วันพุธ, พฤศจิกายน 15, 2566

ทำไม Soft Power ต้องการ Hard Agenda? ตัวอย่าง อเมริกาเชื่อมวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเข้ากับวงการภาพยนตร์ เพื่อสร้าง วัฒนธรรมเห่ออนาคตผ่านสื่อ ภาพยนตร์


Pat Pataranutaporn
Yesterday ·

ทำไม Soft Power ต้องการ Hard Agenda? Case study ของ Artificial Intelligence (AI) ในฐานะ Soft Power ที่นำไปสู่ Hard Innovation
พีพีไม่ได้เป็นกูรู, influencer, หรืออะไรเเนวๆนั้นเเต่ว่าโดนพี่เอ๋ Sarawut Hengsawad ป้ายยาว่าให้เขียนอะไรสักอย่างออกมาอีก เเล้วก็นึกได้ว่าช่วงที่พี่ทิม Pita Limjaroenrat มาเยี่ยมที่ MIT ได้ไปดู exhibition ที่ MIT Museum ซึ่งจัดเเสดงเอกสารสำคัญชิ้นนึงก็คือเอกสารจัดตั้งห้อง Lab วิจัย AI เเห่งเเรกของโลกในปี 1970s ที MIT โดย Marvin Minsky เเละ Seymour Papert บิดาของ Modern AI
ตอนนั้นคุยกับพี่ทิมสนุกๆว่า AI เนี้ย soft power ที่มาก่อนกาลเลย เพราะ Marvin เคยเล่าให้ฟังขำๆว่าการที่ AI หรือ Artificial Intelligence ได้ชื่อว่า AI เพราะกระทรวงกลาโหมของอเมริกาต้องการ branding ให้สาขาวิชาวิจัยใหม่นี้ดูเท่เเละน่าเกรงขาม ลองนึกดูว่าตอนนั้นถ้าใครอยากจะหือกับอเมริกาเเล้วกลาโหมบอกว่าเรากำลังทำ Artificial Intelligence อยู่ก็คงจะมีหนาวๆร้อนๆกันบ้าง เเต่การตั้งชื่อเท่ๆอย่างเดียวไม่พอ (ไม่งั้นประเทศไทยก็คงเจริญไปเเล้ว) มีอีกสองสิ่งสำคัญที่ทำให้อเมริกาทำนั่นก็คือ หนึ่งการทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับศาสตร์อุบัติใหม่โดยการมองระยะยาว ตอนนั้น AI ในยุค 1970 เป็นช่วงตั้งไข่ ไม่ได้ commercial หรือขายได้เเบบทุกวันนี้ เเต่งบประมาณที่รัฐใส่เข้าไปต่อเนื่องในยุคนั้นทำให้เกิดงานวิจัย เเละสถาบันการศึกษาที่สร้างคนที่มีความรู้ความสามารถเเละทำ AI มาต่อเนื่องอย่างน้อย 50 ปีเป็นรากฐานให้เกิด innovation อย่างทุกวันนี้
อีกอย่างนึงที่สำคัญคือการที่อเมริกามีการเชื่อมวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเข้ากับวงการภาพยนตร์อย่าง Hollywood ครั้งนึงตอนที่พีพียังเรียน ป ตรีอยู่ที่ College of Liberal Arts & Sciences ที่ Arizona ช่วงปี 2016 พีพีได้ไปฟังนักฟิสิกส์ Lawrence Krauss จัดสัมนากับคนจาก Hollywood เเละกระทรวงกลาโหมของอเมริกาเเล้วเค้าพูดสิ่งที่พีพีจำฟังใจเลยว่า “ต่อให้อเมริกาจะมีความเจริญมากน้อยเเค่ไหน กระทรวงกลาโหมเเละ Hollywood จะต้องสร้างภาพผ่านหนัง Sci-fi ให้อเมริกา high-tech ที่สุดเสมอ เพราะสิ่งนี้จะดึงดูดคนเก่งๆทั่วโลกมาทำให้อเมริกาเจริญก้าวหน้าจริงๆ” พีพีฟังเเล้วคนลุกมาก เค้ายังพูดต่ออีกว่า “ต่อให้จีนจะมีเงินเยอะเเค่ไหน หรือจำนวนคนเก่งในประเทศเเค่ไหนๆ เค้าไม่มี Starwars หรือ Startrek ที่จะดึงดูด Nerd เก่งๆจากทั่วโลกเข้ามาเป็นพวกทางวัฒนธรรม 5555” การ build วัฒนธรรมเห่ออนาคตผ่านสื่อ ภาพยนตร์ ทำให้รัฐไม่ได้เป็นเเค่คนเดียวที่ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เเต่สร้าง private investor, startup culture, silicon valley, เเละวัฒนธรรมที่ รัฐ สถาบันการศึกษา เเละ ภาคเอกชน ร่วมกันสร้าง ecosystem สำหรับนวัตธรรม (นวัตกรรม + วัฒนธรรม)
