วันจันทร์, สิงหาคม 05, 2567

ถ้าตุลาการศาลรธน. ตัดสินไม่ยุบ พรรคก้าวไกล เราควรปรบมือให้เค้ามั้ย ?


Thanapol Eawsakul
a day ago
·
7 สิงหา 2567
ความพยายามยุบพรรคการเมืองที่ไร้สาระและไร้จุดมุ่งหมายที่สุด
และจะจบลงที่ตัดสินใจไม่ยุบพรรคก้าวไกล
..........................
(1)
หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมามีพรรคการเมืองที่มีศักยภาพ
ถูกยุบมาแล้ว 6 พรรคประกอบด้วย
2550 พรรคไทยรักไทย
2551 พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย
2562 พรรคไทยรักษาชาติ
2563 พรรคอนาคตใหม่
ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลในทางกฎหมายเช่นไร แต่การยุบพรรคทั้ง 6 พรรคนั้นมีเหตุผลในทางการเมืองเป็นตัวชี้นำทั้งสิ้น
พรรคไทยรักไทยในปี 2550 นั้นไม่มีอะไรมากว่ามันเป็นแผนบันได 4 ขั้นของคณะรัฐประหารที่ หัวหน้าคณะรัฐประหารได้เฉลยเอง
ตามมาด้วการบุบพรรคพลังประชาชนในปี 2551 คือความสืบเนื่องเพื่อปูทางให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลให้ได้
และที่ตลกคือในปี 2551 มีพรรคโดนลูกหลงมาด้วย 2 พรรคคือ พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ในปี 2551 เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การยุบพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
(บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ผู้ล่วงลับได้เก็บความเจ็บแค้นชนชั้นนำที่หักหลังเขาไว้จนวันตาย)
และที่สำคัญกว่านั้นเพื่อให้มีการยุบพรรคพลังประชาชนได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ต้องมีการปิดสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม 2551 เพื่อสร้าง “วิกฤติที่สุดในโลก” ซึ่งเป็นวิกฤติเทียมขึ้นมาอีกด้วย
ผ่านไป 16 ปีความจริงในการยึดสนามบิน เพื่อสร้าง “วิกฤติที่สุดในโลก” ในวันนั้นจึงเปิดเผยคือไม่มีความผิดในทางอาญาของผู้ยึดสนามบินเลย
ส่วนปี 2562 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ นั่นคือการหักหลังทักษิณ ทั้ง ๆ ที่ดีลร่วมกันมาตั้งแต่ต้น เพราะคิดเหิมเกริมจะกินรวบทั้งกระดาน
การยุบพรรคอนาคตใหม่ในปี 2563 นั้นไม่มีอะไรมากกว่าการประเมินความผิดว่ากระแสอนาคตใหม่เป็นเพียงกระแสชั่วคราว และจะหายไปเมื่อมีการยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง
แต่กลายเป็นว่าการยุบพรรคอนาคตใหม่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 คือการเปิดประตูสู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
(2)
ความพยายามที่จุดยุบพรรคก้าวไกลมาทันที่ที่ชนะเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 พร้อม ๆ กับการทำสัญญาปีศาจของชนชั้นนำกับศัตรูเก่าในนามทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย เพื่อหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่เราเห็นพรรคก้าวไกล “เสีย” มาตลอดหลังชัยชนะในการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 คือ
1. MOU ทั้ง 2 ฉบับถูกฉีก
2.ไม่ได้ตำแหน่งประธานรัฐสภา (ที่จะกำหนดเกมในการเลือกนายกรัฐมนตรี)
3.พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรคก้าวไกล ไม่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
4.พรรคก้าวไกลไม่ได้ร่วมรัฐบาล
และที่ตลกร้ายเพื่อให้พรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นแกนนำรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ที่เป็นศัตรูมาร่วม 2 ทศวรรษ กลับ “ได้” ทุกอย่างที่เคยปรารถนา
1.ทักษิณ ชินวัตร ได้กลับบ้าน แบบไม่คิดคุกแม้แต่วันเดียว
2.ทักษิณ ได้กลับมาเป็น “ผู้ช่วยหาเสียง” ให้กับพรรคเพื่อไทยได้แล้ว
3.พรรคเพื่อไทย ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าจะแพ้การเลือกตั้ง และทักษิณคือผู้กำกับรัฐบาลอีกที
