วันเสาร์, สิงหาคม 31, 2567

“เลิกเอาของสูงมาปกป้องของต่ำ” วลีเด็ดผุดจากการหาเสียง อบจ.ราชบุรี ของพรรคประชาชน

ควันหลงจากการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.ราชบุรี ของพรรคประชาชน เมื่อ พ่อหมีผุดวลีอันคมคาย “เลิกเอาของสูงมาปกป้องของต่ำ

ชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวในตอนหนึ่ง

“อยู่ดีๆ ก็มีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อเหลือง บอกว่าอาศัยความเป็นพี่น้องชาวราชบุรี เมืองคนดีของพระราชา วันดีคืนดีไม่รู้เมาแดดหรือเมาฝนกัน ลุกขึ้นใส่เสื้อเหลืองรณรงค์กัน นึกว่าหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.

ไม่กล้ายอมรับตรงไปตรงมา อยากจะสร้างกระแสต่อต้านพรรคประชาชน ต่อต้านคุณชัยรัตน์ เบอร์ ๑ ไม่อยากให้ได้เป็นนายก อบจ.

การเมืองแบบนี้เลิกได้แล้วครับ เลิกเอาสถาบัน เอาสิ่งที่ควรจะเคารพ ศูนย์รวมจิตใจ อยู่เหนือการเมือง มาใช้ปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองที่มันน่ารังเกียจ เลิกเอาของสูงมาปกป้องของต่ำ”

https://x.com/talkingpen88/status/1829679323944812596 

เลือกตั้ง อบจ.ราชบุรีไม่มีดิจิตอล ไม่ต้องวอลเล็ต มีแต่ “สดๆ เป็นแบ๊งค์ร้อย ๒ ใบ ๔ ใบ” เขาแจกกันแล้ว

ฟังนะ เลือกตั้ง อบจ.ราชบุรี ไม่มีดิจิตอล ไม่ต้องวอลเล็ต มีแต่ “สดๆ เป็นแบ๊งค์ร้อย ๒ ใบ ๔ ใบ” วิโรจน์ ลักขณาอดิสร ส.ส.พรรคประชาชนขึ้นปราศรัยหาเสียงสนับสนุนชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ เล่าว่า “หลังบ้าน หลังไมค์ ไลน์มาบอกผม

ว่าคุณวิโรจน์ครับเขาแจกกันแล้ว ไอ้เราก็พาซื่อบอกว่าตอนนี้เปลี่ยนนายกฯ ดิจิตอลวอลเล็ตยังไม่แจก สายรายงานบอกแจกแบบนี้ไม่มีดิจิตอล แจกสดๆ เป็นแบ๊งค์ร้อย ๒ ใบ ๔ ใบ ผมก็เลยบอกว่าแล้วทำไมไม่เอาใบม่วงใบเดียวเลย

ให้มันได้ห้าร้อยกันไปเลย สายรายงานบอกว่าไม่ได้ ถ้าแจกห้าร้อยพวกมันเหมือนด่าตัวเอง ก็เลยจบที่สี่ร้อย ห้าร้อยแจกแล้วละอายใจ ผมไลน์ไปถามกลับว่า แล้วจะเลือกคนแจกมั้ย คำตอบคือไม่เลือก แล้วผมก็ถามต่อ แล้วรับดีไม่ดี ดี”

แต่เมื่อบ่ายวานนี้ (๓๐ สิงหา) ประธาน กกต.ตอบหน้าตาย “ขณะนี้มีแต่ข่าว ยังไม่มีข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำผิดเช่นนั้น” แถไถไปเรื่อง กกต.จัดเตรียมบุคคลากรประจำหน่วยเลือกตั้งไว้แล้วพร้อมสรรพ ๑,๑๔๙ หน่วย รวม ๘,๐๔๓ คน

กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือชื่อย่อ กปน.เหล่านี้ ได้รับการอบรมมาแล้วอย่างดี แต่นักข่าวก็ถามเรื่องสำคัญกว่า กรณีมีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง เต็มไปด้วยเครือญาติของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อิทธิพร บุญประคอง ตอบอีกอย่างชื่นมื่น

ว่า “ทางปฏิบัติที่ผ่านมา เราให้บุคคลที่เป็นที่รู้จักและยอมรับของพื้นที่ ซึ่งแน่นอนว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นส่วนหนึ่งในนั้นด้วย ที่ผ่านมาเราให้บุคคลเหล่านั้นเป็น กปน.มาโดยตลอด” ครั้นมีการร้องเรียนอย่างนั้น กกต.ก็ออกมาตรการแต่งตั้ง กปน.

“ไม่ควรตั้งบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้สมัคร ส่วนบุคคลที่เป็นญาติกันเราไม่ได้มีข้อกฎหมายห้ามเช่นนั้น และที่ผ่านมาไม่มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีประเด็นปัญหาสำหรับการแต่งตั้งบุคคลที่เป็นเครือญาติกัน”

แล้วเรื่องใบละร้อย สองใบสี่ใบล่ะ ทั่นประธานมีคำตอบให้บ้างไหม

(https://www.matichon.co.th/politics/news_4764800 และ https://x.com/talkingpen88/status/1829497012590706778)

 

กรณีคนเสื้อแดง ช่างแม่มัน ก็ได้เหรอ ?

https://www.facebook.com/ThePoliticsByMatichon/videos/843152934680356

The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
6 hours ago
·
ลืมอดีตก้าวข้ามความขัดแย้ง?

ลืมอดีตก้าวข้ามความขัดแย้ง? แมว ประกิต กอบกิจวัฒนา ยอมรับโกรธรัฐบาลเพื่อไทยไม่ยอมทำความจริงกรณีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงให้กระจ่าง ทั้งที่มีอำนาจเต็มมือในช่วงที่ผ่านมา
.....

“เราต้องเดินหน้าต่อค่ะวันนี้ ถ้าเราจะมีอะไรกันเรื่องการเมืองต่อไป มันก็เป็นการถ่วงหลังประเทศเอาไว้ การฟ้องร้องคดีต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ มากมาย มันไม่ได้จำเป็นสำหรับการบริหารประเทศ”#แพทองธารขินวัต
.....


.....


Punsak Srithep
a day ago
·
นั่นน่ะสิ นั่นน่ะสิ
.....



Somyot Pruksakasemsuk
a day ago
·
ชะตากรรมซ้ำรอยตีนนายกรัฐมนตรีเพื่อไทย
ปี 2551 สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผม หมอเหวงและวิภู แกนนำ นปช. มีโอกาสไปพบที่บ้านพักเสนอให้รัฐบาลนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ทันที สมัครบอกว่า ต้องแก้ไขเศรษฐกิจก่อน แก้ไขรัฐธรรมนูญขอไปปีที่ 4 แต่สมัครอยู่ 8 เดือนก็ต้องกระเด็นออกจากตำแหน่ง
ปี 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แกนนำนปช.โดยหมอเหวง และอ.ธิดา เสนอรัฐบาลให้รับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่าประเทศ (ICC) เพื่อสอบสวนการสังหารหมู่คนเสื้อแดง แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ทำ อ้างแก้ไขไม่แก้แค้น ถัดมาไม่กี่เดือนก็โดนรัฐประหาร
ปี 2566 เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี กลุ่มราษฎรเสนอให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง112และแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ทำอ้างเหตุต้องแก้ไขปัญหาปากท้องก่อน แต่แล้วเศรษฐาก็ต้องเด้งออกไปอย่างง่ายดาย
ปี 2567 แพทองธาร ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี กำลังเดินเข้าสู่เส้นทางแบบเดียวกันหากไม่ปกป้องเสรีภาพราษฎรก่อนอื่นใด ลำพังการสมคบคิดกับอนุรักษ์นิยมมีหรือจะรอดพ้นจากเงื้อมมืออำมหิตของกลุ่มอนุรักษ์นิยมไปได้



“ชัยธวัช” จัดหนัก! ช่วยหาเสียง อบจ.ราชบุรี บอก อะไรไม่เคยเห็นก็ได้เห็น ทั้งสลับขั้วมั่วซั่ว-นักโทษเทวดา-สลิ่มเสื้อเหลืองเสื้อแดงน้ำตาตก-จัดตั้งรัฐบาลทีนึง เคาะชามดังกว่าให้ข้าวหมาที่บ้านอีก


 



นายชัยธวัชกล่าวปราศรัยความตอนหนึ่งว่า ในการเลือกตั้งในปี’66 เราบอกว่ากาก้าวไกลประเทศไทยไม่เหมือนเดิม แม้ชนะการเลือกตั้ง อันดับหนึ่ง 14 ล้านเสียงแล้ว แม้ว่าจะยังส่งนายพิธาเป็นนายกฯคนที่ 31 ไม่ได้ แต่ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมจริงๆ สิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปและเปลี่ยนไปตลอดกาล คือผลการเลือกตั้ง ที่พี่น้องประชาชนมอบให้เรา สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับประเทศไทย ภูมิทัศน์และเพดานความเชื่อเปลี่ยนไปตลอดกาล เพราะเหตุการณ์ที่ผ่านมาการเมืองแบบไทยๆ ไม่มีใครเชื่อว่าก้าวไกลจะชนะ การที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้เป็นไปได้แล้ว และจะเป็นตลอดไป อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้าประชาชนต้องการ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหวนกลับไปได้อีกแล้ว

หลายคนแซวติดตลกว่าอะไรที่ไม่เคยคิดจะได้เห็นก็ได้เห็น สลับขั้วไปมามั่วซั่ว นักโทษเทวดาไม่เคยเห็นก็ได้เห็น เป็นยังไงเดี๋ยวไปถามท่านเสรีพิศุทธ์ เพราะเคยขึ้นไปชั้น 14 คนน้ำตาตกในซิกๆ ทั้งที่เคยเป็นสลิ่มเสื้อเหลืองเสื้อแดงเจ็บใจกันหมด แล้วมันก็ไปรวมกันหมด เหตุผลที่แท้จริงเขาก็อาย แต่เพราะมันจำเป็น เพราะเขารู้สึกว่าการเมืองแบบเก่ากลุ่มผลประโยชน์แบบเก่าที่เค้าเคยแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ กำลังถูกคุกคาม และถูกท้าทายด้วยการเมืองแบบใหม่ของประชาชน สู้กันของการเมืองกับประชาชนและการเมืองที่ไม่เห็นหัวประชาชน พยายามทุกวิถีทางรวมหัวกันก็แล้ว

สุดท้ายพรรคก้าวไกลก็ถูกยัดข้อหาร้ายแรงว่าพวกเราล้มล้างการปกครอง แต่ตนสาบานได้ว่าเราอยากสร้างการเมืองที่เห็นหัวประชาชน เดินหน้าไปด้วยกันอย่างสมดุลและยั่งยืน

ที่มา มติชนออนไลน์

(https://www.matichon.co.th/politics/news_4765573)


รำลึกถึงบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย 30 สิงหาคม #วันผู้สูญหายสากล

.....




10/06/2567
 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

วันที่ 10 มิ.ย. 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีการจัดงานแถลงข่าวและมอบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการบังคับสูญหายบุคคลที่พำนักอาศัยในประเทศเพื่อนบ้านให้ สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ผู้แทนของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

เวลา 13.00 น. ที่ห้องเสวนาชั้น 6 ครอบครัวของผู้ถูกบังคับสูญหาย, ตัวแทนจากองค์กรสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม, ตัวแทนจากสถานทูต, นักวิชาการ และตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ เดินทางมาเข้าร่วมการแถลงข่าวในวันนี้

ผู้ลี้ภัยทางการเมืองใน สปป.ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งถูกบังคับให้สูญหายและเสียชีวิตไประหว่างปี 2560 – 2564 จำนวน 9 ราย ตามรายงานฉบับดังกล่าว ได้แก่ อิทธิพล สุขแป้น, วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชัชชาญ บุปผาวัลย์ (เสียชีวิต), ไกรเดช ลือเลิศ (เสียชีวิต), ชูชีพ ชีวะสุทธิ์, กฤษณะ ทัพไทย, สยาม ธีรวุฒิ และ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

ก่อนหน้านี้เว็บไซต์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ 22/2567 จากข้อร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการบังคับสูญหายบุคคลที่พำนักอาศัยในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขอลี้ภัยทางการเมืองทั้ง 9 ราย ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีความเห็นว่ากรณีนี้น่าเชื่อว่าเป็นการบังคับบุคคลให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศคุ้มครองบุคคลจากการถูกบังคับสูญหาย และยังเห็นว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการอย่างเพียงพอในการติดตามตัวผู้กระทำผิด ดำเนินการให้ทราบชะตากรรมของผู้ถูกบังคับสูญหาย และเยียวยาครอบครัว ถือเป็นการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

รายงานฉบับดังกล่าวลงวันที่ 20 ก.พ. 2567 ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือร้องเรียนนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ผ่านกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ 23 ส.ค. 2564 ในประเด็นที่ผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ถูกบังคับสูญหาย 9 ราย ซึ่งต่อมาพบเป็นศพ 3 ราย (และศพได้หายไป 1 ราย) อยู่ในสภาพถูกทำร้ายอย่างทารุณ แต่ไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวนและติดตามหาตัวผู้กระทำผิด

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาการดำเนินงานของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาการบังคับให้สูญหาย และเสียชีวิตของคนไทยที่พำนักในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขอลี้ภัยทางการเมือง เป็นผู้ตรวจสอบด้วยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
.