ที่พีพียกตัวอย่าง AI ขึ้นมาในฐานะ Soft power เพราะเชื่อว่าเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดมากว่ากว่าจะมาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนโลกอย่าง ChatGPT​ โดย OpenAI เเบบทุกวันนี้มันมีการทำงานทางวัฒนธรรม (หนัง Hollywood มากมายพูดถึง AI ส่วนมากเกิดขึ้นที่อเมริกาเเละมีคนอเมริกาเป็นผู้นำ) มีการทำงานต่อเนื่องทางวิทยาศาสตร์เเละการวิจัยจาก MIT เเละที่ต่างๆอย่างน้อย 50 ปี เเละมีการคิด branding ว่าสิ่งนี้จะทำให้คนทั้งโลกไม่กล้าหือกับอเมริกาได้ยังไงจากยุคหลังสงครามโลก สามอย่างนี้อาจจะดูเผินๆ ไม่เกี่ยวข้องกันเเต่จริงๆเเล้วจะเห็นตัวเชื่อมที่โยงกันข้ามเวลาเเละบริบทอยู่ นี่คือเหตุผลว่าทำไม soft power ต้องการ hard agenda
อย่างที่ Cersei Lannister จาก Game of Thrones กล่าวว่า “Power is Power” สุดท้าย Soft Power คือเรื่องของ Power เราต้องมีธงว่าเราจะสร้าง power นี้ขึ้นมาได้ยังไงเเล้วเราจะเอา power ไปทำอะไร
การที่เราบอกว่าจะทำ soft power เพื่อเศรษฐกิจอย่างเดียวเป็นการมองที่โลกเเคบมาก การกระทำเเบบนั้นมันก็เเค่การทำ marketing campaign ธรรมดา ไม่ได้สร้าง soft power หรืออำนาจที่จะไปต่อรองหรือครอบครองพื้นที่ในทาง Geopolitics หรือ จินตนการของคนทั่วโลกเเต่อย่างใด โดยส่วนตัวรู้สึกว่าคนที่จะทำ soft power ได้ต้องมีความอยากครองโลกอยู่นิดนึงเเละต้องเป็นคน mastermind เเละมีเเผนสูง
ตัวอย่างเช่น ถ้าสมมุติว่าไทยต้องการทำ soft power ผ่าน series y ซึ่งเรามี track record ทางด้าน commercial อยู่เเล้ว เราจะไม่ได้เเค่ทุ่มงบทำ series y ไปเรื่อยๆ เเต่จะใช้สิ่งนี้เป็น Trojan horse ประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่าเราเป็นประเทศที่ LGBT friendly ที่สุดในโลก เราจะทุ่มงบสนับสนุนงานวิจัยล้ำๆเช่นการทำ artificial sperm หรือ artificial egg ทำให้คนเพศเดียวกันมีลูกทางชีวภาพได้เป็นครั้งเเรกของโลก จินตนาการปก TIME magazine มีรูปเด็กที่เกิดจาก DNA ของผู้ชายสองคนหรือผู้หญิงสองคนเป็นครั้งเเรกในประเทศไทย หมอไทยได้รางวัลโนเบล Prize สาขาสันติภาพเเละการเเพทย์ เราจะทำ campaign ให้ผู้นำของโลกเเละ influencer ที่เป็น LGBT ทั้งหลายมาเที่ยวในไทย ดึง designer จากทั่วโลกที่เป็น LGBT มาพักผ่อนเเละออกเเบบ collection พิเศษที่มีขายเฉพาะที่นี่เเล้วเอา collection เรานี้ไปอยู่ใน Series Y ที่ฉายทั่วโลก ใน series จะมี scene เเต่งงานที่ romantic มากๆสอดคล้องกับกฎหมายสมรถเท่าเทียม International ที่ดึงดูดให้ทั่วโลกมาเเต่งงานที่ไทย เราจะให้สัญชาติเด็กที่เกิดที่นี่เพื่อสร้าง talent ที่มีความหลากหลาย​ เราจะ promote medical tourism ของไทยทำ package เเปลงเพศตามรอย celebrity เเล้วไปทัวร์ Pattaya สร้าง Pattaya Papaya ให้ดังยิ่งกว่า Tokyo Banana นี่คือตัวอย่างเล็กๆ inspire จาก series y เเต่จะเห็นว่าเราจะ leverage เเละผลักดันไทยได้ในหลายๆมิติ ทั้งสื่อ เทคโนโลยี อาหาร ทรัพยากรคน นี่คือสิ่งที่พีพีคิดว่าคือ soft power ของจริงที่มี hard agenda เดียวกันคือทำให้ไทยครองโลก 5555