บีบีซีไทย - BBC Thai
12 hours ago
·
จากยอดส่งผู้สมัครนายก อบจ. 14+2 คนของพรรคเพื่อไทย และ 17 คนของพรรคประชาชน แต่ละพรรคต้องได้กี่ที่นั่งถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ?
.
คำตอบจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์คือ “เพื่อไทยควรได้ทั้ง 14 คน อะไรที่ประกาศในนามพรรคต้องได้หมด ไม่อย่างนั้นเสียหน้า” และ “ประชาชนได้ 1 คน ก็ถือว่าชนะแล้วสำหรับเขา เฮแล้ว”
.
อ่านได้ที่นี่ https://bbc.in/3Ci3jij
วิเคราะห์ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ เพื่อไทย-ประชาชน ในโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งนายก อบจ. 1 ก.พ.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
จากยอดส่งผู้สมัครนายก อบจ. 14+2 คนของพรรคเพื่อไทย และ 17 คนของพรรคประชาชน แต่ละพรรคต้องได้กี่ที่นั่งถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ?
.
คำตอบจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์คือ “เพื่อไทยควรได้ทั้ง 14 คน อะไรที่ประกาศในนามพรรคต้องได้หมด ไม่อย่างนั้นเสียหน้า” และ “ประชาชนได้ 1 คน ก็ถือว่าชนะแล้วสำหรับเขา เฮแล้ว”
.
อ่านได้ที่นี่ https://bbc.in/3Ci3jij
.....
วิเคราะห์ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ เพื่อไทย-ประชาชน ในโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งนายก อบจ. 1 ก.พ.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
19 มกราคม 2025
2 พรรคการเมืองใหญ่จาก 2 ขั้วการเมืองระดมแกนนำและทีมหาเสียงลงพื้นที่ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงวันเลือกตั้งผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 ก.พ. นี้
พรรคเพื่อไทย (พท.) ส่งผู้สมัครนายก อบจ. ในนามพรรค 14 คน และมีอีก 2 คนลงสนามในนามสมาชิกพรรค
พรรคประชาชน (ปชน.) ส่งผู้สมัครนายก อบจ. 17 คน เฉพาะจังหวัด "ที่มีความพร้อม"
ในจำนวนนี้มี 4 จังหวัดที่ พรรคแดง-พรรคส้ม ลงชนกันและต้องช่วงชิงกัน ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, มุกดาหาร, ปราจีนบุรี โดย 3 จังหวัดแรกมีพรรค พท. เป็นเจ้าของเก้าอี้เดิม
การเลือกตั้ง อบจ. รอบนี้ เหลือเพียง 47 จังหวัดที่ประชาชนจะได้เข้าคูหาเพื่อเลือกนายก อบจ. เนื่องจากมีนายกเล็ก 29 จังหวัดชิงลาออกหรือพ้นตำแหน่งด้วยวิธีอื่นก่อนครบวาระ จึงจัดการเลือกตั้งไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้เหตุผลหลักที่ทำให้นายก อบจ. ลาออก หนีไม่พ้น การชิงความได้เปรียบทางการเมือง และต้องการหลีกเลี่ยงเงื่อนไขทางกฎหมาย แต่สำหรับสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) จะยังเลือกกันครบทุกพื้นที่ 76 จังหวัด
ย้อนไปในศึกเลือกตั้ง อบจ. 2563 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 29.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 62.86% จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อบจ. ทั้งหมด 46.5 ล้านคน มาถึงปี 2568 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งเป้าหมายมีผู้มาใช้สิทธิไม่ต่ำกว่า 65% ทว่าสิ่งที่ต่างออกไปคือการกำหนดให้เลือกตั้งในวันเสาร์ ไม่ใช่วันอาทิตย์แบบทุกครั้งที่ผ่านมา
อะไรคือเหตุผลหลักที่ทำให้พรรคแกนนำรัฐบาลและพรรคแกนนำฝ่ายค้านต้องกระโจนลงสู่สนามท้องถิ่น และพวกเขาวางกลยุทธ์หาเสียงในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายอย่างไรเพื่อช่วงชิงชัยชนะในสมรภูมินี้ อ่านได้จากบรรทัดนี้
ปัจจัยบวก-ลบ
"อบจ. ประชาชน ดูแลทุกคน ทั่วถึง เท่าเทียม" คือคำขวัญหลักที่พรรค ปชน. ใช้รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อบจ.
พรรคอันดับ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร คาดหวังจะปักธงในสนามนี้อย่างน้อย 5 ที่นั่ง ตั้งเป้ามีนายก อบจ. อย่างน้อย 1 คนต่อ 1 ภูมิภาค รวม 5 ภูมิภาค จากผู้สมัครที่ส่งลงสนามรอบนี้ 17 คน
"หากชนะเลือกตั้งท้องถิ่นจะถือเป็นความสำเร็จมาก เพราะเรากำลังสู้กับช่วงที่ไม่มีกระแส ซึ่งยากมากสำหรับ 'พรรคกระแส' อย่างอนาคตใหม่/ก้าวไกล เราไปได้ดีกับกระแส ในเกมที่ไม่มีกระแสแล้วเราชนะได้ ถือว่าการทำงานของเรา เครือข่ายของเราเข้มแข็งมาก ดังนั้นการเลือกตั้งระดับชาติต้องดีมากแน่ ๆ" ศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรค ปชน. กล่าวกับบีบีซีไทย
หัวหน้าพรรคประชาชนถามจุดยืนการกระจายอำนาจรัฐบาลเพื่อไทย ในระหว่างช่วยหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ เมื่อ 18 ม.ค.
