ที่มา มติชนออนไลน์
วันนี้ (8 กย.) นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ เดินทางมาศาลทหาร ในคดีที่อัยการยื่นฟ้อง ฐานฝ่าฝืนไม่มารายงานตัวตามคำสั่งเรียกของ คสช. ซึ่งอาจารย์วรเจตน์ ให้การปฎิเสธ เพื่อสู้คดีต่อไป
เมื่อ นักข่าว เจอ อาจารย์วรเจตน์ คำถามก็ผุดขึ้นมากมาย เพื่อต้องการให้ อาจารย์สอนกฎหมาย จุดไฟในสายลม อย่างที่เคยปฎิบัติมาโดยตลอด
แต่คำตอบของ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ คือ "ยุคนี้ ไม่มีใครสนใจหลักการกันแล้ว ผมพูดไปก็ไม่มีประโยชน์ "
นักข่าวถาม อาจารย์ วรเจตน์ เรื่องกระบวนการถอดถอน ส.ส.และส.ว. ที่มีความพยายาม ชงให้ สนช. จัดการถอนถอน
อาจารย์วรเจตน์ ตอบว่า ตามหลักการการถอดถอน เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้วโดยสภาพก็ไม่มีอะไรให้ถอดถอนอีก แต่ในประเทศไทย กลับใช้ แนวทาง ว่า แม้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ยังต้องถอดถอน เพราะนำเรื่องการถอดถอนไปโยงกับการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง จึงมีการถอดถอนซ้ำ ในความเห็นส่วนตัวจึงเห็นว่าควรมีการพูดถึงหลักการตรงนี้มากกว่า อำนาจของ สนช.
ส่วนกรณีกฎอัยการศึกควรยกเลิกหรือไม่ นายวรเจตน์ เลี่ยงตอบคำถาม แต่บอกว่า เมื่อ คสช. ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน จำนวนมาก หากพิจารณาผ่านโพลสำรวจความนิยม มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่สนับสนุน ฉะนั้นแล้ว กฎอัยการศึก อาจไม่มีความจำเป็น ก็ได้ เพราะกฎอัยการศึกไม่ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจของ คสช. ให้มากหรือน้อยลง
...
ไทยอีนิวส์ขอนำความเห็นของ อ.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ เรื่อง กฎอัยการศึก : ควรยกเลิกหรือไม่ ? ที่ลงในเฟสบุ๊คมาลงเพิ่มเติม หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน...
...
ก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนบทความแสดงความเห็นไปแล้วว่า "กฎอัยการศึก" ที่ถูกนำมาประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ก่อนวันรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 และยังใช้ลากยาวมาถึงปัจจุบัน จนเข้าเดือนที่ 4 แล้วนั้น เป็นการดำเนินการที่มีปัญหาทางกฎหมายมาแต่ต้น ขออนุญาตนำมาเสนอให้อ่านกันอีกครั้งครับ :
(หมายเหตุ : บทความนี้ผมจำได้ดี เพราะ ไทยรัฐ เอาไปลงหน้า 1 ฉบับวันที่ 22 พ.ค. บ่ายวันเดียวกันก็มี "มือปืน" มายิงบ้านผมครั้งที่ 2 จากนั้นตอนเย็น ก็มีการรัฐประหารยึดอำนาจ จากวันนั้นมาถึงวันนี้ แม้กฎอัยการศึกใช้มานาน ก็ยังจับมือปืนและผู้อยู่เบื้องหลังไม่ได้ จนเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมยังกลับไทยไม่ได้มาถึงวันนี้)
---
"กฎอัยการศึก" คืออะไร และยังประกาศใช้ได้จริงหรือ ?
