จะลดอิทธิพลของสหรัฐฯ ในไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งของเกมการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ พม่ายังได้ส่งผู้นำระดับสูงมาเยือนไทยด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พลเอกอาวุโส มิน อ่อง เลง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางมาเยือยไทย และได้กล่าวว่า คสช กำลังทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว นั่นคือ การยึดอำนาจจากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย

แต่ทั้งนี้ การสนับสนุนที่มาจากกัมพูชายังมีความสำคัญเกือบจะมากที่สุด ความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชายังมีความซับซ้อน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชายังคงมีความละเอียดอ่อน ในช่วงที่ผ่านมานั้น ได้มีการปล่อยข่าวลือถึงการที่ไทยจะส่งแรงงานผิดกฏหมายกัมพูชากลับประเทศ ข่าวลือดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อความมั่นคงตามแนวชายแดน ที่สำคัญ ส่งผลต่อสถานะของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่การคงอยู่ทางการเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับคะแนนความนิยมที่ชาวกัมพูชามีให้กับตัวนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเอง ด้วยเหตุนี้ นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งของการที่ฮุนเซนต้องการกระชับความสัมพันธ์กับไทย เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานกัมพูชาและเพื่อเรียกคะแนนนิยมกลับมาจากสาธารณชนกัมพูชา ในแง่ที่ว่า ผู้นำสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

แต่ที่สำคัญกว่านั้น ในหลายปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้กลายเป็นที่พักพิงหรือแม้แต่เป็นพื้นที่ของคนบางกลุ่มที่ใช้ต่อต้านกลุ่มการเมืองในเมืองไทย อาทิ กลุ่มเสื้อแดงส่วนหนึ่ง หรือแแม้แต่กลุ่มที่ต่อต้าน คสช ในปัจจุบัน ความหวาดกลัวจึงเกิดขึ้นทันทีในกลุ่มของผู้ที่หลบหนีอยู่ในกัมพูชา โดยเฉพาะต่อความเป็นไปได้ที่ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในระดับรัฐบาลของสองประเทศจะส่งผลกระทบต่อสถานะของตนเอง อาจมีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายไทยจะขอความร่วมมือในการส่งตัวผู้ลี้ภัยในกัมพูชาเหล่านี้กลับสู่ประเทศไทย

ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับกัมพูชา ซึ่งได้สร้างพันธกรณีของการส่งตัวผู้ร้ายกลับสุ่ประเทศภูมิลำเนาของบุคคลหนึ่งๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยและกัมพูชาจะลงนามในสนธิสัญญานี้ต่อกัน แต่หลักปฏิบัติสากลได้ชี้อย่างชัดเจนว่า แทบจะไม่มีประเทศใดยินยอมส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยเฉพาะหากบุคคลนั้นๆ มีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หมายความว่า ในสถานการณ์ปกติ กัมพูชากลับต้องให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ด้วยซ้ำ ทั้งในแง่ของการมอบสถานะผู้ลี้ภัยและแหล่งพักพิง หรือการส่งตัวผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม

แต่ในที่สุด การเมืองก็คือการเมือง ไม่ว่าที่นี่ หรือที่ไหน การเมืองก็เปรียบเสมือนเรือที่ล่องอยู่ในทะเลที่อาจต้องประสบกับสิ่งที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ ขณะนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า รัฐบาลฮุนเซนมองเรื่องนี้อย่างไร และจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยอยู่ในกัมพูชาได้นานเท่าใด ในทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรีฮุนเซนอาจต้องการใช้โอกาสนี้ในการคืนดีกับไทย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่มั่นคงตามแนวพรมแดน แต่อีกทางหนึ่ง ฮุนเซนอาจพิจารณาว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ยังมีประโยชน์ต่อกัมพูชาอย่างมาก ในแง่ของการเป็นปัจจัยต่อรองกับ คสช ได้