รายงานวิเคราะห์ข้อเท็จจริงผู้สูญหาย – ผลกระทบต่อญาติ – การดำเนินการของหน่วยงานรัฐ

รายงานการตรวจสอบได้ไล่เรียงข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยสรุป ไล่ตั้งแต่บริบททางการเมืองหลังรัฐประหาร 2557 ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีการออกคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว และผู้ที่ฝ่าฝืนจะถือเป็นความผิด โดยมีรายชื่อของบุคคลทั้ง 9 อยู่ในคำสั่งฉบับต่าง ๆ จากนั้นได้ไล่เรียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลที่สูญหาย ทั้งในเชิงประวัติการทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวทางการเมือง และเหตุการณ์ที่พบว่าสูญหายไป หรือพบเป็นศพ รวมทั้งการร้องเรียนของญาติต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังเกิดเหตุ โดยรายงานที่เผยแพร่ได้เซนเซอร์ที่เป็นชื่อบุคคลต่าง ๆ ไว้

ในส่วนถัดมา รายงานยังได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อญาติหรือครอบครัวของผู้สูญหายหรือเสียชีวิตดังกล่าว ทั้งด้านความมั่นคงในชีวิต ด้านจิตใจ และด้านเศรษฐกิจ โดยระบุว่าญาติผู้สูญหายบางรายก็ถึงกับถอดใจ ไม่ดำเนินการติดตามคดีต่อ เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และการคุ้มครองความปลอดภัยของพลเมืองไทย ทั้งยังปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐเดินทางมาพบญาติหรือครอบครัวอยู่เป็นระยะ สร้างความกดดันและหวาดระแวงต่อญาติและครอบครัวมาโดยตลอด

นอกจากนั้นยังมีผลกระทบด้านจิตใจ ทำให้ญาติบางกรณีถึงกับล้มป่วย บางคนก็ยังมีความคาดหวังว่าผู้สูญหายอาจยังมีชีวิต และจะปรากฏตัวเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ส่วนผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่าการชดเชยเยียวยาความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ยังไม่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ญาติและครอบครัวไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา

ในส่วนถัดมา รายงานระบุถึงการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยปัญหาสำคัญที่หน่วยงานรัฐระบุกับ กสม. คือเหตุการณ์การบังคับสูญหายและเสียชีวิตเกิดขึ้นในต่างประเทศ ทำให้การสืบสวนภายใต้กฎหมายไทยไม่สามารถทำได้เต็มที่ กระทรวงการต่างประเทศจึงเป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยกับหน่วยงานต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลข้อเท็จจริงก็ไม่เพียงพอที่จะระบุผู้กระทำผิด แม้แต่กรณีลักพาตัวในกัมพูชา แม้จะมีภาพถ่ายผู้ต้องสงสัยและมีพยานบุคคลเห็นเหตุการณ์ แต่ทั้งหน่วยงานของไทยและกัมพูชาก็ยังไม่สามารถระบุตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างเฉพาะเจาะจง
.

กสม. สรุปความเห็นน่าเชื่อว่าเป็นการบังคับสูญหายโดยรัฐ รูปแบบที่เกิดขึ้นยากที่เอกชนจะทำได้

ในส่วนถัดมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้สรุปความเห็นและข้อพิจารณาจากข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยในเรื่องประเด็นว่าการหายตัวไปของบุคคลทั้งเก้า เป็นกรณีถูกบังคับให้สูญหายหรือไม่นั้น

กสม. พิจารณาเห็นว่า แม้กรณีทั้งหมดจะยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานชัดแจ้งว่าผู้ลงมือก่อเหตุเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของบุคคลทั้งเก้า ทั้งก่อนและหลังเดินทางออกจากประเทศไทย ขณะที่พำนักในประเทศเพื่อนบ้านก็ยังมีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในเชิงลบต่อรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

รวมถึงเมื่อพิจารณารูปแบบในการจับกุมหรือลักพาตัวบุคคลทั้ง 9 ราย พบว่ามีรูปแบบเดียวกัน มีการดำเนินการอย่างรัดกุม และไม่ปรากฏพยานหลักฐาน ลักษณะการดำเนินการเช่นนี้ยากที่เอกชนจะกระทำได้ เว้นแต่จะเป็นองค์กรเครือข่ายอาชญากรรม ซึ่งจากข้อมูลไม่ปรากฏว่าผู้สูญหายมีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งกับองค์กรเช่นว่านั้น ประกอบกับที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐในประเทศไทยพยายามติดตามตัวบุคคลดังกล่าวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากเมื่อปี 2558 มีการสั่งการผ่านคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ที่สำนักนายกรัฐมตรีแต่งตั้งขึ้น ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดในการนำตัวมาดำเนินคดีให้ได้ จึงน่าเชื่อได้ว่าการสูญหายหรือเสียชีวิตของบุคคลตามคำร้อง เชื่อมโยงกับการแสดงความคิดเห็นและการถูกออกหมายจับในเรื่องข้างต้น และอาจเป็นชนวนให้เกิดการบังคับสูญหายและเสียชีวิตต่อบุคคลทั้ง 9 รายได้

หลังปรากฏข้อมูลว่าทั้ง 9 สูญหายหรือเสียชีวิต รัฐบาลของประเทศที่บุคคลดังกล่าวเข้าไปพำนึก รวมถึงรัฐบาลไทย ต่างปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสูญหายและเสียชีวิตดังกล่าว และมิได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างรวดเร็วและเพียงพอ เพื่อให้ทราบชะตากรรมของบุคคลที่สูญหาย หรือนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย

กสม. ยังอ้างอิงถึงหนังสือของคณะผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ รวม 7 หน่วยงาน ที่มีถึงรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 ให้ความเห็นในประเด็นการบังคับสูญหายนักกิจกรรมทางการเมืองและผู้เห็นต่างจากรัฐบาล ที่ลี้ภัยในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมถึงนักกิจกรรมชาวไทย 6 คน ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญฯ เห็นว่าเป็นรูปแบบการบังคับให้สูญหายในลักษณะที่มีการใช้กำลังบังคับโดยมีวัตถุประสงค์ต่อเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์สิน ผู้กระทำมีความเชี่ยวชาญซึ่งถูกฝึกฝนมาโดยเฉพาะ มีการวางแผนทำงานแบบแบ่งหน้าที่กันทำเป็นขบวนการและไม่ทิ้งร่องรอยเพื่อให้สืบสวนถึงตัวการ โดยผู้สูญหายมีจุดเกาะเกี่ยวที่เชื่อมโยงกัน คือเป็นกลุ่มที่มีความเห็นต่างกับฝ่ายรัฐบาล ทำให้เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของบุคคลเหล่านั้น รูปแบบการบังคับสูญหายยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลในประเทศแถบภูมิภาคนี้ โดยมีการประสานงาน การช่วยเหลือกันระหว่างรัฐ หรือการยอมให้มีการลักพาตัวเหนือพรมแดนของตน

จากข้อมูลทั้งหมด กสม. จึงสรุปความเห็นว่าการหายตัวไปของบุคคลทั้ง 9 ราย และต่อมาพบศพ 2 รายนั้น น่าเชื่อได้ว่ามีแนวโน้มเป็นการบังคับบุคคลให้สูญหายตามความหมายที่ระบุไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และผลของการบังคับให้สูญหายนี้ กระทบต่อสาระสำคัญของสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคลทั้ง 9 ราย ตามที่รัฐธรรมนูญไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้รับรองและคุ้มครองไว้ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
.

กสม. เห็นว่าหน่วยงานรัฐละเลยการติดตามหาตัวผู้กระทำผิด – การชดเชยเยียวยาญาติ

ในสองประเด็นถัดมา กสม. พิจารณาในเรื่องว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการสืบสวนสอบสวนและติดตามหาตัวผู้กระทำความผิด รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้ทราบชะตากรรมของบุคคลที่ถูกบังคับสูญหาย และการชดเชยเยียวยาต่อญาติของผู้ถูกบังคับสูญหาย หรือไม่

กสม. พบว่ากรณีผู้ถูกบังคับสูญหายทั้ง 9 ราย มีเพียง 5 รายที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สืบสวนสอบสวน เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสูญหายและเสียชีวิต แต่ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ได้แก้ ข้อมูลข้อเท็จจริงไม่มากเพียงพอที่จะชี้ว่าใครเป็นผู้ลงมือ, การกระทำผิดเกิดขึ้นในต่างประเทศ, ผู้สูญหายเป็นผู้ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ทำให้รัฐบาลประเทศที่ไปพำนักปฏิเสธไม่รับรู้การเดินทางเข้าออกประเทศของบุคคลเหล่านี้ ทั้งขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเฉพาะ

แต่ทาง กสม. เห็นว่าแม้สถานที่เกิดเหตุจะอยู่นอกราชอาณาจักร แต่หน่วยงานรัฐย่อมสามารถใช้กลไกประสานความร่วมมือกับประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และความคืบหน้าในการสืบสวนจนทราบชะตากรรมของบุคคลที่สูญหายได้ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการประสานความร่วมมือดังกล่าว ความล่าช้า และการไร้คำตอบหรือความคืบหน้าของการดำเนินการที่ชัดเจนจากหน่วยงานของรัฐ ทำให้เห็นว่ากฎหมายหรือมาตรการของรัฐในการสืบสวนสอบสวน รวมถึงสนธิสัญญาหรือความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับกรณีเหตุบังคับสูญหายในประเทศเพื่อนบ้าน ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ญาติและครอบครัวรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทบต่อสิทธิในการรู้ความจริง (right to know the truth) ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ถูกบังคับใช้สูญหาย

ในส่วนการชดเชยเยียวยาญาติผู้ถูกบังคับสูญหาย กสม. พบว่ามีเพียงกรณีของผู้ลี้ภัยที่ถูกพบศพที่จังหวัดนครพนมเท่านั้น ที่ได้รับการเยียวยาด้านการเงิน ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ พ.ศ. 2544 โดยมีญาติของผู้ถูกบังคับสูญหายรายอื่นได้ยื่นคำร้องเพื่อขอรับการเยียวยาเช่นกัน แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ มีมติยกคำขอเนื่องจากไม่ปรากฏชัดว่าบุคคลดังกล่าวเสียชีวิต หรืออาจจะมีอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจหรือไม่ ส่วนการชดเชยเยียวยาด้านอื่นตามมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ก็ไม่ปรากฏว่าหน่วยงานรัฐได้ดำเนินการเช่นว่านั้นด้วย

กสม. ยังระบุว่าแม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จะกำหนดให้ช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย ทั้งด้านการเงินและจิตใจ รวมทั้งฟื้นฟูระยะยาวทางการแพทย์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้ ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย ทำให้ญาติของผู้เสียหายตามคำร้องนี้ ยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยาดังกล่าว

กสม. จึงสรุปความเห็นว่า หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเด็นการสืบสวนสอบสวนและติดตามหาตัวผู้กระทำความผิด ดำเนินการเพื่อให้ทราบชะตากรรมของบุคคลที่ถูกบังคับสูญหาย รวมทั้งมีการละเลยการกระทำหรือมีการดำเนินการที่ล่าช้าเกินสมควร ส่งผลกระทบต่อสิทธิของญาตผู้ถูกบังคับสูญหายที่จะได้รับการชดเชยเยียวยาจากรัฐ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

รวมทั้ง กสม. เห็นควรให้เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งในส่วนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย และคณะรัฐมนตรี
.

ดูรายละเอียดข้อเสนอแนะทั้งหมดของ กสม. ได้ในรายงานฉบับเต็ม
ดูถ่ายทอดสดการแถลงข่าวย้อนหลังได้ในเฟซบุ๊ก The Reporters


ความลี้ลับชั้น 14 ที่จะหลอกหลอนการเมืองไทยไปอีกนาน!


