วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 16, 2566

อายเค้ามั้ย เกาหลีเหนือใช้ LED แปรอักษรแทน นร. 17,000 คน ชี้เอาเวลาไปเรียนดีกว่า


นักเรียนเลว
13h·

Update: เกาหลีเหนือใช้ LED แปรอักษรแทน นร. 17,000 คน ชี้เอาเวลาไปเรียนดีกว่า
ทุกวันสิ้นปี เกาหลีเหนือจะมีการจัดกิจกรรมแปรอักษรและเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ที่สนามกีฬารึงนาโด ในชื่องาน "Grand Mass Gymnastics and Artistic Performances (대집단체조)" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Mass Game โดยจะมีการเกณฑ์นักเรียนมาฝึกซ้อมแปรอักษรซึ่งต้องใช้เวลาร่วมหลายเดือนร่วมกับบรรดาเจ้าหน้าที่ แต่ล่าสุดกิจกรรมดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดไป
เมื่อต้นปี 2566 สำนักข่าว NK News ได้รายงานว่า เกาหลีเหนือยกเลิกการจัดกิจกรรมแปรอักษรฉลองวันสิ้นปี เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยใช้เทคโนโลยีจอฉายภาพแทนการแปรอักษรโดยนักเรียนกว่า 17,000 ชีวิต ชี้ประหยัดเงินและเวลา หวังให้เด็กเอาเวลาไปเรียนหนังสือแทน หรือทำอะไรที่มีประโยชน์มากกว่าแทน
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีแนวโน้มทำต่อไปในสิ้นปี 2023 หรือไม่ต้องจับตาดูอีกทีหนึ่ง
——
#นักเรียนเลว
.....

นักเรียนเลว
1d·

Update: ศิษย์เก่าจตุรมิตรยื่นร้องต่อ กมธ. การศึกษา สส. ก้าวไกลห่วงละเมิดสิทธิเด็กร้ายแรง แนะเปิดเวทีรับฟังทุกฝ่ายเพื่อสร้าง "สามัคคี" แท้จริง
เมื่อวาน (13 พ.ย.) ตัวแทนศิษย์เก่า ร.ร.เทพศิรินทร์ และ ร.ร.สวนกุหลาบ ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กรณีบังคับนักเรียนแปรอักษรในกิจกรรม “จตุรมิตรสามัคคี” ด้านสส. ก้าวไกลเข้ารับเรื่อง พบข้อมูลการละเมิดสิทธิเด็ก-กิจกรรมเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ชี้ไม่ควรบังคับร่วมกิจกรรม หวังเปิดเวทีรับฟังทุกฝ่ายเพื่อให้กิจกรรมสร้างสามัคคีได้แท้จริง
พิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ สส. พรรคก้าวไกล และ โฆษก กมธ.การศึกษา เปิดเผยว่า ตนได้รับข้อมูลแสดงถึงการละเมิดสิทธิเด็กในกิจกรรมดังกล่าว พร้อมชี้แจงโดยละเอียด ดังนี้
1. การบังคับนักเรียนให้ต้องลงชื่อและเข้าร่วมทำกิจกรรมทุกครั้ง ตั้งแต่ฝึกซ้อมจนกระทั่งวันจัดกิจกรรมจริง เพื่อยืนยันว่าเด็กจะผ่านในรายวิชาชุมนุม/ชมรม
2. การละเมิดสิทธิเด็กนักเรียน ตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เช่น การให้นักเรียนนั่งอยู่บนอัฒจันทร์อย่างแออัดในสภาพอากาศที่ร้อนหรือเสี่ยงฝนตก และให้แปรอักษรติดต่อนานหลายชั่วโมงโดยไม่มีการเปลี่ยนตัว รวมถึงไม่อนุญาตให้นักเรียนไปเข้าห้องน้ำหรือไปรับประทานอาหาร มีการบีบบังคับให้รอจนกว่าคนที่ไปคนก่อนหน้าจะกลับมาถึงจะไปได้ และเป็นเหตุให้เด็กต้องปัสสาวะใส่ขวดน้ำหรืออุจจาระใส่กล่องอาหารที่ทานแล้ว
3. การต่อเติมอัฒจันทร์เดิมให้มีขนาดรองรับจำนวนเด็กให้มากขึ้น (ตามกำหนดการ คือ ต้องมีนักเรียนขึ้นอัฒจันทร์เพื่อแปรอักษรจำนวน 1,250 คน/โรงเรียน) ทุกโรงเรียนจึงต้องต่อเติมอัฒจันทร์ในส่วนของทางเดินใกล้ประตูทางออกเพื่อเสริมเก้าอี้ที่นั่ง ยิ่งทำให้ทางเดินแคบขึ้น นักเรียนต้องนั่งกันอย่างแออัดมากขึ้น และมีโอกาส ที่ส่วนต่อเติมจะทรุดตัวลงหากต่อเติมไม่ดี หรือรองรับน้ำหนักของเด็กมากเกินไป ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโครงการอัฒจันทร์นี้ ได้รับการตรวจสอบจากวิศวกรที่น่าเชื่อถือเป็นที่เรียบร้อยหรือไม่
4. ความปลอดภัยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หากระหว่างดำเนินกิจกรรมแล้วเกิดเหตุบางประการ เช่น เด็กเป็นลมและต้องเอาตัวเด็กออกมา การเคลื่อนย้ายเด็กจะเป็นไปได้อย่างยากลำบากมากเพราะความแออัด
ล่าสุดหลังจาก กลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนเครือจตุรมิตร ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับแปรอักษร และติดป้ายผ้าบริเวณทางไปสนามศุภชลาศัย ภาพดังกล่าวถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียจำนวนมาก ผ่านแฮชแท็ก #เลิกบังคับแปรอักษร
พิมพ์กาญจน์ ย้ำ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายทิศทาง แต่สิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรละเว้นการคำนึงคือ สิทธิ สวัสดิการ และความปลอดภัยของนักเรียน
"คณะทำงานการศึกษาก้าวไกล มีความเห็นตรงกันว่า เราไม่ได้แถลงเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านกิจกรรม “จตุรมิตรสามัคคี” รวมทั้งข้อมูลที่ได้รับ อาจจะยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกมิติ แต่กระนั้นทางเราก็มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของเด็กนักเรียน รวมถึงการละเมิดสิทธิของนักเรียน เราขอยืนยันว่า นักเรียนทุกคนมีสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องของความสวัสดิภาพความปลอดภัย" พิมพ์กาญจน์ ระบุ
——
#นักเรียนเลว