พรรคสีส้มยังไม่เคยประสบความสำเร็จในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น การเลือกตั้ง อบจ. เมื่อ 4 ปีก่อน ผู้สมัครนายกเล็กในนามคณะก้าวหน้ารวม 42 คนแพ้ทุกสนาม แม้สามารถนำ ส.อบจ. 57 คน เข้าสภา 20 จังหวัดได้ก็ตาม
เมื่อเปลี่ยนมาลงสมัครในนามพรรค ไม่ใช่คณะบุคคล ศรายุทธิ์ ผู้เคยเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า เล็งเห็น "ปัจจัยบวก" อย่างน้อย 2 ประการคือ กระแสพรรค ปชน. ซึ่งผลสำรวจล่าสุดอยู่ที่ 37% ใกล้เคียงกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในช่วงก่อนเลือกตั้ง สส. ปี 2566 ที่มีคะแนนนิยม 39% "แสดงว่าพรรคประชาชนเริ่มเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ไว้ใจไม่น้อยไปกว่าพรรคก้าวไกล" นอกจากนี้พรรคยังมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดที่มี สส. ทำให้สามารถวางแผนทำงานลงลึกระดับตำบลและหมู่บ้าน
ส่วน "ปัจจัยลบ" หนีไม่พ้น ความสนใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นที่เขาบอกว่าอยู่ในระดับต่ำมาก คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้ง ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของท้องถิ่น รวมถึงการกำหนดให้เลือกตั้งวันเสาร์ซึ่งไม่เอื้อต่อการออกไปใช้สิทธิของประชาชน
บีบีซีไทยตั้งข้อสังเกตว่า 3 กระแสที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง อบจ. 2563 และเกื้อหนุนแนวทางการเมืองแบบพรรคสีส้ม ทว่าได้หายไปจากการเลือกตั้ง อบจ. รอบนี้คือ ความเบื่อหน่ายของผู้คนจากการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ถูกคณะรัฐประหาร "แช่แข็ง" เป็นเวลา 7-8 ปี ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง, การเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนั้น มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ (นิวโหวตเตอร์) จำนวนมาก, กระแสสูงของขบวนการเยาวชนและประชาชนนำโดย "คณะราษฎร" ที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ
นโยบาย
หากในปี 2563 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในสนาม อบจ. มาจากความเคลื่อนไหวของคณะก้าวหน้าที่จัดทำแคมเปญการเมืองท้องถิ่นที่เป็นแคมเปญระดับชาติ นำเสนออุดมการณ์-ขายชุดนโยบายเป็นรายพื้นที่
มาปี 2568 ผู้สมัครนายก อบจ. หันไปสวมเสื้อพรรคลงสนาม ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของพรรคการเมืองจากส่วนกลางกับพื้นที่มากขึ้น ทว่าสิ่งที่ต่างออกไปคือคู่แข่งขันเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศรายุทธิ์ บอกว่า ความเป็นฝ่ายค้าน-รัฐบาลนั้นไม่ต่างกัน ในอดีต อบจ. ส่วนใหญ่เป็นตระกูลการเมือง พรรคพวก หรือสนิทสนมกับรัฐบาลอยู่แล้ว สิ่งที่พรรค ปชน. พยายามทำให้เห็นคือการบริหารท้องถิ่นที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ประชาชนรับรู้ แต่ไม่ค่อยได้อะไร จึงต้องสร้างนโยบายที่ประชาชนต้องการจริง ๆ และมีช่องทางสื่อสารกับประชาชนโดยตรง
"สิ่งที่ต้องทำคือสร้างความเชื่อมั่น ในเมื่อเราไม่เคยเป็น (รัฐบาล) ประชาชนจะเชื่อได้อย่างไรว่าจะทำสำเร็จ จะเกิดขึ้นจริง เราต้องมีความรู้มากพอในเรื่องนโยบาย พูดได้ ตอบได้ ทำให้เห็นว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้" เขากล่าว
เอกสารแนะนำตัวผู้สมัครนายก อบจ. และ ส.อบจ.สมุทรสาคร
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ประเมินว่า พรรค พท. ได้เปรียบในเกมนโยบาย "ทุกประตู" เพราะไม่เพียงเป็นผู้ยึดกุมอำนาจรัฐในปัจจุบัน แต่ยังมี "พ่อนายกฯ" อย่าง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนที่ 23 ต้นตำรับนโยบายประชานิยมเป็นผู้ช่วยหาเสียงคนสำคัญ
"ต่อให้คุณทักษิณพูดเรื่องนั้นแบบเฉี่ยว ๆ เช่น เดี๋ยวนายกฯ แพทองธารจะเอานโยบายนั้นนโยบายนี้มาลง ขอให้นายก อบจ. รอรับด้วยข้อจำกัดตามอำนาจของตัวเองก็พอ อย่างนี้พูดได้และคนก็เชื่อ เพราะเพื่อไทยถืออำนาจรัฐอยู่ และถ้าชนะเลือกตั้ง อบจ. จริง ๆ สิ่งที่พูดไว้ก็มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และยังมียี่ห้อทักษิณประทับตราไปอีกว่าพูดแล้วต้องได้" ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวกับบีบีซีไทย
ผู้ช่วยหาเสียง
ศึกเลือกตั้ง อบจ. ถูกมองว่าเป็นการ "วัดบารมี" ระหว่างผู้ช่วยหาเสียงจากพรรคแดง-พรรคส้ม
พรรค พท. มี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.) เป็น ผู้ช่วยหาเสียงกิตติมศักดิ์
พรรค ปชน. ได้ 2 อดีตหัวหน้าพรรคอย่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นผู้ช่วยเรียกคะแนน
ผู้นำทางการเมืองทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ในสนามที่ผู้สมัครจาก 2 พรรคลงชิงชัยกัน สติธร ตั้งคำถามว่า พรรค ปชน. จะสู้กับ ทักษิณ อย่างไรในเมื่ออดีตนายกฯ เป็นแนวบริหาร และนี่คือการเลือกนายกฯ โดยตรง เลือกหัวหน้าฝ่ายบริหารของจังหวัด
"ถ้ามองเรื่องการวัดบารมี คุณพิธายังสู้ไม่ได้ อาจด้วยประสบการณ์ไม่เท่าคุณทักษิณ ซึ่งเคยทำมาแล้วและฉลาดในการอ้างถึงความสำเร็จในอดีตก่อนเปิดประเด็นใหม่ สิ่งนี้คุณพิธาไม่มี แต่ถ้าพูดถึงข้างหน้า คุณพิธาอาจเหนือกว่าก็ได้ในบางเรื่อง คือฝันได้ไกลกว่า หรือรู้อะไรใหม่กว่าที่คุณทักษิณอาจไม่ได้สนใจ หรือเข้าใจบริบทกว่า นำเสนอได้ดีกว่า แต่ถึงเวลามันวัดกันที่ดีกว่า-ไม่ดีกว่า ทำได้จริง-ทำไม่ได้จริง โอกาสได้ทำ-ไม่ได้ทำ และคุณทักษิณมีแต้มต่อคือสิ่งที่พูดทำได้จริง เพราะมีอำนาจรัฐมาเสริม" สติธร ให้ความเห็น
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำทีมหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ 18 ม.ค.
ในระหว่างหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.นครพนม ทักษิณ อ้างผลโพลโดยบอกว่าภาคอีสาน "ดูดี น่าจะชนะเยอะ" และย้ำว่า "ที่ส่งในนามพรรคเพื่อไทย ดูแล้วน่าจะชนะทุกที่"
สำหรับพื้นที่อีสาน พรรค พท. ส่งผู้สมัครนายก อบจ. 8 คน และ 1 คนลงในนามสมาชิกพรรค โดยมีอยู่ 5 จังหวัดที่ ทักษิณ ไปช่วยหาเสียงด้วยตัวเอง ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ หนองคาย มหาสารคาม และศรีสะเกษ โดยมีอยู่ 2 จังหวัดที่คณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อบจ. ของเพื่อไทย บอกกับบีบีซีไทยว่า "ต้องออกแรงหนักและลุ้นหนัก" คือ นครพนม และศรีสะเกษ
ทีมหาเสียงเพื่อไทยระบุต่อไปว่า สิ่งที่พรรคได้จากการโดดขึ้นเวทีปราศรัยของอดีตนายกฯ คือ การเรียกคืนคะแนนเสียงจากกลุ่ม "คนรักทักษิณ" นอกจากนี้ถ้า ทักษิณ ลงพื้นที่จังหวัดไหนแล้วแพ้ ไม่ใช่แค่ผู้สมัครนายก อบจ. แต่ สส. เจ้าของพื้นที่ก็ส่อหมดอนาคตทางการเมือง ดังนั้น สส. ส.อบจ. ทุกคนต้องเอาจริงเอาจังกับสนาม อบจ.