สกู็ปหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 22 พ.ค. 2557
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
facebook.com/verapat
- กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายโบราณซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 100 ปี โดยถูกตราเป็นพระราชบัญญัติครั้งสุดท้ายเมื่อพระพุทธศักราช 2457
- กฎอัยการศึกมุ่งหมายให้ใช้ได้ในพื้นที่จำกัดเท่าที่จำเป็น ในยามสงครามหรือจลาจล แต่ไม่ได้นิยามความหมายของยามสงครามหรือจลาจลไว้โดยชัด และไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายทหารว่าเป็นไปโดยสุจริตได้สัดส่วน และสมควรแก่เหตุหรือไม่
- กฎอัยการศึกให้อำนาจฝ่ายทหารประกาศได้เอง โดยเมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพันหรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
- เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น,ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้ามการกระทำ,ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย,ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่ ทั้งข้าศึกและประชาชน และหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจและเกิดความเสียหาย บุคคลหรือบริษัทใด ๆจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลของฝ่ายทหารมีอำนาจ กล่าวคือ ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ปกติเว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก
- ในเวลาสงครามหรือจลาจล แม่ทัพใหญ่หรือแม่ทัพรองมีอำนาจออกข้อบังคับเพิ่มเติมให้ดำเนินไปตามกฎอัยการศึกนี้และเมื่อได้ประกาศแล้ว ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติ
- การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น ต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเสมอ
- ที่ผ่านมา กฎอัยการศึกถูกประกาศใช้ในยามที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย อาทิ การประกาศใช้และแก้ไขหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติช่วงปี 2534 และการประกาศใช้ในช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 มาถึงช่วงการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550
ข้อสังเกต :
การจะพิจารณาวินิจฉัยในทางนิติศาสตร์ว่ากฎอัยการศึกถือเป็นกฎหมายที่มีผลให้นำมาบังคับใช้ภายใต้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้นจำเป็นต้องพิจารณาตามหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน ภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมดังนี้
ในด้านความจำเป็น เห็นได้ว่า กฎอัยการศึกอาจเคยมีความจำเป็นในยุคสมัยโบราณที่การจัดการภัยคุกคามไม่อาจทำได้ทันท่วงทีและการสื่อสารสั่งการโดยรัฐบาลพลเรือนไปยังฝ่ายทหารมีข้อจำกัดในยามวิกฤติจึงต้องให้อำนาจฝ่ายทหารดำเนินการได้อย่างเต็มที่และทันท่วงที อย่างไรก็ดี สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันปรากฏชัดว่าเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือในด้านความมั่นคงมีความก้าวหน้าและมีการนำเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายพัฒนาและบำรุงกองทัพอย่างมหาศาล และแม้คณะรัฐมนตรีจะอยู่ที่ใด ก็ยังบัญชาสั่งการฝ่ายทหารได้อย่างทันท่วงทีกฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความจำเป็นในทางรัฐธรรมนูญ
ในด้านความได้สัดส่วน กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติให้อำนาจฝ่าทหารประกาศใช้อำนาจได้เองโดยปราศจากนิยามหรือหลักเกณฑ์อีกทั้งให้อำนาจฝ่ายทหารในการตรวจค้น เกณฑ์กำลัง ที่จะห้ามการกระทำ ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่ขับไล่ได้เต็มที่โดยปราศจากเงื่อนไขชัดเจน โดยเฉพาะการให้อำนาจฝ่ายทหารทำหน้าที่ทั้งด้านบริหารสถานการณ์ ออกข้อบังคับในทางนิติบัญญัติ และพิพากษาคดีทหารและอาญาศึกแทนตุลาการ โดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลอันเป็นการละเมิดหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างร้ายแรง กฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความได้สัดส่วนในทางรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ในหลักกฎหมายขั้นพื้นฐาน เห็นได้ว่า ในปัจจุบันยังได้มีการตรากฎหมายที่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในปัจจุบันมากขึ้นอาทิ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงและตราขึ้นในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติและผู้แทนปวงชนได้ดำเนินการยกเลิกกฎอัยการศึกไปโดยปริยายแล้วกฎอัยการศึกจึงอยู่ในสภาพกฎหมายที่ถูกยกเลิกและไม่อาจนำมาประกาศหรือบังคับใช้ได้อีกต่อไป หรือหากจะยังตีความให้บังคับใช้ได้บางส่วนก็จะต้องเป็นกรณีที่มีข้าศึกจากทั้งภายในและภายนอกที่มีแสงยานุภาพขั้นสูงและได้เข้าจับกุมควบคุมตัวรัฐบาลพลเรือนจนรัฐบาลพลเรือนอยู่ในสภาพที่สั่งการบังคับบัญชาฝ่ายทหารไม่ได้เท่านั้น
ดังนั้น ในทางนิติศาสตร์ จึงเห็นได้ว่า กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในลักษณะที่ไม่มีความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน ขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม อีกทั้งยังได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยปริยายทั้งหมดหรือบางส่วน ส่งผลให้นำมาบังคับใช้ดังในอดีตอีกไม่ได้ โดยตราบใดที่ยังมีรัฐบาลพลเรือนปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาการณ์อยู่ฝ่ายทหารย่อมไม่อาจนำกฎอัยการศึกมาอ้างใช้ในภาวะจลาจลหรือสงคราม และหากประกาศใช้ไปก็เท่ากับกระทำการละเมิดต่อหลักกฎหมาย หลักรัฐธรรมนูญ และหลักประชาธิปไตยเสียเอง รวมทั้งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจโดยไม่ชอบหรืออาจเข้าขั้นความผิดฐานกบฏ เป็นความผิดทางอาญารุนแรงอันมีอายุความติดตัวต่อไปอย่างยาวนานอีกด้วย
ที่สำคัญ ฝ่ายทหารพึงระลึกเสมอว่า กฎอัยการศึกถูกออกแบบมาใช้กับข้าศึกที่รุกรานประเทศชาติในลักษณะการสงคราม แต่หากกฎอัยการศึกถูกนำมาใช้ในยามที่บ้านเมืองมีความขัดแย้งทางการเมืองสูงและมีการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ยังจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมวลชนต่อต้านอันจะนำไปสู่ความบาดเจ็บล้มตายที่ร้ายแรงขึ้นในที่สุด.
