นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว. คลัง ชี้แจง ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงินรวม 3.48 ล้านล้านบาท เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567
พลิกเอกสารอ้างเป็นของ ป.ป.ช. เตือน 8 ข้อแจกดิจิทัลวอลเล็ต มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
เมื่อ 9 ชั่วโมงที่แล้ว
บีบีซีไทย
เอกสารที่อ้างว่ามาจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดเล็ก ที่ศึกษานโยบายดิจิทัลวอลเล็ต เตือนความเสี่ยงต่อการเกิดการทุจริตเชิงนโยบาย ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและกฎหมาย 8 ข้อ อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนของโครงการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
เอกสารที่เผยแพร่ออกมาในช่วงสัปดาห์นี้มีชื่อว่า "(ร่าง) ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet" ระบุร่างฉบับแก้ไขเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567 โดยคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คณะกรรมการศึกษาฯ มี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ผู้มีฉายาว่า “มือปราบจำนำข้าว” เป็นประธานในการศึกษา โดยได้รับการแต่งตั้งพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ รวม 23 คน จาก ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เมื่อเดือน ต.ค. 2566
แม้ ป.ป.ช.จะปฏิเสธอว่าไม่ใช่ความเห็นจาก ป.ป.ช. แต่ผลสะเทือนของ "เอกสารหลุด" ฉบับนี้ ทำให้รัฐบาลเลื่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล ออกไปจากวันที่ 16 ม.ค.เพื่อรอเอกสารอย่างเป็นทางการจาก ป.ป.ช. หลังจากได้รับเอกสารจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
หลังจาก 4 เดือน ที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เอกสารฉบับนี้ ปรากฏสาระสำคัญและสถานะทางกฎหมายที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เขียนบทบัญญัติมอบอำนาจไว้ ขณะที่เมื่อย้อนไปดูคดีทุจริตคดีใหญ่ อย่างคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจทำให้เห็นจุดเชื่อมโยงบางประการจากเอกสารฉบับนี้
เปิด 8 ข้อเสนอแนะ แจกดิจิทัลวอลเล็ต
เอกสารความยาว 117 หน้า ของคณะกรรมการศึกษาฯ ดิจิทัลวอลเล็ต ประกอบไปด้วย ข้อเท็จจริงของนโยบาย ตั้งแต่เอกสารแจกแจงรายละเอียดนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย (พท.) ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ กกต. คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คำแถลงของนายกฯ การดำเนินการของคณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ ที่เกี่ยวกับนโยบายเติมเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ต
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ บทวิเคราะห์ และข้อเท็จริงจากการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งที่ปรากฏตามสื่อสารมวลชน และความเห็นที่เสนอมายังคณะกรรมการศึกษาฯ ของ ป.ป.ช. ชุดนี้ เช่น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รวมทั้งกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาลที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่อ้างว่าเป็นของคณะกรรมการศึกษาฯ ของ ป.ป.ช.ยังระบุถึงข้อพิจารณาความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงต่อการทุจริต ทั้งการทุจริตเชิงนโยบาย ทุจริตจากกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับเงิน ความเสี่ยงทางกฎหมายและเศรษฐกิจ ซึ่งสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแนะในท้ายเอกสารจำนวน 8 ข้อ ดังนี้
เอกสารที่อ้างว่ามาจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดเล็ก ที่ศึกษานโยบายดิจิทัลวอลเล็ต เตือนความเสี่ยงต่อการเกิดการทุจริตเชิงนโยบาย ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและกฎหมาย 8 ข้อ อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนของโครงการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
เอกสารที่เผยแพร่ออกมาในช่วงสัปดาห์นี้มีชื่อว่า "(ร่าง) ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet" ระบุร่างฉบับแก้ไขเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567 โดยคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คณะกรรมการศึกษาฯ มี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ผู้มีฉายาว่า “มือปราบจำนำข้าว” เป็นประธานในการศึกษา โดยได้รับการแต่งตั้งพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ รวม 23 คน จาก ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เมื่อเดือน ต.ค. 2566