ความลี้ลับชั้น 14 ที่จะหลอกหลอนการเมืองไทยไปอีกนาน!: Suthichai live 30-8-67.mp4

Streamed live 9 hours ago 
การเมืองไทย

https://www.youtube.com/watch?v=iKTTCPNTiao


เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีนอยู่ห่างจากไทยแค่ไหน เหตุใดการระบายน้ำจากเขื่อนจีนจึงกระทบกับไทยจนทำให้น้ำท่วม

https://www.facebook.com/BBCnewsThai/videos/786527603414857

อ่านเพิ่มเติม https://www.bbc.com/thai/articles/cvg51d3v7d3o
อำนาจเหนือแม่น้ำโขงในมือจีน-ลาว ทำไทยน้ำท่วมหนักขึ้นอย่างไร


แหล่งข้อมูลของไบโอไทยยืนยันว่าบ่อพักน้ำคือแหล่งสะสมของปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นปฐมบทการระบาดของปลาหมอคางดำที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2554

BIOTHAI

แหล่งข้อมูลของไบโอไทยยืนยันว่าบ่อพักน้ำคือแหล่งสะสมของปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นปฐมบทการระบาดของปลาหมอคางดำที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2554
กรมประมงพบปลาหมอคางดำ 10 ตัว จากการทอดแห "บ่อพักน้ำ" ที่ฟาร์มยี่สารของซีพีเอฟในปี 2560
ข้อมูลของชาวบ้านที่ อ.แกลง ระยอง ที่ระบุว่ามีการใช้ปลาหมอคางดำเพื่อจัดการมูลกุ้ง และต่อมาสะสมกลายเป็นฝูงขนาดใหญ่ในนากุ้งที่ปล่อยทิ้งร้าง ก่อนถูกปลดปล่อยไปสู่ชายฝั่ง
หลักฐานที่่ชาวบ้านพบปลาหมอคางดำถูกปล่อยมาจากลำคลองพร้อมน้ำเสียใกล้ฟาร์มของบริษัทใหญ่ที่บางแก้ว เพชรบุรี จนส่งผลกระทบต่อการการเลี้ยงปูม้าและประมงชายฝั่ง
การระบาดของปลาหมอคางดำที่หัว-ไทรปากพนัง ก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือมาจากการระบายจากบ่อน้ำเสีย ไหลไปสู่ลำคลองต่างๆ แพร่ระบาดไปถึง จ.พัทลุง และสงขลา รวมทั้งไปสะสมในบ่อบำบัดน้ำเสียที่ทิ้งร้างในพื้นที่ดังกล่าว
ไม่น่าแปลกใจที่บ่อน้ำเสีย นากุ้งทิ้งร้าง หรือบ่อบำบัดน้ำเสีย จะกลายเป็นแหล่งรวบรวมฝูงปลาหมอคางดำ เพราะด้วยคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมนี้ เอื้ออำนวยให้ปลาหมอคางดำสามารถขยายพันธุ์รุกรานและครอบครองแหล่งน้ำทั้งหมดเหนือปลาชนิดอื่นๆในระบบนิเวศดังกล่าว

(https://www.facebook.com/biothai.net/posts/929318702574877?ref=embed_post)


ไทยกำลังอยู่ใน “ทศวรรษที่สูญหายทางเศรษฐกิจ” ตามรอยญี่ปุ่น “ไปถามคนในประเทศไทยว่ารู้สึกว่าเศรษฐกิจแย่ไหม... แย่ เพราะฉะนั้นกลับมาตอบคำถามว่าเศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ ผมคิดว่าไม่ดี และก็ไม่ดีไปอีกนาน”


โรงงานในไทยทยอยปิดกิจการ ลดกำลังการผลิต แรงงานคนเล็กคนน้อยตกงานหลายหมื่นชีวิตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นักธุรกิจคนดังออกมาบอกว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจในไทยในช่วง 1-2 ปี ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อ Work Hard to Survive

มาจนถึงการส่งเสียงจากคนระดับ “นายทุน” ของประเทศอย่างภาคเอกชน 3 สถาบัน ที่ออกมาแถลงภาพใหญ่ของเศรษฐกิจไทยว่ายังเปราะบาง เสี่ยงขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพ จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง แม้ว่าท่องเที่ยวจะทยอยกลับมาฟื้นตัวแล้วก็ตาม

จากชะตากรรมของคนทำงานในโรงงานชนชั้นกลางถึงระดับล่าง สะท้อนมายังภาพใหญ่ในระดับประเทศ เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในสถานการณ์แบบไหน และมองไปข้างหน้าเรากำลังจะเผชิญกับอะไร ในภาวะที่ผู้คนตามท้องถนนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เศรษฐกิจแย่ ทำมาหากินลำบาก และมูลค่าเงินในกระเป๋าลดลงเรื่อย ๆ

บีบีซีไทย สนทนากับ ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ดร.แบ๊งค์ งามอรุณโชติ ผอ.สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อฉายภาพให้เห็นสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทย และฉากอนาคตอันใกล้ของภาคการผลิต

ไทยกำลังอยู่ใน “ทศวรรษที่สูญหายทางเศรษฐกิจ” ตามรอยญี่ปุ่น

ดร.สมประวิณ ฉายภาพให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ไทยกำลังเจออยู่ตอนนี้ หากตั้งคำถามง่าย ๆ ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ “Lost decade” หรือ “ทศวรรษที่สูญหายทางเศรษฐกิจ” อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นเผชิญมาเป็นเวลา 30 ปีหรือไม่ ดร.สมประวิณ กล่าวว่า “ข่าวดีคือ เราไม่ได้กำลังจะเข้า ข่าวร้ายคือ เราอยู่ในนั้นแล้ว”

ผู้วางกลยุทธ์ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ อธิบายว่า นับตั้งแต่หลังจากสถานการณ์ระบาดของโควิดเป็นต้นมา ตัวชี้วัดหลายตัวของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี 2001 เมื่อนำไปทาบกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วง 1980 พบว่า หลายตัวชี้วัดตั้งแต่การเจริญเติบโตที่ชะลอตัว, อัตราการบริโภคต่ำ และสถานะทางการเงินของครัวเรือนย่ำแย่ เทียบได้กับที่ญี่ปุ่นในช่วงนั้นทุกตัวชี้วัด

“ไปถามคนในประเทศไทยว่ารู้สึกว่าเศรษฐกิจแย่ไหม... แย่ และความรู้สึกว่าเศรษฐกิจมันแย่ แปลว่าทุกคนอยู่ในโหมด ไม่ลงทุน ไม่ใช้จ่าย เพราะฉะนั้นกลับมาตอบคำถามว่าเศรษฐกิจไทยดีหรือไม่ ผมคิดว่าไม่ดี และก็ไม่ดีไปอีกนาน”

อ่านต่อที่ https://www.bbc.com/thai/articles/cp8n9872ej5o





 

ดูแปลกๆ ขนเรือเปล่าให้คนนั่งในเรือที่จอดไว้เฉยๆ เพื่อรอพบทักษิณ




Somsak Jeamteerasakul
a day ago
·
ไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องจัดฉากกันเช่นนี้ด้วย?
ทักษิณใส่รองเท้าบูทกันน้ำ เลือกที่มีน้ำเล็กน้อย (ซึ่งที่จริงใส่รองเท้าธรรมดาก็ได้) แล้วเอาคนกลุ่มใหญ่มานั่งในเรือที่จอดไว้เฉยๆ (ทุกคนสามารถลุกขึ้นยืนไม่ต้องอาศัยเรือแต่อย่างใด) ทักษิณทำหน้าเป็นห่วง?
เฮ้อ!



Somsak Jeamteerasakul
10 hours ago
·
ดูเบื้องหลังขนเรือเปล่ามาเพื่อให้คนนั่ง"หนีน้ำ" ยิ่งสมเพชใหญ่


คุณกอแก้วไม่น่าลืมข่าวนี้นะ - 'เพื่อไทย' เกียร์ถอย ถอนร่าง กม.ฟื้นคดีสลายแดง


ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
16 ก.พ. 2567

ในที่สุดพรรคเพื่อไทยก็ต้องใส่เกียร์ถอย ภายหลังนายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ประกาศถอนร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ออกจากระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์

โดยนายชูศักดิ์ ยอมรับว่าเหตุผลที่ตัดสินใจเช่นนี้ เป็นเพราะมีองค์กรอิสระไม่เห็นด้วย

องค์กรอิสระนายชูศักดิ์อ้างถึงนั้น คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องใช้กฎหมายดังกล่าวโดยตรง แต่ยิ่งไปกว่านั้นแม้แต่ศาลยุติธรรมเองก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน โดยต่างมองเห็นตรงกันว่า ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับอาจกระทบต่อหลักการสำคัญอย่างรุนแรง

รายงานการรับฟังความคิดเห็นของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ปรากฎว่าป.ป.ช.และศาลยุติธรรม ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นที่ร่างกฎหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้เสีย

หายสามารถยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้โดยตรง

ในประเด็นนี้ ศาลยุติธรรม ระบุว่า "หากปล่อยให้ประชาชนทั่วไปมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าวได้เองย่อมก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดี หรืออาจมีกรณีที่ฟ้องร้องโดยมีเจตนาเพื่อกลั่นแกล้งหรือไม่สุจริต ทำให้มีคดีความขึ้นสู่การพิจารณาของศาลโดยไม่จำเป็น

ดังนั้น กฎหมายจึงต้องกำหนดให้เฉพาะหน่วยงานหรือผู้มีอำนาจรัฐ ได้แก่ อัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เท่านั้น ทำหน้าที่กลั่นกรองตรวจสอบ หรือเรียกข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อทราบข้อเท็จจริงและฟ้องร้องคดีแทนรัฐและประชาชนซึ่งถือเป็นผู้เสียหาย”

ขณะที่ คณะกรรมการป.ป.ช. มีความเห็นในทำนองเดียวกันว่า "หากกำหนดให้สิทธิแก่ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีดังกล่าวได้เอง ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลมากกว่าบุคคลทั่วไปอาจดำเนินคดีอันเป็นความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหายในลักษณะสมยอมได้ เป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหายและไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวได้อีก เนื่องจากเป็นการดำเนินคดีซ้ำและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ"

มองเหตุผลในทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทยกล้าที่จะเสนอเรื่องนี้และแถมยังให้กฎหมายมีผลย้อนหลังด้วย เป็นเพราะส่วนหนึ่งได้แรงสนับสนุนเล็ก ๆจากพรรคก้าวไกล ซึ่งต่างต้องการให้เกิดรื้อฟื้นคดีการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงผ่านการเปิดทางให้มวลชนเสื้อแดงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ จากเดิมที่เมื่อปี 2561 คณะกรรมการป.ป.ช.เคยลงมติไม่รื้อฟื้นคดีดังกล่าวไปแล้ว จนเป็นผลให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก รอดพ้นจากทุกข้อกล่าวหา

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นความพยายามของพรรคเพื่อไทยในการดึงมวลชนแดงกลับมา หลังจากต้องเสียรังวัดไปจากการกลืนน้ำลายมาร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่สนับสนุนคสช. ด้านพรรคก้าวไกลเองก็ไม่อาจที่ปฏิเสธวาระนี้ทิ้งไปได้เช่นกัน เพราะทั้งด้อมส้มและด้อมแดงต่างมีอุดมการณ์ที่ทับซ้อนกันอยู่

อย่างไรก็ตาม การจะผลักดันร่างกฎหมายทั้งสองฉบับให้ผ่านสภาไปได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องใช้เสียงมากถึง 350 เสียง อีกทั้งท่าทีของส.ว.ต่อเรื่องนี้ก็ไม่เห็นด้วยพอสมควร หรือ แม้แต่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ก็ยังสองจิตสองใจว่าจะตัดสินใจต่อเรื่องนี้อย่างไรดี เพราะไม่อยากเผชิญหน้ากับศาลและองค์กรอิสระ ประกอบกับ มีความเป็นไปได้ที่ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับอาจต้องชี้ขาดกันที่ศาลรัฐธรรมนูญ

ที่สุดแล้วพรรคเพื่อไทยเองก็คงคาดไม่ถึงว่าจะเจอกับกระแสต้านขนาดนี้ และยังไม่กล้าประเมินพลังทางการเมืองส.ว.ต่ำไป ดังนั้น การถอนเรื่องออกมาก่อนน่าจะทำให้คลื่นลมสงบ เพื่อไม่ให้กระทบการต้อนรับนายใหญ่กลับบ้านในเร็วๆ นี้

