วันอังคาร, กันยายน 23, 2557

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ปล่อย สมยศ พฤกษาเกษมสุข

นายรูเพิร์ธ โคลวิลล์ โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ภาพจาก UN
เรื่อง บีบีซีไทย

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ปล่อยตัวอดีต บก.นิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ และคืนเสรีภาพในการแสดงออกและการพูดคุยในทางสาธารณะในประเทศไทย ด้าน พ.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียืนยันไม่เคยปิดกั้นการพูดหรือการแสดงความเห็นทางวิชาการ 

นายรูเพิร์ธ โคลวิลล์ โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้นให้จำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณและแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ในคดีที่อัยการยื่นฟ้องฐานหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 นายโคลวิลล์ระบุว่าทางการไม่ได้แจ้งให้ทนายและครอบครัวของนายสมยศทราบว่าจะมีการตัดสินคดีเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ทุกคนไม่ได้ไปรับฟังการพิจารณาคดี

โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ บอกด้วยว่าบทลงโทษที่นายสมยศได้รับถือว่าสูงเกินสมควรและสะท้อนให้เห็นการก้าวถอยหลังในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในไทย ขณะที่คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวและคุมขังโดยพลการของสหประชาชาติ เห็นว่าการควบคุมตัวนายสมยศ เป็นการทำตามอำเภอใจและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวเขา

ทั้งนี้ ศาลเห็นว่านายสมยศ ได้จัดพิมพ์ จัดจำหน่าย นิตยสารฉบับเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีบทความที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง อย่างไรก็ดี นายสมยศ ต่อสู้คดีว่าตนไม่ใช่ผู้เขียนบทความ และเนื้อหาไม่ได้เป็นดังกล่าว แต่ศาลเห็นว่าบุคคลซึ่งไม่เคยรู้จักและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับนายสมยศ ได้อ่านบทความดังกล่าวต่างเข้าใจว่าเนื้อหาในบทความพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูง 

ศาลชั้นต้นได้เคยมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 ให้จำคุกนายสมยศ 10 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้นับโทษต่อจากคดีที่นายสมยศ หมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก 1 ปี รวมจำคุก 11 ปี

สำนักงานฯ ระบุด้วยว่านับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมมีผู้ถูกคุมขังภายใต้มาตรา 112 เพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 22 คน และมีอีก 8 คน ถูกตั้งข้อหาแต่ยังไม่ถูกคุมขัง สำนักงานฯ เรียกร้องให้รัฐบาลทหารคืนเสรีภาพในการแสดงออกและการพูดคุยในทางสาธารณะ และให้ปฏิบัติตามพันธะสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าววันนี้ว่า คสช. และรัฐบาลไม่เคยห้ามหรือปิดกั้นการพูดหรือแสดงความเห็นทางวิชาการ แต่ต้องทำหนังสือแจ้งประเด็นการสัมนามาให้พิจารณาก่อน พร้อมขอร้องนักวิชาการอย่านำประเด็นการเมืองมาพูดคุยในการสัมนาหรือสร้างปัญหา ที่ผ่านมาการจัดสัมนาของนักวิชาการพูดถึงการเมืองและโจมตีรัฐบาลและคสช. ไม่ตรงกับหัวข้อที่ขอมา จึงทำให้เกิดปัญหา

ทั้งนี้ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิชาการ 60 คน ได้ทำหนังสือเป็นจดหมายเปิดผนึกขอให้ คสช. ให้โอกาสแสดงความคิดทางวิชาการ หลังจากเกิดกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้ายับยั้งการจัดกิจกรรมของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ในหัวข้อ "ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ 2 การล่มสลายของเผด็จการในต่างประเทศ" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
ooo

UN rights office disappointed as Thai court upholds conviction on insulting monarchy

Source : UN.ORG

23 September 2014 – The United Nations human rights office today voiced its disappointment at the decision of a court in Thailand to uphold the conviction and sentencing of an editor for publishing articles considered offensive to the monarchy.

Somyot Pruksakasemsuk, the editor of Voice Taksin magazine, was convicted under the lèse majesté law after the magazine published two articles deemed offensive to the King. In 2013, he was sentenced to 11 years in prison, and the sentence was upheld last Friday.

According to the UN Office of the High Commission for Human Rights (OHCHR), the authorities reportedly did not inform Mr. Somyot’s lawyer or his family of the date of the appeal verdict, thereby preventing them from attending the court.

In 2013, the High Commissioner publicly expressed deep concerns about Mr. Somyot’s conviction and extremely harsh sentencing, saying his case represented a setback for the protection and promotion of human rights in Thailand.

Also, the UN Working Group on Arbitrary Detention has concluded that Mr. Somyot’s detention is arbitrary and called on the Thai Government to release him.

Last month, OHCHR had voiced serious concern over the prosecution and harsh sentencing of individuals in Thailand under the lèse majesté law, noting that such measures are adding to the “larger pattern of increasing restrictions on freedom of expression in Thailand.”

Since the coup d’état on 22 May, according to information available to OHCHR, the number of people in custody under the lèse majesté law has risen from 6 to 22, with another eight people facing charges but not currently in custody.

“We reiterate our call to the military Government to restore space for free expression and public dialogue, in line with Thailand’s international human rights obligations,” OHCHR spokesperson Rupert Colville told reporters in Geneva today.