"งานนี้ไม่ใช่แค่บารมีและอิทธิพลของนายกฯ ทักษิณต่อประชาชนอย่างที่มีการพูดกัน แต่เป็นอิทธิพลต่อ สส. ด้วย"
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าคำปราศรัยของพ่อนายกฯ ที่นำนโยบายระดับชาติมาประกาศบนเวทีหาเสียง อบจ. เข้าข่ายครอบงำ-สั่งการพรรครัฐบาลนั้น ทีมหาเสียงเพื่อไทยยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสารแต่อย่างใด เพราะเป็นการหาเสียงตามอำนาจ อบจ. ซึ่งไม่ได้ปิดกั้นว่าห้ามแจ้งข่าวสารกับประชาชน อดีตนายกฯ เพียงแต่บอกวิธีคิดของตน ไม่ได้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพิสูจน์แล้วที่ จ.อุดรธานี ก็ไม่มีคนร้องเรียนประเด็นนี้ กกต. ก็ไม่ได้เอาเรื่อง จึงไม่เป็นปัญหาและไม่กังวลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ศรายุทธิ์ เห็นว่าข้อวิเคราะห์เรื่องบารมีของผู้ช่วยหาเสียง "อาจมีส่วนบ้าง แต่น้อย" เพราะความสนใจของคนน้อย กระแสจึงไม่เหมือนกับการเลือกตั้งใหญ่
"สมมติปี 2570 คุณทักษิณมานำทัพของเพื่อไทย ตรงนั้นวัดบารมีได้ มองเห็น แต่พอท้องถิ่นมันไม่ใช่ การทำงานท้องถิ่นไม่ใช่การเมืองระดับชาติ มันคือการดูแลประชาชน คุณภาพชีวิต สิ่งใกล้ตัว"
ในสนามที่ต้องแข่งกับเพื่อไทย เลขาธิการพรรค ปชน. ระบุว่า "ไม่ได้กังวลว่าคุณทักษิณจะเป็นปัจจัยแพ้ชนะของเรา... ไม่ได้มองตรงนั้นเป็นปัจจัยหลัก" ตรงกันข้าม เขาเห็นเป็นเรื่องดีที่ผู้มีชื่อเสียง/ผู้มีอิทธิพลทางความคิดลงมารณรงค์ท้องถิ่น เพราะความยากที่สุดของสนามนี้คือความสนใจของประชาชน
ชาวบึงกาฬมารอฟังการปราศรัยของอดีตนายกฯ ทักษิณ 19 ม.ค.
ขณะที่อาจารย์สติธรชี้ว่า ชัยชนะในสนาม อบจ. มาจากฐานเสียงเป็นหลัก เพราะคือการวัดว่าใครมีฐานจัดตั้งมากกว่ากัน และคำนวณได้ว่าฐานจัดตั้งมากหรือน้อย ต้องแข่งกับคนที่อยู่นอกฐานเท่าไร ต้องเติมอะไรตรงไหนเพื่อแก้เกม
"สนามท้องถิ่นมันคือการบอกฐานเสียง ต้องรอดูคะแนนคู่กันระหว่างคะแนนนายก อบจ. กับ ส.อบจ." สติธร กล่าว
นอกจากพรรค พท. กับพรรค ปชน. ยังมีผู้สมัคร "สีน้ำเงิน" ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองใหญ่ แต่จงใจไม่สวมเสื้อพรรคลงสนาม จึงไม่ปรากฏร่องรอยชัดเจน ทว่าเป็นที่รับรู้ในหมู่นักเลือกตั้งและผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองว่า "มีระบบบริหารจัดการดีเยี่ยม" และ "กล้าทำ" โดยแกนนำพรรคปล่อยให้ "บ้านใหญ่" ดำเนินการตามความถนัด ซึ่งผู้สมัครที่มีเงาพรรคการเมืองอยู่ข้างหลังเหล่านี้ถือเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวกว่าสำหรับพรรคสีแดง
นักวิชาการผู้ศึกษาและสังเกตการณ์การเมืองท้องถิ่นย้ำว่า ชัยชนะจะมาจาก "บ้านใหญ่+พรรคใหญ่" แต่ถ้าพรรคใหญ่ไม่มีบ้านใหญ่ ก็ถือว่าองค์ประกอบแห่งชัยชนะไม่ครบถ้วน
จากยอดส่งผู้สมัครนายก อบจ. 14+2 คนของพรรค พท. และ 17 คนของพรรค ปชน. แต่ละพรรคต้องได้กี่คนถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ
สติธร ตอบว่า "เพื่อไทยควรได้ทั้ง 14 คน อะไรที่ประกาศในนามพรรคต้องได้หมด ไม่อย่างนั้นเสียหน้า เพราะเขาไม่ได้บังคับ เลือกจะไม่ส่งก็ได้ ดังนั้นจังหวัดไหนที่ส่งแปลว่าต้องมั่นใจ" ส่วนประชาชน "ได้ 1 คน ก็ถือว่าชนะแล้วสำหรับเขา เฮแล้ว"
อนาคตหลัง 1 ก.พ.
การเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้มีผู้สมัคร 7,007 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครนายก อบจ. 192 คน ซึ่ง กกต. ไม่ประกาศรายชื่อ 3 คน โดยผู้สมัครร้องคัดค้าน 2 คน และสมาชิก 6,815 คน ไม่ประกาศรายชื่อ 92 คน มีผู้สมัครร้องคัดค้าน 17 คน
แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากพรรค ปชน. แพ้ทุกพื้นที่ จากเป้าหมาย 5 นายก อบจ. จาก 5 ภูมิภาค
ศรายุทธิ์ ชวนย้อนอดีต มองปัจจุบัน ก่อนจะคิดถึงอนาคต โดยไล่รายชื่อ สส. ภูเก็ต สมุทรสงคราม ระยอง ที่เคยลงสมัครสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในนามคณะก้าวหน้าแล้วแพ้ แต่วันนี้กลายเป็น สส. สังกัดพรรคประชาชน
"เวลามองปัจจัยแพ้วันนี้ เทียบกับปี 2570 ที่จะมีเลือกตั้งใหญ่ คนทั่วไปไม่เห็นสิ่งที่ผมพูด แต่คนที่พรรคเราไม่อกสั่นขวัญแขวนแน่นอน เรารู้ดีว่านี่คือบทเรียนที่ต้องไปแกะ ไปดูรายละเอียด มันทำให้เราเข้าใจมากขึ้น สร้างเครือข่ายได้มากขึ้น รู้จักพื้นที่มากขึ้น นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราชนะการเลือกตั้งใหญ่"
ด้วยความเชื่อแบบชาวประชาชน ทำให้พรรคสีส้มวางแผนส่งผู้สมัครลงสนาม อบจ. เทศบาล อบต. ผู้ว่าราชการ กทม. เพราะแต่ละระดับ มีความเข้มข้นในการทำงานแตกต่างกันไป
"ที่เราต้องชนะ เพราะเราต้องการบริหารให้เห็น แนวคิด 4 ป. โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม และการบริหารที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มันหน้าตาเป็นอย่างไร" เขากล่าว