(https://mgronline.com/crime/detail/9670000014326)


มติชน เคลียร์คัท พาย้อนอดีตไปดูที่มาที่ไป ของคดีเลือด 99 ศพคนเสื้อแดง ที่ถูกสังหารหมู่อย่างอำมหิตกลางกรุงเมื่อปี 2553 มีจุดเริ่มต้นอย่างไร


Matichon Online - มติชนออนไลน์
9 hours ago
·
ย้อนคดีเลือด99ศพ ปราบม็อบแดงกลางกรุง : ตอนที่ 1
.
กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที เมื่อพรรคเพื่่อไทย ประกาศมติกรรมการบริหารพรรค ให้ส่งเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์ เข้ามาร่วมรัฐบาลนายกฯแพทองธาร 1 หลังจากที่มีมติเขี่ยพรรคพลังประชารัฐ ออกจากพรรคร่วม ไม่ใยดี 39 เสียง ที่ยกมือโหวตให้กับน.ส.แพทองธาร ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นมากมาย ซึ่ง 1 ในนั้นก็คือท่าที่ที่ทวงถามถึงความยุติธรรมของคนเสื้อแดง ที่ต้องสละชีวิตไปในการชุมนุมทางการเมือง เมื่อปี 2553
.
แม้แกนนำพรรคเพื่อไทย ส.ส. ทั้งที่เคย และไม่เคยเป็นนปช. จะออกมา ประสานเสียงว่าคนเสื้อแดงเข้าใจ และพร้อมจะปล่อยผ่านความขัดแย้งที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้เสียงเรียกร้อง และการทวงถามความยุติธรรมที่เกิดขึ้นลดน้อยลง
.
วันนี้ มติชน เคลียร์คัท จะพาย้อนอดีตไปดูที่มาที่ไป ของคดีเลือด 99 ศพคนเสื้อแดง ที่ถูกสังหารหมู่อย่างอำมหิตกลางกรุงเมื่อปี 2553มีจุดเริ่มต้นอย่างไร
.
#มติชนClearCut EP:21 #มติชนออนไลน์

https://www.facebook.com/MatichonOnline/videos/1023853016194964



 

เพจพรรคประชาธิปัตย์โดนถล่มหนัก ต้านไม่ไหว ปิดคอมเมนต์แล้ว หลังโดนแฟนคลับรุมค้านร่วมรบ.เพื่อไทย


ที่มา มติชนออนไลน์

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มีมติเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไปเมื่อคืนวันที่ 29 ส.ค. ทำให้เพจเฟซบุ๊กของพรรคประชาธิปัตย์ที่ปรากฏภาพและข้อความ “พรรคประชาธิปัตย์มีมติเข้าร่วมรัฐบาล” และ “เดชอิศม์ ขอบคุณ กก.บห.-ส.ส.เข้าร่วมรัฐบาล ทำให้สามารถผลักดันนโยบายพรรคได้อย่างเต็มที่” มีแฟนคลับเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

อาทิ ผลจากการกระทำตระบัดสัตย์ต่อประชาชนในครั้งนี้จะมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จะแพ้อย่างแน่นอนแบบ 100%, เลือกตั้งคราวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จะสูญพันธุ์, พอกันทีสำหรับพรรคนี้เลือกมาตั้งแต่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกและเลือกมาตลอด ผิดหวัง, รอบหน้ารอมติประชาชน, ผิดหวังที่อุดมการณ์หายไป

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก พรรคประชาธิปัตย์ ปิดห้ามแสดงความติดเห็นแล้ว หลังจากที่มีกลุ่มแฟนคลับพรรครุมแสดงความคิดเห็นไม่พอใจเกี่ยวกับการ่วมรัฐบาล ซึ่งขณะนี้สามารถ กดไลค์ แชร์ ได้อย่างเดียว


อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4765776


พรรคประชาชน : "คุณเบื่อกับการเมืองแบบเดิมๆ หรือไม่? ถ้าคุณเชื่อว่าการเมืองดีกว่านี้ได้ อย่าพลาดปราศรัยใหญ่ อบจ.ราชบุรี!” 1 กันยา กาเบอร์ 1 ราชบุรีต้องดีกว่าเดิม🧡

.....


พรรคประชาชน - People's Party
1 hour ago
·
[ คำตอบสุดท้าย 1 กันยากาเบอร์ 1 ราชบุรีต้องดีกว่าเดิม ]
.
เดินทางมาถึงช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนที่พรุ่งนี้ วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน จะเป็นวันเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี วันที่ประชาชนจะได้ร่วมแสดงพลังเปลี่ยนอนาคตของเมืองราชบุรี เลือก ชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ ผู้สมัครนายก อบจ.ราชบุรี เบอร์ 1 ของพรรคประชาชนให้ถล่มทลาย
.
เมื่อวานนี้ (30 ส.ค.) ที่ตลาดสราญยามเย็น ริมน้ำแม่กลอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พรรคประชาชนได้เปิดเวทีปราศรัยใหญ่ รวมแกนนำและผู้ช่วยหาเสียงมาพบปะพี่น้องประชาชนในช่วงโค้งสุดท้าย โดยมีประชาชนทั้งชาวราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาร่วมรับฟังอย่างคึกคักริมฝั่งแม่กลอง
.
แกนนำและผู้ช่วยหาเสียงทุกคนย้ำว่า วันอาทิตย์นี้คือหมุดหมายสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงราชบุรีให้ดีกว่าเดิม ด้วยการทำการเมืองที่ยึดโยงอยู่กับประชาชน ด้วยการนำเสนอนโยบายที่ออกแบบมาอย่างเข้าถึงและเข้าใจคนทุกภาคส่วนของสังคม และ ‘หวุน-ชัยรัตน์’ คือคำตอบสุดท้ายที่เหมาะสมจะเข้ามารับภารกิจขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้
.
1 กันยากาเบอร์ 1 ราชบุรีต้องดีกว่าเดิม
.
#พรรคประชาชน #อบจราชบุรี #หวุนชัยรัตน์ #ราชบุรีต้องดีกว่าเดิม
.
--------
(ผลิตโดย นายชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ ที่อยู่ 104 หมู่ที่ 8 ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150 จำนวน 1 ชิ้น ตามวันเวลาที่ปรากฏบนโพสต์)
...


[ เร่งผลักดัน 3 นโยบายสำคัญ: ยกระดับ รพ.สต. / ยกระดับการศึกษา / น้ำประปาใสไหลแรง 24 ชั่วโมง ]
.
ชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี เบอร์ 1 พรรคประชาชน กล่าวว่า ตนเป็นคนธรรมดาเช่นเดียวกับประชาชนทุกคน เข้าใจชีวิตของพี่น้องที่ต้องดิ้นรนในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ โดยต้องขอโทษชาวราชบุรีด้วยความจริงใจ ที่การสื่อสารของตนก่อนหน้านี้ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนด้อยค่าสิ่งต่างๆ ในราชบุรีโดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ขอยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น ลูกหลานของตนก็เรียนที่ราชบุรี
.
โดย 3 นโยบายสำคัญที่ต้องการนำเสนอคือ ยกระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยกระดับการศึกษา และน้ำประปาใสไหลแรง 24 ชั่วโมง หลายคนถามว่า อบจ. จะทำได้หรือ มีเงินพอหรือ จึงต้องบอกว่างบการลงทุนก่อสร้างในแต่ละปีของ อบจ.ราชบุรี มี 300 ล้านบาท ตนขอ 120 ล้านบาทให้นโยบายละ 40 ล้านบาท ภายใน 4 ปี จะพัฒนาคุณภาพชีวิตเหล่านี้ให้ได้เกิน 60% ของจังหวัดราชบุรีแน่นอน
.
อำนาจอยู่ในมือประชาชนแล้ว 1 กันยายนกาเบอร์ 1 เปลี่ยนแปลงราชบุรีให้ไม่เหมือนเดิม
...


[ เลือก ‘ชัยรัตน์’ ราชบุรีเปลี่ยนทันที: เปลี่ยนปัญหาเป็นโอกาส / เปลี่ยนวิถีการเมืองที่เสนอนโยบายเพื่อประชาชน / เปลี่ยนความสัมพันธ์ให้ประชาชนใหญ่กว่านักการเมือง ]
.
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า โจทย์หลักของพรรคประชาชนคือการสร้างการเมืองแห่งความเปลี่ยนแปลง การเมืองที่นำเสนอนโยบาย ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นจากการเมืองท้องถิ่น โดยวันนี้ตนมี 2 ภารกิจสำหรับคน 2 กลุ่มที่ต้องการสื่อสาร กลุ่มแรกคือชาวราชบุรีที่ยังลังเล คนที่อาจไม่เคยกาอนาคตใหม่-ก้าวไกล ทำไม 1 กันยาท่านต้องกาเบอร์ 1 และคนอีกกลุ่มคือคนที่เลือกอนาคตใหม่-ก้าวไกลมาตลอด แต่เรายังมีภารกิจร่วมกันที่จะเชิญชวนบอกต่อให้ชาวราชบุรีออกมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงกาเบอร์หนึ่งให้ถล่มทลาย
.
คนกลุ่มแรกที่ยังลังเล ตนขอยืนยันว่าพวกเราอนาคตใหม่-ก้าวไกล มาถึงพรรคประชาชน ทำการเมืองด้วยความตั้งใจเดียว คืออยากให้การเมืองดีขึ้น หลุดออกจากการเมืองแบบเดิมๆ ความแตกต่างของการเมืองแบบเดิมกับการเมืองแบบที่เราอยากทำ มี 3 อย่างหรือ 3 เปลี่ยน
.
(1) เปลี่ยนปัญหาที่หมักหมมในราชบุรีให้เป็นโอกาสของประชาชน เช่น นโยบายขนส่งสาธารณะ รถเมล์พลังงานสะอาดทั่วถึงทุกอำเภอ นักเรียนขึ้นฟรี นอกจากแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตประชาชนแล้ว ยังส่งต่อสู่การพัฒนาประเทศได้ด้วย
.
(2) เปลี่ยนวิถีการเมืองแบบเดิมๆ เป็นวิถีการเมืองแบบที่เราอยากทำ แบบเดิมคือพี่น้องเลือกคนหน้าคุ้นจากบ้านใหญ่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องถามว่าตั้งแต่ท่านเกิดมาจนถึงวันนี้ ท่านเคยเห็นนักการเมืองท้องถิ่นคนไหนเอาจริงเอาจังกับการเสนอนโยบายเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของทุกท่านดีขึ้นหรือไม่ แต่คุณหวุน ชัยรัตน์เป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่ตั้งใจนำเสนอนโยบาย ตนเชื่อว่าการทำงานของเราไม่ว่าในระดับสภาฯ หรือระดับท้องถิ่น ได้สะสมองค์ความรู้อย่างเพียงพอ พร้อมทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงราชบุรีให้ดีขึ้น
.
และ (3) เปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับนักการเมือง โดยราชบุรีจะเป็นสนามแรก ตั้งแต่ตนเป็น สส.เขต พี่น้องประชาชนมักจะบอกว่าถ้า สส.ได้รับเลือกตั้งแล้ว ต้องกลับมาหาประชาชนด้วย เพราะที่ผ่านมาหลังเลือกตั้งแล้วหายหัวเลย นั่นคือความสัมพันธ์แบบเก่าระหว่างประชาชนกับนักการเมือง แต่สิ่งที่พรรคประชาชนอยากนำเสนอ คือไม่ว่าก่อนหรือหลังเลือกตั้ง ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
.
ราชบุรีเป็นสนามแรกที่พรรคประชาชนส่งผู้สมัครนายก อบจ. เราต้องการให้ที่นี่เป็นหมุดหมายในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น สำหรับพี่น้องชาวราชบุรีที่การเลือกตั้งที่ผ่านมา ท่านอาจยังลังเล เคยกาหนึ่งใบให้ก้าวไกล ตนเชื่อว่าทั้ง 3 เปลี่ยนที่นำได้เสนอไป ไม่ว่าคนกลุ่มไหน เรามีจุดยืนร่วมกันว่าอยากให้ราชบุรีดีขึ้น
.
ตอนที่ตนหาเสียง บางคนถามว่าเลือกไปแล้วจะได้หรือเปล่า จะโดนเตะสกัดอีกหรือไม่ จึงต้องย้ำว่าสนามนี้ต่างออกไป ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญมาเอานายก อบจ.ออกจากตำแหน่ง การเลือกตั้งนี้มีแค่ 2 เบอร์ ไม่มีใครมาฉีก MOU ให้เราตั้งรัฐบาลไม่ได้ สนามนี้ไม่มีใบเหลืองแน่นอน หมดข้อกังวลแล้ว กาเบอร์ไหนได้เบอร์นั้น
.
ถ้าท่านอยากเปลี่ยนความสัมพันธ์ให้ประชาชนใหญ่กว่านักการเมือง ต้องช่วยกันบอกต่อสิ่งสำคัญคือการให้ชาวราชบุรีกลับบ้านมาเลือกตั้ง กลับมากาเบอร์หนึ่งให้ถล่มทลาย ถ้าพรรคประชาชนชนะการเลือกตั้งในราชบุรี ทุกนโยบายที่เราหาเสียงจะทำได้ประสบความสำเร็จ คุณภาพชีวิตชาวราชบุรีดีขึ้นแน่นอน
...