สิ่งที่ทุกคนทราบกันดีคือ การที่จะยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิ กรรมการบริหารพรค ซึ่งคนสำคัญคือพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 10 ปี นั้นไม่มีอะไรมากว่าการที่จะหยุดยั้งพรรคก้าวไกล โดยจะให้พรรคเพื่อไทยซึ่งจะมีศักยภาพที่สุดเป็นตัวแทน
ตรรกะง่าย ๆ ของชนชั้นนำคือ เมื่อเห็นว่าศัตรูตัวใหม่ (ก้าวไกล) ร้ายแรงกว่า คุกคามกว่า ก็ไปจับมือกับศัตรูเก่า (เพื่อไทย /ทักษิณ) เสียเลยดีกว่า
(3)
แต่สุดท้ายแล้วการตัดสินใจแบบนั้นก็ไม่ได้อะไรเลย
เมื่อศัตรูเก่า (เพื่อไทย /ทักษิณ) ได้ทุกอย่างแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีปัญหากับเพื่อไทย /ทักษิณ จะเห็นดีเห็นงามด้วย
กลับกันมวลชนที่เคยเป็นพันธมิตรกับชนชั้นนำ ก็จะกลับมาตั้งคำถามจนกลายเป็นศัตรูไปเลย เช่นเดียวกับมวลชนของเพื่อไทย /ทักษิณ
เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วย้ายข้างแล้วพวกเราเหล่านั้นจะไปไหน
ผมไม่สามารถสรุปได้ว่ามวลชนผู้ผิดหวังทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งหมดจะไปไหน
แต่ส่วนหนึ่งจะมาก้าวไกลแน่ ๆ (ไม่ว่าจะชื่อพรรคอะไรก็ตาม)
สิ่งที่จะเกิดขึ้นถ้ามีคำตัดสินยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปีก็คือ
1.พรรคก้าวไกล ที่ชนะลือกตั้งในปี 2566 จะหายไปจากสารบบการเมืองไทย
2.กรรมการบริหารพรรค จะถูกตัดสิทธิ์ 10 ปี หรืออาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น ประอบด้วยคนที่เป็น สส. ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร 6 คนประกอบด้วย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล
ปดิพัทธ์ สันติภาดา กรรมการบริหาร สัดส่วนภาคเหนือ
เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารสัดส่วนภาคตะวันออก
อภิชาต ศิริสุนทร กรรมการบริหารสัดส่วนภาคเหนือ
สุเทพ อู่อ้น กรรมการบริหาร สัดส่วนปีกแรงงาน
จาก สส. 151 คนจากการเลือกตั้ง 2566 ถูกขับออกไป 3 คน ถูกตัดสิทธิ 5 คน (ไม่นับซ้ำปดิพัทธ์ สันติภาดา) พรรคก้าวไกลจะมี สส. 143 คน ยังมากกว่าพรรคเพื่อไทยที่มี สส. 141 คนเสียอีก
3. ถ้ามีงูเห่า ก็ไม่น่าจะเกิน 5 คนเพราะเสียงรัฐบาลเพื่อไทยไม่ได้ปริ่มน้ำเหมือนรัฐบาลพลังประชารัฐปี 2563 อีกแล้ว ขณะที่ งูเห่าปี 2563 ทั้งหมดสอบตก
4. ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรของปดิพัทธ์ สันติภาดา จะหลุดไป จะมีการเลือกตั้งซ่อม พิษณุโลก เขต 1
5. ต่อเนื่องกัน พรรคภูมิใจไทยก็จองเก้าอี้ตัวนี้ไว้แล้ว เมื่อถึงเวลานั้นการตรวจรับอาคารรัฐสภาที่ก่อสร้างโดยบริษัทชิโน ไทยก็จะดำเนินเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วเพราะไม่มีก้างขวางคือแล้ว
แต่สิ่งที่จะดำรงอยู่แบบไม่เปลี่ยนแปลงคือ
1. จะมีสส.138-143 ย้ายไปพรรคใหม่
2. สาขาพรรคที่เคยมีอยู่จะเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนโลโกพรรคใหม่
3. การเลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เขต 1 ปดิพัทธ์ สันติภาดา น่าจะเป็นเวทีแรกที่รวบรวมแกนนำทั้งพรรคอนาคตใหม่ ก้าวไกล และพรรคใหม่ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
4. กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล (ถ้าถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง) ก็เหมือนกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ก็จะมีบทบาทเช่นเดียวกัน เวทีแรกที่คนเหล่านี้จะมีบทบาทเป็นช่วยหาเสียงคือ นายก อบจ.
(4)
เราไม่รู้หรือกว่าเมื่อยุบพรรคก้าวไกลแล้ว พรรคใหม่จะเติบโตเหมือนยุบพรรคอนาคตใหม่แล้วเป็นก้าวไกลหรือไม่
แต่ที่แน่ ๆ การยุบพรรคก้าวไกลคนที่จะได้ประโยชน์มีคนกลุ่มเดียวคือ เพื่อไทย /ทักษิณ ในฐานะคู่แข่งทางการเมือง
(เหมือนกับที่ยุบพรรคเพือไทย และพลังประชาชน คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง)
เมื่อถึงจุดนี้แล้ว ชนชั้นนำก็น่าจะคิดได้ว่าการยุบพรรคก้าวไกล จะไม่เกิดผลดีอะไร กับชนชั้นนำเลย นอกจากจะทำให้ศัตรูเก่าของตัวเองได้ประโยชน์
และเมื่อคิดได้แบบนั้น
การยุบพรรคก็จะไม่เกิดขึ้น