ส่วนผลจากการทำงานการเมืองท้องถิ่น จะทำให้พรรค ปชน. ไปถึงทำเนียบรัฐบาลด้วยยอด สส. 270 เสียงตามที่ หัวหน้าเท้ง ลั่นวาจาไว้หรือไม่นั้น เลขาฯ ติ่ง ใช้คำว่าสิ่งที่พูดกันในพรรคมากคือ "มากกว่าเดิม" ส่วนจะได้ไปไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับระหว่างทางว่า แต่ละสนามท้องถิ่นทำได้ดีแค่ไหน เช่นเดียวกับงานในสภา อภิปรายแล้วทำให้ประชาชนเชื่อได้หรือไม่ว่าพรรค ปชน. ยังเป็นพรรคที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพ เป็นที่พึ่งที่หวังได้
แม้ประกาศทำ "การเมืองใหม่" แต่ ศรายุทธิ์ ยืนยันว่าพรรค ปชน. ไม่ได้แปลกแยก ยังทำงานร่วมกับพรรคอื่น ๆ ได้ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ไม่ได้มีปัญหา "แต่การสื่อสารข้างนอก เกิดการโจมตี การพูดกัน มันเกิดภาพอย่างนั้น คิดว่าเป็นความจงใจของคู่แข่งเราด้วยที่ต้องการให้เกิดภาพแบบนั้น"
หากวาทะ "มีลุง ไม่มีเรา" คือจุดแข็ง-จุดขายที่ทำให้พรรคส้มมีชัยเหนือคู่แข่ง มาวันนี้เริ่มมีนักการเมือง/นักวิชาการโยนคำถามลอยลมว่า พรรค ปชน. จะตอบคำถามเดียวกันนี้อย่างไรในการเลือกตั้ง 2570 หลังผ่านปรากฏการณ์ "รัฐบาลผสมพันธุ์ข้ามขั้ว"
ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตอบ เลขาธิการพรรคอันดับ 1 ของสภา ขอประเมินข้อเท็จจริงในเวลานั้นว่าเกมการเมืองเป็นอย่างไร แต่ยืนยันว่า "จะมีจุดยืนแน่นอน และต้องเป็นจุดยืนที่เป็นจริง ทำไมต้อง 'มีลุง ไม่มีเรา' ต้องไม่จับ 2 พรรคนั้น (พรรคพลังประชารัฐ, พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะมันเป็นเงื่อนไข ณ เวลานั้นที่เห็นว่าสังคมต้องหลุดจากระบบรัฐประหารเดิม เราเลยชวนทุกคน เลยชูแคมเปญนั้น มาวันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ต้องดูว่าในวันเลือกตั้งจริง ประเด็นอะไรในสังคมที่เราต้องพาไป ก็จะนำไปสู่ว่าเราจะไม่จับกับใคร"
https://www.bbc.com/thai/articles/cqx90zy5qx3o
2 พรรคการเมืองใหญ่จาก 2 ขั้วการเมืองระดมแกนนำและทีมหาเสียงลงพื้นที่ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงวันเลือกตั้งผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 ก.พ. นี้
พรรคเพื่อไทย (พท.) ส่งผู้สมัครนายก อบจ. ในนามพรรค 14 คน และมีอีก 2 คนลงสนามในนามสมาชิกพรรค
พรรคประชาชน (ปชน.) ส่งผู้สมัครนายก อบจ. 17 คน เฉพาะจังหวัด "ที่มีความพร้อม"
ในจำนวนนี้มี 4 จังหวัดที่ พรรคแดง-พรรคส้ม ลงชนกันและต้องช่วงชิงกัน ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, มุกดาหาร, ปราจีนบุรี โดย 3 จังหวัดแรกมีพรรค พท. เป็นเจ้าของเก้าอี้เดิม
การเลือกตั้ง อบจ. รอบนี้ เหลือเพียง 47 จังหวัดที่ประชาชนจะได้เข้าคูหาเพื่อเลือกนายก อบจ. เนื่องจากมีนายกเล็ก 29 จังหวัดชิงลาออกหรือพ้นตำแหน่งด้วยวิธีอื่นก่อนครบวาระ จึงจัดการเลือกตั้งไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้เหตุผลหลักที่ทำให้นายก อบจ. ลาออก หนีไม่พ้น การชิงความได้เปรียบทางการเมือง และต้องการหลีกเลี่ยงเงื่อนไขทางกฎหมาย แต่สำหรับสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) จะยังเลือกกันครบทุกพื้นที่ 76 จังหวัด
ย้อนไปในศึกเลือกตั้ง อบจ. 2563 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 29.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 62.86% จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อบจ. ทั้งหมด 46.5 ล้านคน มาถึงปี 2568 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งเป้าหมายมีผู้มาใช้สิทธิไม่ต่ำกว่า 65% ทว่าสิ่งที่ต่างออกไปคือการกำหนดให้เลือกตั้งในวันเสาร์ ไม่ใช่วันอาทิตย์แบบทุกครั้งที่ผ่านมา
อะไรคือเหตุผลหลักที่ทำให้พรรคแกนนำรัฐบาลและพรรคแกนนำฝ่ายค้านต้องกระโจนลงสู่สนามท้องถิ่น และพวกเขาวางกลยุทธ์หาเสียงในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายอย่างไรเพื่อช่วงชิงชัยชนะในสมรภูมินี้ อ่านได้จากบรรทัดนี้
ปัจจัยบวก-ลบ
"อบจ. ประชาชน ดูแลทุกคน ทั่วถึง เท่าเทียม" คือคำขวัญหลักที่พรรค ปชน. ใช้รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อบจ.
พรรคอันดับ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร คาดหวังจะปักธงในสนามนี้อย่างน้อย 5 ที่นั่ง ตั้งเป้ามีนายก อบจ. อย่างน้อย 1 คนต่อ 1 ภูมิภาค รวม 5 ภูมิภาค จากผู้สมัครที่ส่งลงสนามรอบนี้ 17 คน
"หากชนะเลือกตั้งท้องถิ่นจะถือเป็นความสำเร็จมาก เพราะเรากำลังสู้กับช่วงที่ไม่มีกระแส ซึ่งยากมากสำหรับ 'พรรคกระแส' อย่างอนาคตใหม่/ก้าวไกล เราไปได้ดีกับกระแส ในเกมที่ไม่มีกระแสแล้วเราชนะได้ ถือว่าการทำงานของเรา เครือข่ายของเราเข้มแข็งมาก ดังนั้นการเลือกตั้งระดับชาติต้องดีมากแน่ ๆ" ศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรค ปชน. กล่าวกับบีบีซีไทย
หัวหน้าพรรคประชาชนถามจุดยืนการกระจายอำนาจรัฐบาลเพื่อไทย ในระหว่างช่วยหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ เมื่อ 18 ม.ค.