[ หมดเวลาการเมืองแบบอุปถัมภ์-ตักตวงผลประโยชน์ ถึงเวลาการเมือง “ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” ]
.
ชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน กล่าวว่า ในการเลือกตั้งปี 2566 อดีตพรรคก้าวไกลหาเสียงบอกทุกคนว่า “กาก้าวไกล ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม” ซึ่งประชาชนก็ได้มอบความไว้วางใจให้กับพรรคก้าวไกลจนชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนน 14 ล้านเสียง ซึ่งถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถเป็นรัฐบาลได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เหมือนเดิมแล้วจริงๆ ที่เปลี่ยนไปตลอดกาลคือภูมิทัศน์ความคิดและเพดานความเชื่อของสังคมไทย ที่ไม่เคยเชื่อและหวังว่าการเมืองแบบก้าวไกลจะสามารถชนะการเลือกตั้งได้ แต่ด้วยพลังของประชาชน เราได้ทำลายเพดานความเชื่อเหล่านั้นไปแล้ว จากนี้ประชาชนเชื่อหมดแล้วว่าอำนาจของประชาชนมีความหมายสูงสุด ถ้าประชาชนสามัคคีรวมกันอะไรก็เกิดขึ้นได้
.
อีกเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิมจริงๆ ก็คือการจัดตั้งรัฐบาล ที่ฝ่ายซึ่งเคยทะเลาะกันมายาวนาน อ้างประชาชนมามากมาย สุดท้ายก็แค่แย่งชามข้าวกันแค่นั้น แล้วก็ไปรวมหัวกันหมด เพราะการเมืองกลุ่มผลประโยชน์แบบเก่าที่แบ่งกันกินกันใช้ ผลัดกันขึ้นมาเสวยสุข กำลังถูกคุกคามท้าทายจากการเมืองแบบใหม่ของประชาชน พวกเขาอาย แต่จำเป็นต้องทำ
.
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือการปะทะกันระหว่างการเมืองของประชาชน กับการเมืองที่ไม่เห็นหัวของประชาชน จนสุดท้ายพรรคก้าวไกลก็ถูกยัดข้อหาร้ายแรงว่าล้มล้างการปกครอง แต่เราไม่เคยมีความคิดแบบนั้น เราแค่อยากสร้างการเมืองที่เห็นหัวประชาชน ไม่ต่างจากในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรีที่มีการสร้างกระแสต่อต้านพรรคประชาชนโดยนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาอ้าง ซึ่งตนขอบอกว่าควรเลิกได้แล้ว เลิกนำสถาบันที่ควรเป็นที่เคารพอยู่เหนือการเมืองมาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองโดยไม่เห็นหัวประชาชน ไม่เป็นประโยชน์และน่าอาย
.
วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567 จะเป็นหมุดหมายสำคัญอีกครั้ง ไม่ใช่แค่สำหรับชาวราชบุรีที่มาใช้อำนาจตัดสินว่าใครจะเป็นนายก อบจ. แต่ยังมีความหมายกับเมืองไทยในภาพรวม เป็นหมุดหมายที่การเปลี่ยนแปลงการเมืองระดับชาติกำลังจะหยั่งรากลึกลงสู่ท้องถิ่น ถ้าชาวราชบุรีรวมพลังกันมากพอ ให้ความไว้วางใจพรรคประชาชน ราชบุรีต้องดีกว่าเดิม แต่ต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่ง่าย การเมืองท้องถิ่นเปลี่ยนยาก หลายเรื่องฝังราก แต่ตนไม่เชื่อว่าเปลี่ยนไม่ได้ ถ้าประชาชนมัดกันแน่นพอ แล้วชวนชาวราชบุรีทุกคนกลับมาให้หมด ถ้าออกมาใช้สิทธิ์เกิน 75% ราชบุรีดีกว่าเดิมแน่นอน
.
ชัยธวัชกล่าวทิ้งท้ายว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้เดิมทีจะมีคนลงแข่งกันถึง 3-4 เบอร์ แต่สุดท้ายแล้วทุกบ้านใหญ่มารวมกันหมด เหตุผลที่ตนได้ยินมีการพูดกัน คือถ้าพรรคประชาชนมา “พวกเราจะซวยกันหมด” จึงต้องมัดกันให้แน่นเหลือคนเดียว รวมพลังเพื่อต่อต้านความเปลี่ยนแปลง แต่ตนยืนยันว่าถ้าพรรคประชาชนได้มาบริหารราชบุรีจะมีแต่หอมกลิ่นความเจริญ ประชาชนอย่างเราไม่มีใครซวย มีแต่เครือข่ายนักการเมืองเดิมๆ ที่สร้างระบบอุปถัมภ์แบ่งกันกินกันใช้ หาผลประโยชน์แบบไม่เกรงใจประชาชนต่างหากที่จะซวย แต่สำหรับประชาชนและราชบุรี จะมีแต่ความเจริญเท่านั้น!
...


[ ไม่ใช่ความเพ้อฝัน แต่มีประสบการณ์ทำได้จริง: ราชบุรีดีกว่าเดิมได้ ขอแค่กล้าคิด และลงมือเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน ]
.
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน กล่าวว่า ครั้งล่าสุดที่ตนมีโอกาสได้มาพบปะประชาชนชาวราชบุรี สิ่งที่ได้พบคือในราชบุรียังมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งหน้าแล้งที่ผ่านมาไม่มีน้ำประปาใช้ถึง 6 เดือน ได้ไปเห็น รพ.สต.ที่ไม่มีระบบน้ำประปาใช้ อบต.ต้องเอารถน้ำมาให้ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ต้องมาแกว่งสารส้มเอง แทนที่จะมีเวลาไปดูแลผู้ป่วย นี่คือความเจ็บปวดทุกข์ยากของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาตนไม่ได้เห็นเรื่องราวแบบนี้แค่ที่ราชบุรี แต่เห็นมาทั้งประเทศไทย แล้วพอเราบอกว่าประเทศของเราไม่ควรเป็นอย่างนี้ กลับมีคนกลุ่มหนึ่งบอกว่าพวกเราสุดโต่ง ทั้งที่สิ่งที่พวกเรานำเสนอให้กับสังคมไม่ใช่ความสุดโต่ง แต่คือความเจริญก้าวหน้า
.
ตนอยากบอกทุกคนว่า นี่คือเวลาของการกล้าจินตนาการว่าเราอยากเห็นจังหวัดของเราเป็นแบบไหน สิ่งที่เราอยากทำให้ทุกคนไม่ใช่สิ่งที่เกินเลย คณะก้าวหน้าได้มีโอกาสทำงานการเมืองท้องถิ่นในระดับเทศบาลและ อบต. ได้ใช้เวลาสะสมประสบการณ์ทำงานจริงและทำให้เห็นแล้วว่าเราทำเป็น มีความมุ่งมั่นตั้งใจและความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาประเทศนี้ เราได้ทำทั้งระบบผลิตน้ำประปาดื่มได้ใน 3 พื้นที่ พัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล จัดการการแยกขยะเปลี่ยนเป็นกองทุนสวัสดิการ ทำการท่องเที่ยวชุมชน และอื่นๆ สิ่งที่เราพูดกันเรื่องนโยบายพัฒนาราชบุรีไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน แต่เป็นเรื่องที่เราทำจริงมาแล้ว และเราต้องการส่งมอบโครงการเหล่านั้นให้คนราชบุรี
.
ธนาธรเล่าให้ฟังว่าตนเกิดและเติบโตที่กรุงเทพฯ เดินออกจากบ้านก็มีรถเมล์ มีรถไฟฟ้า มีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนดีๆ อยู่เต็มไปหมด เปิดน้ำประปาเมื่อไหร่ก็ไหลใสสะอาด แต่นี่คือสิ่งที่หลายพื้นที่ในประเทศนี้ไม่มี เราเลือกเกิดไม่ได้ก็จริง แต่ในสังคมนี้ไม่ว่าทุกคนเกิดที่ไหนก็ควรเข้าถึงบริการสาธารณะที่ดีเหมือนกันได้ทั้งประเทศ
.
นี่คือความต้องการของเรา และนี่คือสิ่งที่เราจะทำ ถ้าเราทำระบบขนส่งสาธารณะที่ดีได้ เชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ราชการเข้าหากันด้วยระบบคมนาคมสาธารณะได้ ต้นทุนชีวิตของชาวราชบุรีจะน้อยลง เข้าถึงโอกาสในชีวิตได้ง่ายขึ้น แค่เรื่องเดียวก็สามารถทำให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ได้มหาศาล พ่อค้ารายเล็กรายน้อยมีช่องทางทำมาหากิน เราอยากสร้าง รพ.สต.ที่มีคุณภาพมากกว่านี้ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลศูนย์ เราอยากสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพ ที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถส่งลูกเข้าเรียนใกล้บ้านได้
.
เราอยากสร้างสิ่งที่ดีเหล่านี้ให้ทุกพื้นที่ในราชบุรี อนาคตอยู่ในมือทุกคน เลือกเองว่าอยากได้อนาคตแบบไหน วันนี้ไปหาเสียงที่ตลาด ประชาชนหลายคนเดินมาคุยอย่างหวาดกลัวว่าถ้ามาถ่ายรูปกับธนาธรแล้วกลับไปอาจจะถูกกดดัน มาบอกตนว่าเริ่มมีการแจกเงินกันแล้ว เราไม่อยากให้ทุกคนอยู่กับการเมืองแห่งความกลัว เราอยากให้ทุกคนอยู่กับการเมืองแห่งความหวัง ส่งต่อสังคมที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป เราไม่อยากให้ทุกคนหวาดกลัวผู้มีอำนาจ แต่เราต้องการให้ผู้มีอำนาจหวาดกลัวประชาชน เราไม่มีอิทธิพล ไม่ซื้อเสียง เรามีแต่นายของเราคือประชาชน เหลือเวลาอีก 2 วัน อนาคตราชบุรีจะเป็นอย่างไรอยู่ที่เราทุกคน
...

