วันเสาร์, มกราคม 13, 2567

ความยุติธรรมตกไม่ทั่วฟ้า “คุกมีไว้ขังคนจน” ถือเป็นวลีอมตะที่สะท้อนภาพ 'ความเหลื่อมล้ำ' ในกระบวนการยุติธรรมไทยได้อย่างดี


https://www.facebook.com/101publicpolicythinktank/posts/364382179671833?ref=embed_post
101 PUB - 101 Public Policy Think Tank
Yesterday·

:: ความยุติธรรมตกไม่ทั่วฟ้า คนไม่เสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมาย ::
.
“คุกมีไว้ขังคนจน” ถือเป็นวลีอมตะที่สะท้อนภาพ 'ความเหลื่อมล้ำ' ในกระบวนการยุติธรรมไทยได้อย่างดี ดังที่เราเห็นว่ามีเหตุการณ์มากมายที่ผู้ร่ำรวยด้วยเงินทองและอำนาจได้รับการปฏิบัติอย่างสองมาตรฐานจากกระบวนการยุติธรรม จนกลายเป็นภาพจำและสิ่งที่คนคาดการณ์กันเป็นปกติไปแล้ว
.
ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมมาจากหลายปัจจัยที่นอกเหนือจากข้อเท็จจริง อาทิ การมีความรู้ความเข้าใจข้อกฎหมาย การมีทนายความที่มีความสามารถ การมีทรัพยากรและเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินคดี รวมทั้งอคติบางประการที่แฝงอยู่ในกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรม ทั้งหมดนี้ทำให้คนบางกลุ่มที่เพียบพร้อมไปด้วยทรัพย์สินและสถานะทางสังคมสามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้มากกว่าคนอื่น
.
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ 101 PUB - 101 Public Policy Think Tank ชวนผู้อ่านสำรวจแง่มุมของความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมไทยที่ทำให้คนต่างสถานะเข้าถึงความเป็นธรรมได้ต่างกัน และวิเคราะห์ลึกลงไปให้ถึงรากของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมที่ฝังตัวอยู่ในวิธีคิดแบบไทยๆ
.
ชวนอ่านเพิ่มเติมได้ที่: (https://101pub.org/thai-justice-inequality/)
.
เรื่อง: รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล
ภาพ: วนา ภูษิตาศัย