พรรคสีส้มยังไม่เคยประสบความสำเร็จในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น การเลือกตั้ง อบจ. เมื่อ 4 ปีก่อน ผู้สมัครนายกเล็กในนามคณะก้าวหน้ารวม 42 คนแพ้ทุกสนาม แม้สามารถนำ ส.อบจ. 57 คน เข้าสภา 20 จังหวัดได้ก็ตาม
เมื่อเปลี่ยนมาลงสมัครในนามพรรค ไม่ใช่คณะบุคคล ศรายุทธิ์ ผู้เคยเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า เล็งเห็น "ปัจจัยบวก" อย่างน้อย 2 ประการคือ กระแสพรรค ปชน. ซึ่งผลสำรวจล่าสุดอยู่ที่ 37% ใกล้เคียงกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในช่วงก่อนเลือกตั้ง สส. ปี 2566 ที่มีคะแนนนิยม 39% "แสดงว่าพรรคประชาชนเริ่มเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ไว้ใจไม่น้อยไปกว่าพรรคก้าวไกล" นอกจากนี้พรรคยังมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดที่มี สส. ทำให้สามารถวางแผนทำงานลงลึกระดับตำบลและหมู่บ้าน
ส่วน "ปัจจัยลบ" หนีไม่พ้น ความสนใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นที่เขาบอกว่าอยู่ในระดับต่ำมาก คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้ง ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของท้องถิ่น รวมถึงการกำหนดให้เลือกตั้งวันเสาร์ซึ่งไม่เอื้อต่อการออกไปใช้สิทธิของประชาชน
บีบีซีไทยตั้งข้อสังเกตว่า 3 กระแสที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง อบจ. 2563 และเกื้อหนุนแนวทางการเมืองแบบพรรคสีส้ม ทว่าได้หายไปจากการเลือกตั้ง อบจ. รอบนี้คือ ความเบื่อหน่ายของผู้คนจากการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ถูกคณะรัฐประหาร "แช่แข็ง" เป็นเวลา 7-8 ปี ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง, การเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนั้น มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ (นิวโหวตเตอร์) จำนวนมาก, กระแสสูงของขบวนการเยาวชนและประชาชนนำโดย "คณะราษฎร" ที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ
นโยบาย
หากในปี 2563 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในสนาม อบจ. มาจากความเคลื่อนไหวของคณะก้าวหน้าที่จัดทำแคมเปญการเมืองท้องถิ่นที่เป็นแคมเปญระดับชาติ นำเสนออุดมการณ์-ขายชุดนโยบายเป็นรายพื้นที่
มาปี 2568 ผู้สมัครนายก อบจ. หันไปสวมเสื้อพรรคลงสนาม ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของพรรคการเมืองจากส่วนกลางกับพื้นที่มากขึ้น ทว่าสิ่งที่ต่างออกไปคือคู่แข่งขันเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศรายุทธิ์ บอกว่า ความเป็นฝ่ายค้าน-รัฐบาลนั้นไม่ต่างกัน ในอดีต อบจ. ส่วนใหญ่เป็นตระกูลการเมือง พรรคพวก หรือสนิทสนมกับรัฐบาลอยู่แล้ว สิ่งที่พรรค ปชน. พยายามทำให้เห็นคือการบริหารท้องถิ่นที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ประชาชนรับรู้ แต่ไม่ค่อยได้อะไร จึงต้องสร้างนโยบายที่ประชาชนต้องการจริง ๆ และมีช่องทางสื่อสารกับประชาชนโดยตรง
"สิ่งที่ต้องทำคือสร้างความเชื่อมั่น ในเมื่อเราไม่เคยเป็น (รัฐบาล) ประชาชนจะเชื่อได้อย่างไรว่าจะทำสำเร็จ จะเกิดขึ้นจริง เราต้องมีความรู้มากพอในเรื่องนโยบาย พูดได้ ตอบได้ ทำให้เห็นว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้" เขากล่าว
เอกสารแนะนำตัวผู้สมัครนายก อบจ. และ ส.อบจ.สมุทรสาคร
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ประเมินว่า พรรค พท. ได้เปรียบในเกมนโยบาย "ทุกประตู" เพราะไม่เพียงเป็นผู้ยึดกุมอำนาจรัฐในปัจจุบัน แต่ยังมี "พ่อนายกฯ" อย่าง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนที่ 23 ต้นตำรับนโยบายประชานิยมเป็นผู้ช่วยหาเสียงคนสำคัญ
"ต่อให้คุณทักษิณพูดเรื่องนั้นแบบเฉี่ยว ๆ เช่น เดี๋ยวนายกฯ แพทองธารจะเอานโยบายนั้นนโยบายนี้มาลง ขอให้นายก อบจ. รอรับด้วยข้อจำกัดตามอำนาจของตัวเองก็พอ อย่างนี้พูดได้และคนก็เชื่อ เพราะเพื่อไทยถืออำนาจรัฐอยู่ และถ้าชนะเลือกตั้ง อบจ. จริง ๆ สิ่งที่พูดไว้ก็มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และยังมียี่ห้อทักษิณประทับตราไปอีกว่าพูดแล้วต้องได้" ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวกับบีบีซีไทย
ผู้ช่วยหาเสียง
ศึกเลือกตั้ง อบจ. ถูกมองว่าเป็นการ "วัดบารมี" ระหว่างผู้ช่วยหาเสียงจากพรรคแดง-พรรคส้ม
พรรค พท. มี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.) เป็น ผู้ช่วยหาเสียงกิตติมศักดิ์
พรรค ปชน. ได้ 2 อดีตหัวหน้าพรรคอย่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นผู้ช่วยเรียกคะแนน
ผู้นำทางการเมืองทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ในสนามที่ผู้สมัครจาก 2 พรรคลงชิงชัยกัน สติธร ตั้งคำถามว่า พรรค ปชน. จะสู้กับ ทักษิณ อย่างไรในเมื่ออดีตนายกฯ เป็นแนวบริหาร และนี่คือการเลือกนายกฯ โดยตรง เลือกหัวหน้าฝ่ายบริหารของจังหวัด
"ถ้ามองเรื่องการวัดบารมี คุณพิธายังสู้ไม่ได้ อาจด้วยประสบการณ์ไม่เท่าคุณทักษิณ ซึ่งเคยทำมาแล้วและฉลาดในการอ้างถึงความสำเร็จในอดีตก่อนเปิดประเด็นใหม่ สิ่งนี้คุณพิธาไม่มี แต่ถ้าพูดถึงข้างหน้า คุณพิธาอาจเหนือกว่าก็ได้ในบางเรื่อง คือฝันได้ไกลกว่า หรือรู้อะไรใหม่กว่าที่คุณทักษิณอาจไม่ได้สนใจ หรือเข้าใจบริบทกว่า นำเสนอได้ดีกว่า แต่ถึงเวลามันวัดกันที่ดีกว่า-ไม่ดีกว่า ทำได้จริง-ทำไม่ได้จริง โอกาสได้ทำ-ไม่ได้ทำ และคุณทักษิณมีแต้มต่อคือสิ่งที่พูดทำได้จริง เพราะมีอำนาจรัฐมาเสริม" สติธร ให้ความเห็น
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำทีมหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ 18 ม.ค.
ในระหว่างหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.นครพนม ทักษิณ อ้างผลโพลโดยบอกว่าภาคอีสาน "ดูดี น่าจะชนะเยอะ" และย้ำว่า "ที่ส่งในนามพรรคเพื่อไทย ดูแล้วน่าจะชนะทุกที่"
สำหรับพื้นที่อีสาน พรรค พท. ส่งผู้สมัครนายก อบจ. 8 คน และ 1 คนลงในนามสมาชิกพรรค โดยมีอยู่ 5 จังหวัดที่ ทักษิณ ไปช่วยหาเสียงด้วยตัวเอง ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ หนองคาย มหาสารคาม และศรีสะเกษ โดยมีอยู่ 2 จังหวัดที่คณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อบจ. ของเพื่อไทย บอกกับบีบีซีไทยว่า "ต้องออกแรงหนักและลุ้นหนัก" คือ นครพนม และศรีสะเกษ
ทีมหาเสียงเพื่อไทยระบุต่อไปว่า สิ่งที่พรรคได้จากการโดดขึ้นเวทีปราศรัยของอดีตนายกฯ คือ การเรียกคืนคะแนนเสียงจากกลุ่ม "คนรักทักษิณ" นอกจากนี้ถ้า ทักษิณ ลงพื้นที่จังหวัดไหนแล้วแพ้ ไม่ใช่แค่ผู้สมัครนายก อบจ. แต่ สส. เจ้าของพื้นที่ก็ส่อหมดอนาคตทางการเมือง ดังนั้น สส. ส.อบจ. ทุกคนต้องเอาจริงเอาจังกับสนาม อบจ.