[ FINAL CALL: ‘ชัยรัตน์’ คือคำตอบสุดท้าย ไม่ต้องลังเลอีกต่อไปแล้ว ]
.
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน กล่าวว่า เวทีนี้คือประกาศครั้งสุดท้าย (FINAL CALL) ถึงชาวราชบุรีที่ยังมาไม่ถึง ขอให้เดินทางกลับบ้านด่วน ให้ทุกคนได้กลับมารู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน
.
ตนเพิ่งเดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกา ด้วยระยะทางกว่า 13,000 กิโลเมตร เพื่อมาบอกพี่น้องชาวราชบุรีด้วยประโยคเดียวว่า “ชัยรัตน์คือคำตอบสุดท้าย” อย่างแน่นอน นี่คือเวลาตัดสินใจแล้ว ไม่ต้องลังเลอีกต่อไป เพราะชัยรัตน์มีทั้งความชัดเจนและความพร้อม ชัดเจนทั้งในความเป็นอนาคตใหม่ ก้าวไกล และประชาชน ชัดเจนในความขยันหมั่นเพียร ตื่นเช้าหาเสียงจนถึงเย็นไปมาทุกที่ทุกอำเภอ ชัดเจนว่าคือคนที่จะสู้เพื่อคนราชบุรี เป็นคนตัวเล็กที่ไม่ต่างจากทุกคนที่ต้องต่อสู้ตั้งแต่เด็กจนโต ตั้งแต่เป็นเกษตรกร ผู้รับเหมา ทำกิจการโรงแรม ผ่านวิกฤตมากับประชาชนทุกคน
.
ชัยรัตน์ยังมีความพร้อมในการทำงานกับ สส.และบุคลากรของพรรคประชาชน ทั้งในกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทำงานเพื่อสิทธิชาติพันธุ์กับ สส.ชาติพันธุ์ของพรรคประชาชน พร้อมแก้ปัญหาการศึกษากับปีกการศึกษาของพรรคประชาชน พร้อมทำงานกับอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในการนำความสำเร็จที่เคยทำมาแล้วในท้องถิ่นหลายแห่ง
.
ในเมื่อชัยรัตน์มีทั้งความชัดเจนและความพร้อมเช่นนี้ ถ้าชาวราชบุรีตัดสินใจได้แล้วก็เหลืออยู่ไม่กี่อย่าง เย็นนี้กลับไปที่บ้านตรวจสอบสิทธิและข้อมูลคูหาเลือกตั้ง วางแผนเดินทางไปเลือกตั้ง แล้ววันอาทิตย์ที่ 1 กันยายนไปกาเบอร์ 1 ให้ถล่มทลาย ปักธงสีส้มที่นี่ แล้ววันที่ 2 กันยายนมาฉลองด้วยกันในวันที่ช้างล้มแล้วส้มชนะ เมื่อถึงเวลานั้นองคาพยพของพรรคประชาชนจะมาอยู่เคียงข้างกับชาวราชบุรี เปลี่ยนราชบุรี เปลี่ยนประเทศไทย และเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน

(https://www.facebook.com/PPLEThai/posts/122108718704480817?ref=embed_post)


วันศุกร์, สิงหาคม 30, 2567

เพราะเพื่อไทยข้ามขั้วสองชั้น เชิญ ปชป.ร่วมรัฐบาล แผลที่ยังไม่ตกสะเก็ดของการสลายเสื้อแดงปี ๕๓ จึงถูกเปิดออกมาใหม่

เพราะการข้ามขั้วสองชั้นของพรรคเพื่อไทย ล่าสุดก็คือการเชิญพรรคประชาธิปัตย์ ๒๑ เสียงเข้าร่วมรัฐบาล แม้นว่าการตัดพลังประชารัฐออกจะไม่ทำให้เสียงของรัฐบาลน้อยเกินไป แต่ทำให้นายหัวชวนกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมาเหมือนป๊าเสรีแล้ว

ยังเป็นการสะกิดแผลคนเสื้อแดงที่เจ็บและตายในการชุมนุมปี ๕๓ ซึ่งยังไม่แห้งดี กลับเปิดออกมาใหม่เลือดซิบๆ ดูได้จากปฏิกิริยาของคนสำคัญในขบวนการ ๒ ราย คือ พวงทอง ภวัครพันธุ์ กับ ธิดา (ถาวรเศรษฐ์) โตจิราการ

รายแรกเป็นนักวิชาการผู้รวบรวมข้อเท็จจริงในการสลายชุมนุมทั้ง ตุลา ๑๙ และเมษา-พฤษภา ๕๓ ไว้อย่างละเอียด รายหลังเป็นอดีตประธาน นปช.ซึ่งกล่าวได้ว่ายังเป็นแกนนำคนเสื้อแดง ที่ไม่ได้กลายเป็น คนรักทักษิณ มากกว่าสีเสื้อ

@PuangthongPa เขียนบนทวิตเตอร์เมื่อวันก่อนว่า “ได้ฟังคุณก่อแก้ว (พิกุลทอง) อดีตแกนนำ นปช.ออกรายการกรรมกรข่าวฯ คู่กับคุณทัศนีย์ บูรณปกรณ์ ยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยจะเดินหน้าเรียกร้องความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงที่เสียชีวิตในปี ๕๓ ต่อไป”

เธอบอก “จะหลอกกันไปถึงไหนคะ” ในเมื่อพรรคเพื่อไทยมิใช่หรือที่ถอนร่าง พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ นปช.โดยคุณณัฐวุฒิ (ใสยเกื้อ) เป็นโต้โผผลักดัน...ออกจากสภาตั้งแต่ ก.พ.๖๗ และจนป่านนี้ก็ไม่เห็นสัญญานว่าจะทำเรื่องนี้ต่อ”

อจ.พวงทองให้ความเห็นต่อการถอนนั้นว่า ไม่ใช่เพราะเพื่อไทยเกรงใจ ปชป. แต่เพราะว่าเกรงกลัวกองทัพต่างหาก “เพราะเวลามีการไต่สวนเรื่องนี้ในศาล ก็จะต้องพาดพิงถึงกองทัพตลอด เช่น กระสุนมาจากทิศทางที่ทหารตั้งอยู่ คนตายไม่มีอาวุธ” เป็นต้น

ส่วน อจ.ธิดา ให้ความเห็นกับ กายพงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ ในรายการ ไทยรัฐนิวส์รูมในตอนท้ายของการสนทนา ต่อคำถาม “รัฐบาลแพทองธารจะอยู่ได้นานขนาดไหน” ว่า “ครั้งนี้เป็นเดิมพันที่น่าหวาดเสียวมาก แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยตัดสินใจแบบนี้ก็อย่าประมาท”

เพราะว่าฝั่งอำมาตย์และจารีต –นี่พูดอย่างแบบหวังดีนะ- เขาเหี้ยมโหดนะ อำมหิตนะ และเขาไม่ได้รักพวกคุณนะ และเขาไม่ได้เป็นเอกภาพนะ และเขาไม่ได้สนใจว่าคุณมีบิ๊กดีลหรือไม่มีบิ๊กดีล” พวกนี้ “เขาเกลียดพวกคุณมากนะ

ดังนั้นถ้าไม่อยู่ในมือเขาจริงๆ เนี่ย คนที่เกลียดกลัวต้องหาวิธี คือคุณมีช่องว่างตรงไหน มันจะมีดาบเสียบตรงนั้นหมด” อีกตอนเธอว่า “พรรคเพื่อไทยจะเรียกเสียงฝ่ายประชาธิปไตยมาได้ก็คือ เขาต้องเข้ามาสู่การแก้ไขทางการเมือง

เช่น ร่วมมือในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และก็ร่วมมือในปัญหาของนิรโทษกรรม แก้กฎหมายต่างๆ ที่มันไม่เป็นธรรม ต้องพยายามสร้างความยุติธรรมที่มันใกล้ลักษณะสากล ให้ได้” การตั้งจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธานกรรมาธิการยกเลิกคำสั่ง คสช. เข้าข่ายไหม

ไม่เท่านั้น “คำสั่ง คสช.เหมือนท่อนซุงที่ไหลมาตามน้ำแล้วมาติดอยู่ที่ฝาย บางท่อนหยิบออกมาจากน้ำได้เลย บางท่อนไปอุดอยู่ที่ฝาย ถ้าเอาออกมาจะมีรอยรั่ว” จาตุรนต์เปรยถึงภาระของกรรมการ ต้องป้องกันผลกระทบที่จะตามมาด้วย

นับประสาอะไรกับการจะนำเอาผู้ที่รับผิดชอบในการสั่งสลายการชุมนุมปี ๕๓ มาเข้าสู่การพิจารณาคดีเพื่อลงโทษ พรรคเพื่อไทยจะทำได้หรือ ในเมื่อขณะนี้ได้กลายเป็นแกนนำของฝ่ายอนุรักษ์นิยมไปเสียแล้ว ดังที่ อจ.ธิดาได้ให้ความเห็น

(https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/V19sCBwYs, https://x.com/PuangthongPa/status/1829022017695465731 และ https://www.youtube.com/live/sKfE38O0xSE) 

คุณจะมูฟออนได้ไง เมื่อ หนึ่งในเหตุการณ์ทางการเมืองที่สร้างบาดแผลร้าวลึก คือความตายของผู้ชุมนุมช่วงพฤษภาคม 2553 กระทั่งถึงวันนี้ กระบวนการยุติธรรมเพื่อนำคนผิดมาลงโทษก็ยังไม่เห็นปลายทางว่าคืบหน้าหรือจะจบลงอย่างไร

https://www.facebook.com/somsakjeam/videos/1877131822768379
.....


The Isaan Record
a day ago
·
หนึ่งในเหตุการณ์ทางการเมืองที่สร้างบาดแผลร้าวลึก คือความตายของผู้ชุมนุมช่วงพฤษภาคม 2553 กระทั่งถึงวันนี้ กระบวนการยุติธรรมเพื่อนำคนผิดมาลงโทษก็ยังไม่เห็นปลายทางว่าคืบหน้าหรือจะจบลงอย่างไร
ลมหายใจของพวกเขา เหมือนกับพวกเรา เลือดของพวกเขา เป็นสีเดียวกันกับสีเสื้อ ห่ากระสุนของปี 53 ทำให้หลายครอบครัวได้รับผลกระทบชนิดที่ไม่อาจฟื้นคืนด้วยการเยียวยา ท่ามกลางความยินดีปรีดาของบางผู้คนอย่างชัดเจน สิ่งที่ผู้สูญเสียรอคอยกลับพร่าเลือน
The Isaan Record ชวนย้อนกลับไปอ่านซีรีส์ชุด "1 ทศวรรษ พฤษภาฯ เลือดปี 53" กับความเศร้าที่ลืมไม่ได้จำไม่ลงของประวัติศาสตร์การเมืองไทย https://tinyurl.com/mfeu22ez
---
สนับสนุน The Isaan Record เพียงกดลิงค์นี้และบริจาค https://www.zfer.me/theisaanrecord
#ประชาธิปัตย์ #เพื่อไทย #เสื้อแดง #เหตุการณ์ปี53


Hate Speech : หยกโดนหนักที่สุด ทั้งที่มีอายุน้อยที่สุด สะท้อนลักษณะสังคม ที่นิยมการกดขี่ผู้อ่อนแอที่สุด


  • hate speech ที่พบมากที่สุดคือ การโจมตีบุคลิกลักษณะ 197 ชิ้น ซึ่งเป็นการโจมตีลักษณะทางกายภาพไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา
  • บุคคลที่ถูกคอมเมนต์โจมตีด้วย hate speech ประเภทบุคลิกลักษณะมากที่สุดโดยสัดส่วน คือโพสต์ที่คาบเกี่ยวระหว่าง หยก-ธนลภย์ ผลัญชัย, บุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม และ ทิชา ณ นคร
.....

ภัควดี วีระภาสพงษ์
15 hours ago
·
หยกโดนหนักที่สุด ทั้งที่การมีอายุน้อยที่สุดควรเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่น่าจะยกเว้นการบุลลี่ แต่กลับกลายเป็นเธอโดนหนักที่สุด สะท้อนลักษณะสังคมที่นิยมการกดขี่ผู้อ่อนแอที่สุด


Rocket Media Lab
16 hours ago
·
Hate Speech ที่พบเป็นอันดับสอง คือ การโจมตีอุดมการณ์ทางการเมือง
.
ประเภทของ hate speech ที่พบมากรองจากการโจมตีบุคลิกลักษณะ คือ การโจมตีอุดมการณ์ทางการเมือง 149 ครั้ง เช่น พวกลัทธิคอมมูนิส, ผลผลิตของพรรคส้ม, คิดร้ายต่อสถาบัน มันคือกบฎ ฯลฯ โดยบุคคลที่ถูกคอมเมนต์โจมตีมากที่สุดของ hate speech ประเภทนี้โดยสัดส่วนคือ ป้อง ณวัฒน์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโพสต์ที่พูดถึงป้อง ณวัฒน์ มีเพียง 1 โพสต์ จึงจะพิจารณาที่ลำดับถัดไป ได้แก่ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย จำนวน 13 จาก 16 โพสต์ ตามด้วย เฌอเอม 7 จาก 10 โพสต์ และ โพสต์ที่คาบเกี่ยวระหว่างหยก-ธนลภย์ ผลัญชัยและบุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม 38 จาก 65 โพสต์ ตามด้วย อานนท์ นำภา 18 จาก 34 โพสต์ นอกจากนี้ พบว่า แพรรี่-ไพรวัลย์ วรรณบุตร ไม่ถูกโจมตีด้วย hate speech ประเภทอุดมการณ์ทางการเมืองเลย อันเนื่องมาจากประเด็นความเคลื่อนไหวของแพรรี่-ไพรวัลย์ วรรณบุตร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองโดยตรง ส่วนมากมักจะเป็นเรื่องพุทธศาสนาและสิทธิมนุษยชน
.
อย่างไรก็ตาม การที่การศึกษาครั้งนี้พบ hate speech ประเภทอุดมการณ์ทางการเมืองมากเป็นอันดับสอง อาจเป็นเพราะว่าบุคคลที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นผู้ที่สื่อสารประเด็นสาธารณะ ทั้งนักกิจกรรม องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และนักแสดง และประเด็นที่ก่อให้เกิดโพสต์เนื้อหาต่างๆ ส่วนมากก็เป็นประเด็นทางการเมือง ถึงอย่างนั้น ก็มีความน่าสนใจอยู่ว่า การโจมตีด้วยประเด็นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง กลายมาเป็น hate speech ก็เพราะเป็นการทำให้คนเป็นอื่นด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองที่ขัดกับอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งการใช้ถ้อยคำ hate speech ในโซเชียลมีเดีย อาจนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้ ดังที่เคยมีตัวอย่างมาแล้วในอดีต
.
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://rocketmedialab.co/hate-speech/

* Rocket Media Lab เก็บข้อมูลจากความเห็นท้ายโพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่สื่อสารประเด็นสาธารณะ ทั้งนักกิจกรรม องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และนักแสดง 10 คน ใน Facebook และ TikTok จากเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงปี 2566 และก่อนหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของ hate speech ที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่สื่อสารประเด็นสาธารณะในโซเชียลมีเดีย


“คนตายได้ดอกไม้มากกว่าคนที่ยังอยู่ ก็เพราะว่าความเศร้าโศก มีพลังมากกว่าความซาบซึ้งใจ” แอนน์ แฟรงค์ (รอบนี้เห็นกันหมดแล้วว่าใครเป็นยังไง)



“Dead people receive more flowers than the living ones because regret is stronger than gratitude.”
“คนตายได้ดอกไม้มากกว่าคนที่ยังอยู่
ก็เพราะว่าความเศร้าโศก มีพลังมากกว่าความซาบซึ้งใจ”
แอนน์ แฟรงค์
ภาพจาก
I’m from Andromeda
.....

