SpringNews
Yesterday
·
“ผมไม่เคยได้รับอะไรจากภาครัฐเลย นอกจากขันน้ำพานรองจาก กทม.หนึ่งใบ” ขาวผ่อง หรือ ทวี อัมพรมหา เจ้าของเหรียญเงินจากโอลิมปิกปี 1984 กล่าวด้วยความน้อยใจผ่านโทรศัพท์
.
“มันเป็นเแบบนี้มานานแล้ว มีรุ่นพี่หลายคนที่กังวลว่าหลังเลิกเล่นหรือถ้ามีอาการบาดเจ็บใครจะเป็นคนดูแล ส่วนใหญ่หลังเลิกเล่น อาจโชคดีได้รับราชการเหมือนผม แต่บางคนก็อาจไม่ได้โอกาส” บุญศักดิ์ พลสนะ อดีตนักกีฬาแบตมินตันที่เข้าร่วมโอลิมปิกมากถึง 5 ครั้งกล่าวด้วยเสียงเรียบนิ่ง
.
ท่ามกลางบรรยากาศของมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นักกีฬาไทยจำนวน 51 คนต่างเข้าร่วมแข่งขันด้วยความมุ่งมั่น หวังจะนำเหรียญกลับบ้านเกิดเมืองนอน เป็นเกียรติยศแก่ตัวเองและธงชาติที่ติดข้างอก
.
แม้โอลิมปิกจะเป็นงานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่กลับไม่ใช่หลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีแก่นักกีฬาทีมชาติไทยที่เข้าร่วม ดั่งที่เราเคยเห็นจากข่าวในกรณีของ พเยาว์ พูนธรัตน์ นักกีฬาทีมชาติไทยคนแรกที่คว้าเหรียญโอลิมปิกกลับสู่แผ่นดินไทย แต่กลับมีชีวิตบั้นปลายที่ทุกข์ทรมาน
.
ตอกย้ำยิ่งขึ้นกว่านั้นจากงานวิจัยการจัดสวัสดิการให้นักกีฬาโอลิมปิกของประเทศไทย ที่พบว่า นักกีฬาที่เคยเข้าร่วมโอลิมปิกมากกว่าครึ่งยังคงประกอบอาชีพด้านกีฬา และส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ที่ 20,000 - 25,000 บาท/ เดือนเท่านั้น และแทบทั้งหมดล้วนเรียกร้องสวัสดิการที่ดีขึ้น อย่างน้อยในด้านการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุม, ด้านทุนการศึกษา และด้านการจ้างงาน
.
เมื่อปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น เราจึงลงไปสำรวจว่าชีวิตหลังมหกรรมกีฬาโอลิมปิกของนักกีฬาไทยเป็นอย่างไร ภาครัฐไทยสนับสนุนและดูแลพวกเขาอย่างไรบ้าง ดีเพียงพอไหม หรือเป็นเช่นที่ใครสักคนพูดไว้ว่า.. เสร็จน่าฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล
#โอลิมปิก2024 #สวัสดิการนักกีฬา #ปารีส #SPRiNG #SpringNews
https://www.facebook.com/photo/?fbid=917871097040777&set=a.352652053562687