"งานนี้ไม่ใช่แค่บารมีและอิทธิพลของนายกฯ ทักษิณต่อประชาชนอย่างที่มีการพูดกัน แต่เป็นอิทธิพลต่อ สส. ด้วย"
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าคำปราศรัยของพ่อนายกฯ ที่นำนโยบายระดับชาติมาประกาศบนเวทีหาเสียง อบจ. เข้าข่ายครอบงำ-สั่งการพรรครัฐบาลนั้น ทีมหาเสียงเพื่อไทยยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสารแต่อย่างใด เพราะเป็นการหาเสียงตามอำนาจ อบจ. ซึ่งไม่ได้ปิดกั้นว่าห้ามแจ้งข่าวสารกับประชาชน อดีตนายกฯ เพียงแต่บอกวิธีคิดของตน ไม่ได้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพิสูจน์แล้วที่ จ.อุดรธานี ก็ไม่มีคนร้องเรียนประเด็นนี้ กกต. ก็ไม่ได้เอาเรื่อง จึงไม่เป็นปัญหาและไม่กังวลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ศรายุทธิ์ เห็นว่าข้อวิเคราะห์เรื่องบารมีของผู้ช่วยหาเสียง "อาจมีส่วนบ้าง แต่น้อย" เพราะความสนใจของคนน้อย กระแสจึงไม่เหมือนกับการเลือกตั้งใหญ่
"สมมติปี 2570 คุณทักษิณมานำทัพของเพื่อไทย ตรงนั้นวัดบารมีได้ มองเห็น แต่พอท้องถิ่นมันไม่ใช่ การทำงานท้องถิ่นไม่ใช่การเมืองระดับชาติ มันคือการดูแลประชาชน คุณภาพชีวิต สิ่งใกล้ตัว"
ในสนามที่ต้องแข่งกับเพื่อไทย เลขาธิการพรรค ปชน. ระบุว่า "ไม่ได้กังวลว่าคุณทักษิณจะเป็นปัจจัยแพ้ชนะของเรา... ไม่ได้มองตรงนั้นเป็นปัจจัยหลัก" ตรงกันข้าม เขาเห็นเป็นเรื่องดีที่ผู้มีชื่อเสียง/ผู้มีอิทธิพลทางความคิดลงมารณรงค์ท้องถิ่น เพราะความยากที่สุดของสนามนี้คือความสนใจของประชาชน
ในระหว่างหาเสียงที่ จ.นครพนม เมื่อ 18 ม.ค. ทักษิณ ปราศรัยตอนหนึ่งว่า แพทองธารได้เชื้อของเขา มีวิธีคิด วิธีพูด และวิธีการทำงานเหมือนกันมาก และย้ำว่า "นายกฯ ตัวจริงคือแพทองธาร ที่มีเงาอยู่ข้างหลังคือเงาแก่ ๆ อยู่คนหนึ่ง"
เมื่อชวนย้อนกลับมามองตัวเองผ่านป้ายรณรงค์หาเสียงของพรรค ปชน. ซึ่งมีทั้งภาพผู้สมัครขึ้นคู่กับ ทิม-พิธา และ เท้ง-ณัฐพงษ์ น่าสนใจว่าอะไรคือความคิดเบื้องหลังการแบ่งสัดส่วน-การให้พื้นที่แก่ หัวหน้าเก่า-หัวหน้าใหม่
"จริง ๆ เป็นความต้องการของผู้สมัครเป็นหลักว่าต้องการอะไรเท่าไร สัดส่วนเป็นอย่างไร เราไม่ได้เข้าไปบังคับว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผู้สมัครอาจมองว่าคุณเท้งในฐานะหัวหน้าพรรค ตอนนั้นประชาชนยังรู้จักน้อย คนรู้จักคุณทิมมากกว่า ก็เลยเพิ่ม (ป้ายรณรงค์) ในส่วนของคุณทิมไป" ศรายุทธิ์ เฉลย
คำกล่าวของพ่อบ้านพรรคสีส้มไปสอดรับกับเสียงวิจารณ์จากผู้คนบางส่วนที่ว่า ณัฐพงษ์ เรตติ้งไม่ดี-ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงต้องขายภาพอดีตหัวหน้าพรรค 14 ล้านเสียงไปพลางก่อน
"ก็เป็นอย่างนั้นจริง ต้องยอมรับว่าเรามีเวลาที่จำกัดมากในการทำให้คุณเท้งเป็นที่รู้จัก เราต้องทำทุกอย่างเพื่อกระตุ้นให้คนสนใจการเมืองท้องถิ่นก่อน" เขาพูดอย่างไม่ปิดบัง
หัวคะแนน
หากพรรคอนาคตใหม่/ก้าวไกล ประสบความสำเร็จในการสร้าง "หัวคะแนนธรรมชาติ" เพื่อเอาชนะ "หัวคะแนนจัดตั้ง" ของคนการเมืองหน้าเก่าทั้งในคราวเลือกตั้ง 2562 ที่นำผู้แทนราษฎรหน้าใหม่เข้าสภาได้ 80 ชีวิต หลังก่อตั้งพรรคเพียง 1 ปี ก่อน "ล้มแชมป์เก่า" คว้าชนะการเลือกตั้ง 2566 ด้วยยอด สส. 151 ชีวิต
ศรายุทธิ์ บอกว่า ในสนามท้องถิ่น หัวคะแนนธรรมชาติไม่ได้เยอะ แม้มีอาสาสมัครช่วยรณรงค์หาเสียงก็ตาม แต่สิ่งที่พรรค ปชน. มีเพิ่มขึ้นคือ ส.อบจ. ที่สามารถสื่อสารได้หากเทียบกับการเลือก อบจ. 2563 ที่ "แทบไม่มีอะไรเลย" พร้อมยอมรับว่า การจัดตั้งเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะทำการเมืองเก่าหรือใหม่ เพียงแต่รูปแบบการจัดตั้งแตกต่างกัน
ในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น 2563 คณะก้าวหน้าหาเสียงด้วยการเปรียบเปรยว่า "อิทธิพลของการเมืองท้องถิ่นคือนั่งร้านของเผด็จการ" และขอให้ประชาชนช่วยกัน "ทำลายนั่งร้านของเผด็จการในแต่ละท้องถิ่น" ซึ่งเป็นแคมเปญที่ต่อยอดจากการเมืองระดับชาติ
แคมเปญดังกล่าวได้รับเสียงตอบรับโดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่-ในเขตหัวเมือง ด้วยเพราะการเมืองระดับชาติอยู่ภายใต้การปกครองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ออกคำสั่ง "แช่แข็ง" การเลือกผู้บริหารท้องถิ่น
แต่มาถึง พ.ศ. ปัจจุบัน โจทย์ของพรรค ปชน. ยากขึ้น ครั้นจะชูการเมืองเชิงอุดมการณ์ ประชาธิปไตย-เผด็จการ ก็ทำได้ไม่ถนัด เพราะคู่แข่งหาใช่พรรค "ลุงทหาร" แต่เป็น "พ่อใหญ่ ท.ทหาร" อันหมายถึง ท.ทักษิณ
ศรายุทธิ์ ยกแคมเปญของพรรค ปชน. ที่ว่า "อบจ. ประชาชน ดูแลทุกคน ทั่วถึง เท่าเทียม" มายืนยันว่าแนวรณรงค์หาเสียงของพรรคยังมีอุดมการณ์กำกับอยู่ คือการเปลี่ยนประชาชนให้กลายเป็นพลเมือง ให้ทุกคนมีความสำคัญที่ อบจ. ต้องดูแล ต่างจากระบบการเมืองแบบเดิมที่ใช้เครือข่ายอุปถัมภ์ ใช้เส้นสายในการเข้าถึงบริการของรัฐ แต่การเมืองขณะนี้เป็นคนละบริบท สิ่งที่พรรคมองคือ "ทุกการเลือกตั้งคือโอกาส" ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร ความเท่าเทียมคืออะไร คือการทำงานทางความคิดให้เขามองเห็น และเป็นสิ่งจำเป็นถ้าอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง
"ถ้าประชาชนเข้าใจมากขึ้น ก็จะส่งผลต่อเราในการเลือกตั้งในอนาคต"
ในทัศนะของเลขาธิการพรรค ปชน. ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะในสนาม อบจ. อยู่ที่การทำงานพื้นที่ของผู้สมัครแต่ละฝ่ายว่าจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้หรือไม่ว่าสามารถดูแลคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น
ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย จะไม่มีการปล่อยม็อตโต้ใหม่เพื่อกระชากใจ-กระตุกคะแนนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะแกนนำพรรค ปชน. มองว่า "วันนี้ยังไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าสิ่งที่มีอยู่ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ไปถึงประชาชน กระจายแกนนำไปปลุกประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะวันนี้ประชาชนยังตื่นตัวน้อยมาก"
ทีมหาเสียงจากเพื่อไทย-ประชาชนประเมินตรงกันว่า ความสำเร็จของการเมืองระดับชาติ กระแสเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด รองลงมาคือ คู่แข่ง และตัวผู้สมัคร สวนทางกับการเมืองท้องถิ่นที่ผู้สมัครคือปัจจัยหลัก รองลงมาคือคู่แข่ง ส่วนกระแสมีผลน้อยมาก
เมื่อชวนย้อนกลับมามองตัวเองผ่านป้ายรณรงค์หาเสียงของพรรค ปชน. ซึ่งมีทั้งภาพผู้สมัครขึ้นคู่กับ ทิม-พิธา และ เท้ง-ณัฐพงษ์ น่าสนใจว่าอะไรคือความคิดเบื้องหลังการแบ่งสัดส่วน-การให้พื้นที่แก่ หัวหน้าเก่า-หัวหน้าใหม่
"จริง ๆ เป็นความต้องการของผู้สมัครเป็นหลักว่าต้องการอะไรเท่าไร สัดส่วนเป็นอย่างไร เราไม่ได้เข้าไปบังคับว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผู้สมัครอาจมองว่าคุณเท้งในฐานะหัวหน้าพรรค ตอนนั้นประชาชนยังรู้จักน้อย คนรู้จักคุณทิมมากกว่า ก็เลยเพิ่ม (ป้ายรณรงค์) ในส่วนของคุณทิมไป" ศรายุทธิ์ เฉลย
คำกล่าวของพ่อบ้านพรรคสีส้มไปสอดรับกับเสียงวิจารณ์จากผู้คนบางส่วนที่ว่า ณัฐพงษ์ เรตติ้งไม่ดี-ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงต้องขายภาพอดีตหัวหน้าพรรค 14 ล้านเสียงไปพลางก่อน
"ก็เป็นอย่างนั้นจริง ต้องยอมรับว่าเรามีเวลาที่จำกัดมากในการทำให้คุณเท้งเป็นที่รู้จัก เราต้องทำทุกอย่างเพื่อกระตุ้นให้คนสนใจการเมืองท้องถิ่นก่อน" เขาพูดอย่างไม่ปิดบัง
หัวคะแนน
หากพรรคอนาคตใหม่/ก้าวไกล ประสบความสำเร็จในการสร้าง "หัวคะแนนธรรมชาติ" เพื่อเอาชนะ "หัวคะแนนจัดตั้ง" ของคนการเมืองหน้าเก่าทั้งในคราวเลือกตั้ง 2562 ที่นำผู้แทนราษฎรหน้าใหม่เข้าสภาได้ 80 ชีวิต หลังก่อตั้งพรรคเพียง 1 ปี ก่อน "ล้มแชมป์เก่า" คว้าชนะการเลือกตั้ง 2566 ด้วยยอด สส. 151 ชีวิต
ศรายุทธิ์ บอกว่า ในสนามท้องถิ่น หัวคะแนนธรรมชาติไม่ได้เยอะ แม้มีอาสาสมัครช่วยรณรงค์หาเสียงก็ตาม แต่สิ่งที่พรรค ปชน. มีเพิ่มขึ้นคือ ส.อบจ. ที่สามารถสื่อสารได้หากเทียบกับการเลือก อบจ. 2563 ที่ "แทบไม่มีอะไรเลย" พร้อมยอมรับว่า การจัดตั้งเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะทำการเมืองเก่าหรือใหม่ เพียงแต่รูปแบบการจัดตั้งแตกต่างกัน
- การเมืองเก่า จัดตั้งด้วย 1. เครือข่ายอุปถัมภ์ที่ "มีความเกรงใจและนิยมชมชอบกัน" 2. ทรัพยากร ใช้เงินหล่อเลี้ยงกลไกต่าง ๆ โดยแบ่งจ่ายหัวคะแนนตามระดับพื้นที่ 3,000 5,000 10,000 บาท
- การเมืองใหม่ บริหารจัดการด้วย "ความฝันร่วมกัน" ว่าอยากผลักดันสิ่งนี้ให้สำเร็จในจังหวัด โดยมี สส. อาสาสมัคร และผู้สมัครทำงานร่วมกัน
ในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น 2563 คณะก้าวหน้าหาเสียงด้วยการเปรียบเปรยว่า "อิทธิพลของการเมืองท้องถิ่นคือนั่งร้านของเผด็จการ" และขอให้ประชาชนช่วยกัน "ทำลายนั่งร้านของเผด็จการในแต่ละท้องถิ่น" ซึ่งเป็นแคมเปญที่ต่อยอดจากการเมืองระดับชาติ
แคมเปญดังกล่าวได้รับเสียงตอบรับโดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่-ในเขตหัวเมือง ด้วยเพราะการเมืองระดับชาติอยู่ภายใต้การปกครองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ออกคำสั่ง "แช่แข็ง" การเลือกผู้บริหารท้องถิ่น
แต่มาถึง พ.ศ. ปัจจุบัน โจทย์ของพรรค ปชน. ยากขึ้น ครั้นจะชูการเมืองเชิงอุดมการณ์ ประชาธิปไตย-เผด็จการ ก็ทำได้ไม่ถนัด เพราะคู่แข่งหาใช่พรรค "ลุงทหาร" แต่เป็น "พ่อใหญ่ ท.ทหาร" อันหมายถึง ท.ทักษิณ
ศรายุทธิ์ ยกแคมเปญของพรรค ปชน. ที่ว่า "อบจ. ประชาชน ดูแลทุกคน ทั่วถึง เท่าเทียม" มายืนยันว่าแนวรณรงค์หาเสียงของพรรคยังมีอุดมการณ์กำกับอยู่ คือการเปลี่ยนประชาชนให้กลายเป็นพลเมือง ให้ทุกคนมีความสำคัญที่ อบจ. ต้องดูแล ต่างจากระบบการเมืองแบบเดิมที่ใช้เครือข่ายอุปถัมภ์ ใช้เส้นสายในการเข้าถึงบริการของรัฐ แต่การเมืองขณะนี้เป็นคนละบริบท สิ่งที่พรรคมองคือ "ทุกการเลือกตั้งคือโอกาส" ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร ความเท่าเทียมคืออะไร คือการทำงานทางความคิดให้เขามองเห็น และเป็นสิ่งจำเป็นถ้าอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง
"ถ้าประชาชนเข้าใจมากขึ้น ก็จะส่งผลต่อเราในการเลือกตั้งในอนาคต"
ในทัศนะของเลขาธิการพรรค ปชน. ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะในสนาม อบจ. อยู่ที่การทำงานพื้นที่ของผู้สมัครแต่ละฝ่ายว่าจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้หรือไม่ว่าสามารถดูแลคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น
ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย จะไม่มีการปล่อยม็อตโต้ใหม่เพื่อกระชากใจ-กระตุกคะแนนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะแกนนำพรรค ปชน. มองว่า "วันนี้ยังไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าสิ่งที่มีอยู่ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ไปถึงประชาชน กระจายแกนนำไปปลุกประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะวันนี้ประชาชนยังตื่นตัวน้อยมาก"
ทีมหาเสียงจากเพื่อไทย-ประชาชนประเมินตรงกันว่า ความสำเร็จของการเมืองระดับชาติ กระแสเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด รองลงมาคือ คู่แข่ง และตัวผู้สมัคร สวนทางกับการเมืองท้องถิ่นที่ผู้สมัครคือปัจจัยหลัก รองลงมาคือคู่แข่ง ส่วนกระแสมีผลน้อยมาก
ชาวบึงกาฬมารอฟังการปราศรัยของอดีตนายกฯ ทักษิณ 19 ม.ค.