I’m from Andromeda
a day ago
·
การทิ้งสัจจะที่เคยพูดไว้กลายเป็นเรื่องง่ายของคนบางคนไปเสียแล้ว ข้ออ้างต่างๆ นานาที่พูดออกมาลบล้างคำสัญญาและอุดมการณ์ที่ตัวเองเคยยึดถือ ดูเหมือนจะมีเหตุผล
แต่ลองคิดดูใหม่ คนเหล่านี้มักให้เหตุผลกับการกระทำของตัวเองอยู่เสมอ และไม่เคยมองว่าตัวเองทำผิดพลาดใดๆ หลายครั้งเหตุผลเหล่านั้นจะถูกสร้างขึ้นมาเพียงเพื่อกลบเกลื่อนความไม่ซื่อตรงของตัวเอง
และพรสวรรค์ของคนเหล่านี้ คือเก่งในเรื่องของการพูดให้ดูดี ผู้ที่ฟังเคลิบเคลิ้มไปกับอุดมคติอันน่ายกย่อง แต่พอถึงเวลาจริงๆ ที่พวกเขาต้องแสดงออกด้วยการไม่ใช้วาจา กลับไปทำในทางตรงกันข้ามเสียอย่างนั้น
ราล์ฟ วัลโด อีเมอร์สัน นักปรัชญาชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ว่า "What you do speaks so loudly that I cannot hear what you say" แปลได้ว่า "สิ่งที่คุณทำมันดังมากจนฉันไม่ได้ยินสิ่งที่คุณพูดเลย"
มันไม่สำคัญเลยว่าคนๆ นั้นจะพูดอะไร เพราะการกระทำมันจะเสียงดังตะโกนลั่นจนกลบทุกคำพูดไปหมด
สุดท้ายแล้วในสังคมของเรา คำพูดไม่ได้มีความหมายอะไร นอกเสียจากเป็นตัวบ่งบอกว่า เราควรให้ค่ากับคำพูดของคนแบบนี้ หรือควรให้เป็นแค่ลมปากที่พัดผ่านไป
การที่คนบางคนเลือกที่จะทำลายคำสัญญาหรืออุดมการณ์ของตัวเอง เพราะความอ่อนแอทางศีลธรรม หรือเพราะพวกเขาไม่ได้มีอุดมการณ์ที่แท้จริงตั้งแต่แรก ความเสื่อมโทรมของจิตใจมากพอที่ทำให้หันไปหาข้ออ้างมากมายในการลบล้างคำพูดของตัวเอง
ถ้าไม่ได้ลงมือทำตามที่พูดไว้
แล้วทำไมเราถึงยังให้ค่าคนแบบนี้อยู่อีกล่ะ?
"เราไม่ได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องเพราะเรามีคุณธรรม แต่เรามีคุณธรรมเพราะเราได้กระทำสิ่งที่ถูกต้อง - We do not act rightly because we have virtue or excellence, but we rather have those because we have acted rightly." - อริสโตเติล (Aristotle)


“สุดท้ายต้องบอกลูก จะมาหายไปดื้อ ๆ ไม่ได้” “อาย กันต์ฤทัย” ก่อนเข้าเรือนจำ: ความในใจของ ‘แม่’ คนหนึ่งที่ต้องโทษ ‘112’



“สุดท้ายต้องบอกลูก จะมาหายไปดื้อ ๆ ไม่ได้”คุยกับ “อาย กันต์ฤทัย” ก่อนเข้าเรือนจำ: ความในใจของ ‘แม่’ คนหนึ่งที่ต้องโทษ ‘112’

28/08/2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ในวัย 33 ปี ของชีวิต “อาย” กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน ผ่านชีวิตมามากมาย ทั้งในเรื่องการงานและครอบครัว จนวันหนึ่งหวนมาเจอเรื่องทางการเมืองที่ทำให้แม่ค้าชุดชั้นในต้องออกมาเคลื่อนไหว เพียงเพราะต้องการความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม มากกว่านั้น การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กลายเป็นหนึ่งในเหตุผลของคนที่ทนไม่ไหวกับสภาวะการเมืองในประเทศ จนนำมาสู่การถกเถียงเรียกร้องมากมาย

ในฐานะแนวหน้าผู้คอยปะทะกับตำรวจควบคุมฝูงชน แล้ววันหนึ่งก็โพสต์เรื่องราวทางการเมือง อันเป็นเหตุนำมาสู่การถูกดำเนินคดีมาตรา ‘112’ กระทั่งสิ่ง ๆ นั้นนำพาให้เธอต้องคำพิพากษาจำคุกรวม 12 ปี ที่ยังรอคอยอิสรภาพผ่านสิทธิการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์

ถึงที่สุดสำหรับอาย ไม่ว่าชีวิตจะผ่านพ้นความแข็งแกร่งหรือเปราะบางมากน้อยแค่ไหน การที่เป็นคนรักและเป็นแม่ที่ดีคนหนึ่งก็เป็นชีวิตที่เธอปรารถนา ยิ่งในห้วงเวลาต้องถูกคุมขังในเรือนจำ เธอมักย้ำในการพูดคุยก่อนสูญเสียอิสรภาพว่า “ทุกอย่างต้องยอมรับความจริง และเป็นไปตามเวลา”

.
เป็นคนทั่วไปที่อยากให้สถาบันกษัตริย์ลงมาอยู่ใต้กฎหมายเหมือนกัน

ชีวิตแต่หนหลัง อายเติบโตในย่านแหล่งอุตสาหกรรมของ จ.ปทุมธานี ในครอบครัวที่พ่อประกอบอาชีพขับรถนำเที่ยวให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน จากชีวิตราบเรียบอบอุ่นสามัญ อายเผชิญจุดเปลี่ยนเมื่อตอน ม.3 ที่พ่อกับแม่แยกทางกัน แล้วสุดท้ายต่างมีครอบครัวใหม่ อายเลยตัดสินใจอยู่ปทุมธานีต่อ ที่หลายครั้งต้องไปอาศัยอยู่บ้านเพื่อน จนด้วยปัญหาทางครอบครัวในห้วงนั้นทำให้การเรียนของเธอต้องชะงักลง

กระทั่งเข้าเรียนชั้น ม.3 ใหม่อีกรอบในโรงเรียนใหม่ย่านลำลูกกาจนจบชั้น ม.ต้น จึงเริ่มหางานทำ โดยย้ายไปอยู่ย่านรามอินทรากับญาติ งานแรกที่ทำขณะอายุได้ราว 16 ปี คือเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ของสวนสนุกดรีมเวิลด์ ค่าแรงขั้นต่ำขณะนั้นอยู่ที่ 169 บาท ทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปหลายตำแหน่ง บางครั้งเป็นพนักงานเครื่องเล่น บางครั้งก็เป็นพนักงานขายตั๋ว
 


พอโตขึ้นเธอเริ่มเปลี่ยนงาน เป็นพนักงานเสิร์ฟของร้านอาหารในสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ทำอยู่ 1 ปี ก่อนจะไปขายเนื้อหมูกับครอบครัวของเพื่อนสมัย ม.ต้น กระทั่งปีต่อมาไปทำงานโรงงาน อันเป็นช่วงเวลาได้เจอกับแฟนคนปัจจุบัน ในวัยยี่สิบต้น ๆ ที่วันหนึ่งอายได้ตั้งครรภ์ “เราก็บอกเขาตรง ๆ ว่าท้องนะ เราจะเอาออกเพราะไม่พร้อม เขาก็บอกว่าไม่พร้อมเหมือนกัน เลยไปปรึกษาทางพ่อแม่ฝ่ายชาย พวกเขาเป็นคนรักเด็กจึงบอกไม่ให้เอาออก จะเลี้ยงเอง กระทั่งเกิดเป็นการแต่งงานขึ้นมา”

เมื่อคลอดลูกอายก็ออกจากงานที่โรงงาน กระทั่งลูกโตได้ระยะหนึ่งก็เริ่มกลับมาทำงานเป็นแม่ค้าขายชุดชั้นในตามตลาดนัด จากความขยันทำงาน เพียง 2 ปี ก็เธอสามารถตั้งตัวได้และกลายเป็นเสาหลักของบ้านตั้งแต่นั้น เริ่มมีเงินเก็บ ออกรถเป็นของตัวเอง รายได้ดีอยู่หลายปี กระทั่งมาสะดุดลงตอนสถานการณ์โควิด-19 ที่ตลาดเริ่มปิด เป็นช่วงเดียวกับพ่อของแฟนที่เปรียบได้กับพ่อจริง ๆ เริ่มล้มป่วยเป็นลิ้นหัวใจรั่ว อายจึงพยายามดูแล พาไปหาหมอ พาไปตรวจ “ช่วงนั้นเราเริ่มมีสภาวะเป็นซึมเศร้า ส่วนหนึ่งเพราะสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ดิ่งลง”

กระทั่งช่วงปี 2564 เริ่มมีการชุมนุมทางการเมือง เป็นช่วงหลังจากพ่อของแฟนเสียชีวิต “เราก็ไม่ต้องดูแลใครแล้ว ส่วนลูกก็เป็นย่าเขาดูแล เราก็รั้นในความที่เป็นเสาหลักของบ้าน จะไปไหนก็ได้ ก็ขอแฟนประมาณว่า ขอไปเหอะ แฟนก็ไม่ได้ว่า เพราะเข้าใจว่าไปไล่ประยุทธ์”

จากการไปร่วมชุมนุมครั้งแรกที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เธอสะดุดตรงข้อเรียกร้องที่ 3 ที่ได้ฟังจากการปราศรัย ที่บอกให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และเริ่มสนใจข้อเรียกร้องนี้มากกว่าข้ออื่น ๆ “พูดภาษาบ้าน ๆ คืออยากให้ท่านลงมาอยู่ใต้กฎหมายเหมือน ๆ กับเรา”

หลังฟังการปราศรัย ความทรงจำของเธอย้อนไปเห็นภาพข่าวที่มีคนโดนอุ้มหายจากประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนพบเป็นศพโดยมีปูนยัดท้อง จึงเริ่มหาข้อมูลในเหตุรุนแรงที่เจ้าหน้าที่รัฐทำกับประชาชน เช่น กรณี บิลลี่ พอละจี หรือ ต้าร์ วันเฉลิม

ตั้งแต่นั้นอายเริ่มติดตามการเมืองมากขึ้น ช่องทางหลัก ๆ เป็นเพจของกลุ่ม REDEM ช่วงนั้นหากมีการนัดชุมนุมวันไหน วันนั้นเธอก็จะเก็บร้านเร็วเป็นพิเศษ “เป้าหมายแรก รู้สึกแค่ว่าอยากไปเติมคนให้ที่ชุมนุม อย่างน้อยเราคือหนึ่งคนที่เข้าไปเติมให้มันเยอะขึ้น ไม่ได้ชวนใคร ก็ไปของเราคนเดียว”

.
คดีทางความคิด สามารถทำร้ายคนได้อย่างนั้นหรือ?