https://www.facebook.com/verapat/posts/10201979462402320
...
กฎอัยการศึก : ควรยกเลิกหรือไม่ ?
ก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนบทความแสดงความเห็นไปแล้วว่า "กฎอัยการศึก" ที่ถูกนำมาประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ก่อนวันรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 และยังใช้ลากยาวมาถึงปัจจุบัน จนเข้าเดือนที่ 4 แล้วนั้น เป็นการดำเนินการที่มีปัญหาทางกฎหมายมาแต่ต้น ขออนุญาตนำมาเสนอให้อ่านกันอีกครั้งครับ :
(หมายเหตุ : บทความนี้ผมจำได้ดี เพราะ ไทยรัฐ เอาไปลงหน้า 1 ฉบับวันที่ 22 พ.ค. บ่ายวันเดียวกันก็มี "มือปืน" มายิงบ้านผมครั้งที่ 2 จากนั้นตอนเย็น ก็มีการรัฐประหารยึดอำนาจ จากวันนั้นมาถึงวันนี้ แม้กฎอัยการศึกใช้มานาน ก็ยังจับมือปืนและผู้อยู่เบื้องหลังไม่ได้ จนเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมยังกลับไทยไม่ได้มาถึงวันนี้)
---
"กฎอัยการศึก" คืออะไร และยังประกาศใช้ได้จริงหรือ ?
สกู็ปหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 22 พ.ค. 2557
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
facebook.com/verapat
- กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายโบราณซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 100 ปี โดยถูกตราเป็นพระราชบัญญัติครั้งสุดท้ายเมื่อพระพุทธศักราช 2457
- กฎอัยการศึกมุ่งหมายให้ใช้ได้ในพื้นที่จำกัดเท่าที่จำเป็น ในยามสงครามหรือจลาจล แต่ไม่ได้นิยามความหมายของยามสงครามหรือจลาจลไว้โดยชัด และไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายทหารว่าเป็นไปโดยสุจริตได้สัดส่วน และสมควรแก่เหตุหรือไม่
- กฎอัยการศึกให้อำนาจฝ่ายทหารประกาศได้เอง โดยเมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพันหรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
- เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น,ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้ามการกระทำ,ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย,ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่ ทั้งข้าศึกและประชาชน และหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจและเกิดความเสียหาย บุคคลหรือบริษัทใด ๆจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย
- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลของฝ่ายทหารมีอำนาจ กล่าวคือ ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ปกติเว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก
- ในเวลาสงครามหรือจลาจล แม่ทัพใหญ่หรือแม่ทัพรองมีอำนาจออกข้อบังคับเพิ่มเติมให้ดำเนินไปตามกฎอัยการศึกนี้และเมื่อได้ประกาศแล้ว ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติ
- การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น ต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเสมอ
- ที่ผ่านมา กฎอัยการศึกถูกประกาศใช้ในยามที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย อาทิ การประกาศใช้และแก้ไขหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติช่วงปี 2534 และการประกาศใช้ในช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 มาถึงช่วงการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550
ข้อสังเกต :
การจะพิจารณาวินิจฉัยในทางนิติศาสตร์ว่ากฎอัยการศึกถือเป็นกฎหมายที่มีผลให้นำมาบังคับใช้ภายใต้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้นจำเป็นต้องพิจารณาตามหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน ภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมดังนี้