ขณะที่อาจารย์สติธรชี้ว่า ชัยชนะในสนาม อบจ. มาจากฐานเสียงเป็นหลัก เพราะคือการวัดว่าใครมีฐานจัดตั้งมากกว่ากัน และคำนวณได้ว่าฐานจัดตั้งมากหรือน้อย ต้องแข่งกับคนที่อยู่นอกฐานเท่าไร ต้องเติมอะไรตรงไหนเพื่อแก้เกม
"สนามท้องถิ่นมันคือการบอกฐานเสียง ต้องรอดูคะแนนคู่กันระหว่างคะแนนนายก อบจ. กับ ส.อบจ." สติธร กล่าว
นอกจากพรรค พท. กับพรรค ปชน. ยังมีผู้สมัคร "สีน้ำเงิน" ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองใหญ่ แต่จงใจไม่สวมเสื้อพรรคลงสนาม จึงไม่ปรากฏร่องรอยชัดเจน ทว่าเป็นที่รับรู้ในหมู่นักเลือกตั้งและผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองว่า "มีระบบบริหารจัดการดีเยี่ยม" และ "กล้าทำ" โดยแกนนำพรรคปล่อยให้ "บ้านใหญ่" ดำเนินการตามความถนัด ซึ่งผู้สมัครที่มีเงาพรรคการเมืองอยู่ข้างหลังเหล่านี้ถือเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวกว่าสำหรับพรรคสีแดง
นักวิชาการผู้ศึกษาและสังเกตการณ์การเมืองท้องถิ่นย้ำว่า ชัยชนะจะมาจาก "บ้านใหญ่+พรรคใหญ่" แต่ถ้าพรรคใหญ่ไม่มีบ้านใหญ่ ก็ถือว่าองค์ประกอบแห่งชัยชนะไม่ครบถ้วน
จากยอดส่งผู้สมัครนายก อบจ. 14+2 คนของพรรค พท. และ 17 คนของพรรค ปชน. แต่ละพรรคต้องได้กี่คนถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ
สติธร ตอบว่า "เพื่อไทยควรได้ทั้ง 14 คน อะไรที่ประกาศในนามพรรคต้องได้หมด ไม่อย่างนั้นเสียหน้า เพราะเขาไม่ได้บังคับ เลือกจะไม่ส่งก็ได้ ดังนั้นจังหวัดไหนที่ส่งแปลว่าต้องมั่นใจ" ส่วนประชาชน "ได้ 1 คน ก็ถือว่าชนะแล้วสำหรับเขา เฮแล้ว"
อนาคตหลัง 1 ก.พ.
การเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้มีผู้สมัคร 7,007 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครนายก อบจ. 192 คน ซึ่ง กกต. ไม่ประกาศรายชื่อ 3 คน โดยผู้สมัครร้องคัดค้าน 2 คน และสมาชิก 6,815 คน ไม่ประกาศรายชื่อ 92 คน มีผู้สมัครร้องคัดค้าน 17 คน
แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากพรรค ปชน. แพ้ทุกพื้นที่ จากเป้าหมาย 5 นายก อบจ. จาก 5 ภูมิภาค
ศรายุทธิ์ ชวนย้อนอดีต มองปัจจุบัน ก่อนจะคิดถึงอนาคต โดยไล่รายชื่อ สส. ภูเก็ต สมุทรสงคราม ระยอง ที่เคยลงสมัครสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในนามคณะก้าวหน้าแล้วแพ้ แต่วันนี้กลายเป็น สส. สังกัดพรรคประชาชน
"เวลามองปัจจัยแพ้วันนี้ เทียบกับปี 2570 ที่จะมีเลือกตั้งใหญ่ คนทั่วไปไม่เห็นสิ่งที่ผมพูด แต่คนที่พรรคเราไม่อกสั่นขวัญแขวนแน่นอน เรารู้ดีว่านี่คือบทเรียนที่ต้องไปแกะ ไปดูรายละเอียด มันทำให้เราเข้าใจมากขึ้น สร้างเครือข่ายได้มากขึ้น รู้จักพื้นที่มากขึ้น นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราชนะการเลือกตั้งใหญ่"
ด้วยความเชื่อแบบชาวประชาชน ทำให้พรรคสีส้มวางแผนส่งผู้สมัครลงสนาม อบจ. เทศบาล อบต. ผู้ว่าราชการ กทม. เพราะแต่ละระดับ มีความเข้มข้นในการทำงานแตกต่างกันไป
"ที่เราต้องชนะ เพราะเราต้องการบริหารให้เห็น แนวคิด 4 ป. โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม และการบริหารที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มันหน้าตาเป็นอย่างไร" เขากล่าว
ส่วนผลจากการทำงานการเมืองท้องถิ่น จะทำให้พรรค ปชน. ไปถึงทำเนียบรัฐบาลด้วยยอด สส. 270 เสียงตามที่ หัวหน้าเท้ง ลั่นวาจาไว้หรือไม่นั้น เลขาฯ ติ่ง ใช้คำว่าสิ่งที่พูดกันในพรรคมากคือ "มากกว่าเดิม" ส่วนจะได้ไปไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับระหว่างทางว่า แต่ละสนามท้องถิ่นทำได้ดีแค่ไหน เช่นเดียวกับงานในสภา อภิปรายแล้วทำให้ประชาชนเชื่อได้หรือไม่ว่าพรรค ปชน. ยังเป็นพรรคที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพ เป็นที่พึ่งที่หวังได้
แม้ประกาศทำ "การเมืองใหม่" แต่ ศรายุทธิ์ ยืนยันว่าพรรค ปชน. ไม่ได้แปลกแยก ยังทำงานร่วมกับพรรคอื่น ๆ ได้ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ไม่ได้มีปัญหา "แต่การสื่อสารข้างนอก เกิดการโจมตี การพูดกัน มันเกิดภาพอย่างนั้น คิดว่าเป็นความจงใจของคู่แข่งเราด้วยที่ต้องการให้เกิดภาพแบบนั้น"
หากวาทะ "มีลุง ไม่มีเรา" คือจุดแข็ง-จุดขายที่ทำให้พรรคส้มมีชัยเหนือคู่แข่ง มาวันนี้เริ่มมีนักการเมือง/นักวิชาการโยนคำถามลอยลมว่า พรรค ปชน. จะตอบคำถามเดียวกันนี้อย่างไรในการเลือกตั้ง 2570 หลังผ่านปรากฏการณ์ "รัฐบาลผสมพันธุ์ข้ามขั้ว"
ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตอบ เลขาธิการพรรคอันดับ 1 ของสภา ขอประเมินข้อเท็จจริงในเวลานั้นว่าเกมการเมืองเป็นอย่างไร แต่ยืนยันว่า "จะมีจุดยืนแน่นอน และต้องเป็นจุดยืนที่เป็นจริง ทำไมต้อง 'มีลุง ไม่มีเรา' ต้องไม่จับ 2 พรรคนั้น (พรรคพลังประชารัฐ, พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะมันเป็นเงื่อนไข ณ เวลานั้นที่เห็นว่าสังคมต้องหลุดจากระบบรัฐประหารเดิม เราเลยชวนทุกคน เลยชูแคมเปญนั้น มาวันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ต้องดูว่าในวันเลือกตั้งจริง ประเด็นอะไรในสังคมที่เราต้องพาไป ก็จะนำไปสู่ว่าเราจะไม่จับกับใคร"
https://www.bbc.com/thai/articles/cqx90zy5qx3o