วันศุกร์, กันยายน 12, 2557

แถลงการณ์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล : การปราบปรามอย่างรุนแรงไม่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 100 วันหลังการยึดอานาจของทหาร


หมายเหตุไทยอีนิวส์ : รายงาน “ประเทศไทย: การปรับทัศนคติ 100 วันภายใต้กฎอัยการศึก” ฉบับเต็ม
คลิกที่นี่


แถลงการณ์

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ห้ามเผยแพร่ก่อนวันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน เวลา 00.01am GMT / หรือ 05.01 น. ประเทศไทย


ประเทศไทย: การปราบปรามอย่างรุนแรงไม่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 100 วันหลังการยึดอำนาจของทหาร

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยในรายงานฉบับใหม่ว่า มีการควบคุมตัวโดยพลการหลายร้อยกรณี รายงานการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบอย่างกว้างขวาง และการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมในศาลทหาร ทำให้เกิดบรรยากาศของความกลัวในประเทศไทย และไม่มีแนวโน้มลดลงเลย รายงาน “การปรับทัศนคติ: 100 วันภายใต้กฎอัยการศึก” (Attitude adjustment –100 days under Martial Law) เป็นการตรวจสอบอย่างละเอียดเป็ นครั้งแรกเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยนับแต่กองทัพ ประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันที่20 พฤษภาคม 2557และมีการยึดอำนาจในอีกสองวันต่อมา

ริชาร์ด เบนเน็ต (Richard Bennett) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า “สามเดือนนับแต่รัฐประหาร ผลจากการตรวจสอบของเราต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและร้ายแรงของรัฐบาลทหาร ทำให้เห็นภาพการปฏิบัติเช่นนี้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

“ทางการไทยควรยุติแบบแผนวิธีการการปราบปรามที่เป็นปัญหาเช่นนี้ ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน เคารพพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเปิดให้มีการอภิปรายและถกเถียงอย่างเสรี ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของอนาคตของประเทศ”

การควบคุมตัวโดยพลการ

ในความพยายาม “ปรับทัศนคติ” และการปราบปรามผู้เห็นต่าง รัฐบาลทหารหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จับกุมและควบคุมตัวบุคคลหลายร้อยคนอย่างเป็นระบบ ผู้ตกเป็นเป้ าหมายจำนวนมากเคยเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลชุดที่แล้ว ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนด้านอื่น ๆ

แม้ว่าส่วนใหญ่พวกเขาจะถูกควบคุมตัวไม่เกินเจ็ดวัน แต่เป็นการควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหาหรือการไต่สวนจากศาล ถูกห้ามไม่ให้พบกับทนายความ และในบางกรณียังถูกห้ามไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอก ทุกวันนี้พวกเขายังมีชีวิตอยู่ภายใต้ความกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี เพราะก่อนได้รับการปล่อยตัวต้องลงนามในคำสัญญาว่าจะไม่เข้าร่วม “เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง”

ทหารและตำรวจได้ควบคุมตัวหรือขู่จะควบคุมตัวญาติของผู้ที่ปฏิเสธไม่ไปรายงานตัวต่อกองทัพ หลายคนถูกฟ้องคดีเนื่องจากขัดขืนคำสั่งไม่ไปรายงานตัวต่อกองทัพ และหลายคนถูกยกเลิกหนังสือเดินทาง

“การควบคุมตัวโดยพลการอย่างกว้างขวาง เป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อพันธกิจด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย เป็นการคุกคามทางการเมืองอย่างชัดเจน และเป็นความพยายามปราบปรามเสียงที่เห็นต่าง” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

“การควบคุมตัวบุคคลและการสั่งให้มารายงานตัวต้องยุติลง เช่นเดียวกับมาตรการจำกัดสิทธิอื่น ๆ ที่มีต่อบุคคลที่ได้รับการปล่อยตัวมาแล้ว รวมทั้งยุติการฟ้องคดีต่อผู้ที่ปฏิเสธไม่มารายงานตัว”

การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรายงานที่น่าเชื่อถือว่ามีบุคคลหลายคนถูกทรมาน รวมทั้งในช่วงที่ถูกควบคุมตัวโดยไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็ นการทำร้ายร่างกายและการทำให้ขาดอากาศหายใจ ไปจนถึงการจำลองสถานการณ์ว่ามีการประหารชีวิต การทรมานเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานในประเทศไทย และมักเกิดขึ้นแพร่หลายในสถานที่ควบคุมตัว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

กริชสุดา คุณะเสน นักกิจกรรมทางการเมืองซึ่งถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่27 พฤษภาคม 2557 บอกว่า เธอถูกทหารทุบตีอย่างทารุณซำ้แล้วซำ้อีก และยังมีการนำถุงพลาสติกคลุมศีรษะเพื่อให้ขาดอากาศหายใจในระหว่างการสอบปากคำ

“ถ้าดิฉันตอบคำถามช้า หรือไม่พูด หรือไม่ตอบคำถามตรงไปตรงมา.....พวกเขาก็จะต่อยเข้าที่หน้า ที่ท้อง และที่ลำตัว.....ที่เลวร้ายสุดที่เจอมาคือพวกเขาเอาถุงพลาสติกคลุมศีรษะดิฉัน ผูกถุงที่ตรงปลายและเอาถุงผ้าคลุมศีรษะอีกชั้นทำให้ดิฉันขาดอากาศหายใจจนหมดสติ และมีการเอานำ้มาราดเพื่อให้ฟื้นคืนสติ......ดิฉันรู้เลยว่าความกลัวตายอยู่ตลอดเวลาเป็นอย่างไร” เธอกล่าว

“คสช. ต้องประกันว่าจะไม่มีบุคคลใดตกเป็นเหยื่อการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายและต้องมีการสอบสวนตามข้อกล่าวหาว่ามีความผิดเช่นนี้เกิดขึ้นโดยพลัน อย่างไม่ลำเอียง อย่างเป็นอิสระและอย่างละเอียดถี่ถ้วน และให้นำตัวผู้มีส่วนรับผิดชอบมาฟ้องคดีตามกฎหมาย” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ

คสช.ยังได้ใช้มาตรการอย่างกว้างขวางเพื่อจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ ส่งผลให้เกิดบรรยากาศความหวาดกลัวต่อการอภิปรายในที่สาธารณะ และเป็นเหตุให้เกิดการเซ็นเซอร์ตนเองอย่างกว้างขวาง

ทางการสั่งปิดหรือปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์หลายร้อยแห่ง มีการตั้งคณะกรรมการเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบสื่อ มีการขู่ว่าจะถูกคุมขังหากมีการโพสต์ข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทหาร

ทั้งยังมีการออกคำสั่งห้ามการชุมนุมของบุคคลเกินกว่าห้าคน นับแต่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ซึ่งถือเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อสิทธิที่จะชุมนุมอย่างสงบ

มีบุคคลจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนที่ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายอาญามาตรา 112 ในลักษณะที่เป็นการละเมิดสิทธิซึ่งกฎหมายดังกล่าวห้ามการดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์นับแต่การทำรัฐประหาร มีประชาชนสี่คนถูกฟ้องคดีและตัดสินลงโทษตามกฎหมายนี้ และยังมีอีก 10 คนที่ถูกตั้งข้อหา

“กลายเป็นแนวปฏิบัติตามมาตรฐานของรัฐบาลทหารไปแล้วที่จะปราบปรามแม้แต่การแสดงความเห็นต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ว่าจะเป็ นการใส่เสื้อยืด ซึ่งถูกมองว่าอาจ “สร้างความแตกแยก” หรือการอ่านหนังสือบางเล่ม และแม้แต่การกินแซนด์วิชในที่สาธารณะเพื่อเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ต่อระบอบทหาร” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

“ทางการไทยต้องยกเลิกกฎหมายและคำสั่งที่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อบุคคลที่ถูกเอาผิดเพียงเพราะใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ และให้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกคุมขังทุกคนภายใต้ข้อหาเหล่านี้โดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข”