ในด้านความจำเป็น เห็นได้ว่า กฎอัยการศึกอาจเคยมีความจำเป็นในยุคสมัยโบราณที่การจัดการภัยคุกคามไม่อาจทำได้ทันท่วงทีและการสื่อสารสั่งการโดยรัฐบาลพลเรือนไปยังฝ่ายทหารมีข้อจำกัดในยามวิกฤติจึงต้องให้อำนาจฝ่ายทหารดำเนินการได้อย่างเต็มที่และทันท่วงที อย่างไรก็ดี สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันปรากฏชัดว่าเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือในด้านความมั่นคงมีความก้าวหน้าและมีการนำเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายพัฒนาและบำรุงกองทัพอย่างมหาศาล และแม้คณะรัฐมนตรีจะอยู่ที่ใด ก็ยังบัญชาสั่งการฝ่ายทหารได้อย่างทันท่วงทีกฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความจำเป็นในทางรัฐธรรมนูญ
ในด้านความได้สัดส่วน กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติให้อำนาจฝ่าทหารประกาศใช้อำนาจได้เองโดยปราศจากนิยามหรือหลักเกณฑ์อีกทั้งให้อำนาจฝ่ายทหารในการตรวจค้น เกณฑ์กำลัง ที่จะห้ามการกระทำ ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่ขับไล่ได้เต็มที่โดยปราศจากเงื่อนไขชัดเจน โดยเฉพาะการให้อำนาจฝ่ายทหารทำหน้าที่ทั้งด้านบริหารสถานการณ์ ออกข้อบังคับในทางนิติบัญญัติ และพิพากษาคดีทหารและอาญาศึกแทนตุลาการ โดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลอันเป็นการละเมิดหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างร้ายแรง กฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความได้สัดส่วนในทางรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ในหลักกฎหมายขั้นพื้นฐาน เห็นได้ว่า ในปัจจุบันยังได้มีการตรากฎหมายที่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในปัจจุบันมากขึ้นอาทิ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงและตราขึ้นในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติและผู้แทนปวงชนได้ดำเนินการยกเลิกกฎอัยการศึกไปโดยปริยายแล้วกฎอัยการศึกจึงอยู่ในสภาพกฎหมายที่ถูกยกเลิกและไม่อาจนำมาประกาศหรือบังคับใช้ได้อีกต่อไป หรือหากจะยังตีความให้บังคับใช้ได้บางส่วนก็จะต้องเป็นกรณีที่มีข้าศึกจากทั้งภายในและภายนอกที่มีแสงยานุภาพขั้นสูงและได้เข้าจับกุมควบคุมตัวรัฐบาลพลเรือนจนรัฐบาลพลเรือนอยู่ในสภาพที่สั่งการบังคับบัญชาฝ่ายทหารไม่ได้เท่านั้น
ดังนั้น ในทางนิติศาสตร์ จึงเห็นได้ว่า กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในลักษณะที่ไม่มีความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน ขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม อีกทั้งยังได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยปริยายทั้งหมดหรือบางส่วน ส่งผลให้นำมาบังคับใช้ดังในอดีตอีกไม่ได้ โดยตราบใดที่ยังมีรัฐบาลพลเรือนปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาการณ์อยู่ฝ่ายทหารย่อมไม่อาจนำกฎอัยการศึกมาอ้างใช้ในภาวะจลาจลหรือสงคราม และหากประกาศใช้ไปก็เท่ากับกระทำการละเมิดต่อหลักกฎหมาย หลักรัฐธรรมนูญ และหลักประชาธิปไตยเสียเอง รวมทั้งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจโดยไม่ชอบหรืออาจเข้าขั้นความผิดฐานกบฏ เป็นความผิดทางอาญารุนแรงอันมีอายุความติดตัวต่อไปอย่างยาวนานอีกด้วย
ที่สำคัญ ฝ่ายทหารพึงระลึกเสมอว่า กฎอัยการศึกถูกออกแบบมาใช้กับข้าศึกที่รุกรานประเทศชาติในลักษณะการสงคราม แต่หากกฎอัยการศึกถูกนำมาใช้ในยามที่บ้านเมืองมีความขัดแย้งทางการเมืองสูงและมีการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ยังจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมวลชนต่อต้านอันจะนำไปสู่ความบาดเจ็บล้มตายที่ร้ายแรงขึ้นในที่สุด.
https://www.facebook.com/verapat/posts/10201979462402320