แม้ ป.ป.ช.จะปฏิเสธอว่าไม่ใช่ความเห็นจาก ป.ป.ช. แต่ผลสะเทือนของ "เอกสารหลุด" ฉบับนี้ ทำให้รัฐบาลเลื่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล ออกไปจากวันที่ 16 ม.ค.เพื่อรอเอกสารอย่างเป็นทางการจาก ป.ป.ช. หลังจากได้รับเอกสารจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
หลังจาก 4 เดือน ที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เอกสารฉบับนี้ ปรากฏสาระสำคัญและสถานะทางกฎหมายที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เขียนบทบัญญัติมอบอำนาจไว้ ขณะที่เมื่อย้อนไปดูคดีทุจริตคดีใหญ่ อย่างคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจทำให้เห็นจุดเชื่อมโยงบางประการจากเอกสารฉบับนี้
เปิด 8 ข้อเสนอแนะ แจกดิจิทัลวอลเล็ต
เอกสารความยาว 117 หน้า ของคณะกรรมการศึกษาฯ ดิจิทัลวอลเล็ต ประกอบไปด้วย ข้อเท็จจริงของนโยบาย ตั้งแต่เอกสารแจกแจงรายละเอียดนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย (พท.) ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ กกต. คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คำแถลงของนายกฯ การดำเนินการของคณะกรรมการ, คณะอนุกรรมการ ที่เกี่ยวกับนโยบายเติมเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ต
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ บทวิเคราะห์ และข้อเท็จริงจากการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งที่ปรากฏตามสื่อสารมวลชน และความเห็นที่เสนอมายังคณะกรรมการศึกษาฯ ของ ป.ป.ช. ชุดนี้ เช่น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รวมทั้งกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาลที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่อ้างว่าเป็นของคณะกรรมการศึกษาฯ ของ ป.ป.ช.ยังระบุถึงข้อพิจารณาความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงต่อการทุจริต ทั้งการทุจริตเชิงนโยบาย ทุจริตจากกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับเงิน ความเสี่ยงทางกฎหมายและเศรษฐกิจ ซึ่งสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแนะในท้ายเอกสารจำนวน 8 ข้อ ดังนี้
นายเศรษฐา ทวีสิน แถลงความชัดเจนของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 โดยระบุแหล่งที่มาของงบประมาณทำโครงการว่าจะ พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้าน
1. รัฐบาลต้องวิเคราะห์ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าผู้ได้รับผลประโยชน์จะไม่ตกแก่พรรคการเมือง บุคคล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพกว่ารายย่อย และบุคคลที่ไม่ใช่คนจนหรือกลุ่มเปราะบาง เอกสารฉบับนี้ ชี้ประเด็นไว้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
2. กกต. ควรตรวจสอบการหาเสียงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของพรรคเพื่อไทย (พท.) และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา เพราะพบว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งข้อแตกต่างนี้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 หรือไม่ "มิฉะนั้นจะเป็นบรรทัดฐานสำหรับพรรคการเมืองสามารถหาเสียงไว้อย่างไรก็ได้ เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม"
ความแตกต่างระหว่างนโยบายตอนหาเสียงและนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และความไม่ชัดเจนในการดำเนินนโยบายในปัจจุบัน เป็นอีกประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในรายงานฉบับนี้ เข้าข่ายหาเสียงในลักษณะสัญญาว่าจะให้ ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. ปี 2561 อีกทางหนึ่ง
3. อัตราความเจริญเติบโตของประเทศไทย ยังไม่เข้าข่ายประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแต่ประการใด เพียงแต่ชะลอตัวเท่านั้น
เอกสารฉบับนี้ อ้างอิงตัวเลขภาวะเศรษฐกิจของหนวยงานต่าง ๆ ตัวทวีคูณทางการคลัง และตัวบ่งชี้ภาวะวิกฤตของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พร้อมชี้ว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพยั่งยืน จำเป็นต้องพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น การบริโภคภาคเอกชน อัตราการว่างงาน การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
4. การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายของรัฐบาลต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า ผลกระทบ และภาระทางการเงินการคลังในอนาคต ซึ่งโครงการนี้มีผลเสียมากกว่าผลดี
เอกสารระบุว่า การต้องกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ในขณะที่ตัวทวีคูณทางการคลังมีเพียง 0.4 เป็นการสร้างภาระหนี้แก่รัฐบาลและประชาชนในระยะยาว ซึ่งจะต้องตั้งงบประมาณในการชำระหนี้จำนวนนี้เป็นระยะเวลา 4-5 ปี กระทบต่อตัวเลขการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ