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

การจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการทำ
งานที่สำคัญขององค์กรสิทธิและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งกิจกรรมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยทางการสั่งห้ามไม่ให้กลุ่มสิทธิมนุษยชนจัดกิจกรรมใด ๆแม้จะกระทำโดยสงบ ในขณะเดียวกันยังคงมีการตั้งข้อหาหมิ่นประมาทและการฟ้องคดีต่อผู้สื่อข่าวและนักสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับช่วงก่อนรัฐประหาร

การพิจารณาคดีที่ไม่เป็ นธรรม

สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมกำลังถูกคุกคามเช่นกัน เนื่องจากมีพลเรือนประมาณ 60 คนที่จะต้องเข้ารับการไต่สวนในศาลทหาร ซึ่งภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็ นศาลชั้นเดียวที่ไม่มีการอุทธรณ์

คสช.สั่งการให้ฟ้องคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร สำหรับบุคคลที่ละเมิดคำสั่งของกองทัพ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ ส่วนการตั้งข้อหาตามกฎหมายอาญามาตรา 112ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก

ข้อเสนอแนะ

รายงาน “การปรับทัศนคติ” – 100 วันภายใต้กฎอัยการศึก” ได้เสนอข้อเสนอแนะหลายประการต่อทางการไทยทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูการเคารพสิทธิมนุษยชนและประกันว่าประเทศไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

“ประเทศไทยมีพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งไม่อาจเพิกเฉยได้โดยอ้าง “ความมั่นคงของประเทศ”การจำกัดเสรีภาพที่เป็ นอยู่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกินไป” ริชาร์ด เบนเน็ตกล่าว

“สมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศควรใช้โอกาสต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ รวมทั้งการประชุมที่ดำเนินอยู่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลทหารของไทยเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน และประกันให้เกิดการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นหากต้องการบรรลุเป้าหมายความปรองดองแห่งชาติตามที่ประกาศไว้”

หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ

ต้องการขอรายงานและติดต่อเพื่อสัมภาษณ์ กรุณาติดต่อ

Olof Blomqvist, Asia Pacific Press Officer, olof.blomqvist@amnesty.org, Tel: + 44 (0) 20 7413 5871,

Mobile: +44 (0) 790 4397 956

เอกสารสาธารณะ

****************************************

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ สำนักประชาสัมพันธ์แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงลอนดอน ที่เบอร์โทรศัพท์ +44

20 7413 5566 หรืออีเมล์: press@amnesty.org
ooo


Thailand: No let-up in spiral of repression 100 days after military takeover

11 September 2014


Amnesty International

Hundreds of arbitrary detentions, reports of torture and other ill-treatment, sweeping restrictions on freedom of expression and peaceful assembly and unfair trials in military courts are creating a climate of fear in Thailand, and there are no signs of a let-up, Amnesty International said today in a new report.

The report, Attitude adjustment –100 days under Martial Law, is the first comprehensive investigation into Thailand’s human rights situation since the military imposed Martial Law on 20 May 2014 and seized power two days later.

“Three months since the coup, a picture emerges from our investigations of widespread and far-reaching human rights violations perpetrated by the military government that are ongoing,” said Richard Bennett, Amnesty International’s Asia-Pacific Director.

“The Thai authorities should end this disturbing pattern of repression, end human rights violations, respect its international human rights obligations and allow open debate and discussion - all of which are vital to the country’s future.”

Arbitrary detentions

In an effort to “adjust attitudes” and stifle dissent, the military government – known as the National Council for Peace and Order (NCPO) – has engaged in systemic arbitrary arrests and detentions of hundreds of people, many of them allies of the former government, in violation of their right to liberty and other human rights.

Although most were held for only up to seven days, they were detained without charge or trial, denied access to lawyers and sometimes held incommunicado. They are now living with the threat of prosecution after signing waivers promising not to engage in “political activity” as a pre-condition for their release.

The military and police have detained or threatened to detain family members of some of those refusing to report. Several individuals face prosecution for disobeying the military’s order to report and have had their passports revoked.

“The mass arbitrary detentions flagrantly disregard Thailand’s international human rights commitments. This is a clear case of political persecution and an attempt to silence dissent,” said Richard Bennett.

