วันพุธ, มกราคม 03, 2567

ในระหว่างที่รออ่านเอกสารปรีดีที่เฝ้ารอในวันที่ 5 มกราคม ชวนอ่าน บทความของ ดิน บัวแดง ที่ได้อ่านเอกสารฉบับที่เจ้าหน้าที่หยิบผิดให้คณะที่รออ่าน ไปพลางๆก่อน



Junya Yimprasert-จรรยา ยิ้มประเสริฐ #จรรยาเบิกเนตร
@JunyaYimprasert

ในระหว่างที่รออ่านเอกสารปรีดีในวันที่ 5 มกราคม ขอนำเสนอบทความของ ดิน บัวแดง ที่ได้อ่านเอกสารฉบับที่พวกเราไปเปิดดูกันวันนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งสรุปรายละเอียดและให้ข้อมูลบริบทการเมืองปรีดีลี้ภัยกับความสัมพันธ์ทางการเมืองในช่วงนั้นให้คนอ่านเอกสารได้เชื่อมโยงข้อมูลได้เป็นอย่างดี ของฝ่ายเผด็จการไทยที่พยายามยัดเยียดข้อหาคอมมิวนิสต์ และหัวหน้าขบวนกองกำลังปลดแอกให้ปรีดี
 
สำหรับเอกสารลับที่พวกเรายังไม่ได้เห็นในวันนี้ (ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง) เราจะยังคงไปที่หอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งในวันที่ 5 มกรา เพื่อจะดูเอกสารชุดนี้ให้ได้
 
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ต่อมความอยากรู้ยิ่งเพิ่มขึ้น หลังจากได้อ่านเอกสารชุด 158 ในวันนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าวันที่ 5 จะได้ดูแน่ ก็ต้องไปดูให้เห็นกับตากันอีกครั้งให้ได้ซิน่า

สำหรับคนที่อยู่ที่นี่อยากจะมาช่วยแปลภาษาให้คนไทยที่สนใจได้ร่วมรับฟังด้วย พวกเราก็จะขอบคุณมาก
เห็นปฏิกริยาของคนไทยที่สนใจกรณี #จดหมายปรีดี กันอย่างมาก ก็ยิ่งรู้สึกว่า ข้อมูลเอกสารของปรีดี พนมยงค์ ไม่ควรเป็นเอกสารที่เข้าถึงได้เฉพาะนักวิชาการไม่กี่คน แต่ควรนำมาเผยแพร่ให้คนไทยได้ร่วมศึกษาอย่างกว้างขวางด้วยเช่นกัน

เพราะมันสะท้อนว่าคนไทยต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับปรีดี เกี่ยวกับคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยในปี 2475 แต่ประวัติศาสตร์ในห้องเรียนกลับไม่ให้ความสำคัญ และยังพยายามทำให้มันหายไป

ทั้งนี้ ชีวิตของปรีดี และครอบครัว ต้องเผชิญความยากลำบากมากมาย ทั้งถูกทำรัฐประหาร ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการตายของกษัตริย์ ร. 8 ติดคุก ต้องลี้ภัย และไปเสียชีวิตที่ฝรั่งเศส โดยที่ไม่ได้รับการเชิญชูให้เป็นวีรบุรุษของชาติเช่นผู้นำเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศอื่นๆ

ปรีดีและผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กลายเป็นบุคคลที่ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยมไม่ต้องการให้คนไทยได้เรียนรู้และระลึกถึง - ยิ่งปิดบัง คนไทยกลับยิ่งต้องการเรียนรู้

เอกสารชุดปรีดี ที่หอจดหมายเหตุของฝรั่งเศสที่ได้เปิดให้ดูกันในวันนี้ สะท้อนให้เห็นชัดเจนของการพยายามขัดขวางไม่ให้ปรีดีได้ลี้ภัยจากจีนมาฝรั่งเศส สะท้อนท่าทีของผู้นำทางการเมืองยุคนั้น (จอมพลถนอม, รัชกาล ร.9) ก็ดูไม่เป็นมิตรกับปรีดีมาก ทำให้ฝรั่งเศสเองก็ต้องประเมินสถานการณ์ผลกระทบทางการเมืองกับกรณีการลี้ภัยของปรีดีมาฝรั่งเศสกันอย่างจริงจังเช่นกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเผด็จการไทยในยุคนั้น

วันที่ 5 มค เราจะมาดูว่าเมื่อปรีดีมาฝรั่งเศสแล้ว บันทึกทางการทูตของฝรั่งเศสรวบรวมเอกสารของปรีดีไว้มากน้อยแค่ไหน แล้วเอกสารเหล่านี้ จะไขปริศนาคาใจของคนไทยได้หรือไม่

สำหรับวันนี้ ต้องขออภัยอีกครั้งสำหรับความผิดพลาด

โปรดติดตาม #เอกสารปรีดี กันอีกครั้งในวันที่ 5 มค

https://hist.human.cmu.ac.th/node/243

#จดหมายปรีดี