@sunaibkk
·8h
หนึ่งในประเด็นสำคัญของคำวินิจฉัย #ศาลรัฐธรรมนูญ ที่สั่ง #ยุบพรรคก้าวไกล คือ รับรู้ความกังวลของนานาชาติ แต่ไม่แคร์!
.....
สหรัฐฯ-อังกฤษ-อียู แสดงท่าที ศาล รธน.สั่งยุบ ‘ก้าวไกล’ ทำประชาธิปไตยไทยถดถอย
7 สิงหาคม 2567
ประชาไท
สหรัฐฯ-อังกฤษ-อียู แสดงท่าทีต่อศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล สหรัฐชี้คำตัดสินเป็นการบั่นทอนประชาธิปไตยไทย อังกฤษ-อียู บอกทำประชาธิปไตย “ถดถอย”
7 ส.ค.2567 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 11 คน กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป แสดงท่าทีต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว
เว็บไซต์ของสถานทูตสหรัฐอเมริกา ลงคำแถลงของแมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศว่า สหรัฐฯ มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยในวันนี้ ซึ่งมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรค 11 คน
ในแถลงระบุอีกว่า คำตัดสินนี้ลิดรอนสิทธิ์ของชาวไทยกว่า 14 ล้านคนที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 และทำให้เกิดคำถามว่าพวกเขาสามารถเลือกผู้แทนของตนในระบบการเลือกตั้งของไทยได้หรือไม่ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญยังเสี่ยงต่อการบั่นทอนกระบวนการประชาธิปไตยของไทย และขัดกับความปรารถนาของชาวไทยต่ออนาคตที่มั่นคงและเป็นประชาธิปไตย
“การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยทั่วถึงเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม และเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาบันระดับชาติที่เข้มแข็ง สหรัฐฯ ไม่ได้สนับสนุนพรรคการเมืองใด แต่ในฐานะพันธมิตรและมิตรใกล้ชิดที่มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นยาวนาน เราเรียกร้องให้ไทยดำเนินการเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง และเพื่อปกป้องประชาธิปไตย รวมถึงเสรีภาพในการสมาคมและการแสดงออก” แถลงระบุ
ส่วนทางด้านกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร มีการแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยระบุว่า
“พหุนิยมทางการเมืองและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองใหญ่อีกหนึ่งพรรคเป็นการทำให้หลักการนี้เสื่อมถอยลง
สหราชอาณาจักรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดถือสิทธิและการมีตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย”
ประชาไท
สหรัฐฯ-อังกฤษ-อียู แสดงท่าทีต่อศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล สหรัฐชี้คำตัดสินเป็นการบั่นทอนประชาธิปไตยไทย อังกฤษ-อียู บอกทำประชาธิปไตย “ถดถอย”
7 ส.ค.2567 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 11 คน กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป แสดงท่าทีต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว
เว็บไซต์ของสถานทูตสหรัฐอเมริกา ลงคำแถลงของแมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศว่า สหรัฐฯ มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยในวันนี้ ซึ่งมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรค 11 คน
ในแถลงระบุอีกว่า คำตัดสินนี้ลิดรอนสิทธิ์ของชาวไทยกว่า 14 ล้านคนที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 และทำให้เกิดคำถามว่าพวกเขาสามารถเลือกผู้แทนของตนในระบบการเลือกตั้งของไทยได้หรือไม่ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญยังเสี่ยงต่อการบั่นทอนกระบวนการประชาธิปไตยของไทย และขัดกับความปรารถนาของชาวไทยต่ออนาคตที่มั่นคงและเป็นประชาธิปไตย
“การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยทั่วถึงเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม และเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาบันระดับชาติที่เข้มแข็ง สหรัฐฯ ไม่ได้สนับสนุนพรรคการเมืองใด แต่ในฐานะพันธมิตรและมิตรใกล้ชิดที่มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นยาวนาน เราเรียกร้องให้ไทยดำเนินการเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง และเพื่อปกป้องประชาธิปไตย รวมถึงเสรีภาพในการสมาคมและการแสดงออก” แถลงระบุ
ส่วนทางด้านกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร มีการแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยระบุว่า
“พหุนิยมทางการเมืองและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองใหญ่อีกหนึ่งพรรคเป็นการทำให้หลักการนี้เสื่อมถอยลง
สหราชอาณาจักรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดถือสิทธิและการมีตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย”
ส่วนทางด้านรัฐสภายุโรปโพสต์ทางบัญชี X ว่าพรรคก้าวไกลคือพรรคที่ชนะในการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 ระบอบประชาธิปไตยจะไม่สามารถดำเนินไปได้หากขาดความหลากหลายของพรรคการเมือง การจำกัดการรวมตัวอย่างเป็นอิสระและการแสดงออกต้องสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศรวมถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
นอกจากนั้นยังได้โพสต์ภาพแถลงการณ์ที่ระบุว่า การตัดสินยุบพรรคก้าวไกลของศาลรัฐธรรมนูญไทย คือการถดถอยของความหลากหลายทางการเมืองในไทย อีกทั้งยังเน้นย้ำว่า ทางการไทยจะต้องรับรองว่าสมาชิกของรัฐสภาที่ได้รับการเลือกตั้งยังสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนในรัฐสภาและ
🇹🇭 @MFPThailand was the leading party in the 2023 elections. No democratic system can function without a plurality of parties and candidates. Any limitation on the exercise of free association and expression must be consistent with international instruments, including the ICCPR pic.twitter.com/1PuKg4QAFF
— European Parliament in ASEAN (@EPinASEAN) August 7, 2024