“The detentions and orders to report must end, as must all restrictions placed on those individuals released and prosecutions against those who refused to report.”

Torture and other ill-treatment

Amnesty International has received credible reports of a number of people being tortured, including during incommunicado detention, ranging from beatings and asphyxiation to mock executions. Torture is a long-standing problem in Thailand and was rife in places of detention particularly in areas where Martial Law was imposed previously.

Kritsuda Khunasen, a political activist who was detained on 27 May 2014, said she was badly and repeatedly beaten by soldiers and asphyxiated with a plastic bag during interrogation.

“If I was too slow when answering, didn’t speak, didn’t answer the question in a direct manner … I was beaten with a fist to my face, stomach and body… The worst that I experienced was when they placed a plastic bag over my head, tied up the ends and put a cloth bag over my head. This knocked me unconscious and I was brought back by throwing water on me… I finally knew what it felt like to be in constant fear of death,” she said.

“The NCPO must ensure that no one is subjected to torture or other ill-treatment–and allegations that these crimes have taken place must be promptly, impartially, independently and thoroughly investigated, with those suspected of criminal responsibility prosecuted,” said Richard Bennett.

Freedom of expression and peaceful assembly

The NCPO has also imposed sweeping restrictions on the rights to freedom of expression and peaceful assembly, which has had a chilling effect on public debate and led to widespread self-censorship.

Hundreds of websites have been taken down or blocked, censorship panels have been set up to monitor media and people have been threatened with imprisonment for posting anything deemed critical of the military online.

A ban on gatherings of more than five people has been in effect since Martial Law was imposed, a clear violation of the right to freedom of peaceful assembly.

And an unprecedented number of people have been charged under the abusive lèse majesté law, which bans insults to members of the royal family. Four persons have been prosecuted and sentenced since the coup, and a further ten persons have been charged.

“It has become part of the military government’s modus operandi to crack down on the smallest forms of dissent, such as wearing T-shirts that could ‘promote division’ or reading certain books and eating sandwiches in public in symbolic protest against military rule,” said Richard Bennett.

“The Thai authorities must repeal those abusive laws and orders, lift all charges against any individuals brought solely for peacefully exercising their rights to freedom of expression and assembly, and release those detained or imprisoned under such charges immediately and unconditionally.”

Human rights defenders

Restrictions on the rights to freedom of expression and peaceful assembly have had serious implications for the vital work of human rights defenders and organizations, including Amnesty International’s national Section in Thailand.

Human rights groups have been ordered not to hold peaceful events, while criminal defamation charges and prosecutions initiated before the coup against journalists and human rights activists are continuing.

Unfair trials

The right to a fair trial is also in jeopardy, as some 60 individuals imminently face trials in military courts, with no right of appeal.

The NCPO has ordered the prosecution of civilians in military courts for breaching military orders which themselves violate key human rights, such as the right to freedom of expression and peaceful assembly, and for breaching lèse majesté laws which themselves may violate the right to freedom of expression.

Recommendations

“Attitude adjustment” – 100 days under Martial Law sets out a series of recommendations to the Thai authorities to restore respect for human rights, and to ensure that Thailand is meeting its international obligations.

“Thailand has international human rights obligations that cannot be ignored in the name of ‘national security’ – current restrictions on freedoms are far too sweeping,” said Richard Bennett.

“Members of the international community should take all opportunities, including the current session of the Human Rights Council, to encourage Thailand’s military government to change its course and ensure the respect for human rights that is necessary if it is to achieve its stated aim of national reconciliation.” 
...

Thailand: Attitude adjustment: 100 days under martial law

Download:
Index NumberASA 39/011/2014
Date Published11 September 2014
Categories Thailand


HTML
PDF


On 22 May 2014, two days after declaring Martial Law, Thailand’s military took power for the second time in eight years. Under the National Council for Peace and Order (NCPO) the military abrogated all but one section of the 2007 Constitution, sacked the government, dissolved parliament and assumed full control of the country. As this report will show, the NCPO has undertaken a series of measures that have altered Thailand’s institutional and legal framework. The human rights violations detailed in this report also reflect long-standing human rights problems in Thailand.

This document is also available in:Thai
PDF