บทบาทในการไปร่วมชุมนุมในม็อบ REDEM ที่ถูกสลายการชุมนุมบ่อยครั้ง อายเล่าว่า ถ้าไปคนเดียวก็จะคอยช่วยคนที่โดนแก๊สน้ำตา พยายามแบกน้ำที่เหลือไว้ ถ้ามีใครเป็นอะไรก็จะวิ่งเข้าไปดู แต่พอเริ่มรู้จักกลุ่มเพื่อนก็ทำอะไรได้มากขึ้น ใครโดนจับก็วางแผนจะไปช่วย หรือหากอยู่ด้านหน้าที่ปะทะกับตำรวจควบคุมฝูงชน ก็จะช่วยกันดันโล่ตำรวจ “บางทีเราโกรธ เช่นเวลาเราเห็นคนอื่นโดนกระทำ ก็พรวดไปด้านหน้า พยายามช่วยเขาก่อน แต่ละครั้งที่ปะทะก็โดนกันเยอะ มีฟกช้ำซะส่วนใหญ่”

ตั้งแต่ไปร่วมชุมนุมอายมีประสบการณ์โดนจับอยู่ 2 ครั้ง ที่ท้องสนามราษฎร์ (สนามหลวง) และการชุมนุมกับกลุ่มทะลุแก๊สที่ดินแดง แต่ละครั้งเธอพยายามปกป้องสิทธิของตัวและของผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ โดยเฉพาะการเป็นปากเป็นเสียงไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐทำความรุนแรงกับผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัว
 


ในมุมมองของอาย ไม่ว่าการชุมนุมทางการเมืองจะมีข้อเรียกร้องเป็นประเด็นใดบ้าง แต่ที่เลี่ยงไม่ได้คือการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ “เรารู้อยู่แล้วว่าสถาบันฯ ย่อมมีส่วนในการเมืองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การรัฐประหารครั้งหนึ่ง ต้องมีการรับรองจากสถาบันฯ เราเลยตั้งคำถามว่า ถ้าบอกว่าสถาบันกษัตริย์ทำเพื่อประชาชน แล้วเซ็นลงนามรับรองการรัฐประหารทำไม การลงนามเท่ากับเป็นการยอมรับการรัฐประหาร”

การเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ และโพสต์ถึงเรื่องราวเหล่านั้น เป็นเหตุให้อายถูกดำเนินคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 เมื่อช่วงต้นปี 2566 ในวันที่รับทราบข้อกล่าวหา ตำรวจระบุพฤติการณ์คดีที่เกี่ยวกับการโพสต์ข้อความและรูปภาพ รวม 8 โพสต์ โดยกล่าวหาว่า เป็นข้อมูลที่บิดเบือนให้ร้ายสถาบันกษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศของรัชกาลที่ 10

กระทั่งถูกฟ้อง ที่ต่อมาในชั้นศาล อายให้การรับสารภาพก่อนการสืบพยาน และในวันที่ 27 ส.ค. 2567 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกรวม 8 ปี 48 เดือน หรือประมาณ 12 ปี

อายเคยกล่าวถึงความรุนแรงของมาตรา 112 ที่อาจส่งผลต่อเธอไว้ว่า ทำให้ไม่มีอิสรภาพ เธออาจไม่ได้อยู่ดูแลลูกในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ

กับมาตรา 112 ถ้าจะไม่ให้ยกเลิก “ในมุมมองส่วนตัวเรา มาตรา 112 ต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งเรายังคงตั้งคำถามว่า มันเป็นอาญาตรงไหน คดีทางการเมือง คดีทางความคิด มันสามารถทำร้ายคนได้อย่างนั้นหรือ”

.
การต่อสู้มันมีอยู่จริง แต่คำว่า เดียวดายหน้าบัลลังก์ ก็มีอยู่จริง

กับเรื่องราวของผู้ต้องขังทางการเมือง ก่อนหน้านี้อายมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเก็ท โสภณ, เวหา และอีกหลาย ๆ คน เธอสัมผัสได้ว่า สิ่งที่คนข้างในอยากได้จากคนภายนอกคงเป็นเรื่องกำลังใจ หรืออย่างเก็ทก็อยากให้คนข้างนอกต่อสู้ต่อไป “แต่จะต่างจากเรานิดหนึ่งที่หากได้อยู่ในนั้น เราจะบอกคนข้างนอกว่า คนข้างนอกต้องต่อสู้นะ แต่เอาเท่าที่ไหว เพราะอายกลัวว่า พวกเขาจะต้องมาเจ็บเหมือนอาย กลัวว่าเขาจะต้องมาตกเก้าอี้เดียวกับอาย”

เธอกล่าวอีกว่า ถ้าคนข้างนอกคิดถึงเรา เราก็รับไว้และดีใจที่เขาคิดถึง แต่ถ้าเขาไม่คิดถึง เราก็ไม่เสียใจ เพราะที่ผ่านมาก็ทำเต็มที่แล้ว เรียกร้องอะไรให้เพื่อนแล้ว “ไม่ใช่ว่าเราเรียกร้องให้เขาแล้ว พอเราโดนจับแบบนี้เขาก็ต้องมาเรียกร้องให้เรา เราไม่ใช่แบบนั้น”

อีกสิ่งที่อายอยากสื่อสารหากเธอได้เข้าเรือนจำคือ โรคประจำตัว หมอระบุว่า เธอเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนเข้าชุมนุมทางการเมืองแล้ว อายให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมียาที่กินอยู่ประมาณ 5 ตัว เช่น ยากันชัก ยาระงับประสาท ยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้า กินวันละ 12 เม็ด ระหว่างการรักษาอาการยังไม่เคยดีขึ้น จะมีก็แค่ทรงกับทรุด และต้องเข้าพบหมอตามอาการ ถ้าช่วงที่หมอเฝ้าระวังก็จะไปพบหมอ 1 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์ “เขากลัวว่าเราจะทำร้ายตัวเอง และกลัวที่สุดเลยคือการคิดสั้น”



อย่างไรก็ตาม อายพยายามคิดบวก เธอเตรียมตัวและคิดเรื่องนี้มาเป็นปี คิดว่าหากต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำก็เป็นการเปลี่ยนสังคม เปลี่ยนที่อยู่ “อายเป็นคนที่ถ้ากินยาแล้วอารมณ์นิ่ง ก็คงจะไปหามุมนิ่ง ๆ เงียบ ๆ อยู่ แต่หากมีใครวุ่นวาย ปั่นประสาท ก็ค่อยว่ากัน ไม่เขาก็อายที่อยู่ไม่ได้ ด้วยความที่ยาก็เป็นตัวกระตุ้นเหมือนกัน”

เพราะฉะนั้นยารักษาโรคประจำตัวคืออันดับหนึ่งของสิ่งที่อยากเอาติดตัวไป ถ้าไม่มียาคิดว่าคงแย่ และเป็นการแย่ที่ไม่รู้ว่าจะไปในทิศทางไหน ใน 3-4 วันแรกที่ยาขาดก็จะแย่ที่ร่างกายก่อน หลังจากนั้นก็คงจะลำบากคนรอบข้าง

อายกล่าวอย่างชัดเจนว่า หากเธอหายไป ก็ไม่ได้กลัวการถูกหลงลืม เพราะทุกวันนี้ก็เหมือนถูกลืมอยู่แล้ว และก็ไม่อยากที่จะให้ทุกคนมามองเธอ ไม่อยากเป็นจุดสนใจ “ไม่ต้องมามองเราว่า เฮ้ย ฉันกำลังจะเข้าคุกนะ ไม่ได้อยากให้ใครมอง”

เมื่อให้มองตัวเองใน 5-10 ปีข้างหน้า อายให้ทัศนะว่า ก็ยังคงอุดมการณ์เหมือนเดิม แต่จะเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่น เพราะไม่อยากทำให้คนข้าง ๆ ต้องมารู้สึกเสียใจ “ที่ผ่านมาเรามีบทเรียนเยอะแล้ว การต่อสู้มันมีอยู่จริง แต่คำว่า เดียวดายหน้าบัลลังก์ ก็มีอยู่จริง เลยมองว่าการต่อสู้มีอีกหลายวิธี เพราะฉะนั้นการต่อสู้โดยที่ไม่เจ็บตัวมันยังมีอยู่ ถ้าเรายังมีหวัง เราต้องอยู่ด้วยความหวัง”

.
สุดท้ายต้องบอกลูก จะมาหายไปดื้อ ๆ ไม่ได้

ก่อนอายจะต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ เธอใช้ชีวิตกับแฟนที่คบกันมานาน 14 ปี แบบไม่เคยจะห่างกัน เธอบอกย้ำถึงความเสมอต้นเสมอปลายในชีวิตคู่ ที่ไม่ใช่แค่แฟนแต่เปรียบเป็นคู่ชีวิต มีลูกชาย 1 คน วัย 12 ปี การที่ครอบครัวต้องมาพบเจอเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะการที่ต้องบอกเล่าถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตกับลูก “แฟนเป็นคนบอกว่า ยังไงก็ต้องบอกลูกนะ จะมาหายไปดื้อ ๆ ไม่ได้ ลูกจะสงสัยที่แม่จะมาหายไปแบบนี้ ควรอธิบายกับลูก เพราะว่ามุมหนึ่งของอาย อายเป็นคนที่ใจเย็นมาก ๆ ใช้เหตุผลมาก ๆ อายเลยจะพยายามพูดให้ลูกเข้าใจให้ได้”

อายจึงได้บอกลูกในการสนทนาครั้งหนึ่งว่า “แม่อาจจะไม่ได้อยู่กับลูกจริง ๆ นะ” แล้ววันหนึ่งลูกชายก็พิมพ์ข้อความมา “เราอ่านแล้วก็ร้องไห้ เขาบอกว่า เชื่อว่ายังไงแม่ก็ไม่ติด เขาขอให้แม่ไม่ติด และขอให้เราได้อยู่ด้วยกันเหมือนเดิม นี่คือเด็กอายุ 12 ปี อยู่ ป.6 เด็กผู้ชายที่มีความเข้มแข็งและอ่อนโยน”



ในโทษทัณฑ์ที่อาจจะสูงเกิน 10 ปี อายยอมรับว่า ต้องฝืนทำตัวเข้มแข็ง แต่จริง ๆ ก็ไม่ค่อยโอเค เพราะแม้จะไม่อยากเสียน้ำตาให้กับสิ่งนี้ แต่ทุกครั้งที่กลับมาจากศาลคือร้องไห้ อายฝากถึงลูกว่า “รักลูกมากนะ ไม่อยากให้ลูกต้องเสียใจ แต่ทุกอย่างต้องยอมรับความจริง และเป็นไปตามเวลา ยังไงแม่ก็ยังเป็นแม่ ขออย่างเดียว ขอให้ลูกยังจำสิ่งที่แม่เคยสอนไว้ เราต้องไม่ดูถูกใคร ไม่บูลลี่ใคร เราเป็นคนเท่ากัน”

ส่วนแฟน “อายอยากจะขอโทษเขามากกว่า ด้วยความที่เขาเตือนหลายรอบ เตือนทุกอย่าง อายจะสวนกลับไปว่า ขอให้เคารพการตัดสินใจของอาย เขาก็จะเงียบไป เพราะด้วยความเคารพการตัดสินใจ สุดท้ายด้วยการตัดสินใจของอายก็ลงเอยด้วยการที่ลูกก็ต้องร้องไห้เสียใจ แฟนก็ต้องร้องไห้แต่ก็เก็บน้ำตา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในวันนี้คือครอบครัว”

ถึงที่สุดสำหรับผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองอย่างอาย ครอบครัวคือสิ่งที่อยู่เคียงข้างเธอมากที่สุด “แต่ก่อนนี้เรากลับเลือกที่จะไม่มองครอบครัว มัวแต่ไปมองอย่างอื่น เพราะว่าเราดื้อเอง แต่เราก็ไม่ได้เสียดายความดื้อของเรา เราก็ยังภูมิใจในความดื้อของเราอยู่เหมือนกัน จะเสียใจก็แต่ความดื้อนั้น มันทำให้คนที่เรารักต้องเสียน้ำตา”

.

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

“อาย” กันต์ฤทัย ถูกแจ้งข้อหา ม.112 คดีที่ 2 เหตุแกนนำ ศปปส. ไปกล่าวหาจากเฟซบุ๊ก 2 ข้อความ เมื่อปี 65

(https://tlhr2014.com/archives/69459)