ทั้งนี้ ตัวทวีคูณทางการคลัง 0.4 ในข้อนี้ เอกสารได้อ้างอิงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระบุว่า ตัวทวีคูณทางการคลังจากเงินโอน มีสัดส่วนต่ำกว่าการใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุน เนื่องจากการที่รัฐบาลนำเงินไปให้ประชาชน ต้องพิจารณาว่าประชาชนสามารถนำเงินไปใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมได้มากน้อยขนาดไหน
ข้อมูลประกอบการแถลงข่าวของนายกฯ ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจกจ่ายสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566
5. คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาความเสี่ยงทางกฎหมายอย่างรอบคอบ ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญปี 2560 ในมาตรา 172, พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง, พ.ร.บ.เงินคงคลัง ตลอดจนกฎหมาย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และระเบียบอื่น ๆ
6. คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประเมินความเสี่ยงในการดำเนินโครงการอย่างรอบด้าน ด้วยการกำหนดแนวทางมาตรการบริหารความเสี่ยง ป้องกันการทุจริต การตรวจสอบก่อน-ระหว่าง-หลังโครงการ
7. การดำเนินนโยบายที่มุ่งช่วยเหลือประชาชนภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เข้าขั้นวิกฤต ควรพิจารณากลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เปราะบางที่สุดที่ต้องการความช่วยเหลือตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 และ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ปี 2561 อาทิ กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน
8. แอปพลิเคชันเป๋าตัง เหมาะสมกว่าการใช้บล็อกเชน เอกสาร ป.ป.ช. ระบุว่า การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ครม. ควรพิจารณาถึงความจำเป็น ความเหมาะสม ระยะเวลา และงบประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ โดยเห็นว่า ด้วยตัวโครงการเป็นการแจกเงินครั้งเดียวและให้ใช้ภายใน 6 เดือน การพิจารณาใช้แอปพลิเคชันเป๋าตัง จะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกว่า
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. (ซ้าย) กับนายอนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ร่วมประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำเนียบรัฐบาล โดยความเห็นของทั้ง 2 หน่วยงาน อยู่ในเอกสารที่อ้างว่าเป็นของคณะกรรมการศึกษาฯ ของ ป.ป.ช.ด้วย
ย้อนดูคำเตือนจาก ป.ป.ช.-สตง. ที่เคยปรากฏในคำวินิจฉัยศาลคดีจำนำข้าว
สถานะของข้อเสนอแนะจาก ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีบทบาทสำคัญมาแล้วครั้งหนึ่งในคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ซึ่งองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาจำคุก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นเวลา 5 ปี โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2560
คำวินิจฉัยกลางขององค์คณะผู้พิพากษาฯ ซึ่งมีความหนา 90 หน้า ตอนหนึ่ง ได้อ้างอิงถึงข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในการวินิจฉัยข้อต่อสู้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ระบุว่า มีมาตรการป้องกันความเสียหายแล้ว อีกทั้งเป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ต้องดำเนินนโยบายตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ครม.จึงไม่มีอำนาจยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว
คำวินิจฉัยกลาง ชี้ว่า จากการไต่สวนของศาลฯ พบว่า ทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลหลายครั้ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว การทุจริตและขั้นตอนที่ไม่สามารถควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพได้ ผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดิน พร้อมจัดทำข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนนโยบาย อย่างไรก็ตาม ครม.ได้อนุมัติโครงการรับจำนำข้าวรวม 5 ฤดูกาลผลิต นับจากปี 2554-2557
เปิดข้อต่อสู้บางส่วนของยิ่งลักษณ์ ที่ศาลชี้ว่า “ฟังไม่ขึ้น”
ส่วนข้อต่อสู้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ระบุว่า ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจไต่สวนจำเลย ในฐานะนายกฯ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ศาลฯ ชี้ว่า กรณีนี้เป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่เป็นการตำหนิข้อบกพร่องหรือการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่ต้องรับผิดชอบต่อสภา หรือวุฒิสภา จึงอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.
