https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=372505868708847&id=100078483113768&ref=embed_post
เหมืองแร่โปแตชแอ่งโคราช
11h ·
ผลึกเกลือ กำลังประจานความไร้ประสิทธิภาพในการทำเหมืองแร่ และ ความอ่อนแอในกระบวนการตรวจสอบการทำเหมืองใต้ดิน
.
เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง อันไร้เม็ดฝน แต่พื้นที่ ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา กลับมีความชุ่มชื้นของผืนดินอยู่ตลอดเวลา ในบางช่วงก็จะปรากฏคราบน้ำ หรือร่องรอยการไหลของน้ำบนพื้นดินอันเปียกแฉะทั้งที่ไม่มีฝนตกลงมาแม้แต่เม็ดเดียว แต่ที่น่าสนใจก็คือ เมื่อไหร่ที่เราเห็นรอยน้ำไหล น้ำในบ่อเก็บน้ำของบริษัทเหมืองแร่โปแตชก็จะค่อยๆเหือดแห้งลง
.
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่นี่ ต้องถือเป็นปรากฏการณ์พิเศษอันหาได้ยากในประเทศไทย เพราะเมื่ออากาศแห้ง บนพื้นดินจะเต็มไปด้วยเกล็ดสีขาวส่องประกายอยู่ทั่วบริเวณ เมื่อเดินเหยียบย่ำลงไปจะได้ยินเสียง “กรอบ แกรบ” ตลอดเวลา และในจุดที่เคยมีน้ำขัง เมื่อแสงแดดได้ทำหน้าที่อ่างเต็มรูปแบบ น้ำระเหยออกไปก็จะคงเหลือไว้เป็นผลึกสี่เหลี่ยมสีขาวบ้าง สีขุ่นบ้าง หรือในบางจุดที่มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำ เมื่อเรามองลงไปจะพบแผ่นผลึกเกลือหนาประมาณหนึ่งนิ้ว พร้อมกับผลึกเกลือที่เกิดขึ้นบริเวณขอบบ่อ
.
กระบวนการร้องเรียนในพื้นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผลการตรวจสอบมากมาย แต่กลับไม่สามารถกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาได้แต่อย่างใด มีเพียงฝั่งบริษัท ที่ค่อยๆกว้านซื้อที่ดิน แล้วนำดินมาถมกลบร่องรอยคราบเกลือ แต่ถมได้ไม่นานเกลือสีขาวก็ปรากฏขึ้นประจานถึงความไร้ประสิทธิภาพในการทำเหมือง
.
“แร่โปแตช” เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล แต่เทียบกันได้หรือไม่กับผืนดินที่กำลังถูกทำลายจากความเค็มจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไม่ เทียบกันได้หรือไม่กับแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ที่จะถูกทำลายจากการปนเปื้อนความเค็มของระบบน้ำใต้ดิน เทียบกันได้หรือไม่กับชาวบ้านในพื้นที่ประทานบัตรที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเสี่ยงบนพื้นดินที่ถูกเจาะทำเหมืองใต้ดิน
.
ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทย จะต้องนำความจริง และข้อมูลผลกระทบของการทำเหมืองโปแตช การทำเหมืองใต้ดินมาพูดคุยกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่มองเพียงแค่จะเดินหน้าโครงการโดยไม่สนใจผลกระทบ สิ่งที่ควรทำก่อนการเดินหน้าโครงการเหมืองโปแตชในพื้นที่ต่างๆ คือการปิดเหมืองโปแตชด่านขุนทด แล้วสรุปบทเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไข หามาตรการที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยอย่างเพียงพอเสียก่อน เพื่อไม่ให้ที่ดินอีกกว่า 4 หมื่นไร่ จากพื้นที่ประทานบัตร 3 โครงการ ทั้งใน นครราชสีมา ชัยภูมิ และ อุดรธานี ต้องถูกทำลาย และจะทำให้คนอีกหลายหมื่นคนไม่มีที่ดินทำกินในอนาคต
.
“ หยุดหลอกลวงว่าความน่ากลัวของเหมืองโปแตช หรือการทำเหมืองใต้ดินมีเพียงเรื่องการทรุดตัวของแผ่นดิน เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ ความเค็ม ขนาดความเค็มธรรมชาติประเทศไทยยังไม่สามารถจัดการได้ คงไม่ต้องพูดถึงความเค็มที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติที่เค็มกว่าหลายสิบเท่า ที่พร้อมจะกลืนกินทั้งผืนน้ำ ผืนดิน และรวมถึงอาคารบ้านเรือน ให้พินาศย่อยยับไปพร้อมกัน”
เหมืองแร่โปแตชแอ่งโคราช
11h ·
ผลึกเกลือ กำลังประจานความไร้ประสิทธิภาพในการทำเหมืองแร่ และ ความอ่อนแอในกระบวนการตรวจสอบการทำเหมืองใต้ดิน
.
เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง อันไร้เม็ดฝน แต่พื้นที่ ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา กลับมีความชุ่มชื้นของผืนดินอยู่ตลอดเวลา ในบางช่วงก็จะปรากฏคราบน้ำ หรือร่องรอยการไหลของน้ำบนพื้นดินอันเปียกแฉะทั้งที่ไม่มีฝนตกลงมาแม้แต่เม็ดเดียว แต่ที่น่าสนใจก็คือ เมื่อไหร่ที่เราเห็นรอยน้ำไหล น้ำในบ่อเก็บน้ำของบริษัทเหมืองแร่โปแตชก็จะค่อยๆเหือดแห้งลง
.
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่นี่ ต้องถือเป็นปรากฏการณ์พิเศษอันหาได้ยากในประเทศไทย เพราะเมื่ออากาศแห้ง บนพื้นดินจะเต็มไปด้วยเกล็ดสีขาวส่องประกายอยู่ทั่วบริเวณ เมื่อเดินเหยียบย่ำลงไปจะได้ยินเสียง “กรอบ แกรบ” ตลอดเวลา และในจุดที่เคยมีน้ำขัง เมื่อแสงแดดได้ทำหน้าที่อ่างเต็มรูปแบบ น้ำระเหยออกไปก็จะคงเหลือไว้เป็นผลึกสี่เหลี่ยมสีขาวบ้าง สีขุ่นบ้าง หรือในบางจุดที่มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำ เมื่อเรามองลงไปจะพบแผ่นผลึกเกลือหนาประมาณหนึ่งนิ้ว พร้อมกับผลึกเกลือที่เกิดขึ้นบริเวณขอบบ่อ
.
กระบวนการร้องเรียนในพื้นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผลการตรวจสอบมากมาย แต่กลับไม่สามารถกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาได้แต่อย่างใด มีเพียงฝั่งบริษัท ที่ค่อยๆกว้านซื้อที่ดิน แล้วนำดินมาถมกลบร่องรอยคราบเกลือ แต่ถมได้ไม่นานเกลือสีขาวก็ปรากฏขึ้นประจานถึงความไร้ประสิทธิภาพในการทำเหมือง
.
“แร่โปแตช” เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล แต่เทียบกันได้หรือไม่กับผืนดินที่กำลังถูกทำลายจากความเค็มจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไม่ เทียบกันได้หรือไม่กับแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ที่จะถูกทำลายจากการปนเปื้อนความเค็มของระบบน้ำใต้ดิน เทียบกันได้หรือไม่กับชาวบ้านในพื้นที่ประทานบัตรที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเสี่ยงบนพื้นดินที่ถูกเจาะทำเหมืองใต้ดิน
.
ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทย จะต้องนำความจริง และข้อมูลผลกระทบของการทำเหมืองโปแตช การทำเหมืองใต้ดินมาพูดคุยกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่มองเพียงแค่จะเดินหน้าโครงการโดยไม่สนใจผลกระทบ สิ่งที่ควรทำก่อนการเดินหน้าโครงการเหมืองโปแตชในพื้นที่ต่างๆ คือการปิดเหมืองโปแตชด่านขุนทด แล้วสรุปบทเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไข หามาตรการที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยอย่างเพียงพอเสียก่อน เพื่อไม่ให้ที่ดินอีกกว่า 4 หมื่นไร่ จากพื้นที่ประทานบัตร 3 โครงการ ทั้งใน นครราชสีมา ชัยภูมิ และ อุดรธานี ต้องถูกทำลาย และจะทำให้คนอีกหลายหมื่นคนไม่มีที่ดินทำกินในอนาคต
.
“ หยุดหลอกลวงว่าความน่ากลัวของเหมืองโปแตช หรือการทำเหมืองใต้ดินมีเพียงเรื่องการทรุดตัวของแผ่นดิน เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ ความเค็ม ขนาดความเค็มธรรมชาติประเทศไทยยังไม่สามารถจัดการได้ คงไม่ต้องพูดถึงความเค็มที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติที่เค็มกว่าหลายสิบเท่า ที่พร้อมจะกลืนกินทั้งผืนน้ำ ผืนดิน และรวมถึงอาคารบ้านเรือน ให้พินาศย่อยยับไปพร้อมกัน”