อย่างไรก็ดี การตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ของ ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญปี 2560 มีบทบัญญัติมอบอำนาจการตรวจสอบให้กับองค์กรอิสระในมาตรา 164 ประกอบมาตรา 245
มาตรา 164 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุให้คณะรัฐมนตรีรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
ส่วนมาตรา 245 ให้อำนาจคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการกระทำที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังอย่างร้ายแรง โดยให้ปรึกษาหารือกับ กกต. และ ป.ป.ช. ก่อนแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเปิดเผยผลการตรวจสอบต่อประชาชนด้วย
ปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย
หลังจากปรากฏข่าวเอกสารที่อ้างว่าเป็นของ ป.ป.ช. ชุดเล็ก นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้แจงเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ว่าเอกสารที่มีการเผยแพร่อ้างว่าเป็นความเห็นของ ป.ป.ช. ไม่ใช่ความเห็นจาก ป.ป.ช. และไม่ทราบว่าเป็นของคณะทำงานรวบรวมความเห็นหรือไม่ แต่ชี้ว่า หากเป็นความเห็นของ ป.ป.ช. ต้องผ่านคณะกรรมการชุดใหญ่เท่านั้น ก่อนมีมติส่งไปยังรัฐบาล ซึ่งคณะกรรมการยังไม่มีความเห็นใด ๆ ออกมา เพราะยังอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด
ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุเมื่อวันที่ 17 ม.ค. ว่า ขั้นตอนต่อจากนี้คงต้องรอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งหนังสือมายังรัฐบาลอย่างเป็นทางการ เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต นำไปพิจารณาพร้อมกับหนังสือตอบของทางคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมกล่าวยอมรับเรื่องเงื่อนเวลาของโครงการว่าอาจต้องขยายออกไปจากกำหนดเดิมในเดือน พ.ค. นี้
"ผมต้องเรียนว่าวันนี้ ถ้าดูกรอบเวลา ไม่น่าทันเดือน พ.ค." นายจุลพันธ์ กล่าว
ส่วน น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แสดงความเห็นต่อเอกสารที่อ้างว่าเป็นของ ป.ป.ช. ว่า หากข้อแนะนำข้อใดเป็นความเห็นที่ดีก็ควรรับฟัง แต่ไม่ควรใช้เป็นจุดอ้างอิงที่ทำให้ไม่ดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตต่อไป เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล
เศรษฐา รับ ”ดิจิทัลวอลเล็ต“ อาจดีเลย์
ล่าสุด วันที่ 19 ม.ค. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางกลับจากร่วมประชุม World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส เกี่ยวกับเอกสารที่อ้างว่าเป็นข้อเสนอแนะจาก ป.ป.ช. ว่าประเด็นความคุ้มค่าเชื่อว่ามีตัวเลขที่อธิบายได้ ส่วนความเสี่ยงต่อการทุจริตโครงการ ยืนยันว่าไม่มีแน่นอน และพร้อมจะอธิบายทุกข้อสงสัย
"เรื่องทุจริตนี่ผมมั่นใจ 100% ว่าไม่มีแน่นอน ถ้าเกิดท่านสงสัยว่าทุจริตตรงไหนก็ขอให้บอกมา ทางรัฐบาลก็มีหน้าที่อธิบาย เพราะเรื่องเป็นการใช้เทคโนโลยีที่จะส่งเงินจาก G to C คือ Government to Consumer (รัฐบาลส่งไปยังผู้บริโภค) เอง เป็นการส่งเงินตรงเข้ากระเป๋าสตางค์ของพี่น้องประชาชน ผมไม่เห็นว่าจะมีการทุจริตตรงไหนได้เลย คือจริง ๆ แล้วอย่าพูดลอย ๆ ว่ามีการทำทุจริตได้"
นายเศรษฐา ยอมรับว่าโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ตอาจมีการเลื่อนไทม์ไลน์ออกไปตามที่ รมช.คลัง นายจุลพันธ์ ชี้แจงก่อนหน้านี้ และจะรอรายงานจาก ป.ป.ช. พร้อมกับยืนยันว่า ไม่มีความคิดยุติโครงการ แต่จะเดินหน้าเต็มที่
"อาจจะมีการดีเลย์ออกไปครับ" นายเศรษฐากล่าว และบอกว่า ในส่วนของข้อเสนอแนะหรือคำถามจาก ป.ป.ช. อยากให้เป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง เพื่อที่รัฐบาลจะได้ตอบอย่างตรงไปตรงมา
ที่มา (https://www.bbc.com/thai/articles/crg7g4x64keo)